ช่องบัสเลนประยุกต์ รถเมล์ x 3

ไม่เห็นด้วยช่วยบอกด้วยว่าเพราะอะไร (เพื่อปรับปรุงแก้ไข เพื่อส่วนรวม)

ประสิทธิ์ รจิตรังสรรค์ โทร 0906925132

ถึงมันจะ 1 ใน 100 หรือ 1 ใน 1000000 แต่ถ้ามันถูก มันก็ต้องถูก

   เพราะเรื่องบางเรื่อง (เรื่องใน VDO นี้) ไม่สามารถใช้เสียงส่วนใหญ่มาตัดสินถูกผิดได้  
           
   
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ     
     หมายเหตุ
     ถ้ายังไม่เคยดูห้องหว้ากอ ภาค 1,2,3,4, 5.1 , 6 , 6.1 ดูย้อนหลังคลิก "รู้ไว้ใช่ว่า" ที่บรรทัดสุดท้ายของกระทูนี้
     แล้วเลือกหัวข้อ ที่เกี่ยวกับรถเมล์ (มีมากมาย)


                หลักการ ของวิธีใน VDO นี้

ถ้าไม่รีบก็ใช้รถเก๋งต่อไป แต่ถ้ารีบให้เปลี่ยนมาใช้รถเมล์
โดยใช้ความเร็วของรถเมล์ (ใน VDO นี้) แลกเปลี่ยนกับความสะดวก สบายต่างๆ ฯลฯ ในรถเก๋ง
เพื่อให้ผู้ใช้รถเก๋งเปลี่ยนมาใช้รถเมล์มากๆๆๆ  เพื่อลดปัญหารถติดในกทม.

                             ช่องบัสเลนประยุกต์ รถเมล์  x 3
       เมื่อเปิด VDO นี้ จะเขียนว่า รถเก๋งติด รถเมล์ไม่ติด แปลว่าอะไร ?
     ในปัจจุบัน จะเห็นว่าจราจรในกทม. รถเก๋งติด แต่รถเมล์ติดมากกว่ารถเก๋ง เพราะรถเมล์ต้องรับส่งผู้โดยสาร
ที่ป้ายรถเมล์ด้วย ทำให้รถเมล์วิ่งช้ากว่ารถเก๋งมากๆ
      แต่วิธีในวีดีโอนี้ จะทำให้รถเก๋งติด แต่รถเมล์ไม่ติด
      หมายความว่า รถเก๋งจะติดเหมือน (เท่า) กับที่ติดอยู่ในปัจจุบัน แต่รถเมล์จะติดน้อยกว่าปัจจุบัน (วิ่งเร็วขึ้น
3 เท่า (ในเวลาเร่งด่วน)) โดยจากที่เคยวิ่งได้ 8 กม. / ชม. เป็น 24 กม. / ชม.  


         สาเหตุที่ต้องประยุกต์ช่องบัสเลนแบบที่ผ่านมา (ในอดีต) ?


1. ช่องบัสเลน (ในอดีต) แบบรถเมล์วิ่งผ่านตลอด โดยจะกำหนดเป็นเส้นทางยาวๆ
ผ่านหลายๆสี่แยก ทำให้รถเมล์สามารถ วิ่งผ่านสี่แยกได้เลย (แบบไม่ต้องติดไฟแดง)

ข้อดี ของช่องบัสเลนแบบรถเมล์วิ่งผ่านตลอด
รถเมล์วิ่งเร็วดีมากๆๆๆ (เพราะไม่ต้องติดไฟแดง)

ข้อเสีย ของช่องบัสเลนแบบรถเมล์วิ่งผ่านตลอด
รถเก๋งที่วิ่งในเส้นทางบัสเลนนี้ ต้องวิ่งไปยูเทรินที่ต้นทาง และ
ปลายทางของเส้นทางช่องบัสเลนนี้ เพราะรถเก๋งไม่สามารถวิ่งตัด (ผ่า)
ช่องบัสเลน ที่สี่แยกเหล่านี้
รถเก๋งจึงต้องวิ่งคู่ขนานไปกับช่องบัสเลนนี้  จึงทำให้เกิดรถติด (ล็อกเป็นวงแหวน)
ที่ต้นหรือปลายของช่องบัสเลนนี้


2. ช่องบัสเลน (ในอดีต) แบบรถเมล์วิ่งตามสัญญาณไฟ โดยกำหนดให้เป็นเส้นทางยาวๆ
แต่รถเมล์ต้องติดไฟแดง เช่น แบบหน้าราม หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ เป็นต้น

ข้อดี ของช่องบัสเลนแบบรถเมล์วิ่งตามสัญาณไฟ
รถเก๋งที่วิ่งในเส้นทางของช่องบัสเลนแบบนี้ สามารถวิ่งตัด (ผ่า) เส้นทางของช่องบัสเลนนี้
ได้ทุกๆสี่แยก
ทำให้รถเก๋งไม่ต้องวิ่งอ้อมไปยูเทริน เหมือนแบบข้อ 1. (แบบรถเมล์วิ่งผ่านตลอด)

ข้อเสีย ของช่องบัสเลนแบบรถเมล์วิ่งตามสัญาณไฟ
ช้ากว่าแบบข้อ 1. (แบบรถเมล์วิ่งผ่านตลอด)
แต่อาจเจอปัญหารถเมล์ติดไฟแดงยาวๆในช่องบัสเลน (แบบรถเมล์หน้าราม)
3 - 15 นาที (1 - 3 ไฟแดง) เพราะต้องปล่อยออกจากสี่แยกแบบแถวตอนเรียงหนึ่ง

สรุป ทั้ง 2 วิธีในอดีต ต่างก็มีข้อดีข้อเสียคนละด้าน




     ดังนั้นจึงต้องประยุกต์ ช่องบัสเลน (แบบในวีดีโอนี้) ดังต่อไปนี้

3. ช่องบัสเลนแบบประยุกต์ (แบบในวีดีโอนี้) จะต้องติดไฟแดง แต่จะติดเพียง 1.24 นาที / แยกเท่านั้น
โดยทุกครั้งที่มีการปล่อยรถเก๋ง 1 แยก (ประมาณ 1 นาที) จะปล่อยรถเมล์ทั้งสี่แยกๆละประมาณ 6 วิ เสมอ
ดังนั้นถึงจะต้องติดไฟแดง แต่จะติดเพียงประมาณ 1.24 นาที เท่านั้น (ดูรายละเอียดที่ห้องหว้ากอ ภาค 5.1)

และช่องบัสเลนแบบใน VDO นี้ จะมีการแบ่งถนนออกเป็น 3 ช่องคือ
1 ช่องรวม (A)
2 ช่องสำหรับรถเมล์ (B)
3 ช่องสำหรับรถเก๋ง (C)  
จึงทำให้ปล่อยรถเมล์วิ่งออกจากสี่แยก แบบเรียงหน้ากระดานได้ (ทำให้
ใช้เวลาปล่อยออกจากสี่แยกน้อยกว่าแบบแถวตอนเรียงหนึ่ง)

และการแบ่งถนนออกเป็น 3 ช่อง (ช่อง A B C) นี้ ยังช่วยทำให้
เพิ่ม "สัดส่วนเวลา"ในการปล่อย (ไฟเขียว) รถเมล์ได้มากขึ้น
ลด  "สัดส่วนเวลา" ในการปล่อย (ไฟเขียว) รถเก๋งน้อยลง
จึงทำให้รถเมล์ (ในเวลาเร่งด่วน) วิ่งเร็วกว่ารถเก๋งมากๆ
จึงเชื่อว่าจะทำให้ผู้ใช้รถเก๋งที่ต้องการความเร็ว (รีบ) เปลี่ยนมาใช้รถเมล์มากขึ้นมากๆ

ดังนั้น จะทำให้จำนวนรถเก๋งลดลงมากๆๆๆ ปัญหาจราจร ก็จะลดลงมากๆๆๆๆ


         เปรียบเทียบ
ช่องบัสเลนแบบรถเมล์ผ่านตลอด (ข้อ 1)
ช่องบัสเลนแบบรถเมล์ตามสัญาณไฟ (ข้อ 2)
ช่องบัสเลนแบบประยุกต์ (ข้อ 3) แบบใน VDO
   แบบข้อ 1 เร็วที่สุด แต่มีปัญหารุนแรงที่สุด (รถติดล็อคเป็นวงแหวน)
   แบบข้อ 2 เร็วน้อยที่สุด แต่ไม่มีปัญหารถติดเป็นวงแหวน
   แบบข้อ 3 เร็วมากกว่าแบบข้อ 2 มากๆ แต่ช้ากว่าแบบข้อ 1 และไม่มีปัญหารถติดเป็นวงแหวน

ข้อเสียของแบบข้อ 3 (แบบใน VDO) คือ
เป็นแบบใหม่ ที่ไม่เคยมีประเทศไหนเคยใช้มาก่อน จึงมีความซับซ้อนยุ่งยากมากๆ
แต่ความซับซ้อนยุ่งยากนี้ ทำให้ สามารถแก้ปัญหารถติด (ล็อคเป็นวงแหวน ของแบบข้อ 1) ได้
และทำให้แก้ปัญหา ติดไฟแดงนานๆ (3 - 15 นาที  ของแบบข้อ 2) ได้

ดังนั้น  ถึงแม้ว่าแบบในวีดีโอนี้ (แบบข้อ 3) จะมีความซับซ้อนยุ่งยาก
แต่มันสามารถแก้ข้อเสียของช่องบัสเลน (ในอดีต) ได้ทั้ง 2 แบบ
ดังนั้น ประโยชน์ของแบบในวีดีโอนี้ จึงคุ้มค่ากับความซับซ้อนยุ่งยาก
ที่มีมากเพิ่มขึ้น

หรือเปรียบกับเกวียนกับรถเก๋ง
เกวียน มีการผลิต และการใช้ ที่ซับซ้อนยุ่งยากไม่มาก
รถเก๋ง มีการผลิต และการใช้ ที่ซับซ้อนยุ่งยากมากๆ
แต่รถเก๋งมีประโยชน์ (ประสิทธิภาพ) มากกว่าเกวียนมากๆ
จึงทำให้มีการใช้รถเก๋งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
และมีการใช้เกวียน ลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน

ดังนั้น แม้ว่าวิธีใน VDO นี้ จะมีความซับซ้อนยุ่งยากมากกว่า
แต่วิธีใน VDO นี้ ก็มีประโยชน์ (ประสิทธิภาพ) มากกว่าวิธีในอดีต
                        

                   

                      สรุปข้อดีของวิธีใน VDO นี้

รถเก๋งแบบในVDOนี้ ไม่ต้องวิ่งไปยูเทริน ที่ต้นและปลายของช่องบัสเลน
(ยาวๆมากๆ) เหมือนแบบ ข้อ 1. เพระรถเก๋งแบบใน VDO สามารถวิ่งตัด (ผ่า) ช่องบัสเลนได้ทุกๆสี่แยก

และ ไม่เกิดปัญหารถเมล์ติดนานๆ ยาวๆ เหมือนข้อ 2. เพราะรถเมล์แบบใน VDO นี้ ติดไฟแดง
เพียงประมาณ 1.24 นาที และสามารถปล่อยออกจากสี่แยกแบบเรียงหน้า
กระดาน (แทนปล่อยแบบแถวตอนเรียงหนึ่ง)


                                       
                        

                   รถเมล์ x 3 คือ อะไร

     1. วิ่งเร็วขึ้น 3 เท่า


     2. เก็บเงินได้เพิ่ม 3 เท่า ขนคนได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า


     3. ยืนหรือนั่งบนรถเมล์นานน้อยลง 3 เท่า


     4. ใช้เวลารอรถเมล์ (ที่ป้าย) นานน้อยลง 3 เท่า

ดูรายละเอียดที่ ห้องหว้ากอ ภาค 5.1
               
                 
                        เปรียบเทียบ BRT กับวิธีในVDO
BRT มีจำนวนรถน้อยเกิน (22 คัน) จึงไม่ค่อยคุ้มในการยกให้ใช้ 1 เลน (แต่ขนคนได้ไม่เท่าไหร่)
BRT มีระยะทาง 16 กม. ใช้รถ 22 คัน วิ่งความเร็วเฉลี่ย 30 กม. / ชม. ให้รถผ่าน 5 นาที / 1 คัน / ในเวลาเร่งด่วน

ส่วนช่องบัสเลน แบบวิธีในVDO ให้รถเมล์ กับ รถตู้ วิ่ง และ ให้รถเมล์ทุกๆคัน ทุกๆสาย สามารถเข้ามาวิ่งในช่อง
บัสเลนนี้ได้ จึงมีจำนวนมากกว่า BRT หลายเท่า
     
     จึงทำให้ช่องบัสเลน ของวิธีใน VDO นี้ สามารถขนคนได้มากกว่า BRT หลายเท่า
     และวิธีนี้ ใช้เงินในการสร้างน้อยกว่า BRT หลายร้อยเท่า เพราะไม่ต้องดัดแปลง หรือสร้างถนนเพิ่มเลย
เพียงแต่ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรที่หน้าช่องบัสเลน และ ช่องสำหรับรถเก๋งเพิ่ม และ ตีเส้นจราจรแบบใหม่เพิ่ม
  
                         
     
     ข้อเสียของวิธีใน VDO นี้
     จะต้องใช้เฉพาะในเวลาเร่งด่วนเท่านั้น (ยกเว้นในบางถนนที่มีปัญหาจราจรมากๆ (บางสายหรือบางสี่แยก)
อาจใช้นอกเวลาเร่งด่วนด้วยก็ได้)
     จึงต้องมีเจ้าหน้าที่ (อาจไม่ใช่ตำรวจก็ได้) เป็นผู้ปล่อยสัญญาณไฟจราจรแบบใหม่นี้

    

วิธีในVDOนี้ สามารถใช้เพียง 1 แยก ได้หรือไม่ ?
ตอบ ได้ ถ้าต้องการให้แยกที่ 1 ใช้วิธีใน VDO ส่วนในแยกที่ 2 , 3 , 4 ให้ใช้วิธีปรกติ (เหมือนใน
ปัจจุบัน)
     ดังนั้นในสี่แยกนี้ ในแยกที่ 1 จึงแบ่งแยกออกเป็น ช่องสลับ ช่องบัสเลน ช่องสำหรับรถเก๋ง และที่หน้า
ช่องบัสเลน และ ช่องสำหรับรถเก๋ง จะติดตั้งสัญญาณไฟจราจร (แดง เหลือง เขียว) ไว้ที่หน้าช่องบัสเลน
และ ช่องสำหรับรถเก๋ง ส่วนช่องสลับ ก็จะมีสัญญาณไฟจราจร (แบบปัจจุบัน) อยู่แล้ว
     วิธีปล่อย
     ปล่อยรถเก๋งแยกที่ 1 ประมาณ 1 นาที สลับกับปล่อยรถเมล์ แยกที่ 1 ประมาณ 6 วินาที
     ปล่อยรถแยกที่ 2 ประมาณ 1 นาที สลับกับปล่อยรถเมล์ แยกที่ 1 ประมาณ 6 วินาที
     ปล่อยรถแยกที่ 3 ประมาณ 1 นาที สลับกับปล่อยรถเมล์ แยกที่ 1 ประมาณ 6 วินาที
     ปล่อยรถแยกที่ 4 ประมาณ 1 นาที สลับกับปล่อยรถเมล์ แยกที่ 1 ประมาณ 6 วินาที
     แล้ววนกลับมาปล่อยรถเก๋งและรถเมล์ ในแยกที่ 1,2,3,4,1,2...... โดยใช้วิธีทำนองเดียว
กับที่กล่าวไปแล้วทั้งหมด
     หมายเหตุ แยกที่ 1 ใช้คำว่า "ปล่อยรถเก๋ง" เพราะแยกที่ 1 มีการแบ่งแยกรถ
เก๋งกับรถเมล์ออกจากัน

     วิธีในVDOนี้ สามารถใช้เพียง 2 แยก ได้หรือไม่ ?
     ตอบ ได้ ถ้าต้องการให้แยกที่ 1 กับ 3 ใช้วิธีในVDO ส่วนในแยกที่ 2 , 4 ให้ใช้
วิธีปรกติ (เหมือนในปัจจุบัน)
ดังนั้นในสี่แยกนี้ ในแยกที่ 1 , 3 จึงแบ่งแยกออกเป็น ช่องสลับ ช่องบัสเลน ช่องสำหรับรถเก๋ง และ
ที่หน้า ช่องบัสเลน ช่องสำหรับรถเก๋ง จะติดตั้งสัญญาณไฟจราจร (แดง เหลือง เขียว) ไว้ที่หน้าช่อง
บัสเลน และ ช่องสำหรับรถเก๋ง ส่วนช่องสลับ ก็จะมีสัญญาณไฟจราจร (แบบปัจจุบัน) อยู่แล้ว
     วิธีปล่อย
     ปล่อยรถเก๋งแยกที่ 1 ประมาณ 1 นาที สลับกับปล่อยรถเมล์ แยกที่ 1 และ 3 ประมาณ 6 วินาที
     ปล่อยรถแยกที่ 2 ประมาณ 1 นาที สลับกับปล่อยรถเมล์ แยกที่ 1 และ 3 ประมาณ 6 วินาที
     ปล่อยรถเก๋งแยกที่ 3 ประมาณ 1 นาที สลับกับปล่อยรถเมล์ แยกที่ 1 และ 3 ประมาณ 6 วินาที
     ปล่อยรถแยกที่ 4 ประมาณ 1 นาที สลับกับปล่อยรถเมล์ แยกที่ 1 และ 3 ประมาณ 6 วินาที
     แล้ววนกลับมาปล่อยรถเก๋งและรถเมล์ ในแยกที่ 1,2,3,4,1,2...... โดยใช้วิธีทำนองเดียว
กับที่กล่าวไปแล้วทั้งหมด
     หมายเหตุ แยกที่ 1 และ 3 ใช้คำว่า "ปล่อยรถเก๋ง" เพราะแยกที่ 1 มีการแบ่งแยก
รถเก๋งกับรถเมล์ออกจากัน

     ดังนั้น วิธีในVDOนี้ จึงสามารถทำได้เพียง 1 แยก ในสี่แยก หรือ 2 แยก ใน สี่แยก หรือ 3 แยกใน
สี่แยก หรือจะทำวิธีในVDOนี้ ทั้ง 4 แยกเลยก็ได้

     ไม่เอาวิธีในVDOนี้ เพราะมันซับซ้อนยุ่งยาก กว่าวิธีในปัจจุบัน ?
     ตอบ โทรศัพท์ 4 G จะมีวิธีผลิตซับซ้อนยุ่งยากกว่า และ แพงกว่า 3 , 2 และ 1 G
แต่เพราะว่า โทรศัพท์ 4 G มันมีประสิทธิภาพสูงกว่า ถึงมันจะซับซ้อนยุ่งยาก และแพงกว่า แต่มันก็คุ้มค่า
ทำนองเดียวกับการที่คนใช้รถเก๋ง แทนเกวียน นั้นเอง
สรุป สัญญาณไฟจราจร แดงเหลืองเขียว ใช้มา เป็น 100 ปีแล้ว ถ้าจะปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงบ้าง ไม่ได้เลยหรือ ?

สุดท้าย ยังยืนยันว่า จะ 1 ใน 100 หรือ 1 ใน 1 ล้าน ถ้ามันถูก มันก็จะต้องถูก

มีทางเดียวที่จะตัดสินได้ คือ การพิสูจน์ ทดลอง ซ้ำแล้วซ้ำอีก
โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ และโดยผู้ชำนาญ เช่น ศ. หรือ ดร. (ด้านจราจร)
หรือนักวิทยาศาสตร์ หรือ ทีวี หรือ สื่อ ฯ เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่