พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
...
สิ่งทั้งหลายในโลกย่อมมีความจริงในตัวของมันเองทุกอย่าง
ถึงจะ"ไม่จริง" มันก็ "จริง" คือ "จริงที่มันไม่จริง" นั่นแหละ
ฉะนั้นเราต้องละทั้งความจริงและความไม่จริง แต่ถึงกระนั้นก็เป็น
"ทุกขสัจ"
เมื่อเรามีความจริงและละความจริงของเราได้ เราก็จะสบาย
ไม่ยากจน เพราะเรามีจริงๆ ไม่ใช่เหลวๆไหลๆ
เหมือนเรามีเงินทองมากๆ เราก็กองไว้ในบ้านของเรา
เราก็ยังมีอยู่ ไม่ยากจน ผู้ที่มีความรู้ก็เช่นเดียวกัน
ถึงเขาจะทิ้งก็มี ไม่ทิ้งก็มี ดังนั้น "จิตของพระอริยเจ้าทั้งหลายจึงไม่ขาดลอย"
เพราะท่านไม่ได้ "ทิ้งอย่าง_หาย" ท่านทิ้งอย่างคนมั่งมี"
ถึงแม้ท่านจะทิ้ง แต่สมบัติของท่านก็ยังกองมากมายอยู่อย่างนั้น
"คนที่ทิ้งอย่างคนอนาถายากจน" ก็คือ "ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นของดีและของไม่ดี"
เมื่อทิ้งของดีเสียแล้วก็ต้องเกิดความ_หายเท่านั้น เช่น
อะไรๆก็เห็นเป็นของไม่จริงไปทั้งหมด ขันธ์ห้าไม่จริง รูปก็ไม่จริง
ทุกข์ก็ไม่จริง สมุทัยก็ไม่จริง มรรคก็ไม่จริง นิโรธก็ไม่จริง นิพพานก็ไม่จริง
"ไม่ใช้ความพินิจพิจารณา" ไตร่ตรองอะไรๆก็ขี้เกียจขี้คร้าน
ไม่อยากทำ ปล่อยวางทิ้งหมด ทิ้งอย่างนี้เขาเรียกว่า "ทิ้งอย่างอนาถายากจน"
เช่น อย่างนักปราชญ์สมัยใหม่นั้น ตายไปแล้วเกิดมาก็ยังจนอีก
ส่วน "พระพุทธเจ้า" นั้นท่านทิ้งแต่ของจริง ไม่จริง
ที่ปรากฏในส่วน "รูปนาม" ท่านไม่ให้ "ทิ้งรูปทิ้งนาม"
ท่านจึงร่ำรวย ไม่อดไม่อยาก แล้วท่านก็ยังมีสมบัติ
แจกจ่ายให้ลูกหลานของท่านอีก เพราะฉะนั้นลูกหลานของท่าน
จึงไม่ยากไม่จน ไปถึงไหนๆก็มีข้าวเต็มบาตรอยู่เสมอ
ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยาก สมบัติอย่างนี้ย่อมประเสริฐ
ยิ่งเสียกว่าขี่วอช่อฟ้าหรือเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็ยังสู้ไม่ได้
ฉะนั้นเราทั้งหลายจึงควรดูแบบอย่างที่พระองค์ทรงกระทำ
ถ้าใครเห็นว่า "ขันธ์ห้าไม่ดี" มีแต่ "ความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" แล้วก็พากัน "ทิ้งขันธ์ห้าเสียหมด" ดังนี้
เขาก็จะต้องเป็น "ผู้ยากจน" อย่างแน่ๆ เหมือนคนโง่
ที่รังเกียจบาดแผลเปื่อยเน่าที่เกิดขึ้นในร่างกายของตนเอง
ไม่กล้าเอามือไปแตะต้องเลยทิ้งไว้ "ไม่รักษา"
ปล่อยให้เน่าเหม็นอยู่กับตัวอย่างนั้น
แผลมันก็ไม่มีโอกาสจะหายได้
ส่วนคนฉลาดก็จะรู้จัก "รักษา" บาดแผลของตน
โดยการชำระล้างและหายามาใส่แล้วก็หาผ้ามาปกปิดพันไว้
ไม่ให้เป็นที่น่ารังเกียจ ในที่สุดแผลนั้นก็จะหายเป็นปกติได้
ฉันใดคนที่รังเกียจในขันธ์ห้าของตัวเอง
มองเห็นแต่ส่วนที่เป็นโทษฝ่ายเดียว ไม่มองเห็นฝ่ายดี
ทิ้งขันธ์ห้าของตนเสีย ไม่ทำให้เป็นบุญเป็นกุศลขึ้น
เช่นนี้ก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใดได้เลย
คนมีปัญญาย่อมเห็นว่า "ขันธ์ห้ามีทั้งคุณและโทษ"
จึงควรบำเพ็ญบุญกุศล "ให้ปัญญาเกิดจากรูปนาม"
เมื่อปัญญานี้เกิดขึ้นแล้ว เราก็ต้องร่ำรวย เป็นสุข
นั่งกินนอนกินสบาย จะอยู่หลายคนก็เป็นสุข
อยู่คนเดียวก็เป็นสุข คนจนนั้นถึงมีเพื่อนก็เป็นทุกข์
ไม่มีก็เป็นทุกข์
ถ้าเรา
"ความจริง" คือ "ธรรมะ" เป็นทรัพย์ของเราแล้ว
ถึงจะมีเงินก็ไม่ทุกข์ ไม่มีก็ไม่ทุกข์
เพราะจิตของเราเป็น "โลกุตตระ"แล้ว
ส่วนขี้ต่างๆ เช่น
"โลภะ" ความขี้โลภ อยากได้ของของเขา
"โทสะ" ความขี้โกรธ ขี้ชัง
"โมหะ" ความขี้หลง
ซึ่งเป็นขี้สนิมต่างๆ ที่เคยเปรอะเปื้อน
ปกปิด
"อายตนะ" ของเรานี้ไว้ก็จะหลุดออกไป
คราวนี้ ตา หู จมูก ปาก คอ ของเราก็จะสะอาด
และสว่างไสวไปหมด
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ธมฺโม ปทีโป" ธรรมเป็นแสงสว่าง
(คือดวงปัญญา) จิตของเราก็จะไกลจากโทษและจากทุกข์ทั้งปวง
ไหลไปสู่กระแสพระนิพพานทุกเวลา
ตามที่ได้แสดงมาแต่ต้นนี้ ก็เพื่อจะให้พวกเรา
ได้ทราบถึงกำเนิดของ
"ปัญญา" อันเป็นบ่อเกิด
แห่งจุดหมายที่เราได้มานั่งสงบจิตกันอยู่นี้
ถ้าผู้ใดสนใจและปฏิบัติตาม ก็จะมีอานิสงส์เกิดขึ้น
ตามสติกำลังของตนของตนดังที่ได้บรรยายมา
ก็พอสมควรแก่เวลาเพียงเท่านี้
...
คัดลอกจาก
หนังสือแนวทางปฏิบัติ วิปัสสนา-กัมมัฏฐาน เล่ม ๒
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร. มกราคม,๒๕๕๓. หน้า ๑๓๖-๑๓๙
ทิ้งขันธ์ห้าอย่างคนมั่งมี ไม่ใช่ทิ้งอย่างคนอนาถา : ท่านพ่อลี ธัมมธโร
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม
อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
...
สิ่งทั้งหลายในโลกย่อมมีความจริงในตัวของมันเองทุกอย่าง
ถึงจะ"ไม่จริง" มันก็ "จริง" คือ "จริงที่มันไม่จริง" นั่นแหละ
ฉะนั้นเราต้องละทั้งความจริงและความไม่จริง แต่ถึงกระนั้นก็เป็น "ทุกขสัจ"
เมื่อเรามีความจริงและละความจริงของเราได้ เราก็จะสบาย
ไม่ยากจน เพราะเรามีจริงๆ ไม่ใช่เหลวๆไหลๆ
เหมือนเรามีเงินทองมากๆ เราก็กองไว้ในบ้านของเรา
เราก็ยังมีอยู่ ไม่ยากจน ผู้ที่มีความรู้ก็เช่นเดียวกัน
ถึงเขาจะทิ้งก็มี ไม่ทิ้งก็มี ดังนั้น "จิตของพระอริยเจ้าทั้งหลายจึงไม่ขาดลอย"
เพราะท่านไม่ได้ "ทิ้งอย่าง_หาย" ท่านทิ้งอย่างคนมั่งมี"
ถึงแม้ท่านจะทิ้ง แต่สมบัติของท่านก็ยังกองมากมายอยู่อย่างนั้น
"คนที่ทิ้งอย่างคนอนาถายากจน" ก็คือ "ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นของดีและของไม่ดี"
เมื่อทิ้งของดีเสียแล้วก็ต้องเกิดความ_หายเท่านั้น เช่น
อะไรๆก็เห็นเป็นของไม่จริงไปทั้งหมด ขันธ์ห้าไม่จริง รูปก็ไม่จริง
ทุกข์ก็ไม่จริง สมุทัยก็ไม่จริง มรรคก็ไม่จริง นิโรธก็ไม่จริง นิพพานก็ไม่จริง
"ไม่ใช้ความพินิจพิจารณา" ไตร่ตรองอะไรๆก็ขี้เกียจขี้คร้าน
ไม่อยากทำ ปล่อยวางทิ้งหมด ทิ้งอย่างนี้เขาเรียกว่า "ทิ้งอย่างอนาถายากจน"
เช่น อย่างนักปราชญ์สมัยใหม่นั้น ตายไปแล้วเกิดมาก็ยังจนอีก
ส่วน "พระพุทธเจ้า" นั้นท่านทิ้งแต่ของจริง ไม่จริง
ที่ปรากฏในส่วน "รูปนาม" ท่านไม่ให้ "ทิ้งรูปทิ้งนาม"
ท่านจึงร่ำรวย ไม่อดไม่อยาก แล้วท่านก็ยังมีสมบัติ
แจกจ่ายให้ลูกหลานของท่านอีก เพราะฉะนั้นลูกหลานของท่าน
จึงไม่ยากไม่จน ไปถึงไหนๆก็มีข้าวเต็มบาตรอยู่เสมอ
ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยาก สมบัติอย่างนี้ย่อมประเสริฐ
ยิ่งเสียกว่าขี่วอช่อฟ้าหรือเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็ยังสู้ไม่ได้
ฉะนั้นเราทั้งหลายจึงควรดูแบบอย่างที่พระองค์ทรงกระทำ
ถ้าใครเห็นว่า "ขันธ์ห้าไม่ดี" มีแต่ "ความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" แล้วก็พากัน "ทิ้งขันธ์ห้าเสียหมด" ดังนี้
เขาก็จะต้องเป็น "ผู้ยากจน" อย่างแน่ๆ เหมือนคนโง่
ที่รังเกียจบาดแผลเปื่อยเน่าที่เกิดขึ้นในร่างกายของตนเอง
ไม่กล้าเอามือไปแตะต้องเลยทิ้งไว้ "ไม่รักษา"
ปล่อยให้เน่าเหม็นอยู่กับตัวอย่างนั้น
แผลมันก็ไม่มีโอกาสจะหายได้
ส่วนคนฉลาดก็จะรู้จัก "รักษา" บาดแผลของตน
โดยการชำระล้างและหายามาใส่แล้วก็หาผ้ามาปกปิดพันไว้
ไม่ให้เป็นที่น่ารังเกียจ ในที่สุดแผลนั้นก็จะหายเป็นปกติได้
ฉันใดคนที่รังเกียจในขันธ์ห้าของตัวเอง
มองเห็นแต่ส่วนที่เป็นโทษฝ่ายเดียว ไม่มองเห็นฝ่ายดี
ทิ้งขันธ์ห้าของตนเสีย ไม่ทำให้เป็นบุญเป็นกุศลขึ้น
เช่นนี้ก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใดได้เลย
คนมีปัญญาย่อมเห็นว่า "ขันธ์ห้ามีทั้งคุณและโทษ"
จึงควรบำเพ็ญบุญกุศล "ให้ปัญญาเกิดจากรูปนาม"
เมื่อปัญญานี้เกิดขึ้นแล้ว เราก็ต้องร่ำรวย เป็นสุข
นั่งกินนอนกินสบาย จะอยู่หลายคนก็เป็นสุข
อยู่คนเดียวก็เป็นสุข คนจนนั้นถึงมีเพื่อนก็เป็นทุกข์
ไม่มีก็เป็นทุกข์
ถ้าเรา "ความจริง" คือ "ธรรมะ" เป็นทรัพย์ของเราแล้ว
ถึงจะมีเงินก็ไม่ทุกข์ ไม่มีก็ไม่ทุกข์
เพราะจิตของเราเป็น "โลกุตตระ"แล้ว
ส่วนขี้ต่างๆ เช่น "โลภะ" ความขี้โลภ อยากได้ของของเขา
"โทสะ" ความขี้โกรธ ขี้ชัง "โมหะ" ความขี้หลง
ซึ่งเป็นขี้สนิมต่างๆ ที่เคยเปรอะเปื้อน
ปกปิด "อายตนะ" ของเรานี้ไว้ก็จะหลุดออกไป
คราวนี้ ตา หู จมูก ปาก คอ ของเราก็จะสะอาด
และสว่างไสวไปหมด
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ธมฺโม ปทีโป" ธรรมเป็นแสงสว่าง
(คือดวงปัญญา) จิตของเราก็จะไกลจากโทษและจากทุกข์ทั้งปวง
ไหลไปสู่กระแสพระนิพพานทุกเวลา
ตามที่ได้แสดงมาแต่ต้นนี้ ก็เพื่อจะให้พวกเรา
ได้ทราบถึงกำเนิดของ "ปัญญา" อันเป็นบ่อเกิด
แห่งจุดหมายที่เราได้มานั่งสงบจิตกันอยู่นี้
ถ้าผู้ใดสนใจและปฏิบัติตาม ก็จะมีอานิสงส์เกิดขึ้น
ตามสติกำลังของตนของตนดังที่ได้บรรยายมา
ก็พอสมควรแก่เวลาเพียงเท่านี้
...
คัดลอกจาก
หนังสือแนวทางปฏิบัติ วิปัสสนา-กัมมัฏฐาน เล่ม ๒
พระอาจารย์ลี ธัมมธโร. มกราคม,๒๕๕๓. หน้า ๑๓๖-๑๓๙