กัมพูชา บูชากรรม ตอนที่ 5

อารัมภบท

ข้อมูลนี้เป็นการนำเอาเรื่องราวของความขัดเเย้งในการเมืองประเทศกัมพูชาและนำเสนอข้อมูลทางทหาร โดยมิได้มีเจตนาเพื่อการปลุกปั่นหรือยุยงให้เกิดความแตกแยกใดใด

ตอนที่ 5 ก่อการกำเริบ



        กัมพูชา ในปีพุทธศักราช 2406 ดำรงตนอยู่ในฐานะรัฐอาณานิคมฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญาอารักขาฝรั่งเศส-กัมพูชา ซึ่งจากผลของสนธิสัญญาดังกล่าวนั้น ก่อให้เกิดความเสียดุลระหว่างพื้นที่ปกครองเดิมของรัฐสยาม ซึ่งเดิมทีนั้นกัมพูชาเป็นรัฐในอารักขาระหว่างจักรวรรดิ์สยามและญวนมาก่อน ผลของสนธิสัญญาดังกล่าวจึงทำให้สยามต้องเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ฝรั่งเศสไปเป็นครั้งแรก

        ในช่วงแรกของการปกครองกัมพูชานั้น ฝรั่งเศสมิได้เข้าไปยุ่มย่ามเกี่ยวข้องกับกิจการภายในของกัมพูชามากนัก อีกทั้งฝรั่งเศสยังช่วยค้ำจุนราชสำนักกัมพูชาเสียด้วย ทั้งยังช่วยปราบกลุ่มกบฏต่างๆที่ก่อการกำเริบในกัมพูชา แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่แผนการให้เขมรตายใจเท่านั้นเอง ในขณะที่สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์(นักองค์ราชาวดี) กษัตริย์กัมพูชาในสมัยนั้นล่วงรู้ถึงแผนการร้ายๆของฝรั่งเศสและพระองค์เองยังมีทีท่าเป็นปฏิปักษ์ต่อเจ้าอณานิคมด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ฝรั่งเศสก็จัดการแต่งตั้งพระสีสุวัตถ์ให้ดำรงสถานะเป็นพระมหาอุปราชกัมพูชาเสียเลย พระสีสุวัตถ์คือพระอนุชาของนักองค์ราชาวดี ซึ่งทั้งสองพระองค์นี้มีความหมางใจกันในเรื่องของการสืบทอดราชบัลลังก์กัมพูชา การนี้ก็เพื่อให้พระสีสุวัตถ์นั้นคอยถ่วงดุลอำนาจของกษัตริย์กัมพูชานั่นเอง จนกระทั่งฝรั่งเศสสามารถยึดเวียดนามได้เบ็ดเสร็จแล้ว จึงค่อยๆลิดรอนอำนาจของกษัตริย์กัมพูชามาเรื่อย


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

        ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสสามารถควบคุมเวียดนามได้เบ็ดเสร็จในช่วง พ.ศ.2426 และต่อมาในปี พ.ศ.2427 จึงมีความพยายามผนวกกัมพูชาให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน โดยแผนการเริ่มแรกนั้น ฝรั่งเศสได้ดำเนินนโยบายครั้งใหญ่ซึ่งเข้มงวดเพื่อพยายามเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ และระบบอันเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานภายในกัมพูชา โดยข้าหลวงทอมสันได้เสนอแผนการปรับปรุงการเก็บภาษี การตำรวจ การยกเลิกระบบทาสไพร่ ฯลฯ ซึ่งนั้นทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากในหมู่ชนชั้นปกครองชาวกัมพูชา อีกทั้งฝรั่งเศสยังนำชาวเวียดนามเข้ามาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในระบบราชการของฝรั่งเศส แต่กลับกีดกันไม่ให้ชาวกัมพูชาบางส่วนได้เข้าสู่ระบอบชนชั้นปกครองด้วย ทั้งยังนำชาวเวียดนามมาเป็นแรงงานทางด้านเกษตรกรรม ซึ่งสร้างความแค้นหมางใจลึกๆให้แก่ชาวนากัมพูชาเป็นอย่างมาก นโยบายใหม่ครั้งนี้สร้างความขุ่นเคืองให้แก่นักองค์ราชาวดีกษัตริย์กัมพูชา พระองค์ได้โต้แย้งและเตรียมส่งสาส์นร้องเรียนรัฐบาลฝรั่งเศสแต่พระองค์ต้องระงับการดังกล่าวไป เพราะข้าหลวงทอมสันได้นำหมู่เรือปืนเข้ามาทอดสมอริมพระราชวัง อีกทั้งยังบีบบังคับข่มขู่จนกษัตริย์กัมพูชาจำต้องลงพระนามาภิไธยรับรองนโยบายดังกล่าว เมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2427 .....



เครดิต ไทยวิกิพีเดีย
ติดตามต่อตอนไปครับ.....
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่