รถติดใน กทม. ที่ยังแก้ไม่ได้เพราะรัฐยังไม่เชื่อว่า รถเมล์คือซุปเปอร์แมนที่ถูกมัดมือมัดเท่า

ประสิทธิ์ รจิตรังสรรค์   โทร 0906925132
      
       ปัญหารถติด เปรียบเหมือน การตักน้ำออกจากโอ่ง
     
       หมายเหตุ
       การตัก (ระบาย) น้ำ (คน) ออกจากโอ่ง (สี่แยก)
      
       ทุกวันนี้ เปรียบเหมือนกับ
       การใช้ช้อน (รถเก๋ง) ตัก (ระบาย) น้ำ (คน) ออกจากโอ่ง (สี่แยก)
       จึงทำให้ตักน้ำออกจากโอ่งได้ช้า (แก้รถติดไม่ได้)

       แต่ถ้า
       ใช้กระถาง (รถเมล์) ตัก (ระบาย) น้ำ (คน) ออกจากโอ่ง (สี่แยก)
       จะทำให้ตักน้ำออกจากโอ่งให้เร็วขึ้น (แก้รถติดได้)
      
       แล้วจะทำอย่างไร ผู้ใช้รถเก๋งในปัจจุบันจึงจะเปลี่ยนมาใช้รถเมล์หล่ะ ?
      
       ความเร็ว

       ปัญหารถติด ถ้าแปลไทยเป็นไทย จะแปลว่า
การเดินทางไปไหนมาไหน (โดยใช้รถ) ได้ช้า

       ดังนั้น
      
       ความเร็ว

       จึงเป็นคำตอบเดียวของปัญหารถติด

       แต่ที่รัฐ ย้งแก้ปัญหารถติดไม่ได้ เพราะรัฐยังไม่ได้โพกัส
ไปที่ความเร็ว (แก้มันไปทุกเรื่อง ในถนน) เช่น มันต้องคำนึงถึง
เศรษฐกิจ สังคม การเมือง โน่น นี่ นั่น ฯลฯ (แล้วมันจะแก้รถติด
ได้อย่างไรหล่ะ ?)


       คนป่วยเป็นโรคมะเร็ง
       แทนที่จะเน้น (เร่ง) รักษาโรคมะเร็ง
       แต่กลับมัวไปรักษาใฝ ฝี ขี้แมงวัน
       จนไม่มีเวลา (สมาธิ) ในการรักษาโรคมะเร็ง
       สุดท้าย ใฝ ฝี ขี้แมงวัน หายหมด
       แต่คนไข้ตาย เพราะโรคมะเร็ง


สรุป
ถ้าเกาไม่ถูกที่คัน
มันก็ไม่หายคัน

      
       ปัญหารถติดใน กทม.
       เกิดจากคนใน กทม. ใช้รถเก๋งกันมากขึ้นๆ ทุกวันๆ และ
ใช้รถเมล์กันลดลงๆ ทุกวันๆ

      
       ผู้ใช้รถเก๋ง ใช้ผิวจราจรมากกว่า ผู้ใช้รถเมล์ มากกว่า 10 เท่า
       รถเมล์ สามารถระบายคนผ่านสี่แยกได้เร็วกว่า รถเก๋ง มากกว่า 10 เท่า

      
       หมายเหตุ
       ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเว็บ a3n3t3.ran4u.com  
      
       ไม่มีใครทำให้รถทุกคันใน กทม. วิ่งได้เร็วทั้งหมดได้ เพราะรถเก๋ง
มีจำนวนมาก จะไปติดกันที่สี่แยก (หางแถวยาวมากๆ)

       แต่รถเมล์มีจำนวนน้อย และ ใช้ผิวจราจรน้อยกว่ารถเก๋ง 10 เท่า และ
ขนคนผ่านสี่แยกได้เร็วกว่ารถเก๋ง 10 เท่า

       ดังนั้น
       จึงเปรึยบรถเมล์เป็นซุปเปอร์แมน (แต่ถูกมัดมือมัดเท่า) เพราะรถเมล์
วิ่งช้ากว่ารถเก๋งมากๆ เพราะรถเมล์มีภาระที่จะต้องรับส่งผู้โดยสารตามป้าย
รถเมล์ด้วย

      

       หมายเหตุ
       ความช้าของรถเมล์ เปรีบยบเหมือน เชือก (ความช้า) ที่มัดมือมัด
เท่าซุปเปอร์แมน (รถเมล์) อยู่
      
       แล้วจะแก้เชือก (ความช้า) ที่มัดมือมัดเท้าให้ซุปเปอร์แมน (รถเมล์)
ได้อย่างไรหล่ะ ?

        ใช้ช่องบัสเลนแบบประยุกต์

        (ตามวิธีในวีดีโอนี้)


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

สาเหตุที่ต้องประยุกต์ช่องบัสเลนแบบที่ผ่านมา (ในอดีต) ?


1. ช่องบัสเลน (ในอดีต) แบบรถเมล์วิ่งผ่านตลอด โดยจะกำหนดเป็นเส้นทางยาวๆ
ผ่านหลายๆสี่แยก ทำให้รถเมล์สามารถ วิ่งผ่านสี่แยกได้เลย (แบบไม่ต้องติดไฟแดง)

ข้อดี ของช่องบัสเลนแบบรถเมล์วิ่งผ่านตลอด
รถเมล์วิ่งเร็วดีมากๆๆๆ (เพราะไม่ต้องติดไฟแดง)

ข้อเสีย ของช่องบัสเลนแบบรถเมล์วิ่งผ่านตลอด
รถเก๋งที่วิ่งในเส้นทางบัสเลนนี้ ต้องวิ่งไปยูเทรินที่ต้นทาง และ
ปลายทางของเส้นทางช่องบัสเลนนี้ เพราะรถเก๋งไม่สามารถวิ่งตัด (ผ่า)
ช่องบัสเลน ที่สี่แยกเหล่านี้
รถเก๋งจึงต้องวิ่งคู่ขนานไปกับช่องบัสเลนนี้  จึงทำให้เกิดรถติด (ล็อกเป็นวงแหวน)
ที่ต้นหรือปลายของช่องบัสเลนนี้


2. ช่องบัสเลน (ในอดีต) แบบรถเมล์วิ่งตามสัญญาณไฟ โดยกำหนดให้เป็นเส้นทางยาวๆ
แต่รถเมล์ต้องติดไฟแดง เช่น แบบหน้าราม หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ เป็นต้น

ข้อดี ของช่องบัสเลนแบบรถเมล์วิ่งตามสัญาณไฟ
รถเก๋งที่วิ่งในเส้นทางของช่องบัสเลนแบบนี้ สามารถวิ่งตัด (ผ่า) เส้นทางของช่องบัสเลนนี้
ได้ทุกๆสี่แยก
ทำให้รถเก๋งไม่ต้องวิ่งอ้อมไปยูเทริน เหมือนแบบข้อ 1. (แบบรถเมล์วิ่งผ่านตลอด)

ข้อเสีย ของช่องบัสเลนแบบรถเมล์วิ่งตามสัญาณไฟ
ช้ากว่าแบบข้อ 1. (แบบรถเมล์วิ่งผ่านตลอด)
แต่อาจเจอปัญหารถเมล์ติดไฟแดงยาวๆในช่องบัสเลน (แบบรถเมล์หน้าราม)
3 - 15 นาที (1 - 3 ไฟแดง) เพราะต้องปล่อยออกจากสี่แยกแบบแถวตอนเรียงหนึ่ง

สรุป ทั้ง 2 วิธีในอดีต ต่างก็มีข้อดีข้อเสียคนละด้าน
แต่ข้อเสียมากกว่า จึงไม่นำมาใช้ในปัจจุบัน




     ดังนั้นจึงต้องประยุกต์ ช่องบัสเลน (แบบในวีดีโอนี้) ดังต่อไปนี้

3. ช่องบัสเลนแบบประยุกต์ (แบบในวีดีโอนี้) จะต้องติดไฟแดง แต่จะติดเพียง 1.24 นาที / แยกเท่านั้น
โดยทุกครั้งที่มีการปล่อยรถเก๋ง 1 แยก (ประมาณ 1 นาที) จะปล่อยรถเมล์ทั้งสี่แยกๆละประมาณ 6 วิ เสมอ

ดังนั้นถึงจะต้องติดไฟแดง แต่จะติดเพียงประมาณ 1.24 นาที เท่านั้น

ดูรายละเอีดยเพิ่มที่เว็บ a3n3t3.ran4u.com
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
สรุป ...รวม ๆ ผมเห็นด้วยเกือบหมดเลยนะ  และก็ยังงงว่า ทำไม ผู้เกี่ยวข้อง เขาถึงยังนิ่งเฉยกันอยู่
แต่ปรากฏว่า...ล่าสุด เขากำลังวางแผนกันอยู่นะ และทุกเรื่องที่โพส ๆ กัน มีการพูดถึงแทบทุกประเด็น
..........................................................................................................................................
แต่ผมอาจจะมีความเห็นต่างไปจาก จขกท นิสหน่อย เพราะรถยังต้องส่งคนส่งของเลนซ้ายจำนวนมาก
รวมทั้งรถที่วิ่งชิดซ้ายเพื่อเลี้ยวซ้ายผ่านตลอด จะสัมพันกับการจอดตลอดเส้นทาง ลองอ่านดูครับ...ขอบคุณ
........................................................................................................................................
หัวใจคือ...ทำยังไงก็ได้ให้รถเมล์วิ่งเร็วกว่ารถส่วนตัว  
ตรงเวลา บอกเวลาเข้าป้าย รถผ่านถี่ตามปริมาณคน
..........................................................................
1.รถเมล์วิ่งชิดขวา สวนกันไปกลับ ป้ายอยู่เกาะกลาง
ปัญหาอยู่ที่จะให้คนข้ามสะดวกปลอดภัยได้อย่างไร
และมีค่าใช้จ่ายการก่อสร้างที่เหมาะสมแต่ละสถานที่

-ป้ายส่วนใหญ่สอดคล้องกับสะพานลอยคนข้ามเดิม

-สร้างสะพานลอยขนาดใหญ่ใหม่เฉพาะที่คนใช้เยอะ
โดยเฉพาะสถานศึกษา โรงพยาบาลซึ่งสมเหตุสมผล

-ป้ายคนใช้น้อยใช้ทางม้าลายมีไฟแดงคนข้ามกดได้
ซึ่งทางม้าลายส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับทางแยกเช่น...
ถ้าเป็นสี่แยกก็สอดคล้องกับระบบไฟหลักที่มีอยู่แล้ว
ถ้าปากซอยเมื่อกดไฟแดง รถในซอยก็จะออกได้ง่าย
สรุปง่าย ๆ คือ เป็นจุดที่รถทางตรงต้องชะลออยู่แล้ว

นี่คือป้ายส่วนใหญ่ที่ลงทุนไม่สูง คนสะดวกขึ้นลงง่าย
คนแก่ คนพิการ จะใช้ได้ โดยไม่ต้องขึ้นสะพานลอย
..........................................................................
2.เลนรถเมล์มีแท่งปูนกั้น ยกออกได้เมื่ออยากเปลี่ยน
ตามแยกจะเว้นไว้ มีแทบสีแสดงห้ามจอดหรือชลอรถ
รถที่แอบเข้ามาวิ่งตรงไฟแดงจะมีกล้องจับทะเบียนรถ
บทลงโทษคือคุณจะเข้ามาวิ่งได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต
..........................................................................
3.ระบบไฟ ควบคุมที่ห้องควบคุมส่วนกลางการเดินรถ
รถทุกคันจะแสดงตำแหน่งรถบนเส้นทางแบบเรียลไทม์
เมื่อรถออกตัว จากป้ายที่ใกล้แยก ไฟจะเขียวอัตโนมัติ
ด้วยรถเมล์ตรงเวลา จึงสอดคล้องกับช่วงไฟแดงปกติ
หมายถึง...รถเมล์ไม่ได้ทำให้แยกที่มาตัด ติดกว่าเดิม
แค่รถเมล์ถูกวางแผนมาให้ตรงช่วงเวลาไฟเขียวเสมอ
-ห้องควบคุมคือศูนย์กล้องวงจรปิด เมื่อมีสิ่งกีดขวาง
จะแจ้งสายด่วน พนักงานม้าเร็ว เข้าไปแก้ปัญหาทันที
-ที่ห้องควบคุมจะสื่อสารกับคนขับตลอดแบบเรียลไทม์
เพื่อควบคุมความเร็ว เวลาจอดป้าย หรือเพิ่มจำนวนรถ
ให้รถออกถี่ขึ้น เมื่อคนล้นป้าย หรือในทางตรงกันข้าม

ทำให้รถเมล์วิ่งเร็วตรงเวลา และจำนวนรถสัมพันกับคน
..........................................................................
4.การจำหน่ายตั๋ว (เตรียมเหรียญหรือซื้อบัตรล่วงหน้า)
ใช้บัตรและเหรียญดำเหมือนรถไฟฟ้าทุกอย่าง แต่...
ป้ายมี 2 แบบ
ป้ายขนาดใหญ่ใช้แบบรถไฟฟ้าคือผ่านเข้าออกที่ตัวป้าย
ป้ายขนาดเล็ก...ผ่านเข้าออกที่ตัวรถประตูหน้าประตูหลัง
คุณจะขึ้นลงป้ายแบบไหนก็ตาม สามารถใช้ระบบผ่านได้

ป้ายขนาดเล็กที่มีจำนวนมากมาย ก็จะใช้ระบบร่วมกันได้
ไม่ต้องไปสร้างให้มันอลังการตลอดเวลา สมเหตุสมผล

คนขับรถจะเป็นผู้ควบคุมจุดผ่าน เมื่อถึงป้ายชนิดต่างๆ
เมื่อถึงป้ายเล็ก...สัญญาณจุดผ่านที่ประตูรถจะทำงาน
เมื่อถึงป้ายใหญ่...สัญญาณที่ประตูรถจะให้ผ่านตลอด
สรุปง่ายๆป้ายเล็กผ่านที่ตัวรถ ป้ายใหญ่ผ่านที่ตัวป้าย
..........................................................................
ไม่ต้องห้ามซื้อรถ หรือการใช้รถ ทุกคนมีสิทธิจะเลือก
เมื่อรถเมล์วิ่งเร็วกว่ารถไฟฟ้า 2 เท่าใครไม่นั่งก็ตามใจ
..............................................................................
ในคลิปคือ...
รูปแบบป้ายแบบง่าย ๆ ที่รถเข้าไปวิ่งได้ในเวลาไม่เร่งด่วน
หรือถนนที่ก็ไม่ได้รถติดทั้งวัน ก็ไม่ต้องสร้างป้ายราคาแพง
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่