อารัมภบท
ข้อมูลนี้เป็นการนำเอาเรื่องราวของความขัดเเย้งในการเมืองประเทศกัมพูชาและนำเสนอข้อมูลทางทหาร โดยมิได้มีเจตนาเพื่อการปลุกปั่นหรือยุยงให้เกิดความแตกแยกใดใด
ตอนที่ 7 แผนชั่ว
ภายหลังจากที่กัมพูชาถูกผนวกเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของสหพันธ์อินโดจีน-ฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์แล้วนั้น ฝรั่งเศสก็ยังคงลิดรอนอำนาจราชสำนักกัมพูชาอยู่โดยตลอด ขณะที่ชาวนากัมพูชาบางส่วนได้เดินทางมาร้องเรียนเรื่องภาษีต่อนักองค์สีสุวัตถิ์กษัตริย์กัมพูชา แต่ก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือแต่ประการใด เพราะราชสำนักกัมพูชาเองนั้นขาดเสถียรภาพอย่างมากให้แก่ผู้ว่าการสูงสุดข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศส ผลแห่งความคับแค้นใจนั้นถึงขั้นทำให้กลุ่มชาวนากัมพูชาบางส่วน สังหารข้าหลวงที่เข้ามาเก็บภาษีในชนบท และก่อการกำเริบขึ้นอีกครั้ง ในขณะที่แผนการอันทะเยอทะยานของฝรั่งก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยครั้งนี้หมายที่จะรุกรานกรุงสยามด้วยเช่นกัน ฝรั่งเศสได้เรียกร้องให้นักองค์สีสุวัตถิ์ทวงคืนดินแดนเขมรส่วนที่เหลือที่เสียให้แก่กรุงสยามคืน โดยอาศัยเหตุการก่อกบฏชาวจีนฮ่อในสมัยรัชกาลที่ 5 ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2431 ฝ่ายสยามได้จัดทัพใหญ่ 2 ทัพเพื่อเข้าปราบ แต่มิทันสำเร็จด้วยแม่ทัพทั้งสองฝ่ายไม่สามัคคีกันจึงเป็นเหตุให้ฝรั่งเศสยกทัพมายังสิบสองจุไท (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) โดยอ้างว่าช่วยสยามปราบกบฏแต่เมื่อการสำเร็จ ฝรั่งเศสกลับไม่ยอมถอนทัพออกเป็นเหตุให้สยามเราจำต้องเสียดินแดนสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศสโดยปริยาย ต่อมาฝรั่งเศสได้วางแผนการรุกรานสยามต่อ โดยบีบให้สยามยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง โดยใช้เรือรบเข้าปิดอ่าวไทยและเข้ายึดจันทบุรีไว้เป็นหลักประกันเพื่อให้สยามเราปฏิบัติตามสนธิสัญญา ครานั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเปิดเจรจาเพื่อขอแลกจันทบุรีโดยยอมส่งดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้เป็นหลักประกันแทน แต่ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสส่งคืนจันทบุรีแก่สยามกลับเข้ายึดตราดอีกครั้ง โดยอ้างว่าสยามต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาให้ครบถ้วนตามเดิม สยามเราจึงเปิดเจรจาอีกครั้งโดยขอแลกตราดต่อการให้ฝรั่งเศสยกเลิกสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอณาเขตของคนในบังคับฝรั่งเศสแทน แต่ฝรั่งเศสกลับบ่ายเบี่ยงโดยมีเงื่อนไขจะยอมยกตราดให้สยามคืนได้นั้น สยามเราต้องยอมยกดินแดนเขมรส่วนในหรือมณฑลบูรพาอันได้แก่ พระตระบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศสด้วย ในท้ายสุดสยามเราต้องเสียดินแดนให้แก่ต่างชาติเป็นครั้งที่ 12 ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2449
ในขณะที่ความขัดแย้งภายในอินโดจีนยังคงดำเนินไปอยู่นั้น โลกได้เข้าสู่สภาวการณ์ที่ตึงเครียดอย่างถึงที่สุด เมื่อสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายที่ถูกร่างขึ้นมาเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 กลับนำไปสู่สงครามใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกอีกครั้ง
เมื่อเงาแห่งกางเขนเหล็กและคมดาบซามูไรทาบผ่านยุโรปและเอเซียบูรพา ฝูงปีศาจสงครามแห่งแดนอาทิตย์อุทัยและบุรุษเหล็กแห่งนาซีผู้นั้น จะทำให้โลกได้รับรู้ว่า
....................."พระเจ้ามิได้มีอยู่เพียงพระองค์เดียว"
เครดิต ไทยวิกิพีเดีย
ติดตามต่อตอนไปครับ.....
กัมพูชา บูชากรรม ตอนที่ 7
ข้อมูลนี้เป็นการนำเอาเรื่องราวของความขัดเเย้งในการเมืองประเทศกัมพูชาและนำเสนอข้อมูลทางทหาร โดยมิได้มีเจตนาเพื่อการปลุกปั่นหรือยุยงให้เกิดความแตกแยกใดใด
ตอนที่ 7 แผนชั่ว
ภายหลังจากที่กัมพูชาถูกผนวกเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของสหพันธ์อินโดจีน-ฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์แล้วนั้น ฝรั่งเศสก็ยังคงลิดรอนอำนาจราชสำนักกัมพูชาอยู่โดยตลอด ขณะที่ชาวนากัมพูชาบางส่วนได้เดินทางมาร้องเรียนเรื่องภาษีต่อนักองค์สีสุวัตถิ์กษัตริย์กัมพูชา แต่ก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือแต่ประการใด เพราะราชสำนักกัมพูชาเองนั้นขาดเสถียรภาพอย่างมากให้แก่ผู้ว่าการสูงสุดข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศส ผลแห่งความคับแค้นใจนั้นถึงขั้นทำให้กลุ่มชาวนากัมพูชาบางส่วน สังหารข้าหลวงที่เข้ามาเก็บภาษีในชนบท และก่อการกำเริบขึ้นอีกครั้ง ในขณะที่แผนการอันทะเยอทะยานของฝรั่งก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยครั้งนี้หมายที่จะรุกรานกรุงสยามด้วยเช่นกัน ฝรั่งเศสได้เรียกร้องให้นักองค์สีสุวัตถิ์ทวงคืนดินแดนเขมรส่วนที่เหลือที่เสียให้แก่กรุงสยามคืน โดยอาศัยเหตุการก่อกบฏชาวจีนฮ่อในสมัยรัชกาลที่ 5 ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2431 ฝ่ายสยามได้จัดทัพใหญ่ 2 ทัพเพื่อเข้าปราบ แต่มิทันสำเร็จด้วยแม่ทัพทั้งสองฝ่ายไม่สามัคคีกันจึงเป็นเหตุให้ฝรั่งเศสยกทัพมายังสิบสองจุไท (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) โดยอ้างว่าช่วยสยามปราบกบฏแต่เมื่อการสำเร็จ ฝรั่งเศสกลับไม่ยอมถอนทัพออกเป็นเหตุให้สยามเราจำต้องเสียดินแดนสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศสโดยปริยาย ต่อมาฝรั่งเศสได้วางแผนการรุกรานสยามต่อ โดยบีบให้สยามยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง โดยใช้เรือรบเข้าปิดอ่าวไทยและเข้ายึดจันทบุรีไว้เป็นหลักประกันเพื่อให้สยามเราปฏิบัติตามสนธิสัญญา ครานั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเปิดเจรจาเพื่อขอแลกจันทบุรีโดยยอมส่งดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้เป็นหลักประกันแทน แต่ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสส่งคืนจันทบุรีแก่สยามกลับเข้ายึดตราดอีกครั้ง โดยอ้างว่าสยามต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาให้ครบถ้วนตามเดิม สยามเราจึงเปิดเจรจาอีกครั้งโดยขอแลกตราดต่อการให้ฝรั่งเศสยกเลิกสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอณาเขตของคนในบังคับฝรั่งเศสแทน แต่ฝรั่งเศสกลับบ่ายเบี่ยงโดยมีเงื่อนไขจะยอมยกตราดให้สยามคืนได้นั้น สยามเราต้องยอมยกดินแดนเขมรส่วนในหรือมณฑลบูรพาอันได้แก่ พระตระบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้แก่ฝรั่งเศสด้วย ในท้ายสุดสยามเราต้องเสียดินแดนให้แก่ต่างชาติเป็นครั้งที่ 12 ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2449
ในขณะที่ความขัดแย้งภายในอินโดจีนยังคงดำเนินไปอยู่นั้น โลกได้เข้าสู่สภาวการณ์ที่ตึงเครียดอย่างถึงที่สุด เมื่อสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายที่ถูกร่างขึ้นมาเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 1 กลับนำไปสู่สงครามใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกอีกครั้ง
เมื่อเงาแห่งกางเขนเหล็กและคมดาบซามูไรทาบผ่านยุโรปและเอเซียบูรพา ฝูงปีศาจสงครามแห่งแดนอาทิตย์อุทัยและบุรุษเหล็กแห่งนาซีผู้นั้น จะทำให้โลกได้รับรู้ว่า
....................."พระเจ้ามิได้มีอยู่เพียงพระองค์เดียว"
เครดิต ไทยวิกิพีเดีย
ติดตามต่อตอนไปครับ.....