การที่พนักงานของบริษัทไปทำอาชีพเสริม(ขายตรง)โดยใช้เวลาเสาร์-อาทิตย์ (นอกเวลางาน)ถือว่าผิดมั้ยคะ

1. ไปทำขายตรงนอกเวลางาน คือก่อนเวลาทำงาน + หลังเลิกงาน และวันเสาร์อาทิตย์ซึ่งเป็นวันที่บริษัทฯหยุดค่ะ
แบบนี้ น่าจะไม่ผิดระเบียบ แล้วตามกฎหมาย ถ้าบริษัทเลิกจ้าง จะได้ค่าชดเชยมั้ยคะ
2. แล้วกรณีที่บริษัทมีหลักฐานจับได้ว่า เอาเวลาไปขายตรงในเวลางาน บริษัทฯจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ได้มั้ยคะ ?

ขอความเห็นจากท่านผู้รู้กฎหมายแรงงานด้วยค่ะ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
กรณีดังกล่าวนี้คงต้องพิจารณาด้วยหลักรัฐศาสตร์การปกครองและหลักนิติศาสตร์ที่ว่ากันด้วยเรื่องของกฎหมายควบคู่กันไป

การทำธุรกิจขายตรงนั้นมิใช่ความผิดใดๆหากเป็นธุรกิจที่ถูกกฎหมาย ดังนั้นแล้ว ระเบียบข้อบังคับหรือสัญญาการจ้างงาน จะวางหลักกรณีการทำงานเสริมได้เพียงแค่ห้ามการค้าแข่งนายจ้าง แต่หากเป็นการห้ามประกอบการใดๆระหว่างเป็นนายจ้างลูกจ้าง ซึ่งเป็นเวลานอกงานค่อนข้างจะบังคับใช้มิได้เนื่องจากนอกเวลางาน ก็เป็นเวลาส่วนตัวของลูกจ้าง และเป็นการตัดการทำมาหาได้ของลูกจ้างไปเสีย

แต่อย่างไรก็ตาม หากลูกจ้างสามารถแบ่งสรรปันส่วนเวลางานและเวลาส่วนตัวในการทำธุรกิจได้ ก็ไม่เป็นปัญหา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหากลูกจ้างเอางานส่วนตัว หรือธุรกิจส่วนตัวมาทำในเวลางาน ยิ่งโดยเฉพาะใช้ทรัพยากรของนายจ้างไปกับเรื่องส่วนตัวทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือเสียประโยชน์ เช่นนี้ถือเป็นความผิดร้ายแรงสามารถเลิกจ้างได้ตามมาตรา 119

แต่ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวซึ่งหลายๆองค์กรกำลังประสบอยู่นั้น ผมให้ key point ไว้คำหนึ่งว่า "การสร้างความเข้าใจ" คือท่านทำความเข้าใจกับลูกจ้างเขาก่อนว่า ให้แบ่งแยกเวลากันให้ชัดเจน เตือนเขาก่อนกระทำผิดว่าอย่าเอาเวลางานไปทำธุรกิจส่วนตัว แต่หากเป็นนอกเวลางาน บริษัทไม่เข้าไปก้าวก่าย หากนายจ้างลูกจ้างเข้าใจตรงกันในส่วนนี้ ส่วนตัวผมเห็นว่าก็ไม่น่ามีปัญหาในการบริหารจัดการครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่