อย่างไหน ดู
เจตภูต สภาพเป็นผู้คิดอ่าน,
ตามที่เข้าใจกัน หมายถึงดวงวิญญาณหรือดวงชีพอันเที่ยงแท้ที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ และเป็นตัวไปเกิดใหม่เมื่อกายนี้แตกทำลาย
เป็นคำที่ไทยเราใช้เรียกแทนคำว่า อาตมัน หรือ อัตตา ของลัทธิพราหมณ์ และเป็นความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 13
ชีโว ผู้เป็น, ดวงชีพ ตรงกับ อาตมัน หรือ อัตตา ของลัทธิพราหมณ์
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 13
ปรมาตมัน อาตมันสูงสุด หรออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือ บรมอัตตา) เป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิดผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจากปรมาตมันนั้นเอง เมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไป สิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่ หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรือนใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน และเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป;
ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือ พรหมัน นั่นเอง
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 4 / 13
ภวทิฏฐิ ความเห็นเนื่องด้วยภพ,
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมีอยู่คงอยู่เที่ยงแท้ตลอดไป เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 5 / 13
สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป
เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง;
ตรงข้ามกับ อุจเฉททิฏฐิ
(ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๒)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 6 / 13
อธิปเตยยะ, อธิปไตย ความเป็นใหญ่ มี ๓ อย่าง คือ
๑. อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่
๒. โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่
๓. ธัมมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 7 / 13
อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา,
ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ
๑. เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ
๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง
๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ
๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นตามธรรมดาของมัน เช่น ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ
๕. โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา;
ดู ทุกขลักษณะ, อนิจจลักษณะ
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 8 / 13
อนัตตา ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน;
ดู อนัตตลักษณะ
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 9 / 13
อัตตวาทุปาทาน การถือมั่นวาทะว่าตน
คือ ความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่า นั่นนี่เป็นตัวตน
เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา,
อย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก
(ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 10 / 13
อัตตา ตัวตน, อาตมัน;
ปุถุชนย่อมยึดมั่น มองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่า อัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง;
เทียบ อนัตตา
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 11 / 13
อัตตาธิปเตยยะ ดู อัตตาธิปไตย
อัตตาธิปไตย ความถือตนเป็นใหญ่ จะทำอะไรก็นึกถึงตน คำนึงถึงฐานะเกียรติศักดิ์ศรี หรือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ,
พึงใช้แต่ในขอบเขตที่เป็นความดี คือ เว้นชั่วทำดีด้วยเคารพตน
(ข้อ ๑ ในอธิปไตย ๓)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 12 / 13
อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่าเป็นตัวตน
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 13 / 13
อาตมัน ตัวตน, คำสันสกฤต ตรงกับบาลีคือ อัตตา
ถ้าอัตตาคืออย่างนี้ นิพพาน ก็ไม่ได้เป็นอย่างนี้แน่นอน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
คนโง่เขลา มักเห็นเนื้อความอันมีความหมายตั้งร้อย ทรงไว้ซึ่งลักษณะ
ตั้งร้อย ว่ามีความหมายและลักษณะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนคนฉลาด
ย่อมเห็นได้ตั้งร้อยอย่าง.
ส่วนนิพพานเป็นอัตตาแบบไหน กระทู้หน้าค่อยมาว่ากัน
อิ อิ อิ
นิพพาน ไม่ได้เป็น อัตตา อย่างนี้
เจตภูต สภาพเป็นผู้คิดอ่าน,
ตามที่เข้าใจกัน หมายถึงดวงวิญญาณหรือดวงชีพอันเที่ยงแท้ที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ และเป็นตัวไปเกิดใหม่เมื่อกายนี้แตกทำลาย
เป็นคำที่ไทยเราใช้เรียกแทนคำว่า อาตมัน หรือ อัตตา ของลัทธิพราหมณ์ และเป็นความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 13
ชีโว ผู้เป็น, ดวงชีพ ตรงกับ อาตมัน หรือ อัตตา ของลัทธิพราหมณ์
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 13
ปรมาตมัน อาตมันสูงสุด หรออัตตาสูงสุด (บรมอาตมัน หรือ บรมอัตตา) เป็นสภาวะแท้จริง และเป็นจุดหมายสูงสุดตามหลักความเชื่อของศาสนาฮินดู (เดิมคือศาสนาพราหมณ์) ซึ่งถือว่า ในบุคคลแต่ละคนนี้ มีอาตมัน คือ อัตตาหรือตัวตน สิงสู่อยู่ครอง เป็นสภาวะเที่ยงแท้ถาวรเป็นผู้คิดผู้นึก ผู้เสวยเวทนา เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่แบ่งภาคออกมาจากปรมาตมันนั้นเอง เมื่อคนตาย อาตมันนี้ออกจากร่างไป สิงอยู่ในร่างอื่นต่อไป เหมือนถอดเสื้อผ้าเก่าสวมเสื้อผ้าใหม่ หรือออกจากเรือนเก่าไปอยู่ในเรือนใหม่ ได้เสวยสุขหรือทุกข์ เป็นต้น สุดแต่กรรมที่ได้ทำไว้ เวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปรมาตมัน และเข้าถึงความบริสุทธิ์จากบาปโดยสิ้นเชิง จึงจะได้กลับเข้ารวมกับปรมาตมันดังเดิม ไม่เวียนตายเวียนเกิดอีกต่อไป;
ปรมาตมันนี้ ก็คือ พรหม หรือ พรหมัน นั่นเอง
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 4 / 13
ภวทิฏฐิ ความเห็นเนื่องด้วยภพ,
ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมีอยู่คงอยู่เที่ยงแท้ตลอดไป เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 5 / 13
สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป
เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง;
ตรงข้ามกับ อุจเฉททิฏฐิ
(ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๒)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 6 / 13
อธิปเตยยะ, อธิปไตย ความเป็นใหญ่ มี ๓ อย่าง คือ
๑. อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่
๒. โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่
๓. ธัมมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 7 / 13
อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา,
ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ
๑. เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ
๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง
๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ
๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นตามธรรมดาของมัน เช่น ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ
๕. โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา;
ดู ทุกขลักษณะ, อนิจจลักษณะ
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 8 / 13
อนัตตา ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน;
ดู อนัตตลักษณะ
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 9 / 13
อัตตวาทุปาทาน การถือมั่นวาทะว่าตน
คือ ความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่า นั่นนี่เป็นตัวตน
เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา,
อย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก
(ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 10 / 13
อัตตา ตัวตน, อาตมัน;
ปุถุชนย่อมยึดมั่น มองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่า อัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง;
เทียบ อนัตตา
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 11 / 13
อัตตาธิปเตยยะ ดู อัตตาธิปไตย
อัตตาธิปไตย ความถือตนเป็นใหญ่ จะทำอะไรก็นึกถึงตน คำนึงถึงฐานะเกียรติศักดิ์ศรี หรือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ,
พึงใช้แต่ในขอบเขตที่เป็นความดี คือ เว้นชั่วทำดีด้วยเคารพตน
(ข้อ ๑ ในอธิปไตย ๓)
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 12 / 13
อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่าเป็นตัวตน
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 13 / 13
อาตมัน ตัวตน, คำสันสกฤต ตรงกับบาลีคือ อัตตา
ถ้าอัตตาคืออย่างนี้ นิพพาน ก็ไม่ได้เป็นอย่างนี้แน่นอน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
คนโง่เขลา มักเห็นเนื้อความอันมีความหมายตั้งร้อย ทรงไว้ซึ่งลักษณะ
ตั้งร้อย ว่ามีความหมายและลักษณะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนคนฉลาด
ย่อมเห็นได้ตั้งร้อยอย่าง.
ส่วนนิพพานเป็นอัตตาแบบไหน กระทู้หน้าค่อยมาว่ากัน
อิ อิ อิ