เวทนา แปลว่า ความรู้สึก โดยเมื่อมีผัสสะหรือการสัมผัสเกิดขึ้น ก็จะเกิดเวทนาหรือความรู้สึกตามมาด้วยทันที ดังนั้นเวทนาจึงเกิดขึ้นได้ตามผัสสะทั้ง ๖ อันได้แก่
๑. ความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางตา
๒. ความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางหู
๓. ความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางจมูก
๔. ความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางลิ้น
๕. ความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางกาย
๖. ความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางใจ
เวทนาหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามผัสสะทั้ง ๖ นี้ยังแยกได้ ๓ ชนิด คือ
๑. สุขเวทนา ความรู้สึกที่ทนได้ง่าย หรือความรู้สึกที่น่าพอใจ (หรือความสุข)
๒. ทุกขเวทนา ความรู้สึกที่ทนได้ยาก หรือความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจ
๓. อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกที่เป็นกลางๆหรือไม่ใช่ทั้งสุขเวทนาและทุกขเวทนา (ความรู้สึกจืดๆ)
การที่จะเกิดสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาขึ้นมานั้น มันก็ขึ้นอยู่กับอายตนะภายนอกที่มาประทบ อย่างเช่น เมื่อตาของเราเห็นรูปของเพศตรงข้ามที่สวยงาม ก็จะเกิดสุขเวทนาหรือความสุขทางตาขึ้นมาทันที แต่เมื่อตาของเราเห็นรูปของคนที่เราเกลียดหรือกลัว ก็จะเกิดทุกขเวทนาขึ้นมาทันที หรือถ้าตาของเราเห็นรูปต้นไม้ หรือพื้นดิน หรือสัตว์ หรือคนที่เราไม่รักและไม่เกลียด ก็จะเกิดอทุกขมสุขเวทนาหรือความรู้สึกจืดๆขึ้นมาทันที เป็นต้น
สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนก็คือ สุขเวทนาก็คือความสุข ส่วนทุกขเวทนานั้นยังไม่ใช่ความทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ จนกว่าจิตจะเกิดความไม่พอใจ (คือกิเลสพวกยินร้าย) ในทุกขเวทนานี้อย่างรุนแรง จนจิตเกิดทุกขเวทนาทางใจที่รุนแรงซ้อนขึ้นมาอีกที จึงจะเรียกทุกขเวทนาทางใจที่รุนแรงนี้ว่าเป็น ความทุกข์ ตามหลักอริยสัจ ๔ ซึ่งเรื่องนี้เราจะได้ศึกษากันโดยละเอียดต่อไป
เวทนา ๖
๑. ความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางตา
๒. ความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางหู
๓. ความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางจมูก
๔. ความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางลิ้น
๕. ความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางกาย
๖. ความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางใจ
เวทนาหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามผัสสะทั้ง ๖ นี้ยังแยกได้ ๓ ชนิด คือ
๑. สุขเวทนา ความรู้สึกที่ทนได้ง่าย หรือความรู้สึกที่น่าพอใจ (หรือความสุข)
๒. ทุกขเวทนา ความรู้สึกที่ทนได้ยาก หรือความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจ
๓. อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกที่เป็นกลางๆหรือไม่ใช่ทั้งสุขเวทนาและทุกขเวทนา (ความรู้สึกจืดๆ)
การที่จะเกิดสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาขึ้นมานั้น มันก็ขึ้นอยู่กับอายตนะภายนอกที่มาประทบ อย่างเช่น เมื่อตาของเราเห็นรูปของเพศตรงข้ามที่สวยงาม ก็จะเกิดสุขเวทนาหรือความสุขทางตาขึ้นมาทันที แต่เมื่อตาของเราเห็นรูปของคนที่เราเกลียดหรือกลัว ก็จะเกิดทุกขเวทนาขึ้นมาทันที หรือถ้าตาของเราเห็นรูปต้นไม้ หรือพื้นดิน หรือสัตว์ หรือคนที่เราไม่รักและไม่เกลียด ก็จะเกิดอทุกขมสุขเวทนาหรือความรู้สึกจืดๆขึ้นมาทันที เป็นต้น
สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนก็คือ สุขเวทนาก็คือความสุข ส่วนทุกขเวทนานั้นยังไม่ใช่ความทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ จนกว่าจิตจะเกิดความไม่พอใจ (คือกิเลสพวกยินร้าย) ในทุกขเวทนานี้อย่างรุนแรง จนจิตเกิดทุกขเวทนาทางใจที่รุนแรงซ้อนขึ้นมาอีกที จึงจะเรียกทุกขเวทนาทางใจที่รุนแรงนี้ว่าเป็น ความทุกข์ ตามหลักอริยสัจ ๔ ซึ่งเรื่องนี้เราจะได้ศึกษากันโดยละเอียดต่อไป