อารัมภบท
ข้อมูลนี้เป็นการนำเอาเรื่องราวของความขัดเเย้งในการเมืองประเทศกัมพูชาและนำเสนอข้อมูลทางทหาร โดยมิได้มีเจตนาเพื่อการปลุกปั่นหรือยุยงให้เกิดความแตกแยกใดใด
ตอนที่ 4 ยุครัฐอารักขา
อังกฤษและฝรั่งเศส คืออีกประเทศมหาอำนาจที่เข้ามาช่วงชิงดินแดนในอุษาคเนย์ ในยุคล่าอณานิคมสมัยนั้น ประเทศมหาอำนาจเหล่านี้หากเปรียบไปก็มิต่างอะไรจากฝูงเห็บไร ที่เข้ามาสูบเลือดเนื้อชาวเอเชียให้ซูบผอม ก่อนจะกระโดดหนีออกไปทิ้งไว้เพียงความวิบัติ
เป็นปัญหาเรื้อรังให้ชาติต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เราตามแก้ไขกันเองต่อ.....
กรณีฝรั่งเศสแทรงแซงเวียดนามนั้น ปฏิสัมพันธ์เริ่มแรกทีเดียวอยู่ในราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมิชชันนารีคณะเยสุอิต ซึ่งนำโดยบาทหลวงอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนา ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1787 เวียดนามเกิดมีการก่อกบฏขึ้นโดยราชวงศ์เต็ยเซิน หรือไกเซิน เป็นผลให้ชนชั้นปกครองทางใต้ต้องมาขอความช่วยเหลือด้านทหารจากสยาม แต่สยามมิได้ให้ความช่วยแต่ประการใด ซึ่งสยามเราเพียงแต่อุปถัมภ์ค้ำจุนองเชียงสือ และในขณะเดียวกันนั้นเองที่ "ปีโญ เดอ เบแอน"ได้ร้องเรียนรัฐบาลฝรั่งเศสให้จัดตั้งอาสาสมัครทหารฝรั่งเศสเพื่อช่วยเหลือ องเชียงสือ หรือ เหงียน อั๊ญ ซึ่งภายหลังคือจักรพรรดิซา ล็อง หรือพระเจ้าเวียดนามยาลอง ให้ได้ดินแดนที่สูญเสียให้กับราชวงศ์เต็ยเซินกลับคืนมา แต่เมื่อภารกิจดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จแล้ว กองทหารอาสาสมัครฝรั่งเศสยังคงตั้งกองกำลังอยู่ในเวียดนาม เพื่อดูแลคุ้มครองคณะมิชชันนารี่ต่อ ด้วยเหตุนี้ราชวงศ์เหงียนจึงเริ่มมีความคลางแคลงสงสัยต่อจุดประสงค์ระยะยาวของฝรั่งเศส ซึ่งอาจพฤติการณ์เป็นภัยคุกคามต่อเวียดนามได้ในภายภาคหน้า และนี้เองจึงเป็นปฐมบทสงครามที่โหดที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีนในเวลาต่อมา.....
กลับมายังประเทศกัมพูชา ซึ่งก็กำลังใกล้จะตกชะตากรรมเดียวกับเวียดนาม เมื่อฝรั่งเศสใช้คณะฑูต"มงติญี"เป็นเบี้ยหมากเปิดเกม โดยคณะฑูตมงติญีได้เดินทางออกจากสยามเพื่อเดินทางต่อไปยังกัมพูชา แต่พระสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองค์ด้วง) กษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 1 นั้นตอบว่ากัมพูชาเป็นเพียงเมืองน้อยมิอาจทำสัญญาได้ตามลำพัง ต้องปรึกษาฝ่ายสยามก่อน คณะทูตของมงติญีจึงเดินทางต่อไปยังราชสำนักเว้ของเวียดนาม หลังจากคณะทูตของมงติญีกลับไปเมืองเว้ไม่นานนัก พระองค์ด้วงได้ส่งหนังสือลับไปยังกงสุลฝรั่งเศสในสิงคโปร์เมื่อ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 เพื่อนำไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสช่วยคุ้มครองกัมพูชาให้พ้นจากอำนาจของสยามและเวียดนาม ในขณะนั้นเองที่ฝรั่งเศสได้เริ่มดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในการยึดครองดินแดนเวียดนาม ในช่วง พ.ศ. 2406 โดยพลเรือเอก เดอ ลากรองดิแยร์ ได้เป็นข้าหลวงอินโดจีนฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อให้กัมพูชาเป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส ในสมัยนั้นกษัตริย์กัมพูชาคือพระนโรดม พระโอรสของพระองค์ด้วง ได้ตกลงใจยินยอมทำสนธิสัญญาดังกล่าวด้วย
หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2406 สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ (นักองค์ราชาวดีพระราชโอรสของนักองค์ด้วง) ได้ทำหนังสือกราบทูลรัชกาลที่ 4 ว่าถูกฝรั่งเศสบังคับให้ทำสัญญา สยามเราจึงได้พยายามรักษาสิทธิของตนเหนือกัมพูชาโดยทำสนธิสัญญาลับ สยาม-กัมพูชา เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2406 เพื่อยืนยันสิทธิของสยามเหนือกัมพูชา และพระนโรดมเองก็ยินยอมลงนามในสนธิสัญญานี้ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อฝรั่งเศสทราบถึงการทำสนธิสัญญาลับดังกล่าวระหว่าง สยาม-กัมพูชา ฝรั่งเศสจึงได้เข้ามาคัดค้านในลักษณะของการบีบบังคับให้เจรจาเพื่อขอยกเลิกสนธิสัญญา ในที่สุดได้มีการลงนามในสนธิสัญญา ฝรั่งเศส-สยาม พ.ศ. 2410 โดยสยามประกาศสละสิทธิ์การอ้างสิทธิใดๆเหนือกัมพูชา โดยเสียมราฐ พระตะบองและศรีโสภณยังคงเป็นของสยาม โดยในรายละเอียดของสนธิสัญญานี้สยามจำต้องยกเขมรส่วนนอก รวมเนื้อที่ 123,050 ตร.กม.พร้อมเกาะอีก 6 เกาะให้กับฝรั่งเศส และโดยเนื้อหาในสัญานี้จึงเป็นสนธิสัญญาที่สยามต้องเสียดินแดนครั้งแรกให้แก่ฝรั่งเศสโดยตรง ซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เวียดนามรบแพ้ฝรั่งเศส และเวียดนามต้องยอมรับว่าโคชินจีนเป็นของฝรั่งเศสเช่นกัน.....
เครดิต ไทยวิกิพีเดีย
ติดตามต่อตอนไปครับ.....
กัมพูชา บูชากรรม ตอนที่ 4
ข้อมูลนี้เป็นการนำเอาเรื่องราวของความขัดเเย้งในการเมืองประเทศกัมพูชาและนำเสนอข้อมูลทางทหาร โดยมิได้มีเจตนาเพื่อการปลุกปั่นหรือยุยงให้เกิดความแตกแยกใดใด
ตอนที่ 4 ยุครัฐอารักขา
อังกฤษและฝรั่งเศส คืออีกประเทศมหาอำนาจที่เข้ามาช่วงชิงดินแดนในอุษาคเนย์ ในยุคล่าอณานิคมสมัยนั้น ประเทศมหาอำนาจเหล่านี้หากเปรียบไปก็มิต่างอะไรจากฝูงเห็บไร ที่เข้ามาสูบเลือดเนื้อชาวเอเชียให้ซูบผอม ก่อนจะกระโดดหนีออกไปทิ้งไว้เพียงความวิบัติ เป็นปัญหาเรื้อรังให้ชาติต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เราตามแก้ไขกันเองต่อ.....
กรณีฝรั่งเศสแทรงแซงเวียดนามนั้น ปฏิสัมพันธ์เริ่มแรกทีเดียวอยู่ในราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมิชชันนารีคณะเยสุอิต ซึ่งนำโดยบาทหลวงอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนา ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1787 เวียดนามเกิดมีการก่อกบฏขึ้นโดยราชวงศ์เต็ยเซิน หรือไกเซิน เป็นผลให้ชนชั้นปกครองทางใต้ต้องมาขอความช่วยเหลือด้านทหารจากสยาม แต่สยามมิได้ให้ความช่วยแต่ประการใด ซึ่งสยามเราเพียงแต่อุปถัมภ์ค้ำจุนองเชียงสือ และในขณะเดียวกันนั้นเองที่ "ปีโญ เดอ เบแอน"ได้ร้องเรียนรัฐบาลฝรั่งเศสให้จัดตั้งอาสาสมัครทหารฝรั่งเศสเพื่อช่วยเหลือ องเชียงสือ หรือ เหงียน อั๊ญ ซึ่งภายหลังคือจักรพรรดิซา ล็อง หรือพระเจ้าเวียดนามยาลอง ให้ได้ดินแดนที่สูญเสียให้กับราชวงศ์เต็ยเซินกลับคืนมา แต่เมื่อภารกิจดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จแล้ว กองทหารอาสาสมัครฝรั่งเศสยังคงตั้งกองกำลังอยู่ในเวียดนาม เพื่อดูแลคุ้มครองคณะมิชชันนารี่ต่อ ด้วยเหตุนี้ราชวงศ์เหงียนจึงเริ่มมีความคลางแคลงสงสัยต่อจุดประสงค์ระยะยาวของฝรั่งเศส ซึ่งอาจพฤติการณ์เป็นภัยคุกคามต่อเวียดนามได้ในภายภาคหน้า และนี้เองจึงเป็นปฐมบทสงครามที่โหดที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีนในเวลาต่อมา.....
กลับมายังประเทศกัมพูชา ซึ่งก็กำลังใกล้จะตกชะตากรรมเดียวกับเวียดนาม เมื่อฝรั่งเศสใช้คณะฑูต"มงติญี"เป็นเบี้ยหมากเปิดเกม โดยคณะฑูตมงติญีได้เดินทางออกจากสยามเพื่อเดินทางต่อไปยังกัมพูชา แต่พระสมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองค์ด้วง) กษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 1 นั้นตอบว่ากัมพูชาเป็นเพียงเมืองน้อยมิอาจทำสัญญาได้ตามลำพัง ต้องปรึกษาฝ่ายสยามก่อน คณะทูตของมงติญีจึงเดินทางต่อไปยังราชสำนักเว้ของเวียดนาม หลังจากคณะทูตของมงติญีกลับไปเมืองเว้ไม่นานนัก พระองค์ด้วงได้ส่งหนังสือลับไปยังกงสุลฝรั่งเศสในสิงคโปร์เมื่อ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 เพื่อนำไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสช่วยคุ้มครองกัมพูชาให้พ้นจากอำนาจของสยามและเวียดนาม ในขณะนั้นเองที่ฝรั่งเศสได้เริ่มดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในการยึดครองดินแดนเวียดนาม ในช่วง พ.ศ. 2406 โดยพลเรือเอก เดอ ลากรองดิแยร์ ได้เป็นข้าหลวงอินโดจีนฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อให้กัมพูชาเป็นดินแดนในอารักขาของฝรั่งเศส ในสมัยนั้นกษัตริย์กัมพูชาคือพระนโรดม พระโอรสของพระองค์ด้วง ได้ตกลงใจยินยอมทำสนธิสัญญาดังกล่าวด้วย
หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2406 สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ (นักองค์ราชาวดีพระราชโอรสของนักองค์ด้วง) ได้ทำหนังสือกราบทูลรัชกาลที่ 4 ว่าถูกฝรั่งเศสบังคับให้ทำสัญญา สยามเราจึงได้พยายามรักษาสิทธิของตนเหนือกัมพูชาโดยทำสนธิสัญญาลับ สยาม-กัมพูชา เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2406 เพื่อยืนยันสิทธิของสยามเหนือกัมพูชา และพระนโรดมเองก็ยินยอมลงนามในสนธิสัญญานี้ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อฝรั่งเศสทราบถึงการทำสนธิสัญญาลับดังกล่าวระหว่าง สยาม-กัมพูชา ฝรั่งเศสจึงได้เข้ามาคัดค้านในลักษณะของการบีบบังคับให้เจรจาเพื่อขอยกเลิกสนธิสัญญา ในที่สุดได้มีการลงนามในสนธิสัญญา ฝรั่งเศส-สยาม พ.ศ. 2410 โดยสยามประกาศสละสิทธิ์การอ้างสิทธิใดๆเหนือกัมพูชา โดยเสียมราฐ พระตะบองและศรีโสภณยังคงเป็นของสยาม โดยในรายละเอียดของสนธิสัญญานี้สยามจำต้องยกเขมรส่วนนอก รวมเนื้อที่ 123,050 ตร.กม.พร้อมเกาะอีก 6 เกาะให้กับฝรั่งเศส และโดยเนื้อหาในสัญานี้จึงเป็นสนธิสัญญาที่สยามต้องเสียดินแดนครั้งแรกให้แก่ฝรั่งเศสโดยตรง ซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เวียดนามรบแพ้ฝรั่งเศส และเวียดนามต้องยอมรับว่าโคชินจีนเป็นของฝรั่งเศสเช่นกัน.....
เครดิต ไทยวิกิพีเดีย
ติดตามต่อตอนไปครับ.....