เรื่องความทุกข์ในอริยสัจ ๔ นี้มีเรื่องทื่บอกว่า ความแก่เป็นทุกข์อยู่ด้วย
ความแก่นั้นแน่นอนว่าคือร่างกายแก่ คือหนังเหี่ยว หลังค่อม ผมขาว ร่างกายทรุดโทรม เป็นต้น ซึ่งก็ทำให้ดูน่าเกลียด จึงไม่มีใครอยากแก่ คนแก่ที่แก่ที่ทำใจไม่ได้จึงเศร้าตรมเพราะเคยหนุ่มเคยสาวและสนุกสนานเฮฮามีความสุข (คนหนุ่มสาวส่วนมากจะไม่รู้ซึ้งถึงเรื่องความแก่นี้เพราะยังไม่เคยประสบมาด้วยตนเอง) แต่เมื่อร่างกายแก่เฒ่าและไม่มีความสุขดังก่อน จึงเกิดความเสียใจ หรือเศร้าตรม หรือเป็นโรคซึมเศร้าถ้าทำใจไม่ได้หรือหาวิธีแก้ไขไม่ได้
แต่ความแก่ของร่างกายนั้น ถ้าจิตใจของเราไม่ไปยึดถือว่าเป็นตัวเราแก่เสียอย่างเดียว ความเศร้าโศกหรือความเสียใจ (ความชังหรือยินร้าย) หรือโรคซึมเศร้าก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งนี่แสดงถึงว่าจิตได้หลุดพ้นจากความแก่และไม่เป็นทุกข์เพราะความแก่ ซึ่งการที่จิตจะหลุดพ้น (ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร) จากความความแก่ได้นั้น ตามธรรมชาติจิตมันก็หลุดพ้นได้เองอยู่แล้ว เพียงแต่เป็นแค่อย่างชั่วคราวเท่านั้น คือบางที่เราก็ทำใจได้ หรือปลงเพราะยอมรับความจริง ซึ่งก็ทำให้จิตไม่เป็นทุกข์ได้ชั่วคราว แต่บางทีก็ทำใจไม่ได้
หลักอริยมรรค (ปัญญา ศีล สมาธิ) ของพระพุทธเจ้านั้น สามารถช่วยให้จิตหลุดพ้นจากความแก่ของร่างกายได้ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร คือถึงแม้ร่างกายจะแก่อย่างไรก็ตาม จิตใจก็จะสงบเย็น (นิพพาน) ไม่เกิดความเศร้าโศกหรือเสียใจเพราะร่างกายแก่ ซึ่งนี้คือประโยชน์สูงสุดจากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าที่ช่วยดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันได้
แต่ถ้าใครยังมีความเห็นผิดว่า ความแก่ของร่างกายคือต้นให้เกิดความทุกข์ จึงทำให้เข้าใจผิดต่อไปว่า เราไม่สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ถ้าร่างกายแก่ (นี่เองที่ีทำให้คนที่กลัวแก่จึงต้องวิ่งไปฉีดยาหรือทำศัลยกรรมให้ยังหนุ่มสาวต่อไป) จึงทำให้คนที่มีความเห็นผิดผิดเช่นนี้ต้องทุกข์ตรมไปจนตายเพราะมีความเห็นผิดเช่นนี้อยู่
ความแก่ทำให้เป็นทุกข์จริงหรือ?
ความแก่นั้นแน่นอนว่าคือร่างกายแก่ คือหนังเหี่ยว หลังค่อม ผมขาว ร่างกายทรุดโทรม เป็นต้น ซึ่งก็ทำให้ดูน่าเกลียด จึงไม่มีใครอยากแก่ คนแก่ที่แก่ที่ทำใจไม่ได้จึงเศร้าตรมเพราะเคยหนุ่มเคยสาวและสนุกสนานเฮฮามีความสุข (คนหนุ่มสาวส่วนมากจะไม่รู้ซึ้งถึงเรื่องความแก่นี้เพราะยังไม่เคยประสบมาด้วยตนเอง) แต่เมื่อร่างกายแก่เฒ่าและไม่มีความสุขดังก่อน จึงเกิดความเสียใจ หรือเศร้าตรม หรือเป็นโรคซึมเศร้าถ้าทำใจไม่ได้หรือหาวิธีแก้ไขไม่ได้
แต่ความแก่ของร่างกายนั้น ถ้าจิตใจของเราไม่ไปยึดถือว่าเป็นตัวเราแก่เสียอย่างเดียว ความเศร้าโศกหรือความเสียใจ (ความชังหรือยินร้าย) หรือโรคซึมเศร้าก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งนี่แสดงถึงว่าจิตได้หลุดพ้นจากความแก่และไม่เป็นทุกข์เพราะความแก่ ซึ่งการที่จิตจะหลุดพ้น (ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร) จากความความแก่ได้นั้น ตามธรรมชาติจิตมันก็หลุดพ้นได้เองอยู่แล้ว เพียงแต่เป็นแค่อย่างชั่วคราวเท่านั้น คือบางที่เราก็ทำใจได้ หรือปลงเพราะยอมรับความจริง ซึ่งก็ทำให้จิตไม่เป็นทุกข์ได้ชั่วคราว แต่บางทีก็ทำใจไม่ได้
หลักอริยมรรค (ปัญญา ศีล สมาธิ) ของพระพุทธเจ้านั้น สามารถช่วยให้จิตหลุดพ้นจากความแก่ของร่างกายได้ทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร คือถึงแม้ร่างกายจะแก่อย่างไรก็ตาม จิตใจก็จะสงบเย็น (นิพพาน) ไม่เกิดความเศร้าโศกหรือเสียใจเพราะร่างกายแก่ ซึ่งนี้คือประโยชน์สูงสุดจากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าที่ช่วยดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันได้
แต่ถ้าใครยังมีความเห็นผิดว่า ความแก่ของร่างกายคือต้นให้เกิดความทุกข์ จึงทำให้เข้าใจผิดต่อไปว่า เราไม่สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ถ้าร่างกายแก่ (นี่เองที่ีทำให้คนที่กลัวแก่จึงต้องวิ่งไปฉีดยาหรือทำศัลยกรรมให้ยังหนุ่มสาวต่อไป) จึงทำให้คนที่มีความเห็นผิดผิดเช่นนี้ต้องทุกข์ตรมไปจนตายเพราะมีความเห็นผิดเช่นนี้อยู่