อารัมภบท
ข้อมูลนี้เป็นการนำเอาเรื่องราวของความขัดเเย้งในการเมืองประเทศกัมพูชาและนำเสนอข้อมูลทางทหาร โดยมิได้มีเจตนาเพื่อการปลุกปั่นหรือยุยงให้เกิดความแตกแยกใดใด
ตอนที่ 6 ต่อต้านเจ้าอาณานิคม
ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ.2406 แนวทางกลยุทธ์ของฝรั่งเศส ในการที่จะดึงกัมพูชาผนวกเข้ากับเวียดนามและลาวเพื่อสร้างสหพันธ์อินโดจีนนั้น ฝรั่งเศสได้วางรากฐานการศึกษาให้แก่ประชาชนในกัมพูชา ทั้งยังสร้างระบบคมนาคม และพัฒนาปัจจัยขั้นพื้นฐานต่างๆไว้อย่างมากมาย ด้วยหวังจะสร้างกัมพูชาให้รุ่งเรืองเป็นดั่ง"สิงคโปค์แห่งอินโดจีน"กันเลยทีเดียว แต่อุปสรรคสำคัญของการปฏิรูปนี้คือ การศึกษา เพราะชาวกัมพูชาส่วนใหญ่นั้นมีความรู้น้อย อีกทั้งระบบการเรียนการสอนแต่เดิมนั้นยังคงเป็นแบบโรงเรียนวัดอยู่ ซึ่งระบบการเรียนมาตรฐานตามแบบสากลนั้นมีสอนในเฉพาะเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่เท่านั้น ทั้งตัวบุคคลากรผู้จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมได้ในแต่ละปีมีเพียงแค่ 4 คน รวมถึงจำนวนนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษายังประเทศฝรั่งเศสก็มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นเอง ด้วยเหตุนี้ฝรั่งเศสจึงนำชาวเวียดนามเข้าสู่ระบบสายงานราชการการปกครองในกัมพูชาแทนที่ และด้วยพื้นที่เกษตรกรรมการเพาะปลูกนี้ เป็นหนึ่งในกลไกการขับเคลื่อนสำคัญต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ ชาวเวียดนามจึงแห่แหนกันมาค้าแรงงานและยึดครองพื้นที่ดินแดนบางส่วนของกัมพูชา เพื่อสร้างเป็นชุมชนใหญ่ทั้งนี้โดยความเห็นชอบจากเจ้าอณานิคมด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เกิดการเสียดุลต่อเสถียรภาพภายในกัมพูชา ด้วยความกดดันจากสภาพความเป็นอยู่อันแร้นแค้น และการเก็บภาษีที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้เกิดการก่อกบฏขึ้น ผลที่เกิดตามมาจากการบังคับให้ปฏิรูปของฝรั่งเศส คือเกิดการกบฏโดยชาวนาภายในประเทศ องค์พระสีสุวัตถิ์กลับมาเป็นผู้นำกบฏที่มีฐานที่มั่นทางภาคตะวันออกของกัมพูชา ฝรั่งเศสจึงได้ส่งกำลังทหารเข้าปราบปรามกบฏ และตั้งข้อสงสัยว่ากษัตริย์กัมพูชาอยู่เบื้องหลังการก่อกบฏครั้งนี้ด้วย ผลจากการปราบปรามอย่างหนัก ทำให้ชาวกัมพูชาอพยพเข้าพระตะบองที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสยามกว่า 40,000 คน การกบฏกินระยะเวลากว่าสองปี และยุติลง เมื่อข้าหลวงคนใหม่คือ ฟิลิปินี เข้าเจรจากับนักองค์ราชาวดีกษัตริย์กัมพูชา ให้ยุติการกบฏภายใน 1 มกราคม พ.ศ. 2430 โดยฝรั่งเศสจะชะลอการปฏิรูประบบไพร่ทาส พระองค์จึงออกประกาศเรียกร้องให้ยุติการกบฏ และประกาศนิรโทษกรรม องค์พระสีสุวัตถิ์จึงหนีเข้าไปอยู่ฝั่งแม่น้ำโขงตามแนวชายแดนกัมพูชา - ลาว การกบฏจึงสิ้นสุดลง
นักเรียนในชุดเครื่องแต่งกายของชาวอาณานิคมในกัมพูชา
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2440 นักองค์ราชาวดีกษัตริย์กัมพูชาขณะมีพระชนม์ได้ 61 พรรษาทรงพระประชวรหนัก ฝรั่งเศสจึงเตรียมการสถาปนาพระสีสุวัตถิ์พระอนุชาให้เป็นกษัตริย์แทน โดยมีเงื่อนใขให้พระสีสุวัตถิ์ต้องยอมมอบอำนาจการบริหารทั้งหมดให้ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม เมื่อนักองค์ราชาวดีหายประชวรไม่ได้สวรรคตอย่างที่คาด ฝรั่งเศสจึงบังคับให้พระองค์ออกพระราชบัญญัติลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 เพื่อปฏิรูปการปกครอง ได้แก่การให้สิทธิประชาชนครอบครองทรัพย์สิน และกำหนดให้กฎหมายที่ใช้บังคับได้ต้องมีผู้ว่าการสูงสุดของฝรั่งเศสลงนาม และแผนการขั้นต่อไปของฝรั่งเศส คือ การวางนโยบายย้ายเมืองหลวงจากกรุงอุดงเป็นกรุงพนมเปญ
นักเรียนบางส่วนที่มีฐานะร่ำรวย ได้รับทุน หรือเรียนดี จะถูกส่งให้ศึกษาต่อยังโรงเรียนมัธยม อาชีวศึกษา ปี ค.ศ. 1920
ในปีพ.ศ. 2443 พระองค์ยุคนธร โอรสของนักองค์ราชาวดีได้เดินทางไปยุโรปเพื่อเปิดเผยความอยุติธรรมของฝรั่งเศส ให้สื่อมวลชนทราบและเรียกร้องการปกครองตนเอง ผล คือพระองค์ยุคนธรถูกถอดออกจากบรรดาศักดิ์ในวันนั้นทันที และต้องลี้ภัยในสยามตลอดชีวิต ในขณะที่นักองค์ราชาวดีทรงสละราชสมบัติเพื่อประท้วงรัฐบาลฝรั่งเศส และเพื่อประกาศให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความคับแค้นใจ แต่ฝรั่งเศสเจ้าอณานิคมก็หาได้สนใจใยดีไม่ กลับสนับสนุนให้นักองค์สีสุวัตถิ์ได้ขึ้นครองราชย์แทน ภายหลังนักองค์ราชาวดีกษัตริย์กัมพูชาทรงสวรรคตเมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2447 และพระสีสุวัตถิ์จึงขึ้นครองราชสมบัติ และได้ลงนามมอบอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินให้ฝรั่งเศสจนหมด กัมพูชาจึงเปลี่ยนสถานะจากรัฐอารักขาเป็นรัฐในอาณานิคมของสหพันธ์อินโดจีน-ฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์
เครดิต ไทยวิกิพีเดีย / phnompenhpost.com
ติดตามต่อตอนไปครับ.....
กัมพูชา บูชากรรม ตอนที่ 6
ข้อมูลนี้เป็นการนำเอาเรื่องราวของความขัดเเย้งในการเมืองประเทศกัมพูชาและนำเสนอข้อมูลทางทหาร โดยมิได้มีเจตนาเพื่อการปลุกปั่นหรือยุยงให้เกิดความแตกแยกใดใด
ตอนที่ 6 ต่อต้านเจ้าอาณานิคม
ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ.2406 แนวทางกลยุทธ์ของฝรั่งเศส ในการที่จะดึงกัมพูชาผนวกเข้ากับเวียดนามและลาวเพื่อสร้างสหพันธ์อินโดจีนนั้น ฝรั่งเศสได้วางรากฐานการศึกษาให้แก่ประชาชนในกัมพูชา ทั้งยังสร้างระบบคมนาคม และพัฒนาปัจจัยขั้นพื้นฐานต่างๆไว้อย่างมากมาย ด้วยหวังจะสร้างกัมพูชาให้รุ่งเรืองเป็นดั่ง"สิงคโปค์แห่งอินโดจีน"กันเลยทีเดียว แต่อุปสรรคสำคัญของการปฏิรูปนี้คือ การศึกษา เพราะชาวกัมพูชาส่วนใหญ่นั้นมีความรู้น้อย อีกทั้งระบบการเรียนการสอนแต่เดิมนั้นยังคงเป็นแบบโรงเรียนวัดอยู่ ซึ่งระบบการเรียนมาตรฐานตามแบบสากลนั้นมีสอนในเฉพาะเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่เท่านั้น ทั้งตัวบุคคลากรผู้จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมได้ในแต่ละปีมีเพียงแค่ 4 คน รวมถึงจำนวนนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษายังประเทศฝรั่งเศสก็มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นเอง ด้วยเหตุนี้ฝรั่งเศสจึงนำชาวเวียดนามเข้าสู่ระบบสายงานราชการการปกครองในกัมพูชาแทนที่ และด้วยพื้นที่เกษตรกรรมการเพาะปลูกนี้ เป็นหนึ่งในกลไกการขับเคลื่อนสำคัญต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ ชาวเวียดนามจึงแห่แหนกันมาค้าแรงงานและยึดครองพื้นที่ดินแดนบางส่วนของกัมพูชา เพื่อสร้างเป็นชุมชนใหญ่ทั้งนี้โดยความเห็นชอบจากเจ้าอณานิคมด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เกิดการเสียดุลต่อเสถียรภาพภายในกัมพูชา ด้วยความกดดันจากสภาพความเป็นอยู่อันแร้นแค้น และการเก็บภาษีที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้เกิดการก่อกบฏขึ้น ผลที่เกิดตามมาจากการบังคับให้ปฏิรูปของฝรั่งเศส คือเกิดการกบฏโดยชาวนาภายในประเทศ องค์พระสีสุวัตถิ์กลับมาเป็นผู้นำกบฏที่มีฐานที่มั่นทางภาคตะวันออกของกัมพูชา ฝรั่งเศสจึงได้ส่งกำลังทหารเข้าปราบปรามกบฏ และตั้งข้อสงสัยว่ากษัตริย์กัมพูชาอยู่เบื้องหลังการก่อกบฏครั้งนี้ด้วย ผลจากการปราบปรามอย่างหนัก ทำให้ชาวกัมพูชาอพยพเข้าพระตะบองที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของสยามกว่า 40,000 คน การกบฏกินระยะเวลากว่าสองปี และยุติลง เมื่อข้าหลวงคนใหม่คือ ฟิลิปินี เข้าเจรจากับนักองค์ราชาวดีกษัตริย์กัมพูชา ให้ยุติการกบฏภายใน 1 มกราคม พ.ศ. 2430 โดยฝรั่งเศสจะชะลอการปฏิรูประบบไพร่ทาส พระองค์จึงออกประกาศเรียกร้องให้ยุติการกบฏ และประกาศนิรโทษกรรม องค์พระสีสุวัตถิ์จึงหนีเข้าไปอยู่ฝั่งแม่น้ำโขงตามแนวชายแดนกัมพูชา - ลาว การกบฏจึงสิ้นสุดลง
นักเรียนในชุดเครื่องแต่งกายของชาวอาณานิคมในกัมพูชา
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2440 นักองค์ราชาวดีกษัตริย์กัมพูชาขณะมีพระชนม์ได้ 61 พรรษาทรงพระประชวรหนัก ฝรั่งเศสจึงเตรียมการสถาปนาพระสีสุวัตถิ์พระอนุชาให้เป็นกษัตริย์แทน โดยมีเงื่อนใขให้พระสีสุวัตถิ์ต้องยอมมอบอำนาจการบริหารทั้งหมดให้ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม เมื่อนักองค์ราชาวดีหายประชวรไม่ได้สวรรคตอย่างที่คาด ฝรั่งเศสจึงบังคับให้พระองค์ออกพระราชบัญญัติลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 เพื่อปฏิรูปการปกครอง ได้แก่การให้สิทธิประชาชนครอบครองทรัพย์สิน และกำหนดให้กฎหมายที่ใช้บังคับได้ต้องมีผู้ว่าการสูงสุดของฝรั่งเศสลงนาม และแผนการขั้นต่อไปของฝรั่งเศส คือ การวางนโยบายย้ายเมืองหลวงจากกรุงอุดงเป็นกรุงพนมเปญ
นักเรียนบางส่วนที่มีฐานะร่ำรวย ได้รับทุน หรือเรียนดี จะถูกส่งให้ศึกษาต่อยังโรงเรียนมัธยม อาชีวศึกษา ปี ค.ศ. 1920
ในปีพ.ศ. 2443 พระองค์ยุคนธร โอรสของนักองค์ราชาวดีได้เดินทางไปยุโรปเพื่อเปิดเผยความอยุติธรรมของฝรั่งเศส ให้สื่อมวลชนทราบและเรียกร้องการปกครองตนเอง ผล คือพระองค์ยุคนธรถูกถอดออกจากบรรดาศักดิ์ในวันนั้นทันที และต้องลี้ภัยในสยามตลอดชีวิต ในขณะที่นักองค์ราชาวดีทรงสละราชสมบัติเพื่อประท้วงรัฐบาลฝรั่งเศส และเพื่อประกาศให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความคับแค้นใจ แต่ฝรั่งเศสเจ้าอณานิคมก็หาได้สนใจใยดีไม่ กลับสนับสนุนให้นักองค์สีสุวัตถิ์ได้ขึ้นครองราชย์แทน ภายหลังนักองค์ราชาวดีกษัตริย์กัมพูชาทรงสวรรคตเมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2447 และพระสีสุวัตถิ์จึงขึ้นครองราชสมบัติ และได้ลงนามมอบอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินให้ฝรั่งเศสจนหมด กัมพูชาจึงเปลี่ยนสถานะจากรัฐอารักขาเป็นรัฐในอาณานิคมของสหพันธ์อินโดจีน-ฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์
เครดิต ไทยวิกิพีเดีย / phnompenhpost.com
ติดตามต่อตอนไปครับ.....