ไม่น่าเชื่อว่าคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญฯที่ประกอบไปด้วยผู้ทรงภูมิรู้ในระดับแนวหน้าทางวิชาการของประเทศจะร่างรัฐธรรมนูญฯออกมาได้ ‘แย่กว่าที่คาด อนาถกว่าที่คิด’
เพราะถึงอย่างไรผมก็ไม่เคยมีความหวังว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะออกมาได้ดีเลิศประเสริฐศรีอยู่แล้วภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ แต่ก็ไม่นึกว่าจะทำได้แย่ขนาดนี้
ผมคงไม่วิจารณ์ลงละเอียดไปในรายมาตราที่มีผู้ให้ความเห็นไว้เยอะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ที่มาของนายกรัฐมนตรี,ระบบการเลือกตั้ง ส.ส.,การได้มาซึ่ง ส.ว.,การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยากมากจนเรียกว่าแทบจะทำไม่ได้
และที่ร้อนที่สุดก็คือประเด็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองหรือที่เรียกว่า ค.ป.ป.ที่เรียกแขกออกมาได้อย่างพร้อมเพรียงจากแทบทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝ่ายการเมือง
เพราะแทบจะเรียกได้ว่าจำลองรูปแบบมาจาก ‘รัฐบาลหอย’ ยุคหลัง 6 ตุลา 19 เปี๊ยบเลย
ผมเข้าใจถึงความจำเป็นที่คณะกรรมาธิการร่างฯจะต้องเอาใจผู้ให้กำเนิดตนมาหรือที่เรียกกันให้เข้าใจง่ายว่า “เมื่อลงเรือแป๊ะ ก็ต้องตามใจแป๊ะ” แต่การตามใจนั้นต้องไม่ลืมจุดยืนของหลักวิชาการที่ตนได้ร่ำเรียนมาและที่ได้เคยพร่ำสอนลูกศิษย์ลูกหาของตน และผมเชื่อว่า
หลายๆ ประเด็นที่เป็นปัญหามิใช่เกิดจาก ‘แป๊ะ’ แต่เกิดจากการ ‘จัดการงานนอกสั่ง’ หรือ การ ‘เหาะเหินเกินลงกา’
ซึ่งเป็นรายละเอียดที่ป่วยการจะกล่าวถึง เพราะขั้นตอนๆนี้ไม่สามารถทำอะไรได้แล้วนอกจากจะรับหรือไม่รับในขั้นของ สปช. ซึ่งผมก็เชื่อว่า สปช.ก็คงรับโดยดุษณีนั่นแหล่ะ เพราะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เป็นของล่อใจอยู่
และที่เอะอะโวยวายก็คงพอมีบ้างเป็นกระสายเพราะส่วนหนึ่งคงเห็นว่ารับไม่ได้จริงๆ อีกส่วนหนึ่งก็คงเป็นฝ่ายที่อยากให้ร่างใหม่หรืออยากให้ คสช.อยู่ต่อโดยยังไม่ต้องรีบเลือกตั้ง
แต่ครั้นพอผ่านขั้นการลงมติของ สปช.ในวันที่ 6 กันยายน 58 ที่จะถึงนี้ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการลงประชามติ ซึ่งคงจะเป็นการลงประชามติที่แปลกที่สุดในโลก เพราะมีข้อห้ามมากมายโดยแม้แต่ กกต.ที่มีหน้าที่ในการจัดการลงประชามติแท้ๆยังออกมาบอกว่าอาจจะขัดคำสั่ง คสช.ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองได้
ทั้งๆที่โดยเนื้อหาสาระของการลงประชามตินั้นคือการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยทางตรงอย่างหนึ่ง และที่สำคัญของหลักการลงประชามตินั้น ประชาชนที่มีสิทธิลงประชามติจะต้องได้รับในข้อมูลที่ครบถ้วนทั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วยและคัดค้านเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ แต่ไม่สามารถทำเช่นว่านั้นได้
การลงประชามติโดยไม่สามารถมีการรณรงค์นั้นย่อมไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง และที่สำคัญก็คือเราอยู่ในสังคมโลก ย่อมที่จะถูกรังเกียจเดียดฉันท์ ไม่มีใครอยาก คบค้าสมาคมด้วย
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะออกมายืนยันว่าที่ห้ามนี้ไม่ได้ห้ามเฉพาะผู้ที่คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ แต่ห้ามฝ่ายที่สนับสนุนด้วย แต่ในความเป็นจริงเราก็เห็นกันอย่างชัดเจนฝ่ายใดมีโอกาสใช้เครื่องมือหรือสื่อของรัฐในการโฆษณาชวนเชื่อมากกว่ากัน
แน่นอนว่าภายใต้สถานการณ์อันไม่เอื้ออำนวยต่อการแสวงหาความรู้ความเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญที่จะต้องใช้บังคับกับทุกคนที่อยู่ในรัฐไทยนี้ เราก็ต้องช่วยกันศึกษาวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสียและผลกระทบที่จะตามมาเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกมาใช้บังคับ
ผมไม่เห็นด้วยกับบางท่านที่ให้ความเห็นว่างั้นเราไม่ออกไปใช้สิทธิ์ลงประชามติกันดีไหม ซึ่งผมเห็นว่าในเมื่อรัฐธรรมนูญปี 50 ยกเลิกไปแล้วข้อจำกัดที่ให้จำนวนผู้มาลงประชามติต้องเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์จึงจะมีผลต่อการลงประชามตินั้นใช้ได้ นั้นถูกยกเลิกไปแล้ว
แต่ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 ในส่วนที่ใช้ในการออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาคณะรัฐมนตรียังคงอยู่ โดยไม่ได้ยึดเกณฑ์จำนวนคนที่มาออกเสียงแต่อย่างใด
ใช้เพียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ออกมาใช้สิทธิ์ก็ใช้ได้แล้ว ไม่ว่าจะมีคนมาออกเสียงจำนวนน้อยเพียงใดก็ตาม ฉะนั้น การรณรงค์เช่นนี้จึงเป็นการเตะสุกรเข้าปากสุนัขเสียมากกว่า
แล้วประชาชนจะทำอย่างไร
การศึกษาร่างรัฐธรรมนูญให้เข้าใจทั้งฉบับย่อมเป็นเรื่องยากสำหรับประชาชนทั่วไป หลักเกณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับการตัดสินใจที่จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฯฉบับนี้ของประชาชนก็คือ “ทั้งหมดทั้งปวงนี้ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่านหรือไม่ผ่านแล้วประชาชนจะได้อะไร”
ส่วนฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายผู้ครองอำนาจอยู่เขาจะได้จะเสียอะไรนั้นเป็นเรื่องที่พ้นวิสัยสำหรับประชาชนรากหญ้าทั่วไปที่จะไปหยั่งรู้ได้ เพราะขาดเสียซึ่งโอกาสที่ได้รับข้อมูลนั่นเอง
หากเห็นว่ารัฐธรรมนูญถ้าผ่านแล้วชีวิตของตนจะดีขึ้น จะได้เป็น ‘พลเมือง’ ตามที่เขาโฆษณาจริงๆเสียที ก็ไปโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
แต่ถ้าเห็นว่าหากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านออกไปแล้วชีวิตจะแย่ลง
เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับที่ผ่านๆมานั้นตนเองมีความเป็นสุขสบายมีสิทธิเสรีภาพมากกว่าร่างฯที่จะออกมาใช้นี้
ก็ออกไปโหวตไม่รับ เพื่อให้มีการร่างขึ้นมาใหม่ภายใน 180 วัน แล้วลงประชามติใหม่จนกว่าจะเป็นที่พอใจไปเรื่อยๆก็ได้
แต่หากเห็นว่าจะผ่านไม่ผ่านก็ไม่ได้มีส่วนที่จะทำให้ชีวิตของตนดีขึ้นหรือแย่ลง ก็สุดแท้แต่จะตัดสินใจแล้วล่ะครับว่าควรจะทำอย่างไร เพราะเป็นสิทธิอันเด็ดขาดของตนที่จะตัดสินใจ เพราะไม่ต้องรับโทษทัณฑ์อันใด
แต่ส่วนจะตอบคำถามลูกหลานของตนในอนาคตข้างหน้าว่าอย่างไรนั้นก็คงเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ
------------
หมายเหตุ จากบทความเรื่อง ‘ประชามติภายใต้คำสั่ง คสช.’ โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 2 กันยายน 2558
‘เหาะเหินเกินลงกา’ อีกสมญาร่างรัฐธรรมนูญเรือแป๊ะ : ชำนาญ จันทร์เรือง
ไม่น่าเชื่อว่าคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญฯที่ประกอบไปด้วยผู้ทรงภูมิรู้ในระดับแนวหน้าทางวิชาการของประเทศจะร่างรัฐธรรมนูญฯออกมาได้ ‘แย่กว่าที่คาด อนาถกว่าที่คิด’
เพราะถึงอย่างไรผมก็ไม่เคยมีความหวังว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะออกมาได้ดีเลิศประเสริฐศรีอยู่แล้วภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ แต่ก็ไม่นึกว่าจะทำได้แย่ขนาดนี้
ผมคงไม่วิจารณ์ลงละเอียดไปในรายมาตราที่มีผู้ให้ความเห็นไว้เยอะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ที่มาของนายกรัฐมนตรี,ระบบการเลือกตั้ง ส.ส.,การได้มาซึ่ง ส.ว.,การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยากมากจนเรียกว่าแทบจะทำไม่ได้
และที่ร้อนที่สุดก็คือประเด็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองหรือที่เรียกว่า ค.ป.ป.ที่เรียกแขกออกมาได้อย่างพร้อมเพรียงจากแทบทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝ่ายการเมือง
เพราะแทบจะเรียกได้ว่าจำลองรูปแบบมาจาก ‘รัฐบาลหอย’ ยุคหลัง 6 ตุลา 19 เปี๊ยบเลย
ผมเข้าใจถึงความจำเป็นที่คณะกรรมาธิการร่างฯจะต้องเอาใจผู้ให้กำเนิดตนมาหรือที่เรียกกันให้เข้าใจง่ายว่า “เมื่อลงเรือแป๊ะ ก็ต้องตามใจแป๊ะ” แต่การตามใจนั้นต้องไม่ลืมจุดยืนของหลักวิชาการที่ตนได้ร่ำเรียนมาและที่ได้เคยพร่ำสอนลูกศิษย์ลูกหาของตน และผมเชื่อว่า
หลายๆ ประเด็นที่เป็นปัญหามิใช่เกิดจาก ‘แป๊ะ’ แต่เกิดจากการ ‘จัดการงานนอกสั่ง’ หรือ การ ‘เหาะเหินเกินลงกา’
ซึ่งเป็นรายละเอียดที่ป่วยการจะกล่าวถึง เพราะขั้นตอนๆนี้ไม่สามารถทำอะไรได้แล้วนอกจากจะรับหรือไม่รับในขั้นของ สปช. ซึ่งผมก็เชื่อว่า สปช.ก็คงรับโดยดุษณีนั่นแหล่ะ เพราะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เป็นของล่อใจอยู่
และที่เอะอะโวยวายก็คงพอมีบ้างเป็นกระสายเพราะส่วนหนึ่งคงเห็นว่ารับไม่ได้จริงๆ อีกส่วนหนึ่งก็คงเป็นฝ่ายที่อยากให้ร่างใหม่หรืออยากให้ คสช.อยู่ต่อโดยยังไม่ต้องรีบเลือกตั้ง
แต่ครั้นพอผ่านขั้นการลงมติของ สปช.ในวันที่ 6 กันยายน 58 ที่จะถึงนี้ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการลงประชามติ ซึ่งคงจะเป็นการลงประชามติที่แปลกที่สุดในโลก เพราะมีข้อห้ามมากมายโดยแม้แต่ กกต.ที่มีหน้าที่ในการจัดการลงประชามติแท้ๆยังออกมาบอกว่าอาจจะขัดคำสั่ง คสช.ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองได้
ทั้งๆที่โดยเนื้อหาสาระของการลงประชามตินั้นคือการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยทางตรงอย่างหนึ่ง และที่สำคัญของหลักการลงประชามตินั้น ประชาชนที่มีสิทธิลงประชามติจะต้องได้รับในข้อมูลที่ครบถ้วนทั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วยและคัดค้านเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ แต่ไม่สามารถทำเช่นว่านั้นได้
การลงประชามติโดยไม่สามารถมีการรณรงค์นั้นย่อมไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง และที่สำคัญก็คือเราอยู่ในสังคมโลก ย่อมที่จะถูกรังเกียจเดียดฉันท์ ไม่มีใครอยาก คบค้าสมาคมด้วย
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะออกมายืนยันว่าที่ห้ามนี้ไม่ได้ห้ามเฉพาะผู้ที่คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ แต่ห้ามฝ่ายที่สนับสนุนด้วย แต่ในความเป็นจริงเราก็เห็นกันอย่างชัดเจนฝ่ายใดมีโอกาสใช้เครื่องมือหรือสื่อของรัฐในการโฆษณาชวนเชื่อมากกว่ากัน
แน่นอนว่าภายใต้สถานการณ์อันไม่เอื้ออำนวยต่อการแสวงหาความรู้ความเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญที่จะต้องใช้บังคับกับทุกคนที่อยู่ในรัฐไทยนี้ เราก็ต้องช่วยกันศึกษาวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสียและผลกระทบที่จะตามมาเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกมาใช้บังคับ
ผมไม่เห็นด้วยกับบางท่านที่ให้ความเห็นว่างั้นเราไม่ออกไปใช้สิทธิ์ลงประชามติกันดีไหม ซึ่งผมเห็นว่าในเมื่อรัฐธรรมนูญปี 50 ยกเลิกไปแล้วข้อจำกัดที่ให้จำนวนผู้มาลงประชามติต้องเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์จึงจะมีผลต่อการลงประชามตินั้นใช้ได้ นั้นถูกยกเลิกไปแล้ว
แต่ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 ในส่วนที่ใช้ในการออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาคณะรัฐมนตรียังคงอยู่ โดยไม่ได้ยึดเกณฑ์จำนวนคนที่มาออกเสียงแต่อย่างใด
ใช้เพียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ออกมาใช้สิทธิ์ก็ใช้ได้แล้ว ไม่ว่าจะมีคนมาออกเสียงจำนวนน้อยเพียงใดก็ตาม ฉะนั้น การรณรงค์เช่นนี้จึงเป็นการเตะสุกรเข้าปากสุนัขเสียมากกว่า
แล้วประชาชนจะทำอย่างไร
การศึกษาร่างรัฐธรรมนูญให้เข้าใจทั้งฉบับย่อมเป็นเรื่องยากสำหรับประชาชนทั่วไป หลักเกณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับการตัดสินใจที่จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฯฉบับนี้ของประชาชนก็คือ “ทั้งหมดทั้งปวงนี้ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่านหรือไม่ผ่านแล้วประชาชนจะได้อะไร”
ส่วนฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายผู้ครองอำนาจอยู่เขาจะได้จะเสียอะไรนั้นเป็นเรื่องที่พ้นวิสัยสำหรับประชาชนรากหญ้าทั่วไปที่จะไปหยั่งรู้ได้ เพราะขาดเสียซึ่งโอกาสที่ได้รับข้อมูลนั่นเอง
หากเห็นว่ารัฐธรรมนูญถ้าผ่านแล้วชีวิตของตนจะดีขึ้น จะได้เป็น ‘พลเมือง’ ตามที่เขาโฆษณาจริงๆเสียที ก็ไปโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
แต่ถ้าเห็นว่าหากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านออกไปแล้วชีวิตจะแย่ลง
เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับที่ผ่านๆมานั้นตนเองมีความเป็นสุขสบายมีสิทธิเสรีภาพมากกว่าร่างฯที่จะออกมาใช้นี้
ก็ออกไปโหวตไม่รับ เพื่อให้มีการร่างขึ้นมาใหม่ภายใน 180 วัน แล้วลงประชามติใหม่จนกว่าจะเป็นที่พอใจไปเรื่อยๆก็ได้
แต่หากเห็นว่าจะผ่านไม่ผ่านก็ไม่ได้มีส่วนที่จะทำให้ชีวิตของตนดีขึ้นหรือแย่ลง ก็สุดแท้แต่จะตัดสินใจแล้วล่ะครับว่าควรจะทำอย่างไร เพราะเป็นสิทธิอันเด็ดขาดของตนที่จะตัดสินใจ เพราะไม่ต้องรับโทษทัณฑ์อันใด
แต่ส่วนจะตอบคำถามลูกหลานของตนในอนาคตข้างหน้าว่าอย่างไรนั้นก็คงเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ
------------
หมายเหตุ จากบทความเรื่อง ‘ประชามติภายใต้คำสั่ง คสช.’ โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 2 กันยายน 2558