.
ในทางธรรมไม่มีคำประชาธิปไตย แต่มีคำจำเพาะที่มีลักษณะรูปเสียงและการแปลความหมายใกล้เคียงกับคำว่าประชาธิปไตยอยู่ 3คำ คือ
อัตตาธิปไตย หมายถึง ปรารภโดยเอาตนเป็นหลัก
โลกาธิปไตย หมายถึง ปรารภโดยเอาโลกเป็นหลัก
ธัมมาธิปไตย หมายถึง ปรารภโดยเอาธรรมเป็นหลัก
และคำว่าประชาธิปไตย ซึ่งเป็นคำที่นิยามขึ้นใหม่ เมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมาไม่ได้มีอายุยาวนานมาก่อนเหมือนคำจากพระพุทธศาสนาที่มีบัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกเมื่อสองพันปีก่อน หากใช้บริบทเดียวกับทางธรรมตีความหมาย ก็จะได้ความหมายว่า
ปรารภโดยเอาประชาชนเป็นหลัก
และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมประชาธิปไตยของไทยที่รับเอาระบอบการปกครองนี้มาจากอารยประเทศที่เจริญก้าวหน้ากว่าเราในยุคเกือบร้อยปีก่อน ก็สะท้อนให้เห็นได้ว่า
ประเทศของเรายังตีความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย ไม่ตรงความหมายที่มันควรจะเป็น เพราะที่ผ่านมาเราถูกชนบางกลุ่มเบี่ยงเบนความหมายด้วยการยอมให้ชนบางกลุ่มเหล่านั้นใช้ อัตตาธิปไตย แบบผิดๆ คือเอา
อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) มาเป็นหลักแทนอัตตาทั้งหมด เพราะความหมายที่แท้จริงของอัตตา หมายถึง
ความถือตนเป็นใหญ่ จะทำอะไรก็นึกถึงตน คำนึงถึงฐานะเกียรติศักดิ์ศรี หรือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ ใช้คำว่าอัตตาโดยตกหล่นจุดสำคัญที่สุดไป คือ พึงใช้แต่ในขอบเขตที่เป็นความดี
ทุกวันนี้ระบอบประชาธิปไตยของเราเลยดูแปลกประหลาด ไม่เป็นสากล เพราะคนบางกลุ่มนั้น เห็นว่าหากพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยไปในรูปแบบของสากลนั้นจะเป็นอุปสรรคในการครองอำนาจของตน จึงเลือกที่จะไม่สนหลักโลกาธิปไตย และใช้คำว่าแบบไทย-ไทย มาอ้างเป็นความชอบธรรมแทน
และที่แย่ที่สุด คือระบอบประชาธิปไตยที่ถูกบิดเบือนด้วยอัตตาหรืออัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)ของใครบางคนหรือบางกลุ่มชี้นำมาตลอดจนในที่สุดจึงขาด ธัมมาธิปไตย หรือหลักความเป็นธรรมในระบอบการปกครองของชาติเรา
คำถาม คือ
เมื่อรู้แล้ว เห็นแล้ว จากความหมายทางธรรม เราประชาชนคนไทยจะทำอย่างไรได้ ให้ประชาธิปไตยของประเทศเราคืนสู่ความหมายที่แท้จริง..?
คำตอบ ก็ง่ายๆ คือเหตุเกิดที่ไหนก็จัดการแก้ไขตรงนั้น หากอัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)ของใครบางคนหรือบางกลุ่มเป็นปัญหา ก็หาทางแก้ไขตรงนี้เสีย
แต่ในความเป็นจริง เป็นสิ่งที่ทำได้ยากหรือไม่มีทางทำได้เลย หากประชาชนอย่างเรา
ไม่ได้สำนึกว่าอำนาจที่แท้จริงเป็นของเรามิใช่ของคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด อย่างที่ถูกบิดเบือนความหมายมาช้านาน
และก็ยังมีวีธีที่เราทำได้โดยการแสดงพลังตามกติกา ทุกท่านคงรู้ว่าการแสดงพลังตามกติกาของระอบประชาธิปไตยทำเช่นไร ประชามติครั้งที่จะมาถึงนี้ ก็จงร่วมกันแสดงพลังให้เห็นว่า ประชาชนอย่างเราต้องการอย่างไรกับระอบการปกครองของเรา สิทธิ เสรีภาพของเราจะใช้เอง หรือยกให้ใครทำหน้าที่แทน ก็ไปตัดสินกันตามกติกา และหากเสียงส่วนใหญ่ว่าอย่างไร คนที่ศรัทธาในการตัดสินใจของคนส่วนใหญ่อย่างผม พร้อมจะยอมรับแต่โดยดีอยู่แล้ว
ปล.เนื่องจากเวลาไม่ค่อยมีให้คิดมากนัก จึงทำให้เขียนเรื่องนี้ได้เนื้อหาไม่มากนัก เลยไม่กล้าใช้ำคำว่าบทความตามที่คิดตั้งใจจะเขียน ทั้งที่จริงตั้งใจจะค้นหาพระธรรมเทศนาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาประกอบด้วย แต่จนใจที่เขียนขณะที่ยังทำงานอยู่ต่างจังหวัด แต่สิ่งที่คิดจะนำมาอ้างอิงนั้นอยู่ในหนังสือที่เคยอ่าน ดันอยู่ที่บ้าน เนื้อหาในกะทู้นี้ก็เลยเหลือแค่ประเด็นสำคัญที่อยากจะสื่อความหมายให้ผู้อ่านได้อ่านแค่นี้ครับ
ขอบคุณครับ
นายพระรอง
(นายพระรอง) รู้จัก อัตตวาทุปาทาน ตัวการทำลายประชาธิปไตยไทย
ในทางธรรมไม่มีคำประชาธิปไตย แต่มีคำจำเพาะที่มีลักษณะรูปเสียงและการแปลความหมายใกล้เคียงกับคำว่าประชาธิปไตยอยู่ 3คำ คือ
อัตตาธิปไตย หมายถึง ปรารภโดยเอาตนเป็นหลัก
โลกาธิปไตย หมายถึง ปรารภโดยเอาโลกเป็นหลัก
ธัมมาธิปไตย หมายถึง ปรารภโดยเอาธรรมเป็นหลัก
และคำว่าประชาธิปไตย ซึ่งเป็นคำที่นิยามขึ้นใหม่ เมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมาไม่ได้มีอายุยาวนานมาก่อนเหมือนคำจากพระพุทธศาสนาที่มีบัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกเมื่อสองพันปีก่อน หากใช้บริบทเดียวกับทางธรรมตีความหมาย ก็จะได้ความหมายว่า ปรารภโดยเอาประชาชนเป็นหลัก
และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมประชาธิปไตยของไทยที่รับเอาระบอบการปกครองนี้มาจากอารยประเทศที่เจริญก้าวหน้ากว่าเราในยุคเกือบร้อยปีก่อน ก็สะท้อนให้เห็นได้ว่า ประเทศของเรายังตีความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย ไม่ตรงความหมายที่มันควรจะเป็น เพราะที่ผ่านมาเราถูกชนบางกลุ่มเบี่ยงเบนความหมายด้วยการยอมให้ชนบางกลุ่มเหล่านั้นใช้ อัตตาธิปไตย แบบผิดๆ คือเอา อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) มาเป็นหลักแทนอัตตาทั้งหมด เพราะความหมายที่แท้จริงของอัตตา หมายถึง ความถือตนเป็นใหญ่ จะทำอะไรก็นึกถึงตน คำนึงถึงฐานะเกียรติศักดิ์ศรี หรือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ ใช้คำว่าอัตตาโดยตกหล่นจุดสำคัญที่สุดไป คือ พึงใช้แต่ในขอบเขตที่เป็นความดี
ทุกวันนี้ระบอบประชาธิปไตยของเราเลยดูแปลกประหลาด ไม่เป็นสากล เพราะคนบางกลุ่มนั้น เห็นว่าหากพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยไปในรูปแบบของสากลนั้นจะเป็นอุปสรรคในการครองอำนาจของตน จึงเลือกที่จะไม่สนหลักโลกาธิปไตย และใช้คำว่าแบบไทย-ไทย มาอ้างเป็นความชอบธรรมแทน
และที่แย่ที่สุด คือระบอบประชาธิปไตยที่ถูกบิดเบือนด้วยอัตตาหรืออัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)ของใครบางคนหรือบางกลุ่มชี้นำมาตลอดจนในที่สุดจึงขาด ธัมมาธิปไตย หรือหลักความเป็นธรรมในระบอบการปกครองของชาติเรา
คำถาม คือ เมื่อรู้แล้ว เห็นแล้ว จากความหมายทางธรรม เราประชาชนคนไทยจะทำอย่างไรได้ ให้ประชาธิปไตยของประเทศเราคืนสู่ความหมายที่แท้จริง..?
คำตอบ ก็ง่ายๆ คือเหตุเกิดที่ไหนก็จัดการแก้ไขตรงนั้น หากอัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)ของใครบางคนหรือบางกลุ่มเป็นปัญหา ก็หาทางแก้ไขตรงนี้เสีย
แต่ในความเป็นจริง เป็นสิ่งที่ทำได้ยากหรือไม่มีทางทำได้เลย หากประชาชนอย่างเรา ไม่ได้สำนึกว่าอำนาจที่แท้จริงเป็นของเรามิใช่ของคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด อย่างที่ถูกบิดเบือนความหมายมาช้านาน
และก็ยังมีวีธีที่เราทำได้โดยการแสดงพลังตามกติกา ทุกท่านคงรู้ว่าการแสดงพลังตามกติกาของระอบประชาธิปไตยทำเช่นไร ประชามติครั้งที่จะมาถึงนี้ ก็จงร่วมกันแสดงพลังให้เห็นว่า ประชาชนอย่างเราต้องการอย่างไรกับระอบการปกครองของเรา สิทธิ เสรีภาพของเราจะใช้เอง หรือยกให้ใครทำหน้าที่แทน ก็ไปตัดสินกันตามกติกา และหากเสียงส่วนใหญ่ว่าอย่างไร คนที่ศรัทธาในการตัดสินใจของคนส่วนใหญ่อย่างผม พร้อมจะยอมรับแต่โดยดีอยู่แล้ว
ปล.เนื่องจากเวลาไม่ค่อยมีให้คิดมากนัก จึงทำให้เขียนเรื่องนี้ได้เนื้อหาไม่มากนัก เลยไม่กล้าใช้ำคำว่าบทความตามที่คิดตั้งใจจะเขียน ทั้งที่จริงตั้งใจจะค้นหาพระธรรมเทศนาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาประกอบด้วย แต่จนใจที่เขียนขณะที่ยังทำงานอยู่ต่างจังหวัด แต่สิ่งที่คิดจะนำมาอ้างอิงนั้นอยู่ในหนังสือที่เคยอ่าน ดันอยู่ที่บ้าน เนื้อหาในกะทู้นี้ก็เลยเหลือแค่ประเด็นสำคัญที่อยากจะสื่อความหมายให้ผู้อ่านได้อ่านแค่นี้ครับ
ขอบคุณครับ
นายพระรอง