คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
การบังคับใช้วันลาพักผ่อนประจำปี หรือการบังคับใช้วันพักร้อนนั้นสามารถทำได้และถูกต้องตามเจตนารมย์ของกฎหมายเสียด้วยครับ
ซึ่งการลาพักผ่อนประจำปีนั้น กฎหมายเขียนไว้ในมาตรา 30 แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงาน ดังนี้
"ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงานโดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้
นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้
สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้"
ดังนั้น ตามเจตนารมย์ของกฎหมายแล้ว กฎหมายให้สิทธินายจ้างในการกำหนดวันลงไปเลยว่า ลูกจ้างท่านใดได้หยุดวันไหนบ้าง พูดง่ายๆให้นายจ้างกำหนดวันเอาไปเลย โดยไม่ต้องสนใจว่าลูกจ้างต้องการจะหยุดหรือไม่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การบริหารจัดการตามเจตนารมย์ของกฎหมายนั้นค่อนข้างไม่สอดคล้องกับหลักความเป็นจริง ดังนั้นในบริษัทต่างๆจึงให้สิทธิลูกจ้างในการร้องขอที่จะลาหยุดพักผ่อนประจำปีกันเอาเองตามความต้องการ แต่ต้องผ่านกระบวนการอนุมัติจากนายจ้างเสียก่อนครับ แต่อย่างไรก็ตาม การไปกำหนดให้ลูกจ้างหยุดในวันไหนโดยใช้สิทธิวันลาพักผ่อนประจำปี ก็ถือว่าไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด นายจ้างสามารถทำได้ครับ
แต่ในส่วนของลูกจ้างที่ยังไม่มีสิทธิในวันลาพักผ่อนประจำปีนั้น แล้วนายจ้างบังคับหยุดและไม่จ่ายค่าจ้าง แบบนี้ขัดกฎหมายชัดเจน เนื่องจากลูกจ้างมิได้มีความต้องการที่จะหยุดแต่เป็นการสั่งให้หยุดจากนายจ้าง ดังน้ัน ด้วยความประสงค์ของนายจ้างที่จะไม่ให้เข้าทำงานและงดจ่ายค่าจ้าง ระวังลูกจ้างเรียกเงินคืนในภายหลัง จะโดนมิใช่น้อยครับ
ซึ่งการลาพักผ่อนประจำปีนั้น กฎหมายเขียนไว้ในมาตรา 30 แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงาน ดังนี้
"ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงานโดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้
นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้
สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้"
ดังนั้น ตามเจตนารมย์ของกฎหมายแล้ว กฎหมายให้สิทธินายจ้างในการกำหนดวันลงไปเลยว่า ลูกจ้างท่านใดได้หยุดวันไหนบ้าง พูดง่ายๆให้นายจ้างกำหนดวันเอาไปเลย โดยไม่ต้องสนใจว่าลูกจ้างต้องการจะหยุดหรือไม่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การบริหารจัดการตามเจตนารมย์ของกฎหมายนั้นค่อนข้างไม่สอดคล้องกับหลักความเป็นจริง ดังนั้นในบริษัทต่างๆจึงให้สิทธิลูกจ้างในการร้องขอที่จะลาหยุดพักผ่อนประจำปีกันเอาเองตามความต้องการ แต่ต้องผ่านกระบวนการอนุมัติจากนายจ้างเสียก่อนครับ แต่อย่างไรก็ตาม การไปกำหนดให้ลูกจ้างหยุดในวันไหนโดยใช้สิทธิวันลาพักผ่อนประจำปี ก็ถือว่าไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด นายจ้างสามารถทำได้ครับ
แต่ในส่วนของลูกจ้างที่ยังไม่มีสิทธิในวันลาพักผ่อนประจำปีนั้น แล้วนายจ้างบังคับหยุดและไม่จ่ายค่าจ้าง แบบนี้ขัดกฎหมายชัดเจน เนื่องจากลูกจ้างมิได้มีความต้องการที่จะหยุดแต่เป็นการสั่งให้หยุดจากนายจ้าง ดังน้ัน ด้วยความประสงค์ของนายจ้างที่จะไม่ให้เข้าทำงานและงดจ่ายค่าจ้าง ระวังลูกจ้างเรียกเงินคืนในภายหลัง จะโดนมิใช่น้อยครับ
แสดงความคิดเห็น
วันหยุดพักผ่อนประจำปีของบริษัท ปกติเค้าบังคับหักวันลาหยุดพักร้อน ลากิจ หรือ หักค่าแรงเหรอครับ?
พนักงานที่มีสิทธิได้ลาพักร้อนหรือลากิจในปี 2559 จะถือว่าหักไป 1 วัน
ส่วนพนักงานที่ไม่มีสิทธิดัวกล่าว ทำงานไม่ครบปี จะถือว่า ลาโดยไม่จ่ายค่าแรง (หรือก็คือหักเงินสำหรับ รายเดือน)
เลยมาสอบถามว่า แบบนี้มันปกติหรือเปล่า ทำงานมา 3 - 4 ที่ เพิ่งเคยเจอที่ล่าสุดนี่แหละ
แล้วมันผิดกฎหมายแรงงานหรือไม่ สามารถฟ้องร้องได้มั้ยครับ