รัฐบาลเฉพาะกาล ( Provisional Government )

รัฐบาลเฉพาะกาล ( Provisional Government )


    คำว่า รัฐบาลเฉพาะกาล มาจากคำอังกฤษว่า Provisional Government หรือจะเรียกว่า รัฐบาล ชั่วคราว (Interim Government) ก็ได้

    รัฐบาลเฉพาะกาล คือ เครื่องชี้ขาดความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น การ เปลี่ยนแปลงระบอบเผด็จการให้เป็นระบอบประชาธิปไตย เพราะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะ ความสำเร็จได้ ต้องใช้รัฐบาลเฉพาะกาลเท่านั้น เป็นรัฐบาลของประชาชนจึงมีอำนาจมากที่สุด ไม่ใช่ รัฐบาลตามปกติ หรือรัฐบาลรักษาการณ์ (Caretaker Government) ซึ่งไม่มีอำนาจ

    ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่งนั้น ขึ้นอยู่กับ ความสำเร็จของระยะผ่าน (Transitional Periods) หรือที่เราเรียกกันว่า “ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ” (Turning Point)

    ความสำเร็จของระยะผ่าน จึงขึ้นอยู่กับความสำเร็จของ การปกครองในระยะผ่าน ซึ่งก็คือ รัฐบาลเฉพาะกาล

    นักวิชาการก็ยังไม่เข้าใจว่ารัฐบาลเฉพาะกาลเป็นอย่างไร เช่น ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ พูดไว้ใน โพสต์ทูเดย์ว่า … รัฐบาลแห่งชาติเป็นรัฐบาลเฉพาะกิจเท่านั้น เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายกลับสู่สภาวะปกติ รัฐบาลแห่งชาติก็ต้องสลายตัวไปเพื่อให้ระบบการตรวจสอบสามารถทำงานได้ตามปกติ ต้องระลึกไว้ เสมอว่าจะไม่มีรัฐบาลแห่งชาติในสภาวะปกติ ถ้าเรามีนักวิชาการเช่นนี้ ก็ถือเป็นเวรกรรมประเทศ
    
    รัฐบาลที่มีบทบาทในการแก้วิกฤติของชาติได้นั้น ต้องมีฐานะเป็น “รัฐบาลเฉพาะกาล” (Provisional Government) เท่านั้น เป็นรัฐบาลที่มีภารกิจพิเศษเฉพาะแต่เป็นการชั่วคราว กล่าวคือ เมื่อ ปฏิบัติหน้าที่ภารกิจพิเศษเสร็จสิ้นแล้ว ก็ต้องยุบตัวเอง แล้วเปิดให้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง (Elected Government) เข้ามารับหน้าที่บริหารประเทศต่อไป จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รัฐบาลชั่วคราว (Interim)

    รัฐบาลเฉพาะกาล เป็นรัฐบาลชนิดหนึ่งของหลักวิชารัฐศาสตร์ ที่จัดตั้งขึ้นในยามที่บ้านเมืองมี ความจำเป็นมีวิกฤติทั่วไปเท่านั้น คือต้องมีรัฐบาลชนิดนี้เท่านั้นจึงจะแก้ปัญหาของชาติได้ เช่น การ รักษาความมั่นคงของชาติ การสงคราม การเปลี่ยนแปลงการปกครอง การสร้างประชาธิปไตย การฟื้นฟูหลังเหตุการณ์วิกฤติทางการเมือง เพราะรัฐบาลชนิดนี้มีประชาชนเป็นกำลังจึงมีอำนาจมาก ที่สุด

    แต่รัฐบาลชนิดนี้สำหรับบ้านเรา ระบอบเผด็จการซึ่งเป็นอำนาจของชนส่วนน้อยจะไม่ยอมให้ มีรัฐบาลเฉพาะกาลเกิดขึ้น เพราะกลัวเสียอำนาจ จึงใช้วิธีการทำลายการจัดตั้งรัฐบาลชนิดนี้ ทำลาย สภาองคมนตรีของ ร.7 ทำลายสภาปฏิวัติแห่งชาติ กล่าวหาว่า การปฏิวัติเป็นความรุนแรง การปฏิรูป เป็นความสันติ และเป็นเผด็จการเพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลรักษาการณ์เป็นต้น

รัฐบาลเฉพาะกาลคือทางออกของประเทศ
โดย อ.วันชัย พรหมภา


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่