ถึงเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ๒ "ประชาธิปไตยไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่"

กระทู้สนทนา
อ่านบทความของคุณเนาวรัตน์ระยะหลังๆ นี่ชักจะยังไงๆ   คือไม่แน่ใจว่าผู้อ่านคือตัวผมเองเพี้ยนผิดแปลกไปหรือคนเขียนคือคุณเนาวรัตน์เพี้ยนกันแน่??   อย่างอันล่าสุด “ประชาธิปไตยไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่”??  คุณเนาวรัตน์เขียนแจกแจงความหมายของศัพท์อย่างดี  ขึ้นต้นท่านก็แปลตามศัพท์ให้ว่า “อำนาจประชาชนเป็นใหญ่”   จากนั้นก็ชักแม่น้ำทั้งห้า(เพื่อเขียนให้เต็มกรอบคอลัมน์ที่เขาให้โควต้า??) แล้วมาตบท้ายด้วยประโยคว่า “โปรดฟังอีกครั้ง” ว่า ไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่โดยแท้......??   มันออกจะขัดแย้งกันอยู่นะท่าน      นอกเหนือจากที่ต้องเขียนให้เต็มหน้าคอลัมน์แล้ว  ผมไม่เข้าใจและมองไม่เห็นความจำเป็นอะไรเลยที่คุณเนาวรัตน์จะต้องมาอธิบายชี้แจงความหมายของคำว่าประชาธิปไตยด้วยตรรกะเพี้ยนๆ และขัดแยังกันเองในระหว่างบรรทัดอย่างนี้??  


คือมันเป็นคำสองคำที่นำมาสนธิกันแบบง่ายๆ  คือ ประชา + อธิปเตยฺย    = ประชาธิปไตย  เช่นนี้จะไม่ให้แปลว่าประชาชนเป็นใหญ่จะให้แปลว่าอย่างไร? อย่างคำว่า “ราชาธิปไตย” คุณจะให้แปลว่าอย่างไร?  ส่วนไอ้คำว่า “ปรารภ” (ความเป็นใหญ่) นั้น   คุณเนาวรัตน์ก็ช่างสรรหาคำมาสอดแทรกทำเรื่องง่ายๆ ให้เป็นเรื่องยากแล้วตีความหมายผิดแผกไป    คำว่าอธิปไตยนั้นแปลว่า “ความเป็นใหญ่”   เห็นมีในหนังสือธรรมวิภาค (นักธรรมชั้นโท) ของท่านพระครูสังฆกิจวิสุทธิ์ ในหมวด ๓ เท่านั้นแหละที่พูดถึงคำว่า “ปรารภ” นิดหน่อย  แต่ถัดลงไปไม่กี่บรรทัดท่านก็อธิบายว่าก็คือการเป็นใหญ่อยู่ดี   ไม่เข้าใจว่าคุณเนาวรัตน์ไปคว้าเอาคำว่าปรารภ คำว่าโลกีย์ มาอธิบายให้มันซับซ้อนลงไปอีกทำไม?  อย่าลืมว่าเป็นถึงศิลปินด้านภาษาระดับชาติ???


การที่จะตีความหมายของคำต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั้นตั้งอยู่บนฐานที่เรียกการใช้ “มโนทัศน์”  มโนทัศน์ที่จะใช้ตีความหมายในแต่ละคำของมนุษย์มีอยู่สองประเภทคือ  มโนทัศน์เดี่ยว(Single Vision)  และ มโนทัศน์รวม(Multi Vision)    คำบางคำมีความหมายอยู่ในตัวมันเองโดยไม่ต้องหาคำอธิบายอื่นมาเสริมให้ยุ่งยาก เช่นคำว่า  แดง  กลม  เปรี้ยว  ฯลฯ  คำเหล่านี้เราใช้มโนทัศน์เดี่ยวตีความหมายก็รับรู้ได้ทันที  เช่นถามว่ากลมคืออะไร?  คำตอบก็คือกลม   ส่วนคำที่เราต้องใช้มโนทัศน์รวมตีความหมายก็คือคำนามต่างๆ เช่น ว่า สะพาน  โรงเรียน  วัด ฯลฯ   เช่นเมื่อถามว่า วัดคืออะไร   คนที่จะตอบ(คือตีความหมายของคำว่าวัด)ก็ตอบบนพื้นฐานของมโนทัศน์รวม(กระบวนการคิด) เช่นว่า  วัดคือสถานที่พระสงฆ์อาศัย ซึ่งนั่นก็ถูก  หรือหากจะตอบไปแบบก็ได้ว่าวัดคือสถานที่สาธารณะ  และนั่นก็ถูกอีกเช่นกัน  อันนี้เขาเรียกว่าการใช้มโนทัศน์รวมตีความหมายของคำๆ หนึ่ง   เหมือนนิทานเรื่องตาบอดคลำช้างนั่นแหละครับ  คลำช้างตัวเดียวกัน  แต่ตีความหมายไปคนละแบบ


คำว่าประชาธิปไตย  นี่ก็เช่นกัน....คุณเนาวรัตน์ใช้มโนทัศน์รวม(ของคุณเนาวรัตน์เอง)ตีความหมายแบบชักแม่น้ำทั้งห้าที่เต็มไปด้วยผักบุ้งโหรงเหรงอย่างนี้น่าเป็นห่วงไม่น้อย    แน่ล่ะ...คนตาบอดคลำช้างเสร็จแล้วมาอธิบายลักษณะของช้างตามที่ตัวเองเห็นด้วยมโนทัศน์ไม่ผิดฉันใด   คุณเนาวรัตน์เองก็ไม่ผิดฉันนั้นที่ตีความหมายคำว่าประชาธิปไตยตามมโนทัศน์ของคุณ   แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือสถานะของคุณเนาวรัตน์ที่เป็นถึงสปช. และเป็นถึงกวีเอก  ซึ่งเป็นที่น่าเชื่อว่าแตกฉานเรื่องศัพท์และความหมาย   แล้วจู่ๆ ก็มาตีความหมายคำว่าประชาธิปไตยซะอย่างนี้เสียแล้ว.....น่าเป็นห่วงจริงๆ


คุณเนาวรัตน์ขอรับ...คนทั่วๆ ไปเขาก็รู้กันทั้งนั้นล่ะว่าคุณมีจุดยืนทางการเมืองอย่างไร   และก็ไม่เป็นที่น่าจะแปลกอะไร ที่จู่ๆ คุณก็มาตีความหมายคำว่าประชาธิปไตยเพี้ยนๆ อย่างนี้   นี่ก็เท่ากับว่าคุณกำลังตอกย้ำมุมมองของคุณที่เป็น “ทิฏฐุปาทาน” (แปลว่าอย่างไรลองค้นเอานะครับคุณเนาวรัตน์)ให้หนักแน่นลงไปอีก......




http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1437560777
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่