พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
...
ถ้าตา หู จมูก ลิ้น ปากของเรามันเย็น ความเย็นของธาตุเหล่านี้
ก็จะซึมซาบอาบไปในภูเขา (ศีรษะ) เป็นเหตุให้ เกสา(ผมทั้งหลาย)
โลมา(ขนทั้งหลาย) นขา (เล็บทั้งหลาย ) ทนฺตา ฟันทั้งหลาย
ตโจ(หนัง) มงฺสํ (เนื้อ) ที่เป็นอวัยวะทุกส่วน นหารู (เอ็นทั้งหลาย )
อฏฺฐี (กระดูกทั้งหลาย )อฏฺฐิมิญฺชํ (เยื่อในกระดูก) ตลอดจนอวัยวะภายในทุกส่วน
เช่น วกฺกํ (ม้าม) หทยํ (หัวใจ) ยกนํ (ตับ) กิโลมกํ (พังผืด)
ปิหกํ (ไต) ปปฺผาสํ (ปอด) อนฺตํ (ไส้ใหญ่) อนฺตคุณํ (ไส้น้อย)
จนถึง อุทริยํ (อาหารใหม่) และ กรีสํ (อาหารเก่า)
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็จะกลายเป็นของบริสุทธิ์
ปราศจากโทษไปทุกอย่าง เมื่อธาตุภายในร่างกายของเรา
บริสุทธิ์ไปทุกอย่างเช่นนี้ เรียกว่า "กายปริสุทฺธํ" (กายสะอาดเบา)
เหมือนกระสอบป่านเก่าๆที่อมสิ่งโสโครกไว้จนหนาและหนัก
เมื่อเราได้นำมาซักฟอกให้สะอาดและให้แห้งด้วยแดดและลมแล้ว
กระสอบเก่าผืนนั้นก็อาจจะเบาขึ้นกว่าเก่าตั้งครึ่งตัว
สมมติว่าเดิมมันหนักอยู่ ๑ กิโล มันก็อาจจะลดลงเสมอครึ่งกิโลก็ได้
เหตุนั้นนักปฏิบัติในชาดกสมัยพุทธกาลนั้น
ท่านจึงยกมากล่าวว่า บางท่านก็ดำดินไปผุดได้ไกลๆ
บางท่านก็เหาะเหินเดินอากาศได้ ทั้งนี้ก็คงเนื่องจาก
"อำนาจของความบริสุทธิ์แห่งธาตุในร่างกาย"
ซึ่งท่านได้บำเพ็ญพยายามซักฟอกด้วยคุณธรรมนั่นเอง
จึงทำให้ร่างกายท่านมีความละเอียดเบา
จนกลายเป็นผู้มีฤทธิ์อำนาจแรงกล้า
สามารถที่จะดำลงไปในแผ่นดินหรือเหาะขึ้นไปบนฟ้าก็ได้
เพราะธาตุเหล่านี้เมื่อถูกเราซักฟอกบ่อยๆแล้ว
ก็ย่อมจะเกิดความบริสุทธิ์ เบาและเป็นไปได้ทุกอย่าง
ตามที่เราจะนึกให้เป็น
เมื่อธาตุทุกส่วนมีความเบาแล้ว
ต่อไปความหนักเหนื่อยในร่างกายก็จะหายไป
ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าของเราทรงประทับนั่งสมาธิ
อยู่ถึง ๗ วัน ๗ คืน ก็ยังไม่ทรงปวดเมื่อย
เหมือนของเบานั้น เราจะถืออยู่สัก ๓ ชั่วโมงก็ไม่รู้สึกเมื่อย
แต่ถ้าเป็นของหนักแล้ว เพียงถือไว้แค่ ๓ นาทีเท่านั้น
ก็คงจะทนไม่ไหว ..นี่เป็นผลศักดิ์สิทธิ์ของความเบากาย
ใช่แต่เท่านั้น...ความร้อน ความหิวโหย กระวนกระวาย
หรืออ่อนเพลียเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น นี่เรียกว่า
"กายปัสสัทธิ"
คือกายสงบ ถ้าจะอธิบายถึงคุณประโยชน์หรืออานิสงส์อย่างอื่นๆ
อีกทีจะมากมายนัก จึงขอกล่าวแต่เพียงเท่านี้
...
คัดลอกจาก
หนังสือแนวทางปฏิบัติ วิปัสสนา-กัมมัฏฐาน เล่ม ๒
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
มกราคม,๒๕๕๓. หน้า ๒๖๓-๒๖๕
อำนาจแห่งความบริสุทธิ์ของธาตุในกาย : ท่านพ่อลี ธัมมธโร
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
...
ถ้าตา หู จมูก ลิ้น ปากของเรามันเย็น ความเย็นของธาตุเหล่านี้
ก็จะซึมซาบอาบไปในภูเขา (ศีรษะ) เป็นเหตุให้ เกสา(ผมทั้งหลาย)
โลมา(ขนทั้งหลาย) นขา (เล็บทั้งหลาย ) ทนฺตา ฟันทั้งหลาย
ตโจ(หนัง) มงฺสํ (เนื้อ) ที่เป็นอวัยวะทุกส่วน นหารู (เอ็นทั้งหลาย )
อฏฺฐี (กระดูกทั้งหลาย )อฏฺฐิมิญฺชํ (เยื่อในกระดูก) ตลอดจนอวัยวะภายในทุกส่วน
เช่น วกฺกํ (ม้าม) หทยํ (หัวใจ) ยกนํ (ตับ) กิโลมกํ (พังผืด)
ปิหกํ (ไต) ปปฺผาสํ (ปอด) อนฺตํ (ไส้ใหญ่) อนฺตคุณํ (ไส้น้อย)
จนถึง อุทริยํ (อาหารใหม่) และ กรีสํ (อาหารเก่า)
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็จะกลายเป็นของบริสุทธิ์
ปราศจากโทษไปทุกอย่าง เมื่อธาตุภายในร่างกายของเรา
บริสุทธิ์ไปทุกอย่างเช่นนี้ เรียกว่า "กายปริสุทฺธํ" (กายสะอาดเบา)
เหมือนกระสอบป่านเก่าๆที่อมสิ่งโสโครกไว้จนหนาและหนัก
เมื่อเราได้นำมาซักฟอกให้สะอาดและให้แห้งด้วยแดดและลมแล้ว
กระสอบเก่าผืนนั้นก็อาจจะเบาขึ้นกว่าเก่าตั้งครึ่งตัว
สมมติว่าเดิมมันหนักอยู่ ๑ กิโล มันก็อาจจะลดลงเสมอครึ่งกิโลก็ได้
เหตุนั้นนักปฏิบัติในชาดกสมัยพุทธกาลนั้น
ท่านจึงยกมากล่าวว่า บางท่านก็ดำดินไปผุดได้ไกลๆ
บางท่านก็เหาะเหินเดินอากาศได้ ทั้งนี้ก็คงเนื่องจาก
"อำนาจของความบริสุทธิ์แห่งธาตุในร่างกาย"
ซึ่งท่านได้บำเพ็ญพยายามซักฟอกด้วยคุณธรรมนั่นเอง
จึงทำให้ร่างกายท่านมีความละเอียดเบา
จนกลายเป็นผู้มีฤทธิ์อำนาจแรงกล้า
สามารถที่จะดำลงไปในแผ่นดินหรือเหาะขึ้นไปบนฟ้าก็ได้
เพราะธาตุเหล่านี้เมื่อถูกเราซักฟอกบ่อยๆแล้ว
ก็ย่อมจะเกิดความบริสุทธิ์ เบาและเป็นไปได้ทุกอย่าง
ตามที่เราจะนึกให้เป็น
เมื่อธาตุทุกส่วนมีความเบาแล้ว
ต่อไปความหนักเหนื่อยในร่างกายก็จะหายไป
ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าของเราทรงประทับนั่งสมาธิ
อยู่ถึง ๗ วัน ๗ คืน ก็ยังไม่ทรงปวดเมื่อย
เหมือนของเบานั้น เราจะถืออยู่สัก ๓ ชั่วโมงก็ไม่รู้สึกเมื่อย
แต่ถ้าเป็นของหนักแล้ว เพียงถือไว้แค่ ๓ นาทีเท่านั้น
ก็คงจะทนไม่ไหว ..นี่เป็นผลศักดิ์สิทธิ์ของความเบากาย
ใช่แต่เท่านั้น...ความร้อน ความหิวโหย กระวนกระวาย
หรืออ่อนเพลียเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น นี่เรียกว่า "กายปัสสัทธิ"
คือกายสงบ ถ้าจะอธิบายถึงคุณประโยชน์หรืออานิสงส์อย่างอื่นๆ
อีกทีจะมากมายนัก จึงขอกล่าวแต่เพียงเท่านี้
...
คัดลอกจาก
หนังสือแนวทางปฏิบัติ วิปัสสนา-กัมมัฏฐาน เล่ม ๒
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
มกราคม,๒๕๕๓. หน้า ๒๖๓-๒๖๕