กะทู้นี้มอบให้แก่ วิษณุ เครืองาม โดยเฉพาะ
อยากจะถามนักกฏหมายแถวหน้าของประเทศสักคำว่า
นิติธรรม คือ อะไร..?
คำว่า “หลักนิติธรรม” มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Rule of Law ซึ่งมีผู้ให้คำแปลไว้หลากหลาย อาทิ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า “หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย” บ้างก็แปลว่า “หลักการปกครองด้วยกฎหมาย” หรือ “หลักแห่งกฎหมาย” หรือ “หลักกฎหมาย” “กฎของกฎหมาย” “หลักความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย” “หลักความยุติธรรมตามกฎหมาย” “หลักธรรม” “หลักธรรมแห่งกฎหมายหรือนิติปรัชญา” “นิติธรรมวินัย” “ธรรมะแห่งกฎหมาย” หรือ “นิติสดมภ์” ฯลฯ แต่คำแปลที่ได้รับความนิยมและใช้กันแพร่หลายโดยทั่วไปคือคำว่า “หลักนิติธรรม”
อันที่จริงคำว่า “หลักนิติธรรม” ที่มาจากคำว่า Rule of Law ไม่ใช่คำใหม่ในวงการกฎหมายของประเทศไทย นักวิชาการและนักกฎหมายไทยได้ยินและรู้จักกับคำว่าหลักนิติธรรมกันมานานพอสมควร แต่เนื่องจากหลักนิติธรรมเป็นแนวคิดที่กำเนิดและพัฒนาขึ้นก่อนในประเทศอังกฤษ อันมีระบบกฎหมาย แนวคิดและสภาพแวดล้อมที่ต่างจากกฎหมายไทย ประกอบกับหลักนิติธรรมเป็นหลักคิดที่เป็นนามธรรม เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจยากและมีพลวัตรตลอดเวลา นักคิด นักกฎหมาย นักวิชาการได้อธิบาย ให้ความหมาย องค์ประกอบ สาระสำคัญ ฯลฯ ของคำว่าหลักนิติธรรมไว้ไม่ตรงกันเสียทีเดียว เหตุต่าง ๆ เหล่านี้จึงอาจทำให้นักกฎหมายและบุคคลต่าง ๆ มีความเข้าใจความหมาย องค์ประกอบ สาระสำคัญ และความสำคัญของหลักนิติธรรมแตกต่างกันไป
หลักนิติธรรม อันเป็นแนวคิด ทฤษฎีที่มีสภาพนามธรรม ได้ถูกทำให้ปรากฏในบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม จับต้องได้ครั้งแรกโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทยที่ได้บัญญัติรับรู้ถึงความมีอยู่และความสำคัญของหลักนิติธรรม โดยใช้คำว่า “หลักนิติธรรม” เขียนไว้ในกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๕๐ เป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นมาสืบเนื่องจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ อย่างไรก็ตาม แม้รัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ จะมิได้มีบทบัญญัติที่ใช้คำว่า “หลักนิติธรรม” ไว้โดยตรง แต่ก็มิได้หมายความว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ มิได้มีบทบัญญัติที่มีเนื้อหาตรงกับหลักการหรือสาระสำคัญของหลักนิติธรรมไว้ อาทิ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๓๒ บัญญัติไว้ว่า “บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้” เป็นต้น
กล่าวโดยสรุปได้ว่า หลักนิติธรรม หมายถึง
“หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย ที่กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมจะต้องไม่ฝ่าฝืน ขัดหรือแย้งต่อหลักนิติธรรม และหลักนิติธรรมนี้จะถูกล่วงละเมิดไม่ได้”
สาระสำคัญของหลักนิติธรรม ได้แก่
๑.หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
๒.กฎหมายไม่มีผลย้อนหลังเป็นโทษ
๓.กฎหมายต้องมีการประกาศใช้ให้ประชาชนทราบ
๔.กฎหมายต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไป
๕.เจ้าหน้าที่รัฐจะใช้อำนาจได้ภายใต้การให้อำนาจโดยกฎหมาย
๖.ห้ามยกเว้นความรับผิดให้แก่การกระทำในอนาคต
แต่ทั้ง หลายข้อ ถูกการตีความกรณี “จำนำข้าว” ของนาย วิษณุ เครืองาม ทำลายหมดสิ้น
ข้อ ๑ เมื่อเลือกที่จะใช้วิธี กั้น ผู้พิพากษาตามกระบวนการยุติธรรมออกไป และใช้วิธีออกคำสั่งทางปกครอง ยึดทรัพย์
คู่ขัดแย้งโดยตรงอย่าง นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (การยึดอำนาจมาจากนายก ยิ่งลักษณ์ ถือเป็น คู่ขัดแย้ง ในภาษากฏหมายหรือไม่ คุณเองก็น่าจะรู้ดีนะครับ)
ข้อ ๒ คำสั่งประกาศ ของ คสช. ประกาศหลังเหตุการณ์ จำนำข้าว ที่เกิดขึ้นมาก่อนไม่รู้กี่ปี แต่นำมาใช้ชี้มูลความผิด เป็นการดำเนินการย้อนหลังหรือไม่ คนที่อยู่ในแวดวงกฎหมาย อย่าง อาจารย์มหาวิทยาลัย ทนายความ อัยการ ผุ้พิพากษา ต่างก็รู้กันดี
ข้อ ๔ การบังคับใช้ด้วยการตีความนี้ ใช้กับทุกกรณีที่สร้างความเสียหายต่อรัฐหรือไม่ หากไม่แล้วกรณี จำนำข้าวเหมือนกันในสมัยรัฐบาลอื่นๆล่ะ ทำไมไมดำเนินการ จำนำข้าว เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย ใครเป็น นายก ได้ดำเนินการโดยใช้มาตรฐานเดียวกันหรือไม่
ข้อ ๕ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งถูกตีความจากปาก นายวิษณุ เครืองามเอง ว่าเป็น เจ้าหน้าที่รัฐ ก็ใช้อำนาจหน้าที่ที่รองรับโดยกฎหมาย แล้วทำไมถึงตีความ จะเอาผิดให้ได้ ผิดหลักนิติธรรม หรือเปล่าครับ วิษณุ เครืองาม
ข้อ ๖ มาตร 44 ทีประกาศใช้คุ้มครองการกระทำของตนเองและพวกพ้อง ผิดหลักนิติธรรมไหม เมื่อยกเว้นความผิดตัวเองทุกกรณีล่วงหน้าแบบนี้
เพิ่มพิเศษให้ด้วยบทโคลง ตามประสาคนชอบแต่งโคลงครับ
นิติธรรม พร่องแล้ว.............อาดูร
นิติรัฐ สาปสูญ....................หมดสิ้น
นิติศาสตร์ เพิ่มพูน...............ปุจฉา ท่วมเอย
นิติกร ปล้อนปลิ้น................ช่องชี้ตีความ
นายพระรอง
*แก้ไขคำผิด
กะทู้นี้ แด่ วิษณุ เครืองาม ผู้ที่ทำทุกอย่าง ตรงข้ามหลักนิติธรรม
อยากจะถามนักกฏหมายแถวหน้าของประเทศสักคำว่า
นิติธรรม คือ อะไร..?
คำว่า “หลักนิติธรรม” มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Rule of Law ซึ่งมีผู้ให้คำแปลไว้หลากหลาย อาทิ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า “หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย” บ้างก็แปลว่า “หลักการปกครองด้วยกฎหมาย” หรือ “หลักแห่งกฎหมาย” หรือ “หลักกฎหมาย” “กฎของกฎหมาย” “หลักความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย” “หลักความยุติธรรมตามกฎหมาย” “หลักธรรม” “หลักธรรมแห่งกฎหมายหรือนิติปรัชญา” “นิติธรรมวินัย” “ธรรมะแห่งกฎหมาย” หรือ “นิติสดมภ์” ฯลฯ แต่คำแปลที่ได้รับความนิยมและใช้กันแพร่หลายโดยทั่วไปคือคำว่า “หลักนิติธรรม”
อันที่จริงคำว่า “หลักนิติธรรม” ที่มาจากคำว่า Rule of Law ไม่ใช่คำใหม่ในวงการกฎหมายของประเทศไทย นักวิชาการและนักกฎหมายไทยได้ยินและรู้จักกับคำว่าหลักนิติธรรมกันมานานพอสมควร แต่เนื่องจากหลักนิติธรรมเป็นแนวคิดที่กำเนิดและพัฒนาขึ้นก่อนในประเทศอังกฤษ อันมีระบบกฎหมาย แนวคิดและสภาพแวดล้อมที่ต่างจากกฎหมายไทย ประกอบกับหลักนิติธรรมเป็นหลักคิดที่เป็นนามธรรม เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจยากและมีพลวัตรตลอดเวลา นักคิด นักกฎหมาย นักวิชาการได้อธิบาย ให้ความหมาย องค์ประกอบ สาระสำคัญ ฯลฯ ของคำว่าหลักนิติธรรมไว้ไม่ตรงกันเสียทีเดียว เหตุต่าง ๆ เหล่านี้จึงอาจทำให้นักกฎหมายและบุคคลต่าง ๆ มีความเข้าใจความหมาย องค์ประกอบ สาระสำคัญ และความสำคัญของหลักนิติธรรมแตกต่างกันไป
หลักนิติธรรม อันเป็นแนวคิด ทฤษฎีที่มีสภาพนามธรรม ได้ถูกทำให้ปรากฏในบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม จับต้องได้ครั้งแรกโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทยที่ได้บัญญัติรับรู้ถึงความมีอยู่และความสำคัญของหลักนิติธรรม โดยใช้คำว่า “หลักนิติธรรม” เขียนไว้ในกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๕๐ เป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นมาสืบเนื่องจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ อย่างไรก็ตาม แม้รัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ จะมิได้มีบทบัญญัติที่ใช้คำว่า “หลักนิติธรรม” ไว้โดยตรง แต่ก็มิได้หมายความว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ มิได้มีบทบัญญัติที่มีเนื้อหาตรงกับหลักการหรือสาระสำคัญของหลักนิติธรรมไว้ อาทิ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๓๒ บัญญัติไว้ว่า “บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้” เป็นต้น
กล่าวโดยสรุปได้ว่า หลักนิติธรรม หมายถึง “หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย ที่กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมจะต้องไม่ฝ่าฝืน ขัดหรือแย้งต่อหลักนิติธรรม และหลักนิติธรรมนี้จะถูกล่วงละเมิดไม่ได้”
สาระสำคัญของหลักนิติธรรม ได้แก่
๑.หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
๒.กฎหมายไม่มีผลย้อนหลังเป็นโทษ
๓.กฎหมายต้องมีการประกาศใช้ให้ประชาชนทราบ
๔.กฎหมายต้องใช้บังคับเป็นการทั่วไป
๕.เจ้าหน้าที่รัฐจะใช้อำนาจได้ภายใต้การให้อำนาจโดยกฎหมาย
๖.ห้ามยกเว้นความรับผิดให้แก่การกระทำในอนาคต
แต่ทั้ง หลายข้อ ถูกการตีความกรณี “จำนำข้าว” ของนาย วิษณุ เครืองาม ทำลายหมดสิ้น
ข้อ ๑ เมื่อเลือกที่จะใช้วิธี กั้น ผู้พิพากษาตามกระบวนการยุติธรรมออกไป และใช้วิธีออกคำสั่งทางปกครอง ยึดทรัพย์ คู่ขัดแย้งโดยตรงอย่าง นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (การยึดอำนาจมาจากนายก ยิ่งลักษณ์ ถือเป็น คู่ขัดแย้ง ในภาษากฏหมายหรือไม่ คุณเองก็น่าจะรู้ดีนะครับ)
ข้อ ๒ คำสั่งประกาศ ของ คสช. ประกาศหลังเหตุการณ์ จำนำข้าว ที่เกิดขึ้นมาก่อนไม่รู้กี่ปี แต่นำมาใช้ชี้มูลความผิด เป็นการดำเนินการย้อนหลังหรือไม่ คนที่อยู่ในแวดวงกฎหมาย อย่าง อาจารย์มหาวิทยาลัย ทนายความ อัยการ ผุ้พิพากษา ต่างก็รู้กันดี
ข้อ ๔ การบังคับใช้ด้วยการตีความนี้ ใช้กับทุกกรณีที่สร้างความเสียหายต่อรัฐหรือไม่ หากไม่แล้วกรณี จำนำข้าวเหมือนกันในสมัยรัฐบาลอื่นๆล่ะ ทำไมไมดำเนินการ จำนำข้าว เกิดขึ้นตั้งแต่สมัย ใครเป็น นายก ได้ดำเนินการโดยใช้มาตรฐานเดียวกันหรือไม่
ข้อ ๕ นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งถูกตีความจากปาก นายวิษณุ เครืองามเอง ว่าเป็น เจ้าหน้าที่รัฐ ก็ใช้อำนาจหน้าที่ที่รองรับโดยกฎหมาย แล้วทำไมถึงตีความ จะเอาผิดให้ได้ ผิดหลักนิติธรรม หรือเปล่าครับ วิษณุ เครืองาม
ข้อ ๖ มาตร 44 ทีประกาศใช้คุ้มครองการกระทำของตนเองและพวกพ้อง ผิดหลักนิติธรรมไหม เมื่อยกเว้นความผิดตัวเองทุกกรณีล่วงหน้าแบบนี้
เพิ่มพิเศษให้ด้วยบทโคลง ตามประสาคนชอบแต่งโคลงครับ
นิติธรรม พร่องแล้ว.............อาดูร
นิติรัฐ สาปสูญ....................หมดสิ้น
นิติศาสตร์ เพิ่มพูน...............ปุจฉา ท่วมเอย
นิติกร ปล้อนปลิ้น................ช่องชี้ตีความ
นายพระรอง
*แก้ไขคำผิด