เรื่องนี้ยังมีความเข้าใจที่สับสนกันในหมู่มนุษย์เงินเดือน แถมยังรวมไปถึงคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนที่ทำงาน HR ด้วยว่า วันลาพักร้อนคือวันลา ซึ่งงานนี้ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันตรงนี้เลยนะครับ ว่าที่เราเรียกกันว่า “วันลาพักร้อน” น่ะไม่ใช่วันลา แต่เป็น “วันหยุด” นะครับ
ในกฎหมายแรงงานจะมี “วันหยุด” อยู่ 3 ประเภท คือ
1.วันหยุดประจำสัปดาห์ โดยมาตรา 28 บอกไว้ว่า ให้นายจ้าง “จัดให้” ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน โดยอาจตกลงกันล่วงหน้าให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์เป็นวันใดก็ได้
2.วันหยุดประเพณี มาตรา 29 ให้นายจ้างประกาศแจ้งวันหยุดประเพณีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน รวมวันแรงงานแห่งชาติ
3.วันหยุดพักผ่อนประจำปี มาตรา 30 ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งได้ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดให้ลูกจ้างหยุดล่วงหน้า หรือกำหนดให้ตามที่จะตกลงกัน
สังเกตวันหยุดทั้ง 3 ประเภทไหมครับ ว่ามีอะไรที่เหมือนกัน ?
สิ่งที่เหมือนกันคือถ้าเป็นวันหยุด กฎหมายกำหนดให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดให้ลูกจ้างหยุดตามสิทธิที่ลูกจ้างมีอยู่ครับ จะต่างจากวันลาที่นายจ้างไม่ต้องกำหนดให้ลูกจ้างหยุด เช่น หัวหน้าไม่ต้องไปกำหนดให้ลูกน้องลากิจเมื่อไหร่ หรือลาป่วยเมื่อไหร่ หรือจะไปกำหนดให้ลูกน้องไปลาคลอด หรือลาทำหมันเมื่อไหร่ จริงไหมครับ
เมื่อลูกน้องมีความจำเป็นจะต้อง ลาป่วย, ลากิจ, ลาคลอด, ลาทำหมัน ฯลฯ เขาจะมาลากับหัวหน้าเองแหละ ซึ่งจะต่างจากวันหยุดที่หัวหน้าต้องเป็นคนกำหนดให้หยุด กรณีวันหยุดพักผ่อนประจำปีก็เหมือนกัน ตามมาตรา 30 บริษัทต้อง “กำหนด” ให้พนักงานหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้านะครับ
แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าทำอย่างงั้นก็คงไม่สะดวกทั้งสองฝ่าย จึงกลายมาเป็นเงื่อนไขที่สอง คือ ทั้งหัวหน้า และลูกน้อง “ตกลงกัน” ว่า ถ้าลูกน้องอยากจะใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อไหร่ ก็ให้ยื่นใบลาพักร้อนกับหัวหน้า ก็เลยกลายสภาพแปลงร่าง (โดย Wording) จากวันหยุดพักผ่อนประจำปี มาเป็นวันลาพักร้อนซะงั้น
แต่ไม่ว่าจะเรียกชื่อเปลี่ยนไปก็ตาม แต่ในทางกฎหมายแรงงานยังคงถือว่า วันลาพักร้อน (ที่เราเรียกกัน) เป็น “วันหยุด” พักผ่อนประจำปี ที่นายจ้างต้องเป็นผู้กำหนดให้ลูกจ้างหยุดล่วงหน้าตามสิทธิที่ลูกจ้างมีอยู่ดี
ดังนั้นถ้าปีไหนพนักงานไม่ยื่นใบลาพักร้อนในสิทธิที่ยังมีเหลืออยู่ ก็ยังเป็นหน้าที่หัวหน้าที่จะต้องเป็นผู้ “กำหนด” ให้ลูกน้องหยุดพักร้อนไปตามวันที่ลูกน้องมีสิทธิอยู่นะครับ
ถ้าหัวหน้าไม่กำหนดให้ลูกน้องหยุดพักผ่อนประจำปีไปตามสิทธิที่มีเหลืออยู่ จะมาอ้างว่าลูกน้องสละสิทธิ์ (เพราะอยากไม่มายื่นใบลาพักร้อนเอง) ไม่ได้นะครับ บริษัทก็ต้องจ่ายค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามจำนวนวันที่ลูกน้องไม่ได้ใช้สิทธิ (ซึ่งหัวหน้าก็ไม่ได้กำหนดให้พนักงานหยุดล่วงหน้า)
แต่ถ้าหัวหน้าจัดให้ลูกน้องหยุดพักผ่อนประจำปีให้หมดตามสิทธิที่ลูกน้องมีอยู่ แล้วลูกน้องไม่อยากหยุดก็ให้แจ้งหัวหน้าโดยมีหลักฐานให้ชัดเจน เช่น เขียนกลับมาแล้วเซ็นชื่อกำกับไว้ว่า สละสิทธิ์ อย่างนี้ถึงจะถือว่าพนักงานสละสิทธิ์ครับ
มาถึงตรงนี้ คนทำงานอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เข้าใจเรื่องนี้ตรงกันแล้วนะครับ
Cr.
https://www.prachachat.net/opinion-column-11/news-1532234
มนุษย์เงินเดือน ลาพักร้อนก็คือวันหยุด "เข้าใจตรงกันนะ"
ในกฎหมายแรงงานจะมี “วันหยุด” อยู่ 3 ประเภท คือ
1.วันหยุดประจำสัปดาห์ โดยมาตรา 28 บอกไว้ว่า ให้นายจ้าง “จัดให้” ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน โดยอาจตกลงกันล่วงหน้าให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์เป็นวันใดก็ได้
2.วันหยุดประเพณี มาตรา 29 ให้นายจ้างประกาศแจ้งวันหยุดประเพณีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน รวมวันแรงงานแห่งชาติ
3.วันหยุดพักผ่อนประจำปี มาตรา 30 ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งได้ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดให้ลูกจ้างหยุดล่วงหน้า หรือกำหนดให้ตามที่จะตกลงกัน
สังเกตวันหยุดทั้ง 3 ประเภทไหมครับ ว่ามีอะไรที่เหมือนกัน ?
สิ่งที่เหมือนกันคือถ้าเป็นวันหยุด กฎหมายกำหนดให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดให้ลูกจ้างหยุดตามสิทธิที่ลูกจ้างมีอยู่ครับ จะต่างจากวันลาที่นายจ้างไม่ต้องกำหนดให้ลูกจ้างหยุด เช่น หัวหน้าไม่ต้องไปกำหนดให้ลูกน้องลากิจเมื่อไหร่ หรือลาป่วยเมื่อไหร่ หรือจะไปกำหนดให้ลูกน้องไปลาคลอด หรือลาทำหมันเมื่อไหร่ จริงไหมครับ
เมื่อลูกน้องมีความจำเป็นจะต้อง ลาป่วย, ลากิจ, ลาคลอด, ลาทำหมัน ฯลฯ เขาจะมาลากับหัวหน้าเองแหละ ซึ่งจะต่างจากวันหยุดที่หัวหน้าต้องเป็นคนกำหนดให้หยุด กรณีวันหยุดพักผ่อนประจำปีก็เหมือนกัน ตามมาตรา 30 บริษัทต้อง “กำหนด” ให้พนักงานหยุดพักผ่อนประจำปีล่วงหน้านะครับ
แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าทำอย่างงั้นก็คงไม่สะดวกทั้งสองฝ่าย จึงกลายมาเป็นเงื่อนไขที่สอง คือ ทั้งหัวหน้า และลูกน้อง “ตกลงกัน” ว่า ถ้าลูกน้องอยากจะใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อไหร่ ก็ให้ยื่นใบลาพักร้อนกับหัวหน้า ก็เลยกลายสภาพแปลงร่าง (โดย Wording) จากวันหยุดพักผ่อนประจำปี มาเป็นวันลาพักร้อนซะงั้น
แต่ไม่ว่าจะเรียกชื่อเปลี่ยนไปก็ตาม แต่ในทางกฎหมายแรงงานยังคงถือว่า วันลาพักร้อน (ที่เราเรียกกัน) เป็น “วันหยุด” พักผ่อนประจำปี ที่นายจ้างต้องเป็นผู้กำหนดให้ลูกจ้างหยุดล่วงหน้าตามสิทธิที่ลูกจ้างมีอยู่ดี
ดังนั้นถ้าปีไหนพนักงานไม่ยื่นใบลาพักร้อนในสิทธิที่ยังมีเหลืออยู่ ก็ยังเป็นหน้าที่หัวหน้าที่จะต้องเป็นผู้ “กำหนด” ให้ลูกน้องหยุดพักร้อนไปตามวันที่ลูกน้องมีสิทธิอยู่นะครับ
ถ้าหัวหน้าไม่กำหนดให้ลูกน้องหยุดพักผ่อนประจำปีไปตามสิทธิที่มีเหลืออยู่ จะมาอ้างว่าลูกน้องสละสิทธิ์ (เพราะอยากไม่มายื่นใบลาพักร้อนเอง) ไม่ได้นะครับ บริษัทก็ต้องจ่ายค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามจำนวนวันที่ลูกน้องไม่ได้ใช้สิทธิ (ซึ่งหัวหน้าก็ไม่ได้กำหนดให้พนักงานหยุดล่วงหน้า)
แต่ถ้าหัวหน้าจัดให้ลูกน้องหยุดพักผ่อนประจำปีให้หมดตามสิทธิที่ลูกน้องมีอยู่ แล้วลูกน้องไม่อยากหยุดก็ให้แจ้งหัวหน้าโดยมีหลักฐานให้ชัดเจน เช่น เขียนกลับมาแล้วเซ็นชื่อกำกับไว้ว่า สละสิทธิ์ อย่างนี้ถึงจะถือว่าพนักงานสละสิทธิ์ครับ
มาถึงตรงนี้ คนทำงานอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เข้าใจเรื่องนี้ตรงกันแล้วนะครับ
Cr. https://www.prachachat.net/opinion-column-11/news-1532234