ปัจจุบันนี้เราแปลความหมายของคำว่า อุเบกขา ผิดไปอย่างมาก โดยแปลอุเบกขาว่า วางเฉย นิ่งเฉย เพ่งเฉย หรือนิ่งอยู่เฉย ๆ จึงทำให้ความหมายที่แท้จริงของอุเบกขาผิดเพี้ยนไปมาก ซึ่งส่งผลทำให้คำสอนของศาสนาผิดไปด้วย และซ้ำร้ายยังมองอุเบกขาและธรรมที่มีอุเบกขาเข้าไปเกี่ยวข้องนี้ว่า เป็นส่วนที่ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่นิ่งเฉย ไม่ปรากฏผลใด ๆ ทำให้หลายคนปฏิเสธไม่ยอมรับการใช้อุเบกขาไปเลย
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้เหตุผลอีกว่า เมื่อวางเฉยแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ยกตัวอย่างการทำสมาธิแบบสมถกรรมฐานที่มีอุเบกขาเกิดขึ้นมาในฌานต่าง ๆ หลายคนจึงปฏิเสธไม่ต้องการได้ฌาน เพราะคิดว่าในที่สุดจิตจะไปนิ่งเฉยอยู่ในฌานนั้นแล้วเสียเวลาเปล่า ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย
อุเบกขาเป็นคุณลักษณะของปัญญาที่เกิดในองค์ฌานที่เฝ้าสังเกตพิจารณาดูอาการของจิต เจตสิก และรูป หรือขันธ์ห้า หรือ ปฏิจจสมุปบาทที่แสดงอาการความจริงออกมาในขณะที่จิตนิ่งสงบในระดับฌานสมาธิ ตั้งแต่ระดับฌานที่ 4 ขึ้นไปจนถึงฌานที่ 8 ปัญญาขั้นอุเบกขานี้ จะพิจารณาเห็นความจริงของปรมัตถธรรมทั้ง 3 ข้อคือ จิต เจตสิก และรูป หรือขันธ์ห้าโดยละเอียด
สมีปํ อิกฺขตีติ อุเปกฺขา (ปัญญา) แปลว่า
ปัญญาใดย่อมมองดูอยู่อย่างใกล้ชิด เหตุนั้น ปัญญานั้น ชื่อว่า อุเปกขา (ปัญญาที่เฝ้าสังเกตดูอยู่อย่างใกล้ชิด) หรือ จะแปลว่า ปัญญาใดที่เฝ้าพิจารณาดูอยู่อย่างใกล้ชิด ปัญญานั้นชื่อว่า อุเปกฺขา (ปัญญาที่เฝ้าสังเกตพิจารณาดูอยู่อย่างใกล้ชิด(เพื่อความเห็นแจ้งในธรรมอย่างแจ้งชัด) อย่างนี้ก็ได้ หรือ จะตั้งรูปวิเคราะห์ว่า อิกฺขนสฺส สมีปํ = อุเปกฺขา (ปญฺญา ) แปลว่า ที่ใกล้แห่งการเฝ้าดู ดังนั้น อุเปกฺขา ชื่อว่า ปัญญาที่เฝ้าสังเกตดูอยู่อย่างใกล้ ๆ หรือ ปัญญาที่เฝ้าสังเกตการณ์ดูอยู่อย่างละเอียด หรือ ปัญญาที่เกิดจากการเฝ้าสังเกตการณ์พิจารณาอยู่อย่างสงบด้วยมีสติและสัมปชัญญะที่สมบูรณ์เต็มที่ (สติมา สัมปชาโน อุเปกขโก) ดังนี้ ก็ได้
อุเบกขาไม่ได้แปลว่า วางเฉย หรือ เฉยเมย หรือ นิ่งเฉยอย่างที่คนจำนวนมากเข้าใจกัน
คำว่า วางเฉย นิ่งเฉย เฉยเมย หรือ อยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆไม่ทำอะไรในภาษาบาลีท่านใช้คำว่า ตุณฺ
(อ่านว่า ตุณฮี) หรือตุณฺ
ภาวะทั้งสองคำนี้แปลว่า นิ่งเฉย วางเฉย เฉยเมย หรือ อยู่นิ่ง ๆ
เหตุผลอย่างอื่นอีกที่สำคัญซึ่งบ่งบอกว่า อุเบกขา ไม่ได้แปลว่า วางเฉย นิ่งเฉย ก็คือ อุเบกขาที่เป็นหัวข้อธรรมะข้อหนึ่งของโพชฌงค์ 7 ซึ่งเป็นข้อสุดท้าย เรียกเต็มศัพท์ว่า อุเบกขาสัม-โพชฌงค์ แปลว่า ปัญญาที่เป็นองค์ธรรมที่นำไปให้ตรัสรู้ได้อย่างถูกต้อง หรืออุเบกขาธรรมที่เป็นองค์ประกอบสำหรับการตรัสรู้ ถ้าอุเบกขาแปลว่า วางเฉย นิ่งเฉย เพ่งเฉย หรือ อยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ โดยไม่ทำอะไร แล้วอุเบกขาจะเป็นหัวข้อธรรมที่มีส่วนในการทำให้ตรัสรู้ได้อย่างไร?
อุเบกขาเป็นธรรมฝ่ายปัญญา บางครั้งท่านจะใช้คำว่า ญาณ คือ ปัญญาต่อท้ายให้รู้อย่างชัด ๆ เช่นคำว่า
สังขารุเปกขา-ญาณ หมายถึง ปัญญาที่เฝ้าสังเกตพิจารณาดูความเป็นไปของสังขารทั้งหลาย (คือ จิต เจตสิก และรูป) อยู่อย่างตั้งใจ นอกจากนี้แล้วอุเบกขายังเป็นธรรมที่เกิดขึ้นในฌาน 4 จนถึงฌาน 8 โดยเมื่อฌานที่เกิดอุเบกขาขึ้นแล้วผู้ปฏิบัติจะสามารถพิจารณาเห็นความเป็นจริงด้วยปัญญาที่เฝ้าสังเกตการณ์อยู่ในฌานนั้น ๆ อย่างมีสติและสัมปชัญญะอย่างพร้อมมูล
นอกจากนี้แล้ว ผู้ได้รูปฌานหรืออรูปฌานก็ตาม ที่มีอุเบกขาเกิดขึ้นในฌานนั้น ๆ เจตสิกที่สำคัญ คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ข้อมนสิการ ก็ยังทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์หรือสิ่งที่ปรากฏในฌานนั้น ๆ ได้อย่างแยบคายได้และละเอียดลึกซึ้ง หรือ ตัตรมัชฌัตตตา ความคงเส้นคงวาอยู่กับสิ่งที่เฝ้าสังเกตดูอยู่อย่างสม่ำเสมอในฌานนั้น ๆ ก็จะทำให้เข้าความจริงได้ หรือเจตสิกข้อสุดท้าย คือ ปัญญา ก็จะปรากฏตัวชัดขึ้นมาในองค์ฌานที่อุเบกขาปรากฏอยู่ร่วมกันทำหน้าที่ในการพิจารณาความจริงที่ปรากฏด้วย อาการทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนแสดงว่า สภาวะจิต หรือ เจตสิกในฌานต่าง ๆ นั้นนิ่งอยู่เฉย ๆ แต่กำลังทำการเฝ้าสังเกตวิจัยดูความเป็นไปของขันธ์ห้าอยู่อย่างใกล้ชิดและอย่างละเอียดลึกซึ้งตามความหมายและเหตุผลที่แสดงมานี้ทำให้ทราบได้ชัดว่า อุเบกขาในฌานสมาธิเป็นปัญญาที่เฝ้าสังเกตพิจารณาดูสิ่งเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ในฌานนั้น ไม่มีส่วนใดเลยที่นิ่งเฉย อันจะทำให้พิจารณาข้อธรรมไม่ได้ ดังที่หลายคนเข้าใจผิด
สรุปว่า เพราะแปลอุเบกขาผิดไป จึงทำให้ขาดปัญญาที่เฝ้าสังเกตดูความเป็นไปของปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก และรูปของเราไป นอกจากนี้ยังมีการปฏิเสธการทำสมาธิที่จะทำให้ได้อุเบกขานี้ด้วย จึงเท่ากับว่า ไม่ต้องการให้อุเบกขาเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุทำให้ไม่มีการฝึกจิตเพื่อให้ได้ฌาน เมื่อฌานไม่มี ปัญญาที่จะเกิดขึ้นมาเฝ้าสังเกตพิจารณาดูปรมัตถธรรม หรือ ขันธ์ห้า จึงไม่เกิดขึ้น อันเป็นเหตุให้ขาดธรรมที่เป็นองค์ประกอบของการตรัสรูข้ออุเบกขาไป เมื่ออุเบกขาขาดไปทำให้โพชฌงค์ไม่ครบองค์ประกอบจึงทำให้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าไม่ได้
อุเบกขา เป็นธรรมฝ่ายปัญญา ไม่ได้แปลว่านิ่งเฉย
นอกจากนี้ยังมีผู้ให้เหตุผลอีกว่า เมื่อวางเฉยแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ยกตัวอย่างการทำสมาธิแบบสมถกรรมฐานที่มีอุเบกขาเกิดขึ้นมาในฌานต่าง ๆ หลายคนจึงปฏิเสธไม่ต้องการได้ฌาน เพราะคิดว่าในที่สุดจิตจะไปนิ่งเฉยอยู่ในฌานนั้นแล้วเสียเวลาเปล่า ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย
อุเบกขาเป็นคุณลักษณะของปัญญาที่เกิดในองค์ฌานที่เฝ้าสังเกตพิจารณาดูอาการของจิต เจตสิก และรูป หรือขันธ์ห้า หรือ ปฏิจจสมุปบาทที่แสดงอาการความจริงออกมาในขณะที่จิตนิ่งสงบในระดับฌานสมาธิ ตั้งแต่ระดับฌานที่ 4 ขึ้นไปจนถึงฌานที่ 8 ปัญญาขั้นอุเบกขานี้ จะพิจารณาเห็นความจริงของปรมัตถธรรมทั้ง 3 ข้อคือ จิต เจตสิก และรูป หรือขันธ์ห้าโดยละเอียด
สมีปํ อิกฺขตีติ อุเปกฺขา (ปัญญา) แปลว่า ปัญญาใดย่อมมองดูอยู่อย่างใกล้ชิด เหตุนั้น ปัญญานั้น ชื่อว่า อุเปกขา (ปัญญาที่เฝ้าสังเกตดูอยู่อย่างใกล้ชิด) หรือ จะแปลว่า ปัญญาใดที่เฝ้าพิจารณาดูอยู่อย่างใกล้ชิด ปัญญานั้นชื่อว่า อุเปกฺขา (ปัญญาที่เฝ้าสังเกตพิจารณาดูอยู่อย่างใกล้ชิด(เพื่อความเห็นแจ้งในธรรมอย่างแจ้งชัด) อย่างนี้ก็ได้ หรือ จะตั้งรูปวิเคราะห์ว่า อิกฺขนสฺส สมีปํ = อุเปกฺขา (ปญฺญา ) แปลว่า ที่ใกล้แห่งการเฝ้าดู ดังนั้น อุเปกฺขา ชื่อว่า ปัญญาที่เฝ้าสังเกตดูอยู่อย่างใกล้ ๆ หรือ ปัญญาที่เฝ้าสังเกตการณ์ดูอยู่อย่างละเอียด หรือ ปัญญาที่เกิดจากการเฝ้าสังเกตการณ์พิจารณาอยู่อย่างสงบด้วยมีสติและสัมปชัญญะที่สมบูรณ์เต็มที่ (สติมา สัมปชาโน อุเปกขโก) ดังนี้ ก็ได้
อุเบกขาไม่ได้แปลว่า วางเฉย หรือ เฉยเมย หรือ นิ่งเฉยอย่างที่คนจำนวนมากเข้าใจกัน
คำว่า วางเฉย นิ่งเฉย เฉยเมย หรือ อยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆไม่ทำอะไรในภาษาบาลีท่านใช้คำว่า ตุณฺ (อ่านว่า ตุณฮี) หรือตุณฺภาวะทั้งสองคำนี้แปลว่า นิ่งเฉย วางเฉย เฉยเมย หรือ อยู่นิ่ง ๆ
เหตุผลอย่างอื่นอีกที่สำคัญซึ่งบ่งบอกว่า อุเบกขา ไม่ได้แปลว่า วางเฉย นิ่งเฉย ก็คือ อุเบกขาที่เป็นหัวข้อธรรมะข้อหนึ่งของโพชฌงค์ 7 ซึ่งเป็นข้อสุดท้าย เรียกเต็มศัพท์ว่า อุเบกขาสัม-โพชฌงค์ แปลว่า ปัญญาที่เป็นองค์ธรรมที่นำไปให้ตรัสรู้ได้อย่างถูกต้อง หรืออุเบกขาธรรมที่เป็นองค์ประกอบสำหรับการตรัสรู้ ถ้าอุเบกขาแปลว่า วางเฉย นิ่งเฉย เพ่งเฉย หรือ อยู่นิ่ง ๆ เฉย ๆ โดยไม่ทำอะไร แล้วอุเบกขาจะเป็นหัวข้อธรรมที่มีส่วนในการทำให้ตรัสรู้ได้อย่างไร?
อุเบกขาเป็นธรรมฝ่ายปัญญา บางครั้งท่านจะใช้คำว่า ญาณ คือ ปัญญาต่อท้ายให้รู้อย่างชัด ๆ เช่นคำว่า สังขารุเปกขา-ญาณ หมายถึง ปัญญาที่เฝ้าสังเกตพิจารณาดูความเป็นไปของสังขารทั้งหลาย (คือ จิต เจตสิก และรูป) อยู่อย่างตั้งใจ นอกจากนี้แล้วอุเบกขายังเป็นธรรมที่เกิดขึ้นในฌาน 4 จนถึงฌาน 8 โดยเมื่อฌานที่เกิดอุเบกขาขึ้นแล้วผู้ปฏิบัติจะสามารถพิจารณาเห็นความเป็นจริงด้วยปัญญาที่เฝ้าสังเกตการณ์อยู่ในฌานนั้น ๆ อย่างมีสติและสัมปชัญญะอย่างพร้อมมูล
นอกจากนี้แล้ว ผู้ได้รูปฌานหรืออรูปฌานก็ตาม ที่มีอุเบกขาเกิดขึ้นในฌานนั้น ๆ เจตสิกที่สำคัญ คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ข้อมนสิการ ก็ยังทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์หรือสิ่งที่ปรากฏในฌานนั้น ๆ ได้อย่างแยบคายได้และละเอียดลึกซึ้ง หรือ ตัตรมัชฌัตตตา ความคงเส้นคงวาอยู่กับสิ่งที่เฝ้าสังเกตดูอยู่อย่างสม่ำเสมอในฌานนั้น ๆ ก็จะทำให้เข้าความจริงได้ หรือเจตสิกข้อสุดท้าย คือ ปัญญา ก็จะปรากฏตัวชัดขึ้นมาในองค์ฌานที่อุเบกขาปรากฏอยู่ร่วมกันทำหน้าที่ในการพิจารณาความจริงที่ปรากฏด้วย อาการทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนแสดงว่า สภาวะจิต หรือ เจตสิกในฌานต่าง ๆ นั้นนิ่งอยู่เฉย ๆ แต่กำลังทำการเฝ้าสังเกตวิจัยดูความเป็นไปของขันธ์ห้าอยู่อย่างใกล้ชิดและอย่างละเอียดลึกซึ้งตามความหมายและเหตุผลที่แสดงมานี้ทำให้ทราบได้ชัดว่า อุเบกขาในฌานสมาธิเป็นปัญญาที่เฝ้าสังเกตพิจารณาดูสิ่งเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ในฌานนั้น ไม่มีส่วนใดเลยที่นิ่งเฉย อันจะทำให้พิจารณาข้อธรรมไม่ได้ ดังที่หลายคนเข้าใจผิด
สรุปว่า เพราะแปลอุเบกขาผิดไป จึงทำให้ขาดปัญญาที่เฝ้าสังเกตดูความเป็นไปของปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก และรูปของเราไป นอกจากนี้ยังมีการปฏิเสธการทำสมาธิที่จะทำให้ได้อุเบกขานี้ด้วย จึงเท่ากับว่า ไม่ต้องการให้อุเบกขาเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุทำให้ไม่มีการฝึกจิตเพื่อให้ได้ฌาน เมื่อฌานไม่มี ปัญญาที่จะเกิดขึ้นมาเฝ้าสังเกตพิจารณาดูปรมัตถธรรม หรือ ขันธ์ห้า จึงไม่เกิดขึ้น อันเป็นเหตุให้ขาดธรรมที่เป็นองค์ประกอบของการตรัสรูข้ออุเบกขาไป เมื่ออุเบกขาขาดไปทำให้โพชฌงค์ไม่ครบองค์ประกอบจึงทำให้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าไม่ได้