ข้อสงสัยเกี่ยวกับเงินชดเชย ตามกฎหมายใหม่ กรณีเกษียนจาก บ.เอกชน

พี่ชาย ทำงานบริษัทเอกชน ตอนเข้าทำงาน  กติกาของที่นี่คือ อายุงานเกิน 10 ปี  จะได้เงินชดเชยจากที่ทำงาน  "สูงสุด" จำนวน  10 ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย    พี่ชายบอกว่า ตอนเข้าทำงานก็ไม่ได้เซ็นสัญญา  และก็ไม่มีหลักฐานอะไรในตัวเกี่ยวกับสัญยาจ้างเลย  จนถึงปัจจุบัน

                    อีกห้าเดือน พี่ชายจะอายุครบ 60 ปี และก็เกษียนอายุ  อายุการทำงานที่นี่ 22 ปี

                              ขอเรียนสอบถามท่านผู้รู้หรือท่านที่มีประสพการณ์นะครับว่า 
1.ตามกฎหมายใหม่ ลูกจ้างที่มีอายุงานเกิน 20 ปี จะได้รับเงินชดเชย 400 วัน   แล้วในกรณีของที่ทำงานพี่ชาย  จะขอรับตามกฎหมายใหม่ได้หรือไม่ หรือว่าเป็นไปตามกฎระเบียบของบริษัทเมื่อยี่สิบปีกว่ามาแล้วครับ  (คือรับสูงสุด 10 เท่าของเงินเดือนหรือเท่ากับค่าจ้าง 300 วัน)  
                          ในทางปฏิบัติ  คนที่เกษียนและอายุงานเกิน 20 ปี เขาได้เงินสะสมเพียง 10 เท่าของเงินเดือนเท่านั้นเอง(คนล่าสุด  ออกไปก่อนเดือนเมษายน 2563  เป็นช่วงก่อนที่กฎหมายใหม่มีผลบังคับหรือเปล่าไม่แน่ใจครับ)

2.ถ้าพี่ชายจะยืนยันจะขอตามกฎหมายใหม่ ต้องยื่นคำร้องใช่หรือไม่  หรือว่าไม่จำเป็น เพราะกฎหมายบังคับอยู่แล้ว  แบบนี้เข้าใจถูกไหมครับ

3. ในแง่กฎหมาย กฎระเบียบที่มีมาก่อนกฎหมาย  แบบนี้บริษัทเขาก็ยึดถือตามกฎของเขาได้เลยใช่ไหมครับ  (เขาเสียประโยชน์น้อยกว่า) หรือว่า กฎระเบียบใด ๆ  ก็ต้องอิงกับกฎหมายที่ออกมาใหม่

4.การที่ฝ่ายบุคคล  ให้คนเกษียนทุกคน เขียนใบลาออก  คือเพื่อบริษัทจะจ่ายตามกฎเดิมใช่ไหม   (คือคนเกษียนแล้วก็หมดสัญญาจ้างโดยอัติโนมัติแล้วใช่ไหมครับ  ไม่จำเป็นต้องเขียนใบลาออกใช่ไหมครับ)

                                      ขอขอบพระคุณความเห็นจากทุกท่านล่วงหน้าครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่