ขอถามเกี่ยวกับ เวทนา ค่ะ

เวทนา ๓     แบ่งการเสวยอารมณ์ ความรู้สึก รสของอารมณ์ ออกเป็นสามอย่าง คือ

-  สุขเวทนา   หมายถึง ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม
-  ทุกขเวทนา   หมายถึง ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม
-  อทุกขมเวทนา   หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุเบกขาเวทนา


เวทนา ๕ แบ่ง การเสวยอารมณ์ ออกเป็นห้าอย่าง คือ

-  สุข   หมายถึง ความสุข ความสบายทางกาย
-  ทุกข์   หมายถึง ความทุกข์ ความไม่สบาย ความเจ็บปวดทางกาย
-  โสมนัส   หมายถึง ความแช่มชื่น ปลื้มใจ สุขใจ (อันเกิดจากสุขจึงเกิดโสมนัส)
-  โทมนัส   หมายถึง ความเสียใจ ความเศร้าโศก เศร้าหมอง ทุกข์ใจ (อันเกิดจากทุกข์จึงเกิดโทรมนัส)
-  อุเบกขา   หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์


--------------

คือเรามักสับสนระหว่าง เวทนา   ผัสสะ   และการ "รู้กาย" ในสติปัฏฐาน 4 น่ะค่ะ
ขอถามเป็นข้อๆดังนี้ค่ะ

1  อุเบกขา หรือ อทุกขมเวทนา  คือสิ่งเดียวกันใช่ไหมคะ?   และหมายถึง รู้สึกเฉยๆ ทั้งทางกายและทางใจ   หรือเฉพาะทางใจเท่านั้นคะ?

2  ในสติปัฏฐาน   การเฝ้าดูกายในกาย นี้  เราเข้าใจว่าหมายถึงทั้งลมหายใจเข้าออก และการเคลื่อนไหว การอยู่ในอิริยาบถใด
     แล้วพอเกิดความทุกข์ขึ้นกับกาย แล้วเราไปดู เช่น เดินเอาขาไปเตะโต๊ะ  จะกลายเป็นการดูฐานเวทนาไป  คือเวทนาทางกาย ใช่ไหมคะ?
     แล้วถ้าเป็นผัสสะ เช่น สัมผัสต่างๆที่ไม่เจ็บ  การรู้สึกถึงสัมผัสของเสื้อที่เราใส่อยู่   การได้ยินเสียงระฆังแล้วรับรู้ว่า ยินหนอๆ  แบบนี้  
     เป็นการดูฐานใดใน 4 ฐานคะ?

3  เมื่อเรามือลูบไปบนผ้าขนสัตว์นิ่มๆ เราจะรู้สึกถึงผัสสะทางกาย  และรู้สึกนิ่มสบายมือ  และรู้สึกพอใจชอบใจ  
    แบบนี้ถ้าเราเอาจิตเข้าไปสังเกตจะเห็นอะไรบ้างคะ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่