ผู้หญิงคนนี้คือผู้หญิงญี่ปุ่นคนแรก ที่ได้รับเลือกเป็น
"100 ผู้มีอิทธิพลของโลก" จัดอันดับโดย Times
หญิงสาวญี่ปุ่นผู้สอนศาสตร์แห่งการจัดระเบียบไปทั่วโลก
.
.
จากสาวออฟฟิศธรรมดาๆ เมื่อ5ปีก่อน
สู่ผู้หญิงผู้ทรงอิทธิพลร้อยคนของโลก
"ชีวิตไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด แต่ต้องกล้าฝันและลงมือทำ"
.
โดยปกติแล้ว ถ้าในประเทศญี่ปุ่นเอง
คนที่ได้รับเลือกเป็นผู้ทรงอิทธิพลของโลกจาก Times
แต่ก่อนมีแต่คนสำคัญของประเทศเช่น
คุณ Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
คุณ Miyazaki Hayao ผู่ก่อตั้งและเจ้าของสตูดิโอจิบลิ
การ์ตูนญี่ปุ่นชื่อดังที่สร้างความฝันให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จนดังไปทั่วโลก
สำหรับฝรั่งและคนประเทศอื่นๆ ที่ได้รับเลือกก็เช่น
บารัค โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
สตีฟ จ็อบส์ ผู้เปลี่ยนวงการไอทีด้วยไอโฟน
ทุกคนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกทั้งนั้น
.
ทำไมสาวน้อยหน้าตาน่ารักอย่างเธอ
ถึงได้รับเลือกเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลของโลก
คุณสงสัยมั้ยครับ?
.
กว่าจะมาถึงจุดนี้ เรื่องราวชีวิตของเธอค่อนข้างน่าสนใจ
ค่อยๆ ติดตามกันไปนะครับ
.
คีย์เวิร์ดของความสำเร็จของเธอคือ
"หลงรักจับใจในศาสตร์ของการจัดระเบียบ
และมีความสุขทุกครั้งที่ได้ลงมือทำ"
.
Kondo Marie (คอนโดะ มาริเอะ)
(ต่อไปนี้ผมจะเรียกเธอว่า คอนมาริ)
เริ่มสนใจเรื่องการจัดระเบียบ ตั้งแต่วัยอนุบาล
ตอนที่เธอยังมีอายุเพียง 5 ขวบ เธอรู้สึกตื่นเต้น
และเฝ้ารอที่จะอ่านนิตยสารเล่มนึงที่จะถูกส่งมาที่บ้านในทุกๆสัปดาห์
แล้วคอลัมน์ที่เธอเปิดอ่านเป็นประจำคือคอลัมน์ "วิธีจัดระเบียบบ้าน"
แม้ยังอ่านตัวอักษรใดๆ ไม่ออกก็ตาม
.
เธอได้ค้นคว้าเกี่ยวกับการจัดระเบียบบ้านอย่างจริงจังอีกครั้ง
หลังจากได้เจอหนังสือเล่มหนึ่งที่วางขายในตลาดชื่อว่า
"เทคนิคแห่งการทิ้ง 捨てる技術" ตอนเธออยู่ชั้นมัธยมต้น
.
หนังสือเล่มนี้ได้จุดประกายความหลงใหล
ในเรื่องการจัดระเบียบบ้านในตัวเธออีกครั้ง
ตั้งแต่นั้นมาเธอเริ่มกว้านหาหนังสือและ
ค้นคว้าทุกแหล่งความรู้เรื่องการจัดระเบียบที่มีในญี่ปุ่นทั้งหมด
ไม่มีหนังสือเล่มไหนพ้นสายตาเธอไปได้
และที่สำคัญไปยิ่งกว่านั้นคือ …
ทุกวันเธอ ลงมือปฏิบัติจริงๆ จังๆ กับการจัดระเบียบ
เริ่มจากห้องของเธอเอง ตามด้วยห้องพี่ชาย ห้องน้องสาว
ห้องต่างๆ ในบ้าน เช่นห้องครัว ห้องน้ำ ห้องของเพื่อนสนิท
ห้องเรียนที่โรงเรียน ทุกลมหายใจของเธอคือ
ความสุขจากการได้จัดระเบียบสิ่งรอบตัว
.
ตอนแรกเธอก็ไล่ทิ้งสิ่งของที่ไม่จำเป็น
ทั้งของตัวเองและของครอบครัวไปหมด
ทิ้งทุกอย่างที่ขวางหน้ารวมถึงของๆ คนอื่นด้วย
จนพ่อแม่ต้องออกคำสั่งห้าม "ไม่ให้จัดระเบียบบ้าน" อีก
.
จนวันนึงก็คิดได้ว่าพื้นฐานของการจัดระเบียบที่ดี
"ไม่ใช่การทิ้ง แต่ให้พิจารณาเลือกสิ่งของที่
เราอยากเก็บให้อยู่กับเราต่อไป อันไหนที่ไม่ได้ใช่ค่อยทิ้ง"
.
ตอนที่เธออยู่ ม.ปลายเธอก็มีโอกาสได้ทำงานพิเศษเป็น "มิโกะ"
หรือสาวผู้ทำงานเป็นสื่อกลางให้พระเจ้าที่ศาลเจ้า
ทำให้เธอก็ได้เรียนรู้ศาสตร์แห่งการขอบคุณต่อสิ่งของ
เพราะสิ่งของที่คนเอามาไหว้นั้นเราจะมองว่าเค้ามีชีวิต
คอนมาริก็เลยนำความรู้สึก "ปรารถนาดีและขอบคุณต่อสิ่งของ" นี้
มาใช้ในการจัดระเบียบบ้านด้วย นั่นทำให้เราสามารถทิ้งสิ่งของ
ได้ง่ายขึ้น เพราะเราสามารถลาขาดจากสิ่งของนั้นๆได้
ด้วยการรู้คุณค่าของมัน และกล่าวขอบคุณที่ของชิ้นนั้น
สร้างประโยชน์ให้เรามา
.
เธอเริ่มเป็นที่ปรึกษาในเรื่องการจัดระเบียบตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัย
และก็เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นเดียวกัน
.
เรืยกว่า หลงใหลจับใจ
อย่างที่ตัวเธอเองบอกกับคนหลายๆคนว่า
จะเรียกเธอว่า "ผู้คลั่งใคล้การจัดระเบียบ" ก็ได้
.
เมื่อจบมหาวิทยาลัยเธอได้เข้าทำงานในบริษัทจัดจ้างหางาน
ระหว่างทำงานเธอก็ได้มีโอกาสจัดระเบียบโต๊ะทำงานให้ลูกค้า
โดยเธอเสนอทำให้ฟรี เพราะใจรัก จนกลายเป็นที่เลื่องลือในหมู่ลูกค้า
ทำให้เธอตัดสินใจลาออกจากสาวออฟฟิศมาเป็นที่ปรึกษาการจัดระเบียบบ้าน
เพื่อที่จะได้ทำงานที่รักอย่างเต็มตัว
.
ช่วงที่ลาออกมาจากบริษัทแรกๆ
พยายามเปิดคอร์สสอนจัดระเบียบบ้าน
แทบไม่มีคนสนใจศาสตร์แห่งการจัดระเบียบเลยครับ
...คอร์สแรกที่เปิดสอนก็มีเพียงแค่สองคนเท่านั้น
แต่สิ่งที่เปลี่ยนเธอไปตลอดกาลคือ
คำๆ หนึ่งที่เธอนึกได้ระหว่างที่ให้คำปรึกษากับลูกค้าอยู่
คือคำว่า "Tokimeku" ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Spark Joy
คำนี้ใช้เพื่อพิจารณาว่าของสิ่งนั้นๆทำให้เรามีความสุขหรือประทับใจอยู่หรือไม่
.
นี่คือคำที่สร้างทัศนคติบวกเกี่ยวกับการจัดระเบียบสิ่งของ
เปลี่ยนความคิดเดิมๆ ว่า "จะทิ้งอะไรดี" เป็น
"อยากอยู่กับของชิ้นไหนไปตลอด"
.
แล้วคำนี้ก็ได้ผลครับ
คอนมาริเริ่มเขียนหนังสือซึ่งมาจากคำแนะนำของลูกค้า
ว่าอยากอ่านเทคนิคการจัดระเบียบของคอนมารีในรูปแบบหนังสือ
แล้วหนังสือเล่มนั้นก็กลายเป็นหนังสือ Bestseller
ขายได้ถล่มทลายเป็นประวัติการณ์
เพราะวิธีคิด และ Howto เรื่องการจัดระเบียบของเธอ
ที่สามารถเอาหลักในหนังสือไปใช้ได้ทันที เห็นผลจริง
.
ด้วยความร่วมมือและคำแนะนำของสำนักพิมพ์
หนังสือของเธอได้กลายเป็นเครื่องมือติดบ้านของทุกครอบครัว
หนังสือของเธอได้รับการแนะนำออกรายการทีวี
ฮิตขนาดขายได้เป็นแสนเล่มภายใน 1 เดือน
ได้รับการแปลและพิมพ์ขายหลายประเทศทั่วโลก
เช่น ไต้หวัน เกาหลี จีน เยอรมัน ฯลฯ
..ติดอันดับต้นๆ Bestseller ของแต่ละประเทศ
..จนเธอได้รับเลือกให้ตีพิมพ์ที่อเมริกาเป็นเล่มแรก
ของหนังสือในหมวด How-to สำหรับชีวิตประจำวัน
..หนังสือพิมพ์ The New York Times เอาไปเขียนเป็นข่าวใหญ่โต
จนฮิตไปทั่วประเทศ ขายได้ถึง 780,000 เล่มด้วยเวลาครึ่งปีในอเมริกา
..สำนักงานข่าวAP ลงข่าวไปทั่วโลก
...หนังสือของเธอได้เปลี่ยนพฤติกรรมการจัดระเบียบบ้าน
ของคนเป็นจำนวนมากจนคนยกย่องว่า
เธอคือผู้มีอิทธิพลต่อชีวิตของพวกเค้าคนนึง
.
ผมไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ระหว่างที่ได้ดูรายการ
ผมน้ำตาไหลโดยไม่รู้ตัว ขณะที่ผมเรียบเรียงเรื่องนี้ผมได้สัมผัส
ถึงความพยายามของผู้หญิงคนนึง
ที่หลงใหลคลั่งใคล้ในสิ่งที่ทำอยู่
และพยายามกระจายความรู้ที่มีไปถึงคนให้มากที่สุด
ขนาดตอนเธอได้รับเชิญไปพูดที่ Google
เธอยังพยายามใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารกับคนฟังเลย
เรียกได้ว่า จากใจถึงใจ
.
ถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้คุณอาจจะรู้สึกว่า
"ความหลงใหล" ในสิ่งที่รัก และลงมือทำ น่าจะเป็นเคล็ดลับแห่งความสำเร็จ
ใช่ครับ..เพียงแต่ว่าตอนนี้คุณเจอสิ่งที่หลงใหล
แล้วลงมือทำอย่างจริงจังหรือยัง?
ถ้ายัง..รีบตามหา แล้วลงมือทำ
ผมเป็นกำลังใจให้เช่นเคยครับ
www.facebook.com/JapanSalaryman
แหล่งที่มาข้อมูล รายการ 金スマ (Kinsuma)
https://www.youtube.com/watch?v=1vje-HVNbio
จากสาวออฟฟิศญี่ปุ่นธรรมดา สู่การรับเลือกจากนิตยสาร Times ให้เป็น "ผู้มีอิทธิพลของโลก 100 คน"
"100 ผู้มีอิทธิพลของโลก" จัดอันดับโดย Times
หญิงสาวญี่ปุ่นผู้สอนศาสตร์แห่งการจัดระเบียบไปทั่วโลก
.
.
จากสาวออฟฟิศธรรมดาๆ เมื่อ5ปีก่อน
สู่ผู้หญิงผู้ทรงอิทธิพลร้อยคนของโลก
"ชีวิตไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด แต่ต้องกล้าฝันและลงมือทำ"
.
โดยปกติแล้ว ถ้าในประเทศญี่ปุ่นเอง
คนที่ได้รับเลือกเป็นผู้ทรงอิทธิพลของโลกจาก Times
แต่ก่อนมีแต่คนสำคัญของประเทศเช่น
คุณ Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
คุณ Miyazaki Hayao ผู่ก่อตั้งและเจ้าของสตูดิโอจิบลิ
การ์ตูนญี่ปุ่นชื่อดังที่สร้างความฝันให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จนดังไปทั่วโลก
สำหรับฝรั่งและคนประเทศอื่นๆ ที่ได้รับเลือกก็เช่น
บารัค โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
สตีฟ จ็อบส์ ผู้เปลี่ยนวงการไอทีด้วยไอโฟน
ทุกคนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกทั้งนั้น
.
ทำไมสาวน้อยหน้าตาน่ารักอย่างเธอ
ถึงได้รับเลือกเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลของโลก
คุณสงสัยมั้ยครับ?
.
กว่าจะมาถึงจุดนี้ เรื่องราวชีวิตของเธอค่อนข้างน่าสนใจ
ค่อยๆ ติดตามกันไปนะครับ
.
คีย์เวิร์ดของความสำเร็จของเธอคือ
"หลงรักจับใจในศาสตร์ของการจัดระเบียบ
และมีความสุขทุกครั้งที่ได้ลงมือทำ"
.
Kondo Marie (คอนโดะ มาริเอะ)
(ต่อไปนี้ผมจะเรียกเธอว่า คอนมาริ)
เริ่มสนใจเรื่องการจัดระเบียบ ตั้งแต่วัยอนุบาล
ตอนที่เธอยังมีอายุเพียง 5 ขวบ เธอรู้สึกตื่นเต้น
และเฝ้ารอที่จะอ่านนิตยสารเล่มนึงที่จะถูกส่งมาที่บ้านในทุกๆสัปดาห์
แล้วคอลัมน์ที่เธอเปิดอ่านเป็นประจำคือคอลัมน์ "วิธีจัดระเบียบบ้าน"
แม้ยังอ่านตัวอักษรใดๆ ไม่ออกก็ตาม
.
เธอได้ค้นคว้าเกี่ยวกับการจัดระเบียบบ้านอย่างจริงจังอีกครั้ง
หลังจากได้เจอหนังสือเล่มหนึ่งที่วางขายในตลาดชื่อว่า
"เทคนิคแห่งการทิ้ง 捨てる技術" ตอนเธออยู่ชั้นมัธยมต้น
.
หนังสือเล่มนี้ได้จุดประกายความหลงใหล
ในเรื่องการจัดระเบียบบ้านในตัวเธออีกครั้ง
ตั้งแต่นั้นมาเธอเริ่มกว้านหาหนังสือและ
ค้นคว้าทุกแหล่งความรู้เรื่องการจัดระเบียบที่มีในญี่ปุ่นทั้งหมด
ไม่มีหนังสือเล่มไหนพ้นสายตาเธอไปได้
และที่สำคัญไปยิ่งกว่านั้นคือ …
ทุกวันเธอ ลงมือปฏิบัติจริงๆ จังๆ กับการจัดระเบียบ
เริ่มจากห้องของเธอเอง ตามด้วยห้องพี่ชาย ห้องน้องสาว
ห้องต่างๆ ในบ้าน เช่นห้องครัว ห้องน้ำ ห้องของเพื่อนสนิท
ห้องเรียนที่โรงเรียน ทุกลมหายใจของเธอคือ
ความสุขจากการได้จัดระเบียบสิ่งรอบตัว
.
ตอนแรกเธอก็ไล่ทิ้งสิ่งของที่ไม่จำเป็น
ทั้งของตัวเองและของครอบครัวไปหมด
ทิ้งทุกอย่างที่ขวางหน้ารวมถึงของๆ คนอื่นด้วย
จนพ่อแม่ต้องออกคำสั่งห้าม "ไม่ให้จัดระเบียบบ้าน" อีก
.
จนวันนึงก็คิดได้ว่าพื้นฐานของการจัดระเบียบที่ดี
"ไม่ใช่การทิ้ง แต่ให้พิจารณาเลือกสิ่งของที่
เราอยากเก็บให้อยู่กับเราต่อไป อันไหนที่ไม่ได้ใช่ค่อยทิ้ง"
.
ตอนที่เธออยู่ ม.ปลายเธอก็มีโอกาสได้ทำงานพิเศษเป็น "มิโกะ"
หรือสาวผู้ทำงานเป็นสื่อกลางให้พระเจ้าที่ศาลเจ้า
ทำให้เธอก็ได้เรียนรู้ศาสตร์แห่งการขอบคุณต่อสิ่งของ
เพราะสิ่งของที่คนเอามาไหว้นั้นเราจะมองว่าเค้ามีชีวิต
คอนมาริก็เลยนำความรู้สึก "ปรารถนาดีและขอบคุณต่อสิ่งของ" นี้
มาใช้ในการจัดระเบียบบ้านด้วย นั่นทำให้เราสามารถทิ้งสิ่งของ
ได้ง่ายขึ้น เพราะเราสามารถลาขาดจากสิ่งของนั้นๆได้
ด้วยการรู้คุณค่าของมัน และกล่าวขอบคุณที่ของชิ้นนั้น
สร้างประโยชน์ให้เรามา
.
เธอเริ่มเป็นที่ปรึกษาในเรื่องการจัดระเบียบตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัย
และก็เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นเดียวกัน
.
เรืยกว่า หลงใหลจับใจ
อย่างที่ตัวเธอเองบอกกับคนหลายๆคนว่า
จะเรียกเธอว่า "ผู้คลั่งใคล้การจัดระเบียบ" ก็ได้
.
เมื่อจบมหาวิทยาลัยเธอได้เข้าทำงานในบริษัทจัดจ้างหางาน
ระหว่างทำงานเธอก็ได้มีโอกาสจัดระเบียบโต๊ะทำงานให้ลูกค้า
โดยเธอเสนอทำให้ฟรี เพราะใจรัก จนกลายเป็นที่เลื่องลือในหมู่ลูกค้า
ทำให้เธอตัดสินใจลาออกจากสาวออฟฟิศมาเป็นที่ปรึกษาการจัดระเบียบบ้าน
เพื่อที่จะได้ทำงานที่รักอย่างเต็มตัว
.
ช่วงที่ลาออกมาจากบริษัทแรกๆ
พยายามเปิดคอร์สสอนจัดระเบียบบ้าน
แทบไม่มีคนสนใจศาสตร์แห่งการจัดระเบียบเลยครับ
...คอร์สแรกที่เปิดสอนก็มีเพียงแค่สองคนเท่านั้น
แต่สิ่งที่เปลี่ยนเธอไปตลอดกาลคือ
คำๆ หนึ่งที่เธอนึกได้ระหว่างที่ให้คำปรึกษากับลูกค้าอยู่
คือคำว่า "Tokimeku" ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Spark Joy
คำนี้ใช้เพื่อพิจารณาว่าของสิ่งนั้นๆทำให้เรามีความสุขหรือประทับใจอยู่หรือไม่
.
นี่คือคำที่สร้างทัศนคติบวกเกี่ยวกับการจัดระเบียบสิ่งของ
เปลี่ยนความคิดเดิมๆ ว่า "จะทิ้งอะไรดี" เป็น
"อยากอยู่กับของชิ้นไหนไปตลอด"
.
แล้วคำนี้ก็ได้ผลครับ
คอนมาริเริ่มเขียนหนังสือซึ่งมาจากคำแนะนำของลูกค้า
ว่าอยากอ่านเทคนิคการจัดระเบียบของคอนมารีในรูปแบบหนังสือ
แล้วหนังสือเล่มนั้นก็กลายเป็นหนังสือ Bestseller
ขายได้ถล่มทลายเป็นประวัติการณ์
เพราะวิธีคิด และ Howto เรื่องการจัดระเบียบของเธอ
ที่สามารถเอาหลักในหนังสือไปใช้ได้ทันที เห็นผลจริง
.
ด้วยความร่วมมือและคำแนะนำของสำนักพิมพ์
หนังสือของเธอได้กลายเป็นเครื่องมือติดบ้านของทุกครอบครัว
หนังสือของเธอได้รับการแนะนำออกรายการทีวี
ฮิตขนาดขายได้เป็นแสนเล่มภายใน 1 เดือน
ได้รับการแปลและพิมพ์ขายหลายประเทศทั่วโลก
เช่น ไต้หวัน เกาหลี จีน เยอรมัน ฯลฯ
..ติดอันดับต้นๆ Bestseller ของแต่ละประเทศ
..จนเธอได้รับเลือกให้ตีพิมพ์ที่อเมริกาเป็นเล่มแรก
ของหนังสือในหมวด How-to สำหรับชีวิตประจำวัน
..หนังสือพิมพ์ The New York Times เอาไปเขียนเป็นข่าวใหญ่โต
จนฮิตไปทั่วประเทศ ขายได้ถึง 780,000 เล่มด้วยเวลาครึ่งปีในอเมริกา
..สำนักงานข่าวAP ลงข่าวไปทั่วโลก
...หนังสือของเธอได้เปลี่ยนพฤติกรรมการจัดระเบียบบ้าน
ของคนเป็นจำนวนมากจนคนยกย่องว่า
เธอคือผู้มีอิทธิพลต่อชีวิตของพวกเค้าคนนึง
.
ผมไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ระหว่างที่ได้ดูรายการ
ผมน้ำตาไหลโดยไม่รู้ตัว ขณะที่ผมเรียบเรียงเรื่องนี้ผมได้สัมผัส
ถึงความพยายามของผู้หญิงคนนึง
ที่หลงใหลคลั่งใคล้ในสิ่งที่ทำอยู่
และพยายามกระจายความรู้ที่มีไปถึงคนให้มากที่สุด
ขนาดตอนเธอได้รับเชิญไปพูดที่ Google
เธอยังพยายามใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารกับคนฟังเลย
เรียกได้ว่า จากใจถึงใจ
.
ถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้คุณอาจจะรู้สึกว่า
"ความหลงใหล" ในสิ่งที่รัก และลงมือทำ น่าจะเป็นเคล็ดลับแห่งความสำเร็จ
ใช่ครับ..เพียงแต่ว่าตอนนี้คุณเจอสิ่งที่หลงใหล
แล้วลงมือทำอย่างจริงจังหรือยัง?
ถ้ายัง..รีบตามหา แล้วลงมือทำ
ผมเป็นกำลังใจให้เช่นเคยครับ
www.facebook.com/JapanSalaryman
แหล่งที่มาข้อมูล รายการ 金スマ (Kinsuma)
https://www.youtube.com/watch?v=1vje-HVNbio