พุทธวจน ! บุคคลผู้ฝึกตน แล้ว พึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปด้วยตนที่ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้ว ได้

กระทู้สนทนา
พุทธวจน


        
เราจักอดกลั้นซึ่งคำล่วงเกิน ดุจช้างอดทนซึ่งลูกศรที่ออก
                         มาจากแล่งในสงคราม ฉะนั้น เพราะคนทุศีลมีมาก ชน
                         ทั้งหลายย่อมนำสัตว์พาหนะที่ฝึกหัดแล้วไปสู่ที่ชุมนุม พระ
                         ราชาย่อมทรงพาหนะที่ได้ฝึกหัดแล้ว ในหมู่มนุษย์คนที่ได้
                         ฝึกแล้ว อดทนซึ่งคำล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐสุด ม้า
                         อัสดร ม้าอาชาไนย ม้าสินธพ และช้างกุญชรผู้มหานาค
                         ชนิดที่นายควาญฝึกแล้ว จึงเป็นสัตว์ประเสริฐ บุคคลผู้มีตน
                         อันฝึกแล้ว ประเสริฐกว่าพาหนะเหล่านั้น บุคคลผู้ฝึกตน
                         แล้ว พึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปด้วยตนที่ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้ว
                         ได้ ฉันใด บุคคลพึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปแล้วด้วยยาน
                         เหล่านี้ ฉันนั้น หาได้ไม่ กุญชรนามว่า ธนปาลกะ ผู้ตก
                         มันจัด ห้ามได้ยาก เขาผูกไว้แล้ว ย่อมไม่บริโภคอาหาร
                         กุญชรย่อมระลึกถึงป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง เมื่อใด บุคคลเป็น
                         ผู้บริโภคมาก มักง่วงซึม นอนหลับ พลิกกลับไปมา ดุจ
                         สุกรใหญ่อันบุคคลปรนปรือด้วยเหยื่อ เมื่อนั้น บุคคลนั้น
                         เป็นคนเขลาเข้าห้องบ่อยๆ จิตนี้ได้เที่ยวไปสู่ที่จาริกตาม
                         ความปรารถนา ตามความใคร่ ตามความสุข ในกาลก่อน
                         วันนี้ เราจักข่มจิตนั้นโดยอุบายอันแยบคาย ดุจนายควาญ
                         ช้างผู้ถือขอข่มช้างผู้ตกมัน ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดี
                         ในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้น
                         จากหล่มคือกิเลสที่ถอนได้ยาก ดุจกุญชรผู้จมแล้วในเปือกตม
                         ถอนตนขึ้นได้ ฉะนั้น ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญา
                         รักษาตน ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็น
                         นักปราชญ์ไซร้ บุคคลนั้นพึงครอบงำอันตรายทั้งปวง มีใจ
                         ชื่นชม มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น ถ้าว่าบุคคลไม่พึงได้
                         สหายผู้มีปัญญารักษาตน ผู้เที่ยวไปด้วยกันมีปกติอยู่ด้วย
                         กรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ บุคคลนั้นพึงเที่ยวไปผู้เดียว
                         ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้น อันพระองค์ทรงชนะ แล้วเสด็จ
                         เที่ยวไปพระองค์เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะละโขลงเที่ยวไป
                         ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปของบุคคลผู้เดียวประเสริฐ
                         กว่า เพราะความเป็นสหายไม่มีในเพราะชนพาล บุคคลพึง
                         เที่ยวไปผู้เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะ มีความขวนขวายน้อย
                         เที่ยวไปในป่า และไม่พึงทำบาปทั้งหลาย สหายทั้งหลาย
                         เมื่อความต้องการเกิดขึ้น นำความสุขมาให้ ความยินดีด้วย
                         ปัจจัยตามมีตามได้ นำมาซึ่งความสุข บุญนำความสุขมา
                         ให้ในเวลาสิ้นชีวิต การละทุกข์ได้ทั้งหมดนำมาซึ่งความสุข
                         ความเป็นผู้เกื้อกูลมารดานำมาซึ่งความสุขในโลก ความเป็น
                         ผู้เกื้อกูลบิดานำมาซึ่งความสุข ความเป็นผู้เกื้อกูลสมณะนำ
                         มาซึ่งความสุขในโลกและความเป็นผู้เกื้อกูลพราหมณ์นำมาซึ่ง
                         ความสุขในโลก ศีลนำมาซึ่งความสุขตราบเท่าชรา ศรัทธา
                         ตั้งมั่นแล้วนำมาซึ่งความสุข การได้เฉพาะซึ่งปัญญานำมาซึ่ง
                         ความสุข การไม่ทำบาปทั้งหลายนำมาซึ่งความสุข ฯ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่