พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
...
"ปุญฺญ" คำว่า
"ปุญญะ" นี้คือ
ทำร่างกายของเราให้สบาย
ใจก็ให้สบาย อย่าให้อึดอัด ให้มีอิสรภาพในตัว
อย่าสะกดกลั้น ต้องปล่อยการหายใจให้คล่องแคล่ว
อย่ากด อย่าข่ม อย่าบังคับบัญชา
เหมือนเราซักผ้าแล้วก็แขวนหรือห้อยไว้บนราว
น้ำก็จะหยดไปจากเสื้อผ้า แสงแดดก็ส่องทั่ว
ลมก็พัดโบกไปมาได้ ในที่สุดเสื้อผ้านั้น
ก็จะแห้งเร็วและขาวสะอาดด้วย
"การทำสมาธิภาวนา" นี้ก็เท่ากับเรามาซักฟอก
ร่างกายของเราให้ขาวสะอาดเหมือนกัน
เมื่อต้องการให้ร่างกายขาวสะอาด
เราก็ต้องวางร่างกายให้สะดวกสบาย
คือ ปล่อยตาสบาย ปล่อยหูสบาย
ปล่อยจมูกให้สบาย มือ เท้า แขน ขา
ก็วางให้สบาย ทำร่างกายให้สะดวกทุกๆอย่าง
ส่วน "ดวงจิต" ของเรา เราก็จะไม่ให้เกี่ยวข้อง
กับสัญญาอารมณ์ใดๆ เราก็วางหมด ไม่เกี่ยวข้อง
เมื่อเราฟอกดวงจิตของเราให้ขาวสะอาด
เป็น
"จิตที่บริสุทธิ์" ขึ้นแล้ว
"จิตนั้นก็ย่อมจะเกิดแสงสว่าง"
เป็นความรู้ความคิดความเห็นขึ้นในตน
สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็จะเกิดขึ้น สิ่งที่ไม่เคยเห็นก็จะเกิดขึ้น
ท่านจึงแสดงว่า "ความสว่างของจิตนี้เป็นตัวปัญญา"
"ปัญญา" นี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเหตุ
ให้รู้เรื่องราวของตนเองได้ว่า
ปัจจุบันที่เราเป็นอยู่นี้ร่างกายนั้นมันเป็นมาอย่างไร
เรื่องจิตนั้นมันเป็นมาอย่างไร นี่เรียกว่า "รู้รูป..รู้นาม"
...
คัดลอกจาก
หนังสือแนวทางปฏิบัติ วิปัสสนา-กัมมัฏฐาน เล่ม ๒.
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร. มกราคม,๒๕๕๓. หน้าา ๑๐๐ - ๑๐๑.
ความสว่างของจิตเป็นตัวปัญญา : ท่านพ่อลี ธัมมธโร
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
...
"ปุญฺญ" คำว่า "ปุญญะ" นี้คือ ทำร่างกายของเราให้สบาย
ใจก็ให้สบาย อย่าให้อึดอัด ให้มีอิสรภาพในตัว
อย่าสะกดกลั้น ต้องปล่อยการหายใจให้คล่องแคล่ว
อย่ากด อย่าข่ม อย่าบังคับบัญชา
เหมือนเราซักผ้าแล้วก็แขวนหรือห้อยไว้บนราว
น้ำก็จะหยดไปจากเสื้อผ้า แสงแดดก็ส่องทั่ว
ลมก็พัดโบกไปมาได้ ในที่สุดเสื้อผ้านั้น
ก็จะแห้งเร็วและขาวสะอาดด้วย
"การทำสมาธิภาวนา" นี้ก็เท่ากับเรามาซักฟอก
ร่างกายของเราให้ขาวสะอาดเหมือนกัน
เมื่อต้องการให้ร่างกายขาวสะอาด
เราก็ต้องวางร่างกายให้สะดวกสบาย
คือ ปล่อยตาสบาย ปล่อยหูสบาย
ปล่อยจมูกให้สบาย มือ เท้า แขน ขา
ก็วางให้สบาย ทำร่างกายให้สะดวกทุกๆอย่าง
ส่วน "ดวงจิต" ของเรา เราก็จะไม่ให้เกี่ยวข้อง
กับสัญญาอารมณ์ใดๆ เราก็วางหมด ไม่เกี่ยวข้อง
เมื่อเราฟอกดวงจิตของเราให้ขาวสะอาด
เป็น "จิตที่บริสุทธิ์" ขึ้นแล้ว "จิตนั้นก็ย่อมจะเกิดแสงสว่าง"
เป็นความรู้ความคิดความเห็นขึ้นในตน
สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็จะเกิดขึ้น สิ่งที่ไม่เคยเห็นก็จะเกิดขึ้น
ท่านจึงแสดงว่า "ความสว่างของจิตนี้เป็นตัวปัญญา"
"ปัญญา" นี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเหตุ
ให้รู้เรื่องราวของตนเองได้ว่า
ปัจจุบันที่เราเป็นอยู่นี้ร่างกายนั้นมันเป็นมาอย่างไร
เรื่องจิตนั้นมันเป็นมาอย่างไร นี่เรียกว่า "รู้รูป..รู้นาม"
...
คัดลอกจาก
หนังสือแนวทางปฏิบัติ วิปัสสนา-กัมมัฏฐาน เล่ม ๒.
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร. มกราคม,๒๕๕๓. หน้าา ๑๐๐ - ๑๐๑.