ก่อนอื่นเราควรเข้าใจว่า คำว่า “ทุกข์” นี้จะมีความหมายอยู่ถึง ๓ อย่าง อันได้แก่
๑. ทุกขลักษณะ คือลักษณะที่ต้องทน
๒. ทุกขเวทนา คือความรู้สึกที่ทนได้ยาก
๓. ทุกขอุปาทาน คือทุกข์จากความยึดมั่นถือมั่น
ทุกขลักษณะนี้ก็คือ ลักษณะที่ต้องทนของ ”สิ่งปรุงแต่ง” (สังขาร) ทั้งปวง ตามกฎไตรลักษณ์ คือทุกสิ่ง ทั้งวัตถุ, ร่างกาย, และจิต ที่เกิดขึ้นมา ล้วนจะต้องมีความต้องทนนี้อยู่แล้ว โดยบางสิ่งก็มีน้อยบางสิ่งก็มีมาก หรือสิ่งเดียวนั้นบางเวลาก็มีมาก แต่บางเวลาก็มีน้อย โดยทุกขลักษณะนี้ถ้ามีมากและเกิดขึ้นกับความรู้สึกของจิต ก็เรียกว่าทุกขเวทนา เมื่อเกิดขึ้นกับจิตที่เกิดความยึดถือว่ามีตัวเรา-ของเรา ก็เรียกว่าเป็นทุกขอุปาทาน
ทุกขเวทนาก็คือ ความรู้สึกที่ทนได้ยาก อันเป็นความรู้สึกของจิตขณะที่สัมผัสกับอารมณ์ภายนอกที่ไม่น่ายินดี ซึ่งทุกขเวทนานี้ก็คือทุกขลักษณะที่เกิดขึ้นกับความรู้สึก (เวทนา) ของจิตนั่นเอง อย่างเช่น เมื่อกายได้สัมผัสกับอากาศร้อนก็จะเกิดทุกขเวทนาทางกายขึ้นมา เป็นต้น
ทุกขอุปาทานก็คือความทุกข์ที่เกิดจากการที่จิตเกิดความยึดถือว่ามีตัวเรา-ของเรา คือเมื่อจิตเกิดความยึดถือนี้ขึ้นมา ความยึดถือนี้ก็จะมาสัมผัสใจอีกทีหนึ่งแล้วทำให้เกิดทุกขเวทนาทางใจที่รุนแรงซ้อนขึ้นมาอีก อย่างเช่น เมื่อกายได้สัมผัสกับอากาศร้อน นอกจากร่างกายจะเกิดทุกเวทนาแล้ว เมื่อจิตใจเกิดความยึดถือว่ามีตัวเราเป็นผู้สัมผัสอากาศร้อน ก็จะทำให้จิตใจเกิดความรู้สึกทุกข์ทรมานขึ้นมาทันที (คือได้เกิดทุกขเวทนาที่รุนแรงซ้อนขึ้นมาอีกที) เป็นต้น
ทุกขลักษณะนี้เราไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะเป็นธรรมชาติของสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายที่ต้องมีความต้องทนอยู่แล้วเป็นธรรมดา ส่วนทุกขเวทนานั้นเป็นธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นเมื่อจิตต้องสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ถ้าเราไม่อยากได้ทุกขเวทนา เราก็หลีกหนีการสัมผัสนั้นเสีย แต่ทุกเวทนานี้ก็ยังไม่รุนแรงเท่าทุกอุปาทาน
ทุกขอุปาทานนั้นเราสามารถที่จะแก้ไขได้ โดยการปฏิบัติตามหลักมรรคเพื่อไม่ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวเรา-ของเราขึ้นมา แล้วทุกขอุปาทานก็จะไม่เกิด แม้อาจจะมีทุกขเวทนาเกิดอยู่บ้างแต่ก็ไม่สำคัญเท่าทุกขอุปาทาน อย่างเช่น ถ้าเราเดินตากแดดแล้วร้อนกาย ถ้าเราเกิดความยึดถือว่ามีตัวเราร้อนขึ้นมา ก็จะทำให้เกิดความร้อนใจมากหรือเกิดความทุกข์ใจซ้อนขึ้นมาอีก แต่ถ้าไม่เกิดความยึดถือว่ามีตัวเราร้อน ก็จะมีแต่เพียงร่างกายร้อนเท่านั้น ส่วนจิตใจจะเย็น เป็นต้น
ทุกข์ ๓ ลักษณะที่ชาวพุทธควรรู้
๑. ทุกขลักษณะ คือลักษณะที่ต้องทน
๒. ทุกขเวทนา คือความรู้สึกที่ทนได้ยาก
๓. ทุกขอุปาทาน คือทุกข์จากความยึดมั่นถือมั่น
ทุกขลักษณะนี้ก็คือ ลักษณะที่ต้องทนของ ”สิ่งปรุงแต่ง” (สังขาร) ทั้งปวง ตามกฎไตรลักษณ์ คือทุกสิ่ง ทั้งวัตถุ, ร่างกาย, และจิต ที่เกิดขึ้นมา ล้วนจะต้องมีความต้องทนนี้อยู่แล้ว โดยบางสิ่งก็มีน้อยบางสิ่งก็มีมาก หรือสิ่งเดียวนั้นบางเวลาก็มีมาก แต่บางเวลาก็มีน้อย โดยทุกขลักษณะนี้ถ้ามีมากและเกิดขึ้นกับความรู้สึกของจิต ก็เรียกว่าทุกขเวทนา เมื่อเกิดขึ้นกับจิตที่เกิดความยึดถือว่ามีตัวเรา-ของเรา ก็เรียกว่าเป็นทุกขอุปาทาน
ทุกขเวทนาก็คือ ความรู้สึกที่ทนได้ยาก อันเป็นความรู้สึกของจิตขณะที่สัมผัสกับอารมณ์ภายนอกที่ไม่น่ายินดี ซึ่งทุกขเวทนานี้ก็คือทุกขลักษณะที่เกิดขึ้นกับความรู้สึก (เวทนา) ของจิตนั่นเอง อย่างเช่น เมื่อกายได้สัมผัสกับอากาศร้อนก็จะเกิดทุกขเวทนาทางกายขึ้นมา เป็นต้น
ทุกขอุปาทานก็คือความทุกข์ที่เกิดจากการที่จิตเกิดความยึดถือว่ามีตัวเรา-ของเรา คือเมื่อจิตเกิดความยึดถือนี้ขึ้นมา ความยึดถือนี้ก็จะมาสัมผัสใจอีกทีหนึ่งแล้วทำให้เกิดทุกขเวทนาทางใจที่รุนแรงซ้อนขึ้นมาอีก อย่างเช่น เมื่อกายได้สัมผัสกับอากาศร้อน นอกจากร่างกายจะเกิดทุกเวทนาแล้ว เมื่อจิตใจเกิดความยึดถือว่ามีตัวเราเป็นผู้สัมผัสอากาศร้อน ก็จะทำให้จิตใจเกิดความรู้สึกทุกข์ทรมานขึ้นมาทันที (คือได้เกิดทุกขเวทนาที่รุนแรงซ้อนขึ้นมาอีกที) เป็นต้น
ทุกขลักษณะนี้เราไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะเป็นธรรมชาติของสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายที่ต้องมีความต้องทนอยู่แล้วเป็นธรรมดา ส่วนทุกขเวทนานั้นเป็นธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นเมื่อจิตต้องสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ถ้าเราไม่อยากได้ทุกขเวทนา เราก็หลีกหนีการสัมผัสนั้นเสีย แต่ทุกเวทนานี้ก็ยังไม่รุนแรงเท่าทุกอุปาทาน
ทุกขอุปาทานนั้นเราสามารถที่จะแก้ไขได้ โดยการปฏิบัติตามหลักมรรคเพื่อไม่ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวเรา-ของเราขึ้นมา แล้วทุกขอุปาทานก็จะไม่เกิด แม้อาจจะมีทุกขเวทนาเกิดอยู่บ้างแต่ก็ไม่สำคัญเท่าทุกขอุปาทาน อย่างเช่น ถ้าเราเดินตากแดดแล้วร้อนกาย ถ้าเราเกิดความยึดถือว่ามีตัวเราร้อนขึ้นมา ก็จะทำให้เกิดความร้อนใจมากหรือเกิดความทุกข์ใจซ้อนขึ้นมาอีก แต่ถ้าไม่เกิดความยึดถือว่ามีตัวเราร้อน ก็จะมีแต่เพียงร่างกายร้อนเท่านั้น ส่วนจิตใจจะเย็น เป็นต้น