เชียงใหม่เป็นเมืองที่ใครหลายคนนิยามไว้ว่าเป็นเมืองที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย เต็มไปด้วยช่างฝีมือไม่ว่าจะเป็นในด้านของศิลปะ ดนตรี อาหาร ไปจนถึงการทำมาหาเลี้ยงชีพ และยังคงความเป็นชุมชนพื้นบ้าน มุ่งเน้นต่อเศรษฐกิจแบบพอเพียง ด้วยการถูกประกาศตัวไว้เช่นนี้ทำให้เชียงใหม่ต้องค้นหาตัวตนเพื่อสะท้อนถึงการเป็นพื้นที่ที่พร้อมจะแบ่งปันและเปิดประตูต้อนรับผู้ที่มาเยือนให้ได้เรียนรู้ในความเคลื่อนไหวนี้
ในเช้าวันเสาร์ที่เป็นวันหยุดจากงานและความวุ่นวายของโลกภายนอก เราตื่นนอนแต่เช้าเพื่อออกไปพบเจอสิ่งเหล่านั้นด้วยตัวเอง วันนี้จึงตั้งใจว่าจะออกไปจ่ายตลาด รับแสงแดดจากธรรมชาติและสัมผัสเชียงใหม่ตามที่เค้าว่ากัน สถานที่ที่เหมาะให้เราเดินทางเพื่อค้นเจอชีวิตแบบนี้อยู่ไม่ใกล้ ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในจริงใจมาร์เก็ต ถนนสายศิลปะของเชียงใหม่ “ตลาดต้องชม เอกลักษณ์พาณิชย์ อัตลักษณ์ของชุมชน เป็นกาดชุมชมเจียงใหม่ อาหารปลอดภัย” เราขอเรียกสั้น ๆ ละกันว่า “กาดต้องชม”
กาดแห่งนี้มีเฉพาะวันเสาร์ ขายกันตั้งแต่ไก่โห่จนถึงบ่ายตะวันคล้อย ในกาดมีทั้งตลาดของสด ตลาดผลไม้ ตลาดปลา รวมไปถึงสินค้าหัตถกรรม โดยสินค้าที่นำมาขายกันนั้นไม่ผ่านนายที่ไหนเลยสักคน เพราะกรมการค้าตั้งใจที่จะเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการท้องถิ่นและแก้ปัญหาด้วยการรวบรวมพ่อค้าแม่ขายจากในจังหวัดมาไว้ด้วยกัน ทำเอง ขายเอง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชน ให้ผู้ซื้อได้สินค้าที่มีคุณภาพดี สะอาด ราคาถูก และแน่นอนอร่อยถูกปากทุกคน
พ่อค้า แม่ขาย 2 คนนี้ดูช่างน่ารักเหมาะกับกาดต้องชมจริง ๆ เพราะเราเองก็เผลอต้องชมทั้งคู่ที่กระหนุงกระหนิง หยอกล้อกันไปมา จนเราก็สงสัยว่าจะผลไม้ตรงหน้าอาจจะหวานน้อยหน้าทั้งคู่ไปด้วยซ้ำ
ภาพที่เราเห็นจากกาดต้องชมเผยอัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นได้อย่างไม่เคอะเขินเลยจริงๆ เราสัมผัสความเป็นชุมชนวิถีล้านนา โดยเฉพาะความน่ารักเป็นกันเองของคุณลุงคุณป้าที่เอิ้นคำเมืองทักทายผู้คนที่เดินจับจ่ายซื้อผักปลอดสารพิษกัน ป้าหริ้งใจดีที่เลี้ยงไก่ตามวิถีธรรมชาติ แถมทุกเวลาบ่ายโมงก็เปิดเพลงให้ฟัง จึงเกิดเป็น “ไข่ไก่อารมณ์ดี”นั่นเอง นอกจากไก่จะมีอารมณ์สุนทรีย์แล้ว ป้าหริ้งเองก็ไม่ยอมแพ้ ระหว่างที่เราพูดคุยกับแก แกก็เอาแต่จะแจกไข่ไก่ให้เราเอากลับบ้าน (แทนที่จะขายให้กัน อืม..กาดแห่งนี้พร้อมจะแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับทุกคนจริง ๆ) ก่อนจากกันป้าหริ่งยังฝากฝังเรื่องไก่กับไข่ไว้กับเราอีกด้วย ว่าไข่ของลุงกับป้าไม่สวยเหมือนไข่เมืองทั่ว ๆ ไป แต่ไข่พิเศษทุก ๆ ฟองนี้พิถีพิถันออกมาจากใจเลยนะ
ถัดมาก็เจอพ่อค้าที่ไม่ยัดเยียดให้เราซื้อของเลยสักนิด แต่กลับเริ่มบทสนทนาด้วยการยื่นเมลอนที่ตัวเองขายให้ลองชิมรสชาติก่อน ซึ่งเราก็ไม่ปฏิเสธซะด้วยสิ
คุณลุงท่านนี้ก็ขมักเขม่นในการถามเรื่องผักกับพ่อหนุ่มน้อย ที่ตอนแรกมัวแต่กดโทรศัพท์เล่น จนต้องลุกขึ้นมาอธิบายสรรพคุณของผักในร้านของตนให้ จนคุณลุงหันมายิ้มให้กับเรา แล้วก็กระซิบบอกว่า มันต้องแบบนี้ ถึงจะดึงเด็กรุ่นใหม่ให้ออกมาอยู่กับผักกับหญ้าได้ เราได้ยินแบบนั้น จึงกับเออออตามคุณลุงไปด้วยจริงๆ
ผักที่วางขายอยู่บนแผงนั้น อาจจะไม่ได้สวยเช่นกับผักที่ตั้งขายอยู่ในซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่ว ๆ ไป แต่สิ่งที่สดและมาพร้อมกับความจริงใจคือ คนขายทุกร้านต่างก็บอกว่า “ผักพวกนี้ ปลูกกินเองที่บ้าน เหลือแล้วก็เอามาขายนั่นแหละ ราคาก็ไม่ได้สูงมากมายเท่าไหร่หรอกหนู มีบวกเพิ่มก็ค่ารถจากบ้านมานิดหน่อย ถือว่าได้ออกมาเจอเพื่อนใหม่ ๆ ดีกว่านอนฟังวิทยุอยู่บ้าน เปิดหูเปิดตา มาเจอลูกหลานรุ่นพวกหนูเนี้ยแหละกระชุ่มกระชวยใจดี คงฝากฝังได้แล้วมั้งว่าให้กินดี อยู่ดีกันหน่ะ” คำฝากฝังนี้มันสะเทือนก้องอยู่ในใจจริง ๆ
ระหว่างที่เรากำลังฉุกคิดเรื่องที่ถูกฝากฝังเอาไว้ แล้วเดินเพลินตาเพลินใจกับการเลือกซื้อผักไปทำกับข้าว กับปลา เราก็สะดุด 2 สิ่งนี้เข้าที่กลางกาดแบบไม่ทันตั้งตัวอีกหน
ในกาดต้องชม นอกจากจะมีคนขายที่คอยบอกว่าผักหลังบ้านป้า ไข่ที่หลังบ้านลุงสด อร่อยจริง ๆ แล้ว เขายังวางเครื่องชั่งสปริงที่เป็นจุดชั่งน้ำหนักพร้อมแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีใช้เครื่องชั่งน้ำหนักให้ถูกต้อง รวมไปถึงข้อแนะนำในการเลือกซื้อผักสดผลไม้ที่ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างอีกด้วย นอกจากจะกินเป็นและเลือกเป็นแล้ว การใช้เป็นก็ยิ่งจะทำให้เราเป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาดได้อีกด้วย และถ้าเรายังไม่แน่ใจว่า ชีวิตนี้ได้กินผักปลอดสารมามากน้อยแค่ไหน หรือในร่างกายของเรามีสารตกค้างอยู่เยอะหรือไม่ ที่นี่ยังมีจุดตรวจไว้บริการอีกด้วย คุณพี่ผู้หญิงบอกว่าไว้ว่า “สารพิษเข้าร่างกายได้ 3 ทางนะ ไม่ว่าจะกิน หายใจ หรือทางผิวหนัง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เราต้องมีสารพิษตกค้างแน่ ๆ รู้ไว้ใช่ว่านะคะ”
นอกจากผัก ผลไม้แล้วก็มีสินค้าหัตถกรรม และอาหารทะเลขายด้วย หรือคลายร้อน เรียกความสดชื่นจากกาแฟออแกนิกส์ที่ใช้การดริปกาแฟให้ออกมาทีละหยด ช้า ๆ ซึ่งเพียงแค่ยืนดูก็ทำให้เราพักผ่อนหย่อนใจได้แล้ว
ก่อนจะจ่ายตลาดเสร็จ เราก็เจอคุณป้าสุดสวยที่หิ้วตะกร้าหวายมาซื้อของที่กาด คุณป้าบอกว่า ป้าจะแวะมาสายหน่อย ๆ ให้ตลาดใกล้วายแล้วค่อยมาเหมาของที่ยังเหลออยู่บนแผงว่า อยากให้คนขายไม่ต้องขนอะไรกลับบ้านไป เพราะไหน ๆ ก็ตั้งใจขนของมาขายแล้ว เหลือกลับไปก็คงเศร้าใจแย่ แล้วป้าเองก็เปิดร้านอาหารอยู่ในเวียง ผัก หญ้า มีรอยช้ำนิดหน่อยมันยังไม่ได้เสียหรือเน่า เด็ดทิ้งไปก็ยังเอาไปทำกับข้าวได้ แล้วคุณป้าก็โชว์ผักในตะกร้าให้ชม ก่อนบอกลากันไป ระหว่างเดินออกจากกาด เราก็ได้เชยชมดอกจำปาทองในขวดแก้ว สีเหลืองอร่ามแสนสวย ที่คนเมืองเจียงใหม่เอาไว้บูชาพระหรือใส่ประดับโหลแก้วเพื่อความสวยงาม
กาดต้องชม ทำให้เราได้สัมผัสบบรยากาศที่เรียบง่าย ดังที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้นว่า เช้าวันเสาร์นี้ คงได้ละเลียดแสงอรุณ พร้อมกับข้าวกับปลาในมือที่แทบจะหิ้วกลับบ้านไม่ไหว วิถีชีวิตแบบคนเชียงใหม่ที่แฝงไปด้วยความเป็นชุมชน เราได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตจากพูดคุยกับคุณลุง คุณป้าที่มาขายของในกาดแห่งนี้ ทุกบทสนทนาแสดงเอกลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นที่ถูกปรับมาให้เข้ากับยุคสมัย ตั้งแต่เรื่องเทคโนโลยีไปจนถึงการใช้ชีวิตให้ช้าลง แล้วหันมาใส่ใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเราให้มากขึ้น From Farm To Table น่าจะอธิบายมื้ออาหารในวันนี้ของเราได้อย่างดีเลย แล้วไหนจะคำพูดจากคุณลุงท่านนั้นอีก ไม่น่าเชื่อจริง ๆ ว่าการได้ถูกฝากฝังเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น สร้างแรงสั่นกระเทือนในใจได้ถึงเพียงนี้
ถ้าใครอยู่เชียงใหม่ มาเชียงใหม่ ก็ลองมารับแสงอรุญยามเช้าอย่างที่เราได้เจอะเจอในวันนี้ แวะมากาดต้องชม คุณอาจจะต้องตาอะไรบางอย่าง อย่างเช่นที่เราเป็นในตอนนี้ก็ได้ ‘กาดชุมชนเจียงใหม่ อาหารปลอดภัย’ หรือ Green Market Chiang Mai ในทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น.
[CR] เมื่อแสงอรุณต้องตา ตื่นมาซื้อกับข้าวกับปลาที่กาดต้องชม
ในเช้าวันเสาร์ที่เป็นวันหยุดจากงานและความวุ่นวายของโลกภายนอก เราตื่นนอนแต่เช้าเพื่อออกไปพบเจอสิ่งเหล่านั้นด้วยตัวเอง วันนี้จึงตั้งใจว่าจะออกไปจ่ายตลาด รับแสงแดดจากธรรมชาติและสัมผัสเชียงใหม่ตามที่เค้าว่ากัน สถานที่ที่เหมาะให้เราเดินทางเพื่อค้นเจอชีวิตแบบนี้อยู่ไม่ใกล้ ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในจริงใจมาร์เก็ต ถนนสายศิลปะของเชียงใหม่ “ตลาดต้องชม เอกลักษณ์พาณิชย์ อัตลักษณ์ของชุมชน เป็นกาดชุมชมเจียงใหม่ อาหารปลอดภัย” เราขอเรียกสั้น ๆ ละกันว่า “กาดต้องชม”
กาดแห่งนี้มีเฉพาะวันเสาร์ ขายกันตั้งแต่ไก่โห่จนถึงบ่ายตะวันคล้อย ในกาดมีทั้งตลาดของสด ตลาดผลไม้ ตลาดปลา รวมไปถึงสินค้าหัตถกรรม โดยสินค้าที่นำมาขายกันนั้นไม่ผ่านนายที่ไหนเลยสักคน เพราะกรมการค้าตั้งใจที่จะเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการท้องถิ่นและแก้ปัญหาด้วยการรวบรวมพ่อค้าแม่ขายจากในจังหวัดมาไว้ด้วยกัน ทำเอง ขายเอง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชน ให้ผู้ซื้อได้สินค้าที่มีคุณภาพดี สะอาด ราคาถูก และแน่นอนอร่อยถูกปากทุกคน
พ่อค้า แม่ขาย 2 คนนี้ดูช่างน่ารักเหมาะกับกาดต้องชมจริง ๆ เพราะเราเองก็เผลอต้องชมทั้งคู่ที่กระหนุงกระหนิง หยอกล้อกันไปมา จนเราก็สงสัยว่าจะผลไม้ตรงหน้าอาจจะหวานน้อยหน้าทั้งคู่ไปด้วยซ้ำ
ภาพที่เราเห็นจากกาดต้องชมเผยอัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นได้อย่างไม่เคอะเขินเลยจริงๆ เราสัมผัสความเป็นชุมชนวิถีล้านนา โดยเฉพาะความน่ารักเป็นกันเองของคุณลุงคุณป้าที่เอิ้นคำเมืองทักทายผู้คนที่เดินจับจ่ายซื้อผักปลอดสารพิษกัน ป้าหริ้งใจดีที่เลี้ยงไก่ตามวิถีธรรมชาติ แถมทุกเวลาบ่ายโมงก็เปิดเพลงให้ฟัง จึงเกิดเป็น “ไข่ไก่อารมณ์ดี”นั่นเอง นอกจากไก่จะมีอารมณ์สุนทรีย์แล้ว ป้าหริ้งเองก็ไม่ยอมแพ้ ระหว่างที่เราพูดคุยกับแก แกก็เอาแต่จะแจกไข่ไก่ให้เราเอากลับบ้าน (แทนที่จะขายให้กัน อืม..กาดแห่งนี้พร้อมจะแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับทุกคนจริง ๆ) ก่อนจากกันป้าหริ่งยังฝากฝังเรื่องไก่กับไข่ไว้กับเราอีกด้วย ว่าไข่ของลุงกับป้าไม่สวยเหมือนไข่เมืองทั่ว ๆ ไป แต่ไข่พิเศษทุก ๆ ฟองนี้พิถีพิถันออกมาจากใจเลยนะ
ถัดมาก็เจอพ่อค้าที่ไม่ยัดเยียดให้เราซื้อของเลยสักนิด แต่กลับเริ่มบทสนทนาด้วยการยื่นเมลอนที่ตัวเองขายให้ลองชิมรสชาติก่อน ซึ่งเราก็ไม่ปฏิเสธซะด้วยสิ
คุณลุงท่านนี้ก็ขมักเขม่นในการถามเรื่องผักกับพ่อหนุ่มน้อย ที่ตอนแรกมัวแต่กดโทรศัพท์เล่น จนต้องลุกขึ้นมาอธิบายสรรพคุณของผักในร้านของตนให้ จนคุณลุงหันมายิ้มให้กับเรา แล้วก็กระซิบบอกว่า มันต้องแบบนี้ ถึงจะดึงเด็กรุ่นใหม่ให้ออกมาอยู่กับผักกับหญ้าได้ เราได้ยินแบบนั้น จึงกับเออออตามคุณลุงไปด้วยจริงๆ
ผักที่วางขายอยู่บนแผงนั้น อาจจะไม่ได้สวยเช่นกับผักที่ตั้งขายอยู่ในซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่ว ๆ ไป แต่สิ่งที่สดและมาพร้อมกับความจริงใจคือ คนขายทุกร้านต่างก็บอกว่า “ผักพวกนี้ ปลูกกินเองที่บ้าน เหลือแล้วก็เอามาขายนั่นแหละ ราคาก็ไม่ได้สูงมากมายเท่าไหร่หรอกหนู มีบวกเพิ่มก็ค่ารถจากบ้านมานิดหน่อย ถือว่าได้ออกมาเจอเพื่อนใหม่ ๆ ดีกว่านอนฟังวิทยุอยู่บ้าน เปิดหูเปิดตา มาเจอลูกหลานรุ่นพวกหนูเนี้ยแหละกระชุ่มกระชวยใจดี คงฝากฝังได้แล้วมั้งว่าให้กินดี อยู่ดีกันหน่ะ” คำฝากฝังนี้มันสะเทือนก้องอยู่ในใจจริง ๆ
ระหว่างที่เรากำลังฉุกคิดเรื่องที่ถูกฝากฝังเอาไว้ แล้วเดินเพลินตาเพลินใจกับการเลือกซื้อผักไปทำกับข้าว กับปลา เราก็สะดุด 2 สิ่งนี้เข้าที่กลางกาดแบบไม่ทันตั้งตัวอีกหน
ในกาดต้องชม นอกจากจะมีคนขายที่คอยบอกว่าผักหลังบ้านป้า ไข่ที่หลังบ้านลุงสด อร่อยจริง ๆ แล้ว เขายังวางเครื่องชั่งสปริงที่เป็นจุดชั่งน้ำหนักพร้อมแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีใช้เครื่องชั่งน้ำหนักให้ถูกต้อง รวมไปถึงข้อแนะนำในการเลือกซื้อผักสดผลไม้ที่ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างอีกด้วย นอกจากจะกินเป็นและเลือกเป็นแล้ว การใช้เป็นก็ยิ่งจะทำให้เราเป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาดได้อีกด้วย และถ้าเรายังไม่แน่ใจว่า ชีวิตนี้ได้กินผักปลอดสารมามากน้อยแค่ไหน หรือในร่างกายของเรามีสารตกค้างอยู่เยอะหรือไม่ ที่นี่ยังมีจุดตรวจไว้บริการอีกด้วย คุณพี่ผู้หญิงบอกว่าไว้ว่า “สารพิษเข้าร่างกายได้ 3 ทางนะ ไม่ว่าจะกิน หายใจ หรือทางผิวหนัง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เราต้องมีสารพิษตกค้างแน่ ๆ รู้ไว้ใช่ว่านะคะ”
นอกจากผัก ผลไม้แล้วก็มีสินค้าหัตถกรรม และอาหารทะเลขายด้วย หรือคลายร้อน เรียกความสดชื่นจากกาแฟออแกนิกส์ที่ใช้การดริปกาแฟให้ออกมาทีละหยด ช้า ๆ ซึ่งเพียงแค่ยืนดูก็ทำให้เราพักผ่อนหย่อนใจได้แล้ว
ก่อนจะจ่ายตลาดเสร็จ เราก็เจอคุณป้าสุดสวยที่หิ้วตะกร้าหวายมาซื้อของที่กาด คุณป้าบอกว่า ป้าจะแวะมาสายหน่อย ๆ ให้ตลาดใกล้วายแล้วค่อยมาเหมาของที่ยังเหลออยู่บนแผงว่า อยากให้คนขายไม่ต้องขนอะไรกลับบ้านไป เพราะไหน ๆ ก็ตั้งใจขนของมาขายแล้ว เหลือกลับไปก็คงเศร้าใจแย่ แล้วป้าเองก็เปิดร้านอาหารอยู่ในเวียง ผัก หญ้า มีรอยช้ำนิดหน่อยมันยังไม่ได้เสียหรือเน่า เด็ดทิ้งไปก็ยังเอาไปทำกับข้าวได้ แล้วคุณป้าก็โชว์ผักในตะกร้าให้ชม ก่อนบอกลากันไป ระหว่างเดินออกจากกาด เราก็ได้เชยชมดอกจำปาทองในขวดแก้ว สีเหลืองอร่ามแสนสวย ที่คนเมืองเจียงใหม่เอาไว้บูชาพระหรือใส่ประดับโหลแก้วเพื่อความสวยงาม
กาดต้องชม ทำให้เราได้สัมผัสบบรยากาศที่เรียบง่าย ดังที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้นว่า เช้าวันเสาร์นี้ คงได้ละเลียดแสงอรุณ พร้อมกับข้าวกับปลาในมือที่แทบจะหิ้วกลับบ้านไม่ไหว วิถีชีวิตแบบคนเชียงใหม่ที่แฝงไปด้วยความเป็นชุมชน เราได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตจากพูดคุยกับคุณลุง คุณป้าที่มาขายของในกาดแห่งนี้ ทุกบทสนทนาแสดงเอกลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นที่ถูกปรับมาให้เข้ากับยุคสมัย ตั้งแต่เรื่องเทคโนโลยีไปจนถึงการใช้ชีวิตให้ช้าลง แล้วหันมาใส่ใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเราให้มากขึ้น From Farm To Table น่าจะอธิบายมื้ออาหารในวันนี้ของเราได้อย่างดีเลย แล้วไหนจะคำพูดจากคุณลุงท่านนั้นอีก ไม่น่าเชื่อจริง ๆ ว่าการได้ถูกฝากฝังเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น สร้างแรงสั่นกระเทือนในใจได้ถึงเพียงนี้
ถ้าใครอยู่เชียงใหม่ มาเชียงใหม่ ก็ลองมารับแสงอรุญยามเช้าอย่างที่เราได้เจอะเจอในวันนี้ แวะมากาดต้องชม คุณอาจจะต้องตาอะไรบางอย่าง อย่างเช่นที่เราเป็นในตอนนี้ก็ได้ ‘กาดชุมชนเจียงใหม่ อาหารปลอดภัย’ หรือ Green Market Chiang Mai ในทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น.