ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง มีข้อสงสัยเกี่ยวกับกติกาการเลือกตั้งใหม่ว่า กรธ. ได้วางกติกาเอื้อประโยชน์ให้พรรคประชาธิปัตย์หรือไม่

กับการที่คะแนน ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อนำคะแนนของ ส.ส.เขตที่ไม่ได้รับเลือกตั้งไปคิด แทนที่จะกากบาทเลือกพรรคโดยตรงแบบที่เคยทำมา ขณะที่คะแนนของพรรคที่ได้รับเลือกให้เป็น ส.ส. เขต แล้วจะไม่ถูกนำมาคำนวณหาจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่ออีก

- เริ่มต้นยกตัวอย่างในกรณีคุณชูวิทย์  ถ้าอยากเป็น ส.ส. คุณจะต้องลงสมัครในระบบเขตเท่านั้น หรือไม่คุณก็ต้องส่งผู้สมัครพรรคของคุณลงในจำนวนเขตให้มากที่สุด หาเสียงได้เต็มที่โดยการให้เลือกผู้สมัครพรรคคุณให้ได้มากที่สุด แต่ห้ามมากจนชนะเพราะคุณจะไม่ได้คะแนนในเขตนั้น ดิฉันว่ามันแปลกๆผิดธรรมชาติอยู่นะค่ะ

- ในกรณีพรรคการเมืองอื่นๆทุกพรรค มีคนที่เค้าเคยเลือกทั้งพรรคเลือกทั้งคนแต่กติกาใหม่นี้ทำให้คะแนนเสียงที่เค้าเคยเลือกพรรคกลับไม่ได้สิทธิ์ในการที่จะเลือกพรรคที่ตัวเองต้องการ ซึ่งจุดๆนี้เองที่มันขัดแย้งในตัวเองกับ หลักการ 5 ประการสำคัญที่ กรธ. ได้นำเสนอในการออกกติกาใหม่ในครั้งนี้คือ
1. ส.ส. ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง
2. ระบบการเลือกตั้งไม่ควรซับซ้อน ประชาชนเข้าใจง่าย
3. เพื่อเป็นการเคารพประชาชนที่ลงคะแนน จึงพยายามทำให้คะแนนเลือกตั้งที่ประชาชนให้ทุกคะแนนมีความหมาย ไม่ว่าจะลงคะแนนให้ใคร คะแนนเหล่านั้นส่วนใหญ่ไม่ควรสูญเปล่า
4. เป็นระบบเลือกตั้งที่ส่งเสริมให้ประชาชนสนใจออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง และ
5. เข้ากับบริบทหรือวิถีชีวิตของคนไทยโดยไม่ขัดหลักสากล

- กติกาใหม่นี้เอื้อประโยชน์ให้พรรคประชาธิปัตย์ใช่หรือไม่ เพราะเขตพื้นที่อื่นๆพรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนเพียงพอที่จะนำมารวบรวมเพื่อให้ตัวเองได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้น แต่พื้นที่ของตัวเองกลับมีคะแนนทิ้งห่างจนแทบจะไม่แบ่งคะแนนให้ใคร จึงเป็นที่มาของกติกาการเลือกตั้งใหม่ในครั้งนี้ที่เกิดข้อครหาว่าออกมาเพื่อให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง

- หากคะแนนการเลือกตั้งออกมากลายเป็นว่าใกล้เคียงกัน หรือพรรคประชาธิปัตย์แพ้ไม่เกิน 40-50 ที่นั่ง หลังจากรวมกับ ส.ส.บัญชีรายชื่อแล้ว จะเกิดการจับมือกันกับพรรคทางเลือกที่สามเพื่อจัดตั้งรัฐบาลเองใช่หรือไม่ โดยแลกกับตำแหน่งกระทรวงที่สำคัญหรือผลประโยชน์ใดๆทางการเมืองจากการตกลงร่วมกัน ซึ่งทั้งหมดก็จะเข้าสู่วังวนเดิมเมื่อครั้งรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์

- สำหรับพรรคการเมืองทางเลือกหรือตัวแปรสำคัญมีโอกาศสูงที่จะจับมือกับพรรคผประชาธิปัตย์ตั้งรัฐบาลใช่หรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาม็อบคนดีปิดประเทศซ้ำซากอีกครั้งจนประเทศไทยต้องมาเสียหายซ้ำซากอีกครั้ง

- หากกติกาเลือกตั้งไม่เป็นไปตามหลักสากลและทำเพื่อให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลท่ามกลางวิธีการและกระบวนการอันสุดพิสดารเช่นนี้ ผู้นำประเทศไทยจะมีหน้าไปยืนอยู่บนเวทีโลกด้วยความยินดีหรือไม่ แล้วจะรู้ตัวไหมว่าต่างชาติเขารังเกียจ

- เขาอยากเป็นรัฐบาลมากจนลืมนึกถึงผลเสียระยะยาวที่จะเป็นบรรทัดฐานที่ผิดๆใช่ไหมค่ะ และแน่นอนว่ากติกาที่มีช่องโหว่เยอะแยะมากมายขนาดนี้ สักวันหนึ่งก็ต้องได้รับการแก้ไขและร่าง รธน. ขึ้นมาใหม่ ประเทศไทยยังต้องหยุดนิ่งไปกับวังวนการแก้ รธน. ซ้ำซากไปอีกกี่ครั้งและกี่ปีมันถึงจะพอเสียที พวกคุณอาจจะสนุกแต่ประชาชนอีกหลายสิบล้านคนเค้าไม่มาสนุกกับคุณนะค่ะ

- การกากบาทเพิ่มอีกแค่ช่องเดียว ให้ประชาชนได้เลือกพรรคที่ตัวเองต้องการ มันไม่ได้เปลืองแรงเปลืองแคลลอรี่อะไรมากมายนะค่ะ ที่สำคัญคือ มันจะได้ตรงกับหลักสำคัญ 5 ประการ ที่ กรธ. ได้กล่าวไว้เองในข้างต้น

ขอบคุณค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
ผมเปรียบให้เห็นภาพง่ายๆ   สมมุติเปนการแข่งกีฬาแล้วกันครับ เพราะถ้าใช้คำว่า สส เขต สส ปารตี้ลิส อาจทำให้ งง กับคำว่า สส ได้ ...   เอาเปนกีฬาวิ่งแข่ง 100 เมตร  กับกระโดดไกล

ทีม ก  ส่งนักกีฬาวิ่งแข่ง 100 เมตร ลงไปครบทุกรุ่นคือ 10 รุ่น  แล้วทีม ก ชนะหมดเลยทั้ง 10 รุ่น  

ทีม ข  ส่งเหมือนทีม ก  แต่แพ้หมดทุกรุ่น

ทีม  ข  ได้นักกีฬาที่แพ้จากการวิ่ง 100 เมตร ทั้งหมด 10 รุ่น  ได้สิทธิ์ไปแข่งกระโดดไกลต่อทั้ง 10 คน

ใน ขณะที่ ทีม ก  ชนะจากวิ่ง 100 เมตรไปแล้ว  ไม่เหลือนักกีฬาไปแข่งกระโดดไกลกับเขาแล้วสักคน

สรุปคือ  ทีมที่ชนะวิ่ง 100 เมตรแล้ว หมดสิทธิส่งเข้าแข่งอีกเกมส์หนึ่งคือ กระโดดไกล   ลองคิดดูว่า  วิ่ง 100 เมตร กับ กระโดดไกล มันเกมส์เดียวกันหรือเปล่า?   ก้ไม่ใช่  เห็นๆอยู่ว่ามันคนละเกมส์กัน   แต่กติการนี้พูดง่ายๆ ก้คือไปบอกว่า ทีมที่ชนะวิ่ง 100 เมตรแล้ว ห้ามส่งลงชิงกระโดดไกล
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่