หน้าแรก
คอมมูนิตี้
ห้อง
แท็ก
คลับ
ห้อง
แก้ไขปักหมุด
ดูทั้งหมด
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
แท็ก
แก้ไขปักหมุด
ดูเพิ่มเติม
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
{room_name}
{name}
{description}
กิจกรรม
แลกพอยต์
อื่นๆ
ตั้งกระทู้
เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก
เว็บไซต์ในเครือ
Bloggang
Pantown
PantipMarket
Maggang
ติดตามพันทิป
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
เกี่ยวกับเรา
กฎ กติกา และมารยาท
คำแนะนำการโพสต์แสดงความเห็น
นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิ์การใช้งานของสมาชิก
ติดต่อทีมงาน Pantip
ติดต่อลงโฆษณา
ร่วมงานกับ Pantip
Download App Pantip
Pantip Certified Developer
ตรัสถึง “อนัตตา” ก็เพื่อให้คิดหา “อัตตา” : คำกล่าวนี้ถูกต้องหรือไม่ ?
กระทู้สนทนา
ศาสนาพุทธ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
คำสอนพวกนี้ มีหลักฐานสอดคล้อง หรือขัดแย้ง กับพระไตรปิฎก อย่างไรบ้างครับ ?
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
" ... พระองค์ตรัสถึง “อนิจจัง” ก็เพื่อให้ค้นคิดหา “นิจจัง” ตรัสถึง “ทุกขัง” ก็เพื่อให้ค้นคิดหา “สุขัง” ตรัสถึง “อนัตตา” ก็เพื่อให้คิดหา “อัตตา” คนที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด ประกอบด้วยความเพียรพินิจพิจารณา ย่อมจะมองเห็นแนวพระโอวาทของพระองค์ จะเทียบให้เห็น เช่น มีคน 2 คนยืนอยู่ คนหนึ่งสูง คนหนึ่งต่ำ เรารู้จักคนสูง ใครมาถามเราว่า คนสองคนนั้นรู้จักไหม เราตอบว่าคนสูงเรารู้จัก เมื่อคนอื่นได้ยินคำตอบเช่นนั้น แม้ตาของเขาไม่แลเห็นคนสองคนนั้นเลย เขาย่อมจะรู้ว่าคนที่เราไม่รู้จักนั้นต่ำกว่าคนที่เรารู้จัก โดยเราไม่จำเป็นจะต้องพูดว่าคนต่ำเราไม่รู้จัก นี่ฉันใด อนิจจังบอกนิจจัง ทุกขังบอกสุขัง อนัตตา บอกอัตตา ฉันนั้น อะไรเล่าเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา ก็คือธรรมกายนี้เอง เป็นตัวนิจจัง สุขัง อัตตา ... "
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ว่าในด้านภาวนา กายนี้มีซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีกายทิพย์ซ้อนอยู่ในกายมนุษย์ กายรูปพรหมซ้อนอยู่ในกายทิพย์ กายอรูปพรหมซ้อนอยู่ในกายรูปพรหม กายธรรมซ้อนอยู่ในกายอรูปพรหม คนเราที่ว่าตายนั้นคือ กายทิพย์กับกายมนุษย์หลุดพรากออกจากกัน เหมือนมะขามกะเทาะล่อนจากเปลือก ฉะนั้น กายทิพย์ก็หลุดจากกายมนุษย์ไป
การละกิเลสของพระองค์หลุดไปเป็นชั้นๆ ตั้งแต่กิเลสในกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เป็นลำดับไป
กิเลสในกายมนุษย์ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
กิเลสในกายทิพย์ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
กิเลสในกายรูปพรหม คือ ราคะ โทสะ โมหะ
กิเลสในกายอรูปพรหม คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย
ต่อแต่นี้ไปจึงชักเข้าถึงกายหนึ่ง คือกายธรรม หรือเรียกว่า ธรรมกาย เข้าชั้นโคตรภูจิต เรียกว่า โคตรภูบุคคล
โคตรภูบุคคลนี้เดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ 4 เป็นอนุโลมปฏิโลม จนหลุดพ้นจากกิเลสพวกสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส แล้วตกศูนย์วับกลับเป็นพระโสดาบัน เป็นอันว่าพระโสดาบัน ละกิเลสได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
แล้วกายโสดาบันนี้เดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ 4 เป็นอนุโลมปฏิโลมต่อไปถึงขีดสุด ละกิเลสได้อีก 2 คือ กามราคะ พยาบาทชั้นหยาบ จึงเลื่อนชั้นขึ้นเป็นสกทาคามี
กายพระสกทาคามีเดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจสี่ทำนองเดียวกันนั้นต่อไป ถึงขีดสุดละกิเลสได้อีก 2 คือ กามราคะ พยาบาทขั้นละเอียด จึงเลื่อนชั้นเป็นพระอนาคามี
แล้วกายพระอนาคามีเดินสมาบัติเพ่งอริยสัจ 4 ทำนองเดียวกันนั้นต่อไปถึงขีดสุด ละกิเลสได้อีก 5 คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา จึงเลื่อนขึ้นจาก พระอนาคามี เป็น พระอรหันต์
จิตของพระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่อง ปราศจากกิเลสทั้งมวล จึงได้พระเนมิตตกนามว่า อรหํ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา :
http://www.dhammakaya.org/ธรรมะ/พระธรรมเทศนา-โดย-พระมงคลเทพมุนี/พระพุทธคุณ-พระธรรมคุณ-พระสังฆคุณ
▼
กำลังโหลดข้อมูล...
▼
แสดงความคิดเห็น
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
พระนิพพาน เกิดไม่ปรากฏฯ เป็นธรรมจริงแท้ จะเป็นอนัตตาไปได้ยังไงครับ
ถ้าเราไปสรุปว่า นิพพาน เป็นอนัตตา มันก็จะไปขัดกับพระสูตรนี้ จริงๆก็ขัดกับทุกพระสูตร เพราะพระองค์ย้ำเสมอว่า ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง ทุกข์ อนัตตา พระนค
สมาชิกหมายเลข 2667324
สัพเพ ธัมมา อนัตตา - ทั้งปวง เฉพาะขันธ์ ๕ .. ก็มี / ทั้งปวง รวมนิพพาน .. ก็มี
จากหนังสือ "ดูธรรมกายแท้ของพระพุทธเจ้า เข้าใจอนัตตาให้ตรงตามจริง" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) 19 หลักธรรมและคําอธิบายที่เกี
อุเมะ
อมตนิพพาน คือ ความสงบ ระงับ ดับ ซึ่งสังขารทั้งปวง
คำว่า.. สงบ ระงับ ดับ คือ ทำให้ไม่มี ให้หายไปนิพพานเข้าไปแทนที่อย่างนั้นๆ เช่น ถ้าสังขารไม่เที่ยง นิพพานต้องเที่ยง สังขารเป็นทุกข์ นิพพานต้องเป็นสุข สังขารเป็นความเสื่อ
สมาชิกหมายเลข 8486991
อรูปราคะ ละอย่างไร
พักนี้หันมา ปฏิบัติ โดยการลืมตาสมาธิแทน ก็กำหนดรู้สีแสง ผัสสะ อายตนะไปตามเรื่อง แต่ว่า การภาวนาก็ยังผลิกไปมา คือเมื่อจิตจับไปที่สภาวะไหน จนเกิดอาการหน่ายคลาย สมาธิก็เกิด อากาสาก็ปรากฏขึ้นมาทันที จิตก็
สมาชิกหมายเลข 7480164
นี่แหละที่เรียกว่า คำสาวก
สาวกคนที่ 1 กล่าวว่า นิพพานต้องเป็นอนัตตาแหงๆ เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ........................ สาวกคนที่ 2 ก็กล่าวทำนองทักท้วงไม่เห็นด้วยว่า
สมาชิกหมายเลข 8486991
หนังสือ คู่มือปฎิบัติวัดท่าซุง เล่ม 1 อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 17.1
อานาปานุสสติกรรมฐาน ตอนที่ 17.1 ณ โอกาสนี้บรรดาท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และพระโยคาวจรทั้งหลาย ได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อแต่นี้ไปขอท่านทั้งหลายตั้งใจสดับ&n
สมาชิกหมายเลข 8483559
คำสอนในพุทธศาสนาไม่มีใครสามารถคัดค้านได้ด้วยเหตุผลจริงไหม?
พระพุทธศาสนา: ศาสตร์แห่งสัจจะ ทนต่อการพิสูจน์ ในโลกที่ความเชื่อและความจริงถูกท้าทายอยู่เสมอ พระพุทธศาสนาโดดเด่นด้วยคำสอนที่เชิญชวนให้มนุษย์ใช้ปัญญาและการพิสูจน์เพื่อเข้าถึงความจริง 
tonight8
ผู้ที่กล่าวว่าธรรมารมณ์เป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึง เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา
ความหมายของพระสุตตันตปิฎก พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัส ยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตล
satanmipop
ใครที่บอกสอนหรือชี้แนะว่า นิพพานพานเป็นอนัตตา
คำของผู้นั้นไม่ถูกต้อง ไม่สมควรเป็นการคัดง้างคำของพระพุทธอย่างร้ายแรง เพราะโดยที่แท้พระพุทธเจ้าตรัสไว้มีความหมายที่ชัดเจนไม่เป็นอื่นอบ่างแน่นอน เช่นจผู้ใดกล่วาว่าเวทนาเป็นอัตตา
สมาชิกหมายเลข 8486991
วัฏสงสารนี้มีกฏอยู่ 2 ข้อ ข้อแรก คือ กฏแห่งกรรม ข้อสอง กฏไตรลักษณ์
วัฏสงสารนี้มีกฏอยู่ 2 ข้อ ข้อแรก คือ กฏแห่งกรรม ทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น ข้อสอง กฏไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ทุกสรรพสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่และเสื่อมสลายไป ไม่มีใครอยู่เหนือกฏ 2 ข้
สมาชิกหมายเลข 2748147
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
ศาสนาพุทธ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
บนสุด
ล่างสุด
อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้
หน้า:
หน้า
จาก
แชร์ :
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ยอมรับ
ตรัสถึง “อนัตตา” ก็เพื่อให้คิดหา “อัตตา” : คำกล่าวนี้ถูกต้องหรือไม่ ?
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
" ... พระองค์ตรัสถึง “อนิจจัง” ก็เพื่อให้ค้นคิดหา “นิจจัง” ตรัสถึง “ทุกขัง” ก็เพื่อให้ค้นคิดหา “สุขัง” ตรัสถึง “อนัตตา” ก็เพื่อให้คิดหา “อัตตา” คนที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด ประกอบด้วยความเพียรพินิจพิจารณา ย่อมจะมองเห็นแนวพระโอวาทของพระองค์ จะเทียบให้เห็น เช่น มีคน 2 คนยืนอยู่ คนหนึ่งสูง คนหนึ่งต่ำ เรารู้จักคนสูง ใครมาถามเราว่า คนสองคนนั้นรู้จักไหม เราตอบว่าคนสูงเรารู้จัก เมื่อคนอื่นได้ยินคำตอบเช่นนั้น แม้ตาของเขาไม่แลเห็นคนสองคนนั้นเลย เขาย่อมจะรู้ว่าคนที่เราไม่รู้จักนั้นต่ำกว่าคนที่เรารู้จัก โดยเราไม่จำเป็นจะต้องพูดว่าคนต่ำเราไม่รู้จัก นี่ฉันใด อนิจจังบอกนิจจัง ทุกขังบอกสุขัง อนัตตา บอกอัตตา ฉันนั้น อะไรเล่าเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา ก็คือธรรมกายนี้เอง เป็นตัวนิจจัง สุขัง อัตตา ... "
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ว่าในด้านภาวนา กายนี้มีซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีกายทิพย์ซ้อนอยู่ในกายมนุษย์ กายรูปพรหมซ้อนอยู่ในกายทิพย์ กายอรูปพรหมซ้อนอยู่ในกายรูปพรหม กายธรรมซ้อนอยู่ในกายอรูปพรหม คนเราที่ว่าตายนั้นคือ กายทิพย์กับกายมนุษย์หลุดพรากออกจากกัน เหมือนมะขามกะเทาะล่อนจากเปลือก ฉะนั้น กายทิพย์ก็หลุดจากกายมนุษย์ไป
การละกิเลสของพระองค์หลุดไปเป็นชั้นๆ ตั้งแต่กิเลสในกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เป็นลำดับไป
กิเลสในกายมนุษย์ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
กิเลสในกายทิพย์ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
กิเลสในกายรูปพรหม คือ ราคะ โทสะ โมหะ
กิเลสในกายอรูปพรหม คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย
ต่อแต่นี้ไปจึงชักเข้าถึงกายหนึ่ง คือกายธรรม หรือเรียกว่า ธรรมกาย เข้าชั้นโคตรภูจิต เรียกว่า โคตรภูบุคคล
โคตรภูบุคคลนี้เดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ 4 เป็นอนุโลมปฏิโลม จนหลุดพ้นจากกิเลสพวกสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส แล้วตกศูนย์วับกลับเป็นพระโสดาบัน เป็นอันว่าพระโสดาบัน ละกิเลสได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
แล้วกายโสดาบันนี้เดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ 4 เป็นอนุโลมปฏิโลมต่อไปถึงขีดสุด ละกิเลสได้อีก 2 คือ กามราคะ พยาบาทชั้นหยาบ จึงเลื่อนชั้นขึ้นเป็นสกทาคามี
กายพระสกทาคามีเดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจสี่ทำนองเดียวกันนั้นต่อไป ถึงขีดสุดละกิเลสได้อีก 2 คือ กามราคะ พยาบาทขั้นละเอียด จึงเลื่อนชั้นเป็นพระอนาคามี
แล้วกายพระอนาคามีเดินสมาบัติเพ่งอริยสัจ 4 ทำนองเดียวกันนั้นต่อไปถึงขีดสุด ละกิเลสได้อีก 5 คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา จึงเลื่อนขึ้นจาก พระอนาคามี เป็น พระอรหันต์
จิตของพระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่อง ปราศจากกิเลสทั้งมวล จึงได้พระเนมิตตกนามว่า อรหํ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : http://www.dhammakaya.org/ธรรมะ/พระธรรมเทศนา-โดย-พระมงคลเทพมุนี/พระพุทธคุณ-พระธรรมคุณ-พระสังฆคุณ