.
ไม่ทราบว่านี่คือทางเลือกที่เลือกได้หรือไม่ก็ไม่ทราบ เพราะยิ่งใกล้วันลงประชามติเข้ามา ก็จะมีข่าว มีเหตุการณ์แปลกๆ สลับซับซ้อน รวมถึงความเห็นของผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่ชวนให้คิด ให้สงสัยเป็นกำลัง
ดังเช่นบทความนี้ ที่มีชื่อว่า “ เลือกได้”ซึ่ง เขียนโดยคุณ สุชาติ ศรีสุวรรณ ลงในมติชนรายวัน วันนี้ อ่านแล้วก็ให้รู้สึกเพลีย ละเหี่ยใจในความไม่แน่นอนของการบ้านการเมืองของประเทศไทยซะเหลือเกิน
เรามาถึงจุดนี้ ( อีกแล้ว )ได้อย่างไร เราจะกลับสู่ประชาธิปไตยแบบปกติได้เมื่อไหร่แล้วเรามีทางเลือมากน้อยแค่ไหนกัน..?
…………………………………………………………………………………………………………….
บนเวทีประชุมผู้นำกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา หรือ จี 77 ที่ไทยเป็นประธาน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวในฐานะผู้นำประเทศประธานกลุ่มว่า จะอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจบริหารประเทศต่อไป หากสถานการณ์ในประเทศไทยยังไม่สงบเรียบร้อย และวันต่อมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่เป็น “พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์” ยืนยันในความหมายเดียวกัน
“ถ้าไม่สงบก็ต้องอยู่ต่อ”
หลังจากนั้น ในกลุ่มผู้ติดตามการเมืองมีการหยิบโรดแมปการคืนประชาธิปไตยให้ประชาชนมาพิจารณาว่าคืออะไรกันแน่ หมายความว่าจะมีไม่เป็นไปตามโรดแมปที่วางไว้ก่อนหน้านั้นกระนั้นหรือ
ปรากฏว่าเอาเข้าจริงไม่ใช่การไม่การเปลี่ยนแปลง เพราะโรดแมปที่ คสช.ประกาศไว้ไม่เกี่ยวกับห้วงเวลา แต่ยึดอยู่กับความคืบหน้าในการจัดการ ระยะแรกเป็นการสยบความเคลื่อนไหวที่ก่อให้เกิดความยุ่งยาก ระยะต่อมาเป็นการสร้างกติกาของการอยู่ร่วมกันซึ่งคือ “รัฐธรรมนูญ” หลังจากนั้นต่อด้วยการจัดการเลือกตั้ง และตั้งรัฐบาลในกติกาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
นี่ต่างหากที่เป็นโรดแมป ส่วนการทำประชามติในเดือนสิงหาคม และการเลือกตั้งในปลายปี 2560 นั้นกำหนดเวลาไว้หากโรดแมปราบรื่น
“ถ้าไม่สงบก็ต้องอยู่ต่อไป” จึงไม่ใช่เรื่องที่ขัดกับโรดแมปที่วางไว้
เพียงแต่ว่าเมื่อกล่าวออกมาก่อให้เกิดความคิด
“หากยังสร้างความยุ่งยาก ไม่สงบเรียบร้อยกันอยู่ การเลือกตั้งจะไม่เกิดขึ้น”
และที่สุดแล้วเท่ากับทุกฝ่ายจะต้องเลือกว่า
“จะทำตัวให้ยุ่งยาก” หรือ
“จะเลือกตั้ง” จะต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ถ้ายังก่อความยุ่งยากไม่สงบกันอยู่ก็ไม่ต้องเลือกตั้ง ถ้าจะเลือกตั้งต้องอยู่ในความสงบเรียบร้อย
ยอมที่จะเป็นไปอย่างนี้
ความน่าสนใจอยู่ที่อะไรที่ส่อว่าอาจจะทำให้เกิดความไม่สงบ
ความไม่พอใจของคนบางกลุ่มต่อสาระของร่างรัฐธรรมนูญ ที่คนกลุ่มนี้มองเห็นว่าเป็นการเอื้อสิทธิทางการเมืองให้คนกลุ่มหนึ่งมากกว่าประชาชนทั่วไป กลุ่มนักการเมืองจากการแต่งตั้งเขาควบคุมศูนย์อำนาจได้มากกว่า ขณะที่นักการเมืองจากการเลือกตั้งถูกตั้งกติกาตรวจสอบจนกระดิกกระเดี้ยอะไรได้ลำบาก
เพราะไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้ จึงมีการตรวจสอบการทำประชามติ ที่จะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญได้ชื่อว่าผ่านความเห็นชอบของประชาชน
ไม่เพียงกลุ่มหนึ่งเคลื่อนไหวแสดงการต่อต้าน ไม่เอาด้วยกับการทำประชามติ
ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งยื่นร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินให้ช่วยยืนศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ขัดต่อ “รัฐธรรมนูญ” (ฉบับชั่วคราว) ในเรื่องของข้อกำหนดเรื่องสิทธิประชาชนหรือไม่
และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับตีความตามคำขอนั้น ความยุ่งยากก็เกิดขึ้น
แม้จะพยายามให้ความเห็นว่า ไม่เกี่ยวกับ ไม่ว่าศาลจะรัฐธรรมนูญจะตีความอย่างไร การทำประชามติจะยังสามารถทำได้
แต่นั่นเป็นความเห็นยังมีคำถามว่า หากศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า “
ขัดรัฐธรรมนูญ” การทำประชามติด้วยข้อกำหนดของกฎหมายที่ขัดกับ
“กฎหมายสูงสุด” ของประเทศจะไม่เป็นความผิดอย่างไร
คนที่จัดการในเรื่องนี้ไม่เสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายหรือ
นี่คือความยุ่งยากที่ทำให้โรดแมปมีเรื่องราวที่จะต้องจัดการมากขึ้น
นั่นหมายความว่า รัฐบาล คสช.จะต้องอยู่ในอำนาจต่อไปจนกว่าความยุ่งยากนั้นจะสงบลง เดินไปถึงการเลือกตั้งและตั้งรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ
เหมือนกับว่า หากอยากเลือกตั้งตามเวลาที่กำหนดไว้ก็ต้องปล่อยให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างสงบ ถ้าไม่สงบหรือรัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ไม่ได้
รัฐบาลชุดนี้จะอยู่ต่อไป อันเป็นความหมายเดียวกับจะยังไม่มีการเลือกตั้ง
เลือกเอาว่าจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือจะให้รัฐบาลอยู่ต่อไปอย่างนี้
http://www.matichon.co.th/news/161127
…………………………………………………………………………………………………..
คุณสุชาติเล่นเขียนตบท้ายเป็นคำถามที่ยากจะตอบยิ่งนัก..!
ส่วนตัวผม ถ้าเลือกได้ ก็ขอทางเลือกที่ประชาชนคนธรรมดาอย่างผมสามารถกำหนดเองได้นั่นแหละ ดีที่สุดครับ..
ขอแสดงความละเหี่ยใจอย่างสูง
นกเค้าแมวสีคราม
.
เรามาถึงทางเลือกนี้ได้อย่างไร...จะใช้ (หรือไม่ใช้)รัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือจะให้รัฐบาลอยู่ต่อไปอย่างนี้.. ?
ไม่ทราบว่านี่คือทางเลือกที่เลือกได้หรือไม่ก็ไม่ทราบ เพราะยิ่งใกล้วันลงประชามติเข้ามา ก็จะมีข่าว มีเหตุการณ์แปลกๆ สลับซับซ้อน รวมถึงความเห็นของผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่ชวนให้คิด ให้สงสัยเป็นกำลัง
ดังเช่นบทความนี้ ที่มีชื่อว่า “ เลือกได้”ซึ่ง เขียนโดยคุณ สุชาติ ศรีสุวรรณ ลงในมติชนรายวัน วันนี้ อ่านแล้วก็ให้รู้สึกเพลีย ละเหี่ยใจในความไม่แน่นอนของการบ้านการเมืองของประเทศไทยซะเหลือเกิน
เรามาถึงจุดนี้ ( อีกแล้ว )ได้อย่างไร เราจะกลับสู่ประชาธิปไตยแบบปกติได้เมื่อไหร่แล้วเรามีทางเลือมากน้อยแค่ไหนกัน..?
…………………………………………………………………………………………………………….
บนเวทีประชุมผู้นำกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา หรือ จี 77 ที่ไทยเป็นประธาน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวในฐานะผู้นำประเทศประธานกลุ่มว่า จะอยู่ในฐานะผู้มีอำนาจบริหารประเทศต่อไป หากสถานการณ์ในประเทศไทยยังไม่สงบเรียบร้อย และวันต่อมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่เป็น “พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์” ยืนยันในความหมายเดียวกัน
“ถ้าไม่สงบก็ต้องอยู่ต่อ”
หลังจากนั้น ในกลุ่มผู้ติดตามการเมืองมีการหยิบโรดแมปการคืนประชาธิปไตยให้ประชาชนมาพิจารณาว่าคืออะไรกันแน่ หมายความว่าจะมีไม่เป็นไปตามโรดแมปที่วางไว้ก่อนหน้านั้นกระนั้นหรือ
ปรากฏว่าเอาเข้าจริงไม่ใช่การไม่การเปลี่ยนแปลง เพราะโรดแมปที่ คสช.ประกาศไว้ไม่เกี่ยวกับห้วงเวลา แต่ยึดอยู่กับความคืบหน้าในการจัดการ ระยะแรกเป็นการสยบความเคลื่อนไหวที่ก่อให้เกิดความยุ่งยาก ระยะต่อมาเป็นการสร้างกติกาของการอยู่ร่วมกันซึ่งคือ “รัฐธรรมนูญ” หลังจากนั้นต่อด้วยการจัดการเลือกตั้ง และตั้งรัฐบาลในกติกาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
นี่ต่างหากที่เป็นโรดแมป ส่วนการทำประชามติในเดือนสิงหาคม และการเลือกตั้งในปลายปี 2560 นั้นกำหนดเวลาไว้หากโรดแมปราบรื่น
“ถ้าไม่สงบก็ต้องอยู่ต่อไป” จึงไม่ใช่เรื่องที่ขัดกับโรดแมปที่วางไว้
เพียงแต่ว่าเมื่อกล่าวออกมาก่อให้เกิดความคิด “หากยังสร้างความยุ่งยาก ไม่สงบเรียบร้อยกันอยู่ การเลือกตั้งจะไม่เกิดขึ้น”
และที่สุดแล้วเท่ากับทุกฝ่ายจะต้องเลือกว่า “จะทำตัวให้ยุ่งยาก” หรือ “จะเลือกตั้ง” จะต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ถ้ายังก่อความยุ่งยากไม่สงบกันอยู่ก็ไม่ต้องเลือกตั้ง ถ้าจะเลือกตั้งต้องอยู่ในความสงบเรียบร้อย
ยอมที่จะเป็นไปอย่างนี้
ความน่าสนใจอยู่ที่อะไรที่ส่อว่าอาจจะทำให้เกิดความไม่สงบ
ความไม่พอใจของคนบางกลุ่มต่อสาระของร่างรัฐธรรมนูญ ที่คนกลุ่มนี้มองเห็นว่าเป็นการเอื้อสิทธิทางการเมืองให้คนกลุ่มหนึ่งมากกว่าประชาชนทั่วไป กลุ่มนักการเมืองจากการแต่งตั้งเขาควบคุมศูนย์อำนาจได้มากกว่า ขณะที่นักการเมืองจากการเลือกตั้งถูกตั้งกติกาตรวจสอบจนกระดิกกระเดี้ยอะไรได้ลำบาก
เพราะไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้ จึงมีการตรวจสอบการทำประชามติ ที่จะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญได้ชื่อว่าผ่านความเห็นชอบของประชาชน
ไม่เพียงกลุ่มหนึ่งเคลื่อนไหวแสดงการต่อต้าน ไม่เอาด้วยกับการทำประชามติ
ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งยื่นร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินให้ช่วยยืนศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ขัดต่อ “รัฐธรรมนูญ” (ฉบับชั่วคราว) ในเรื่องของข้อกำหนดเรื่องสิทธิประชาชนหรือไม่
และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับตีความตามคำขอนั้น ความยุ่งยากก็เกิดขึ้น
แม้จะพยายามให้ความเห็นว่า ไม่เกี่ยวกับ ไม่ว่าศาลจะรัฐธรรมนูญจะตีความอย่างไร การทำประชามติจะยังสามารถทำได้
แต่นั่นเป็นความเห็นยังมีคำถามว่า หากศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า “ขัดรัฐธรรมนูญ” การทำประชามติด้วยข้อกำหนดของกฎหมายที่ขัดกับ “กฎหมายสูงสุด” ของประเทศจะไม่เป็นความผิดอย่างไร
คนที่จัดการในเรื่องนี้ไม่เสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายหรือ
นี่คือความยุ่งยากที่ทำให้โรดแมปมีเรื่องราวที่จะต้องจัดการมากขึ้น
นั่นหมายความว่า รัฐบาล คสช.จะต้องอยู่ในอำนาจต่อไปจนกว่าความยุ่งยากนั้นจะสงบลง เดินไปถึงการเลือกตั้งและตั้งรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ
เหมือนกับว่า หากอยากเลือกตั้งตามเวลาที่กำหนดไว้ก็ต้องปล่อยให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างสงบ ถ้าไม่สงบหรือรัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ไม่ได้
รัฐบาลชุดนี้จะอยู่ต่อไป อันเป็นความหมายเดียวกับจะยังไม่มีการเลือกตั้ง
เลือกเอาว่าจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือจะให้รัฐบาลอยู่ต่อไปอย่างนี้
http://www.matichon.co.th/news/161127
…………………………………………………………………………………………………..
คุณสุชาติเล่นเขียนตบท้ายเป็นคำถามที่ยากจะตอบยิ่งนัก..!
ส่วนตัวผม ถ้าเลือกได้ ก็ขอทางเลือกที่ประชาชนคนธรรมดาอย่างผมสามารถกำหนดเองได้นั่นแหละ ดีที่สุดครับ..
ขอแสดงความละเหี่ยใจอย่างสูง
นกเค้าแมวสีคราม
.