(กระทู้เป็นกระทู้เพื่อให้แสดงความเห็น ที่ตั้งประเภทกระทู้เป็นกระทู้คำถามเพื่อให้สมาชิกทุกประเภท แสดงความเห็นได้)
เมื่อทำความเข้าใจ อนัตตลักขณสูตร ลองสังเกตุ กาย จิต อารมณ์จิต/จึงเข้าใจว่า ทำไมทรงตรัสสอนว่า
สติปัฏฐานคือทางเดียว ใน
การปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์
1. อนัตตลักขณสูตร ทรงตรัสสอน ว่า
1.1
สิ่งที่เราคิดว่าเป็นตัวเรา คือ "
ร่างกาย ความรู้สึก ความจำ ความคิด การรับรู้"
ไม่คงที่ ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
1.2
ร่างกาย ความรู้สึก ความจำ ความคิด การรับรู้
ที่เรา
คิดว่าเป็นเรา นั้น
ร่างกายทั้งหมด ก็เป็น
สักว่าร่างกาย
ความรู้สึกทั้งหมด ก็เป็น
สักว่าความรู้สึก
ความจำทั้งหมด ก็เป็น
สักว่าความจำ
ความคิดทั้งหลายทั้งหมด ก็เป็น
สักว่าความคิด
การรับรู้ทั้งหมด ก็เป็น
สักว่าการรับรู้
1.3
ร่างกาย ความรู้สึก ความจำ ความคิด การรับรู้
แต่ละอย่าง แต่ละอย่างนั้น
เนตัง มะมะ
นั่นไม่ใช่ของเรา
เนโสหะมัสมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
นะ เมโส อัตตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
(
http://ppantip.com/topic/34527367 )
2. เมื่อทำความเข้าใจพระสูตรแล้ว ลองปฏิบัติ ดูอารมณ์(ความรู้สึก ความจำ ความคิด การรับรู้)ในจิต ที่เปลี่ยนไป
และ
นำมาคิดพิจารณา พระสูตรที่แสดงถึง ท่านผู้ตรัสรู้
จึงพบว่า แต่ละท่าน ได้เห็นและพิจารณา ร่างกาย ความรู้สึก ความจำ ความคิด การรับรู้
ที่เรา
คิดว่าเป็นเรา
ในขณะนั้นๆทั่งสิ้น
เช่น
2.1 ท่าน พาหิยะ(พาหิยทารุจีริยะ)
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1607&Z=1698
*********************************************************
...
...
...
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเห็น จักเป็น
สักว่าเห็น
เมื่อฟังจักเป็น
สักว่าฟัง
เมื่อทราบจักเป็น
สักว่าทราบ
เมื่อรู้แจ้งจักเป็น
สักว่ารู้แจ้ง
ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกร
พาหิยะ
ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อ
ทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็น
สักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี
ในกาลใด ท่านไม่มี
ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า
ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง
นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
ลำดับนั้นแล
จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตร
หลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
ทั้งหลาย
เพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มี-
*พระภาค ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยทารุจีริยะกุลบุตรด้วย
พระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป ฯ
...
...
...
********************************************************
2.2 ท่านปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ท่าน
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=479&Z=575
********************************************************
...
...
...
ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ
[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
รูป
(ร่างกาย - หมายเหตุของผู้ตั้งกระทู้ )อย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็
เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลาย
พึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
เวทนา
(ความรู้สึกสุขทุกข์ - หมายเหตุของผู้ตั้งกระทู้ ) อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็
เป็นแต่
สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย
พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
สัญญา
(ความจำ - หมายเหตุของผู้ตั้งกระทู้ )อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็
เป็นแต่
สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง
เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น
ไม่ใช่ตนของเรา.
สังขาร
(ความคิด - หมายเหตุของผู้ตั้งกระทู้ )ทั้งหลาย
อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็
เป็นแต่
สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย
พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
วิญญาณ
(การรับรู้ - หมายเหตุของผู้ตั้งกระทู้ )อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็
เป็นแต่
สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย
พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ใน
รูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
เวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
สัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
สังขาร
ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด
จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์
พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
อนัตตลักขณสูตร จบ
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
..
*********************************************************
3. ดังนั้น แม้พระธรรมเทศนา จะมีมาก ซึ่งทรงตรัสเทศนาตามประโยชน์ของผู้รับฟัง
แต่ทรงแสดงว่า ทางพ้นทุกข์นั้น ต้องปฏิบัติด้วย ทางเอก คือ สติปัฏฐาน
"หนทางนี้เป็นที่ไป
อันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔"
ซี่งได้แก่การดูเห็นความเปลี่ยนแปลงของ กาย เวทนา จิต ธรรม
ว่าไม่คงที่
เป็นสักแต่ว่า
เป็นสิ่งนั้นเอง เท่านั้น ไม่ใช่ตัวเรา
จึงเบื่อหน่าย ในสิ่งทั้ง 5
ที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวของตน
เมื่อเบื่อหน่าย
จึงสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
และทรงแสดงว่า ผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน ตลอด 7 วัน ถึง 7 ปี จะ
"
หวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่
เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ"
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764
...
...
...
-----------------------------------------------------
[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี
ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...
๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน
ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้
หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่
เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้
ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง
เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน
๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด
อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น
พระอนาคามี ๑ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่า
สัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ
บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้
เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว
แล้ว ..
@@@ เมื่อทำความเข้าใจ อนัตตลักขณสูตร ลองสังเกตุ กาย จิต อารมณ์จิต/จึงเข้าใจว่า ทำไมทรงตรัสสอนว่าสติปัฏฐานคือทางเดียว ใน
เมื่อทำความเข้าใจ อนัตตลักขณสูตร ลองสังเกตุ กาย จิต อารมณ์จิต/จึงเข้าใจว่า ทำไมทรงตรัสสอนว่าสติปัฏฐานคือทางเดียว ใน
การปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์
1. อนัตตลักขณสูตร ทรงตรัสสอน ว่า
1.1 สิ่งที่เราคิดว่าเป็นตัวเรา คือ " ร่างกาย ความรู้สึก ความจำ ความคิด การรับรู้"
ไม่คงที่ ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
1.2 ร่างกาย ความรู้สึก ความจำ ความคิด การรับรู้
ที่เราคิดว่าเป็นเรา นั้น
ร่างกายทั้งหมด ก็เป็นสักว่าร่างกาย
ความรู้สึกทั้งหมด ก็เป็นสักว่าความรู้สึก
ความจำทั้งหมด ก็เป็นสักว่าความจำ
ความคิดทั้งหลายทั้งหมด ก็เป็นสักว่าความคิด
การรับรู้ทั้งหมด ก็เป็นสักว่าการรับรู้
1.3 ร่างกาย ความรู้สึก ความจำ ความคิด การรับรู้
แต่ละอย่าง แต่ละอย่างนั้น
เนตัง มะมะ
นั่นไม่ใช่ของเรา
เนโสหะมัสมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
นะ เมโส อัตตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
( http://ppantip.com/topic/34527367 )
2. เมื่อทำความเข้าใจพระสูตรแล้ว ลองปฏิบัติ ดูอารมณ์(ความรู้สึก ความจำ ความคิด การรับรู้)ในจิต ที่เปลี่ยนไป
และนำมาคิดพิจารณา พระสูตรที่แสดงถึง ท่านผู้ตรัสรู้
จึงพบว่า แต่ละท่าน ได้เห็นและพิจารณา ร่างกาย ความรู้สึก ความจำ ความคิด การรับรู้
ที่เราคิดว่าเป็นเรา
ในขณะนั้นๆทั่งสิ้น
เช่น
2.1 ท่าน พาหิยะ(พาหิยทารุจีริยะ) http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1607&Z=1698
*********************************************************
...
...
...
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น
เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง
เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ
เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง
ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกร
พาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อ
ทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี
ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า
ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มี-
*พระภาค ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยทารุจีริยะกุลบุตรด้วย
พระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป ฯ
...
...
...
********************************************************
2.2 ท่านปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ท่าน http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=479&Z=575
********************************************************
...
...
...
ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ
[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
รูป(ร่างกาย - หมายเหตุของผู้ตั้งกระทู้ )อย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
เวทนา(ความรู้สึกสุขทุกข์ - หมายเหตุของผู้ตั้งกระทู้ ) อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย
พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
สัญญา(ความจำ - หมายเหตุของผู้ตั้งกระทู้ )อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง
เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น
ไม่ใช่ตนของเรา.
สังขาร(ความคิด - หมายเหตุของผู้ตั้งกระทู้ )ทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย
พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
วิญญาณ(การรับรู้ - หมายเหตุของผู้ตั้งกระทู้ )อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย
พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์
พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
อนัตตลักขณสูตร จบ
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
..
*********************************************************
3. ดังนั้น แม้พระธรรมเทศนา จะมีมาก ซึ่งทรงตรัสเทศนาตามประโยชน์ของผู้รับฟัง
แต่ทรงแสดงว่า ทางพ้นทุกข์นั้น ต้องปฏิบัติด้วย ทางเอก คือ สติปัฏฐาน
"หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔"
ซี่งได้แก่การดูเห็นความเปลี่ยนแปลงของ กาย เวทนา จิต ธรรม
ว่าไม่คงที่
เป็นสักแต่ว่าเป็นสิ่งนั้นเอง เท่านั้น ไม่ใช่ตัวเรา
จึงเบื่อหน่าย ในสิ่งทั้ง 5 ที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวของตน
เมื่อเบื่อหน่าย จึงสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
และทรงแสดงว่า ผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน ตลอด 7 วัน ถึง 7 ปี จะ
"หวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ"
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764
...
...
...
-----------------------------------------------------
[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปี
ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...
๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลใน
ปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้
หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่
เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้
ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่ง
เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน
๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใด
อย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็น
พระอนาคามี ๑ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่า
สัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อ
บรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔
ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าว
แล้ว ..