รับมือ “Post Vacation Blues” ผ่านหยุดยาวปีใหม่ ไม่ซึมเศร้า!
ช่วงวันหยุดยาวปีใหม่ เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เพราะหลายคนได้ใช้เวลากับครอบครัวเพื่อนฝูง หรือได้เดินทางท่องเที่ยว แต่หลังกลับมาใช้ชีวิตตามปกติแล้ว ผู้คนจำนวนหนึ่งอาจเกิด ภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว (Post Vacation Blues) ที่ทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย รู้สึกเศร้า คิดวนไปมา หรือหงุดหงิดง่ายขึ้น ซึ่งไม่จัดว่าเป็นความเจ็บป่วยทางจิตเวช
4 เคล็ดลับ รับมือภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว
1. ทำกิจวัตรตามปกติและทำกิจกรรมที่ชอบหรืองานอดิเรกที่สนใจ
ปฏิบัติตัวตามตารางเวลาและกิจกรรมเดิม และอาจเพิ่มกิจกรรมผ่อนคลายที่ชอบ เช่น ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ ดูหนัง ฟังเพลง เพื่อช่วยปรับสภาพจิตใจให้กลับมาสดใสดังเดิม
2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์
เพื่อให้สมองได้ปรับสมดุลสารสื่อประสาท ช่วยให้ร่างกายพร้อมที่จะใช้ชีวิตในวันใหม่ ๆ
3. ยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงของชีวิต
ทำความเข้าใจว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่ชีวิตจะต้องพบเจอทั้งความสุขและความทุกข์ในช่วงเวลาต่าง ๆ
4. วางแผนทริปใหม่ไว้ล่วงหน้า
ช่วยให้เรามีแรงบันดาลใจหรือมีไฟที่จะทำงานเก็บเงิน เพื่อไปเที่ยวในวันหยุดยาวครั้งต่อไป
ซึมเศร้าหนักแค่ไหน ถึงควรไปพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ?
หากรู้สึกว่ามีอาการเศร้า นานเกิน 2 สัปดาห์ หรือรู้สึกว่าสภาพจิตใจเริ่มส่งผลต่อสุขภาพกาย เช่น นอนไม่หลับ หรือรู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา ส่งผลอย่างชัดเจนต่อการทำงาน ควรไปพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมต่อไป
ข้อมูลโดย : อ.นพ.ชาวิท ตันวีระชัยสกุล
ฝ่ายจิตเวชศาสตร์
ข้อมูล ณ วันที่ : 4 มกราคม 2568
คุณอาจตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว (Post Vacation Blues) อยู่ก็ได้นะ
ช่วงวันหยุดยาวปีใหม่ เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข เพราะหลายคนได้ใช้เวลากับครอบครัวเพื่อนฝูง หรือได้เดินทางท่องเที่ยว แต่หลังกลับมาใช้ชีวิตตามปกติแล้ว ผู้คนจำนวนหนึ่งอาจเกิด ภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว (Post Vacation Blues) ที่ทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย รู้สึกเศร้า คิดวนไปมา หรือหงุดหงิดง่ายขึ้น ซึ่งไม่จัดว่าเป็นความเจ็บป่วยทางจิตเวช
4 เคล็ดลับ รับมือภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว
1. ทำกิจวัตรตามปกติและทำกิจกรรมที่ชอบหรืองานอดิเรกที่สนใจ
ปฏิบัติตัวตามตารางเวลาและกิจกรรมเดิม และอาจเพิ่มกิจกรรมผ่อนคลายที่ชอบ เช่น ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ ดูหนัง ฟังเพลง เพื่อช่วยปรับสภาพจิตใจให้กลับมาสดใสดังเดิม
2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์
เพื่อให้สมองได้ปรับสมดุลสารสื่อประสาท ช่วยให้ร่างกายพร้อมที่จะใช้ชีวิตในวันใหม่ ๆ
3. ยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงของชีวิต
ทำความเข้าใจว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่ชีวิตจะต้องพบเจอทั้งความสุขและความทุกข์ในช่วงเวลาต่าง ๆ
4. วางแผนทริปใหม่ไว้ล่วงหน้า
ช่วยให้เรามีแรงบันดาลใจหรือมีไฟที่จะทำงานเก็บเงิน เพื่อไปเที่ยวในวันหยุดยาวครั้งต่อไป
ซึมเศร้าหนักแค่ไหน ถึงควรไปพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ?
หากรู้สึกว่ามีอาการเศร้า นานเกิน 2 สัปดาห์ หรือรู้สึกว่าสภาพจิตใจเริ่มส่งผลต่อสุขภาพกาย เช่น นอนไม่หลับ หรือรู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา ส่งผลอย่างชัดเจนต่อการทำงาน ควรไปพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมต่อไป
ข้อมูลโดย : อ.นพ.ชาวิท ตันวีระชัยสกุล
ฝ่ายจิตเวชศาสตร์
ข้อมูล ณ วันที่ : 4 มกราคม 2568