มีคำถาม-ข้อสงสัยเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 2559 ในบางมาตราครับ (The Mario)

เรียน WM และเพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน

กระทู้คำถามนี้มิได้มีจุดประสงค์เพื่อชี้นำให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียงหรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงแต่มีข้อสงสัยบางประการเกี่ยวกับบางมาตราในการบังคับปฏิบัติจริงของคณะทำงานตามรัฐธรรมนูญ 2559 เท่านั้น ยังคงเคารพในสิทธิ์และเสียงของผู้มีสิทธิ์ของผู้มีสิทธิ์ทุกฝ่ายและพร้อมที่จะยอมรับผลของประชามติของประชาชนทั้งประเทศหลังจากผ่านการทำประชามติแล้ว ทั้งหมดนี้คือเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนในการนำรัฐธรรมนูญมาบังคับใช้ให้สมดังเจตนาปฏิรูปประเทศไทยเพื่อประชาธิปไตยอันยั่งยืน

จาก คหสต กลุ่มบุคคลที่จะลงมติ รับ-ไม่รับ มีหลายประเภทเช่น
1.ไม่รับเพราะเกลียด คสช หัวชนฝา
2. ไม่รับเพราะศึกษาแล้วมันมีอะไรที่ซ่อนดาบ ซ่อนปม เพื่อต่อท่ออำนาจ
3. ลังเลว่าจะไม่รับ ไม่ค่อยรู้เรื่องการเมืองแต่ยังเข็ดหลาบกับ รธน. ปี50 และได้รับฟังคำวิจารณ์จากโลกโซเชียลว่าสมควรไม่รับ
4. ลังเลว่าจะรับ เพราะอยากเลือกตั้งแล้ว ดีไม่ดีไม่รู้ขอไปตายเอาดาบหน้า ทำยังไงก็ได้ให้ คสช ไปเร็วๆ และเชื่อจากโลกโซเชียลให้โหวต yes ทหารจะได้กลับกรมกอง
5. รับเพราะศึกษามาแล้วว่ามันซ่อนดาบซ่อนปมเลยคิดจะใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เพราะคิดว่าตัวเองได้เปรียบ แม้วเสร็จแน่ๆ จะได้เลิกๆเล่นการเมืองไปซะ เหมือนลูกไก่ในกำมือ
6. รับเพราะคิดว่าเป็นรัฐธรรมนูญเพื่อปราบนักการเมืองโกง
7. รับเพราะเชียร์ คสช. ไม่ลืมหูลืมตา
8. รับ-ไม่รับ เพราะเหตุผลอื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมา

ณ เวลานี้เราต้องยอมรับความจริงว่าฝ่ายรับเปรียบเสมือนเจ้าบ้าน ส่วนฝ่ายไม่รับเปรียบเสมือนผู้มาเยือน ด้วยข้อกฏหมายและข้อบังคับอะไรหลายๆอย่างในปัจจุบันทำให้ฝ่ายที่ไม่รับร่างไม่สามารถแสดงออกในสิ่งที่ต้องการได้อย่างเต็มที่ แต่ยังไงก็ตามในฐานะประชาชนไทยคนหนึ่งที่มีสิทธิ์ในการออกเสียงประชามติ รับ-ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 มีข้อสงสัยบางประการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดังนี้

มีความสงสัยในบางมาตราครับ เช่น มาตรา 107 ในส่วนของวุฒิสภา


เป็นที่ชัดเจนใน รธน. ฉบับนี้ว่าสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกกันเองทั้งหมดของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงานหรือเคยทำงานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายของสังคม เราจะมีมาตรฐานอะไรมารองรับว่ากลุ่มบุคคลเหล่านั้นไม่เอนเอียงเข้าข้างพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่งหรือจงเกลียดจงชังพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่งและคอยขัดขวางการทำงานของรัฐบาลดังเช่นกรณีกลุ่ม 40สว. ในอดีตซึ่งมี สว.สรรหาเป็นส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม แม้จะมีบางมาตราเช่น มาตรา ๑๑๓ สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ฝักใฝ่หรือยอมตนอยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมืองใดๆ แต่ในทางปฏิบัติจริงจะมีการเกิดข้อครหา 2 มาตรฐานแบบที่เคยเกิดขึ้นหรือไม่

ในวาระเริ่มแรก ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสองร้อยห้าสิบคน ตามมาตรตรา 269 ดังนี้




จะเห็นได้ว่า สว. ทั้งหมดในวาระเริ่มต้น 250 คน ถูกแต่งตั้งมาจาก คสช. ทั้งหมด เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่มีการส่งกลุ่ม สว.เหล่านี้มาเพื่อต่อท่ออำนาจให้กับกลุ่มคณะใดคณะหนึ่ง หรือมาทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติเพื่อประชาชนไทยจริงๆ ทุกอย่างยังเป็นปริศนาเพราะอำนาจ สว. มีมากมายเพียงพอที่จะล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนไทยได้ทุกเมื่อ โดยใช้อำนาจของคณะทำงานศาลรัฐธรรมนูญที่ตัวเองเป็นฝ่ายแต่งตั้งขึ้นมาจัดการกับรัฐบาลได้ทุกเมื่อ



จากมาตรา 82 เราจะมีความเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าการตัดสินความใดให้กับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะไม่เกิดกรณีตามข้อครหา 2 มาตรฐาน ในอดีตเช่นฟากการเมืองหนึ่งผิดเสมอแม้แต่ทำกับข้าวออกทีวีก็ยังผิด แต่อีกฟากการเมืองหนึ่งไม่ผิดอะไรเลย พ้นจากข้อหาไปน้ำขุ่นๆด้วยเช่นกรณีการยื่นเอกสารช้าของ กกต. ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ถูกยกฟ้อง เป็นต้น


หากเราไปไล่ดูตามมาตราต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่กับมาตรา 82 มันมีโอกาสเป็นไปได้เช่นกันที่จะเกิดกรณี 2 มาตรฐานที่พร้อมจะตัดสินความผู้ดำรงค์ตำแหน่งทางการเมืองได้ทุกเมื่อเช่น มาตรา ๑๐๑ (๗) กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๑๘๔ หรือมาตรา ๑๘๕


จากมาตรา ๑๐๑ (๗) มันมีมาตรา ๑๘๕ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย


จากทั้ง 3 ข้อในมาตรา 185 นี้ หากเกิดกรณี 2 มาตรฐานขึ้นมาในการตัดสินความของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็สามารถกระทำการได้โดยง่ายเช่นในอดีตที่ผ่านมา เพราะสามารถตีความออกไปได้กว้างและออกได้ทุกทางว่าผิดจริงหรือไม่ผิด ฉะนั้นแล้วเราจะมีความเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าจะไม่เกิดกรณีนี้ขึ้น

ในกรณีเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ตามมาตรา ๕ น ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญจัดให้มีการประชุมร่วมระหว่างประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ แลประธานองค์กรอิสระเพื่อวินิจฉัย



การวินิจฉัยของที่ประชุมร่วมให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด จากการสังเกตคณะในที่ประชุมตามมาตรานี้จะเกิดข้อครหาในด้านการลงมติเด็ดขาดของที่ประชุมหรือไม่ มีการเล่นพรรคเล่นพวกโดยไม่ยึดติดในเหตุและผลในที่ประชุมหรือไม่

จากมาตรา ๘๐ ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน


ในกรณีเข้ามาทำหน้าที่ประธานสภาของประธานวุฒิสภา จะเป็นการก้าวล่วงฝ่ายบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่ และทำไมไม่ให้รองประธานสภาทำหน้าที่แทน

มาตรา ๒๗๒ กรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภาขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘



จากมาตรา ๘๓ สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคน ดังนี้

จากจำนวน ส.ส. ระบบแบ่งเขตที่ลดลงเหลือ 350 คน และระบบบัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้นเป็น 150 คน และจากกติกาการคัดเลือก ส.ส. ที่กำหนดขึ้นมาใหม่จะเป็นการกระจายจำนวน ส.ส. ไปให้กับพรรคการมืองที่ 3,4,5 หรือไม่ และหากเกิดกรณีที่พรรคการเมืองที่ 2 จับมือกันกับพรรคการเมืองที่ 3,4,5,> เพื่อโดดเดี่ยวพรรคการเมืองที่ 1 ไปเป็นฝ่ายเสนอชื่อนายกฯพรรคเดียวก็สามารถทำได้  และในกรณีที่เสียงทั้ง 2 ฟากมีจำนวนเท่ากันหรือใกล้เคียง จะเป็นการเปิดช่องให้เกิดการนำเสนอชื่อนายกฯคนนอกตามมาตรา ๒๗๒ หรือไม่

เราจะแน่ใจอย่างไรว่าจะไม่เกิดกรณีรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง
ในอดีตที่ผ่านมาเราเคยมี รัฐธรรมนูญ ให้สิทธิแก่ประชาชนในการต่อต้านรัฐประหารดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 69 ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้”  แต่เราไม่ปรากฏบทบัญญัติใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้  หากในวันข้างหน้าเกิดกรณีม็อบล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกครั้ง และกลไกเอาผิดตามรัฐธรรมนูญต่างๆของศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระต่างๆ ไม่สามารถเอาผิดรัฐบาลที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ได้  การรัฐประหารจะเป็นดาบสุดท้ายในการตัดสินความโดยใช้ข้ออ้างเพื่อลดความแตกแยกของสังคมไทยอีกหรือไม่

จากข้อสงสัยที่มีมาทั้งหมดในกระทู้นี้ยังคงยืนยันว่ามิได้มีเจตนาชี้นำเรื่องรับร่าง-ไม่รับร่างแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงข้อสงสัยในการปฏิบัติจริงในอนาคตในกรณีที่รัฐธรรมนูญผ่านการประชามติ ว่ามันจะมีกรณีดังที่ผมสงสัยเกิดขึ้นหรือไม่  และไม่มีเจตนาที่จะขัดขวางการทำงานของคณะทำงานแต่อย่างใด ยังคงให้โอกาส เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญที่ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนไทยให้มากที่สุด ให้สมกับวันเวลาและงบประมาณที่เสียไปให้เราได้การปฏิรูปประเทศไทยเพื่อประชาธิปไตยที่ยั่งยืนจริงๆ

อ่านรัฐธรรมนูญฉบับเต็มเพิ่มเติมได้ตามลิ้งค์ที่แนบ http://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=429&filename=index%E2%80%9C

The Mario 7 เมษายน 2559 (22.25 น.)
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7


รัฐมนตรีต้อง
มาตรา 160(4) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

ต่อไปศาลรัฐธรรมนูญงานคงจะมีมาก ด้วยการตีความว่าบุคคลใดมีคุณสมบัติตามข้อนี้
โดยความรู้สึกเดิมๆที่ผ่านมา แม้แต่การประเมินผลการทำงานของข้าราชการ เอกชน
คนที่ไม่เคยทำความผิดหรือ ไม่เคยตัดสินว่าทุจริต ไม่มีใครรู้ว่าทำความผิด ก็จะเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ได้คะแนนเต็ม
แต่ต่อไปนี้ ต้องบอกให้ได้ว่า ที่เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต มีอะไรบ้าง(เป็นที่ประจักษ์)
ถ้าบอกไม่ได้ แสดงว่าบุคคลนั้นเป็นคนที่ไม่ซื่อสัตย์ ไม่สุจริต
เพราะคนเรา มีดี และ ไม่ดี แค่ 2 ด้าน
ความคิดเห็นที่ 19
ในฉบับล่าสุดที่มีการปรับปรุงแก้ไข สส.และรัฐมนตรี จะต้องพ้นจากตำแหน่งไป
หากศาลฎีกา (ร่างเดิมเป็นศาลรธน.แก้ใหม่เป็นศาลฎีกา ก็ดีขึ้นเล็กน้อย เพราะ
ที่ผ่านมาศาลรธน.วินิจฉัยในลักษณะที่สาธารณ เข้าใจได้ยากหรือไม่เห็นด้วยมาก)
หากศาลฎีกามีมติว่าฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง สส.และรัฐมนตรี จะต้องพ้นจากตำแหน่ง

ร่างรธน.ในส่วนที่ สส.ต้องพ้นไปเมื่อฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ร่างรธน.ในส่วนที่ รมต.ต้องพ้นไปเมื่อฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

แต่ผู้ที่ร่างมาตราฐานจริยธรรมนี้คือศาลรธน.และองค์กรอิสสระ อาจมีการร่าง
กำหนดบางอย่างที่เป็นการลิดรอนสิทธิของสส.ได้ อาทิเช่น อาจถือว่า การ
รับคำแนะนำ จากผู้ที่ต้องคดี ถือเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง เพื่อเอาผิด
สส.เพื่อไทย และตัดการติดต่อระหว่างคุณทักษิณกับพรรคเพื่อไทย

ส่วนตัวผมเชื่อว่า จะมีการกำหนดมาตราฐานจริยธรรมข้อนี้ขึ้นมาแน่นอนเพื่อ
ตัดคุณทักษิณออกจากเพื่อไทย
ความคิดเห็นที่ 3
สำหรับผมแล้ว กระทู้นี้นับเป็นกระทู้ที่ดีที่สุดอันหนึ่งแห่งปี 2559 เลยทีเดียว
ความคิดเห็นที่ 1
เขียนไม่เก่ง แต่ว่า เรื่องต่างๆ นี่ น่าจะมีบางเรื่อง
ที่หลายๆ ท่าน สงสัยเหมือนๆ กันครับ
ทาง โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ได้หยิบยกประเด็นที่น่าสงสัยมาวิเคราะห์ให้ชมเหมือนกันครับ

iLaw วิเคราะห์ 7 ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ
http://prachatai.com/journal/2016/04/65102
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่