۞۞ :::ตัวอย่างผลการเลือกตั้งตามกติกาที่ร่างใหม่ และสิทธิที่ควรใส่เพิ่มครับ :::۞۞ไทโรครับ

ผมทราบว่าทางพันทิพค่อนข้างเข้มงวดเกี่ยวกับการตั้งกระทู้พาดพิงร่างรธน.ฉบับที่มีการส่งเสริมให้ดาวน์โหลดไปอ่าน อย่างไรก็ดี กระทู้นี้มิได้ต้องการให้ทางพันทิพเกิดความลำบากใจแต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงการนำเสนอตัวอย่างผลการเลือกตั้งตามกติกาที่ร่างใหม่ และเสนอเกี่ยวกับสิทธิที่ควรใส่เพิ่มเติมในร่างรธน.เพื่อความสมบูรณ์และเป็นฉบับที่ท่านมีชัย ภูมิใจต่อไปครับ

ซึ่งทั้งหมดเป็นการนำเสนอโดยสุจริต หวังว่าอาจจะเกิดประโยชน์โดยรวมของสมาชิกได้บ้าง เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่จะต้องไปอ่านร่างรธน.ซึ่งยากและเต็มไปด้วยมาตราต่างๆมากมาย อาจจะมีความสดวกในการอ่านตัวร่างได้มากขึ้นบ้างครับ

กติกาใหม่เกี่ยวกับการได้มาซึ่งสส.

กติกาใหม่ในมาตรา มาตรา ๗๘ บัญญัติว่า “สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 500 คน ดังนี้  (๑) สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวน 350 คน และ (๒) สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจํานวนหนึ่ง150 คน”

ในรธน.ฉบับก่อนๆ มักจะให้ประชาชนเลือกผู้แทนแบ่งเขต และผู้แทนบัญชีรายชื่อโดยตรง แต่ร่างรธน.จะกำหนดใหม่เป็นผู้มีสิทธิเลือกสส.แบบแบ่งเขต แล้ว เอาคะแนนสส.แบ่งเขตมาคำนวณ สส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งอาจจะซับซ้อนบางแต่ตามที่อ่านจะเข้าใจตามนี้

มาตรา ๘๖ การคํานวณหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของ แต่ละพรรคการเมืองให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้...
1.นําคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัคร รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหารด้วย 500  อันเป็นจํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร

ตัวอย่างสมมุติ มี 4 พรรค


(๒) นําผลลัพธ์ตาม (๑) ไปหารจํานวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรคที่ได้รับจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ แบ่งเขตเลือกตั้งทุกเขต จํานวนที่ได้รับให้ถือเป็นจํานวนสส.ที่ควรมี เช่น พรรค ก ได้คะแนน 12,000,000 จำนวนสส.รวมทั้งหมดที่ร่างรธน.กำหนดให้มีได้ จะเท่ากับ 12,000,000 / 50,000 = 240 คน



(๓) นําจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองจะพึงมีได้ ลบด้วยจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้น ได้รับเลือกตั้ง ในทุกเขตเลือกตั้ง ผลลัพธ์คือจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี รายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ


จำนวนสส.รวม จะยังไงก็จะไม่เกินตามที่คำนวณในข้อ 2 ซึ่งต่างจากรธน.ฉบับอื่น


นั่นคือ พรรค ก จะได้คะแนนเสียงข้างมากในสภาเด็ดขาด พรรคเดียว ก็ต่อเมื่อ ได้คะแนนเสียงจาก สส.เขต เกินกว่ากึ่งหนึ่งของ คะแนนเสียงทั้งหมดของประเทศ ซึ่งเป็นไปได้ยาก ...ซึ่งต้องสอบถามทั่นมีชัยตรงๆด้วยครับว่า ตรงนี้เป็นจุดประสงค์ของกรธ.ด้วยหรือไม่


( อนึ่ง กติกาแบบนี้แม้ดูเผินๆเหมือนจะเป็นสิ่งที่ดี ที่คล้ายกับให้จำนวนรวมสส.เป็นไปตามคะแนนเลือกสส.
แตในความจริง เมื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนเขาลงคะแนนให้สส.เขาจะคำนึงถึงการเป็นสส.ในพื้นที่  ซึ่งอาจเป็น
คนละส่วนกับพรรคการเมืองได้
การตั้งกำหนดแบบนี้ ราวกับเป็นการจำกัดการเลือกของผู้มีสิทธิ ซึ่งจะต้อง
มองว่าสมควรหรือไม่ และการปล่อยให้ประชาชนเลือกสส.บัญชีด้วยตัวเองแบบเดิม จะเหมาะกว่า และตรง
เจตน์จำนงของผู้ใช้สิทธิมากกว่าหรือไม่ ....โดยอย่าไปกลัวว่าพรรคนั้น พรรคนี้จะได้สส.เกินกึ่งหนึ่ง)




เพราะในการเลือกตั้งแต่ละเขต คะแนนเสียงของ พรรคที่ชนะ มักจะน้อยกว่า คะแนนเสียงของพรรคที่แพ้ทั้งหมดมารวมกัน ดังตัวอย่างข้างบน   หรือตัวอย่างการนับคะแนนเลือกตั้งสส.เขต ข้างล่างนี้ จะเห็นว่าแม้จะมีผู้สมัครคนหนึ่ง ได้คะแนนมากนำขาด แต่ก็ไม่เกินกึ่งหนึ่งของคะแนนที่ลงมาทั้งหมด เพราะหากรวมคะแนนของ ผู้สมัครที่แพ้การเลือกตั้งที่เหลือ นั่นคือ คะแนนของหมายเลข 21 ที่ชนะการเลือกตั้ง ได้คะนแนนถึง 8,687 คะแนน มากที่สุด แต่ก็ยังไม่ถึงครึ่งของคะแนนรวมของผู้สมัครที่ไม่ได้รับเลือก (คะแนนรวมคือ 18,242  และกึงหนึ่งคือ 9,121   )

ในคูหาส่วนใหญ่ของการเลือกตั้ง มีโอกาสจะเกิดคะแนนในรูปแบบนี้สูง นั่นคือผู้สมัครพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง ได้คะแนนมากสุด แต่ก็ยังไม่ถึงกึงหนึ่งของคะแนนรวม เมื่อรวมทั้งประเทศ คะแนนรวมของพรรคที่ชฯะเลือกตั้ง ก็จะไม่ถึงกึ่งหนึ่ง หากเป็นรธน.เก่า ไม่ได้จำกัดจำนวนสส.ไว้ตามคะแนนสส.เขตแบบนี้ ในรธน.เดิม พรรคการเมืองจึงยังอาจได้สส.บัญชี มากเท่าไรก็ได้ และสามารถได้สส.เกินกึ่งหนึ่งได้ แม้คะแนนสส.เขตไม่ถึงกึ่ง แต่คะแนนบัญชีรายชื่อเกินกึ่งหนึ่ง หรือมากจนทำให้สส.บัญชีรายชื่อมีจำนวนมาก...แต่ตามร่างรธน.ล่าสุดนี้ ตรงนี้จะทำได้ยากกว่าเดิมขึ้นพอสมควร โอกาสเกิดรัฐบาลเสียงข้างมากน่าจะลดลง


ขอนำข้อมูลการเลือกตั้งปี 2554 มาประกอบ
จะเห็นว่าพรรคเพื่อไทยสามารถชนะเลือกตั้งและได้สส.เกินกึ่งหนึ่งได้ ตามกติกา รธน.2550
ไม่มีการแถลงข้อมูลคะแนนแบบแบ่งเขต(เพื่อไทยอาจได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่งก็เป็นได้) มีแต่แถลงคะแนนบัญชีรายชื่อ
(พรรคเพือไทย มิได้มีส่วนในการร่างกติกา หรือ รธน.2550)

(เครดิต ข้อมูลจากวิกิ ครับ)




สิทธิที่ควรใส่เพิ่ม
และท้ายกระทู้นี้ขออนุญาติเสนอให้เพิ่มสิทธิต่อไปนี้ ในร่างรธน.ที่จะมีการพัฒนาต่อจากร่างฉบับแรกนี้ครับ หวังว่าท่านคงพิจารณาบ้าง เพราะดูเหมือนว่า.....สิทธิเหล่านี้จะหายไปหรือยังไม่ปรากฏชัดในร่าง ณ ที่แจกจ่ายกัน
1. สิทธิที่จะท้วงถาม ไต่สวน เมื่อเกิดการปฏิบัติงานที่เคลือบแคลงขององค์อิสสระของ รธน.ไม่ว่าจะเป็นปปช.กกต ตลอดจนศาลรธน.
2. สิทธิในการเลือกวุฒิสภา
3. สิทธิในการชุมนุมโดยสงบ โดยไม่ต้องขออนุญาต
4. สิทธิในการเลือกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ

สุดแล้วแต่ทั่นมีชัยเห็นสมควร แต่อยากให้ไม่เฉพาะแต่ทั่นมีชัยภูมิใจในร่างรธน.นี้คนเดียว อยากให้ประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ อย่างน้อยก็พอจะยอมรับได้กับร่างของทั่นบ้างอะครับ และหวังว่ากระทู้คงผ่านการพิจารณาของผู้ดูแลครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่