ยุบ สมศ. กับ เปลี่ยนทีมบริหาร อะไร? น่าจะดีกว่ากัน

วันนี้ผมเห็นด้วยว่าที่บอกไว้ แต่เมื่อยุบไม่ได้ เราสามารถเปลี่ยนบอร์ดบริหาร หรือ ผู้ที่สามารถบริหาร ได้ ใช่หรือไม่? เพราะที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นว่า ในช่วงที่ผ่านมาการบริหารและจัดการงาน ปัญหาถูกสั่งสมขึ้นมาจนน่าจะเป็นนิยามของ “การไร้ซึ่งทัศนคติที่ดีและพึงมีต่อองค์การ”  ความน่าเกรงขามขององค์การถูกพัฒนาทัศนคติที่ลดลงจากผู้บริหารรุ่นเดิมที่สร้างค่านิยมไว้เป็นอย่างดี ทั้งในสื่อ Socail และ ทัศนคติของผู้ประกอบวิชาชีพครู ที่เข้าใจ หรือ ไม่เข้าใน ต่อองค์กรที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

หากสามารถแนะนำได้ ในฐานะประชาชนคนไทยและมีความรู้เพียงน้อยนิด การแก้ไขเบื้องต้นอาจลองให้ผู้อื่นที่มีคุณสมบัติและความสามารถเหมาะสม(กว่า) มาปฏิบัติงาน สิ่งที่เป็นปัญหา อาจเป็นสิ่งที่ดีขึ้นและเห็นช่องทางขึ้น หากไม่ยึดติดกับตำแหน่ง เพราะถึงแม้การลาออกจะไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุด แต่ในฐานะผู้นำองค์กร ที่ไม่ใช่เจ้าของกิจการทางธุรกิจ การเสียสละน่าจะเป็นบทพิสูจน์ของความจริงใจ ซึ่งในต่างประเทศหลายๆ ประเทศที่มีการพัฒนา เมื่อองค์กรเกิดปัญหา ผู้นำต้องรับผิดชอบ ...อย่างน้อยก็ยังเป็นที่ปรึกษาได้ในฐานะผู้มีประสบการณ์ และ ต่อสู้กับองค์กรนี้มานาน และ บอร์ดบริหารที่เปลี่ยนแปลง ก็ใช่ว่าจะถูกให้ออกจากระบบการศึกษาไปเสียเมื่อใหร่? การลาออกทั้งคณะเปลี่ยนแปลง อาจเป็นแนวทางที่น่าสนใจ  เหมือนครั้งที่ผมเคยไปสอบทำงานที่ สมศ. คุณนาวิน อดีตรอง ผอ. หรือ  ผศ.จำรูญ ที่ปรึกษา เคยกล่าวไว้ในการสอบผู้ที่จะเข้าปฎิบัติงาน สม.ศ ที่ คุ้งน้ำ รีสอร์ท 1 ครั้ง และ บ้านอัมพวา 2 ครั้ง ว่า  “บางคนอาจจะเก่งเกินไป บางคนอาจจะเป็นแหวนน๊อตที่มีคุณภาพเกินไป เป็นเหล็กที่ดีเกินไป อาจจะไม่เหมาะสมกับน๊อตขององค์กรที่มี  เราควรหาน๊อตที่เหมาะสมกับองค์กร เพื่อทำงานขับเคลื่อนองค์กรไปให้ได้อย่างเป็นทีม” ... ผมว่าใช่เลย
และเมื่อได้อ่านบทความการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เหยื่อการศึกษาด้อยคุณภาพ” ในการประชุมเครือข่ายคุณภาพการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า 3  ปัจจัยหลักฉุดการศึกษาด้อยคุณภาพ ที่ย้ำว่า สมศ.ต้องอยู่ช่วยตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค จึงเป็นเหตุอย่างยิ่งว่า ไม่ควรยุบ สมศ. เพราะ
สาเหตุหลัก 3 ปัจจัยที่ทำให้การศึกษาด้อยคุณภาพอยู่ในขณะนี้ มาจาก
1. การขาดความต่อเนื่องในเชิงนโยบาย เพราะที่ผ่านมาเปลี่ยนตัว รมว.ศึกษาธิการบ่อยมาก ทำให้นโยบายเปลี่ยนแปลงตลอด
2. ขาดการควบคุมเชิงปริมาณ ทำให้มีสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษาเปิดสอนจำนวนมาก ดูได้จากการจัดการศึกษานอกที่ตั้ง ซึ่งมหาวิทยาลัยบางแห่งมีศูนย์นอกที่ตั้งมากถึง 200 แห่ง
3. ขาดการกำกับเชิงคุณภาพจากส่วนกลาง ทำให้ขณะนี้ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่ามีเปิดสอนกี่หลักสูตร มีอาจารย์สอนกี่คน ทั้งนี้ บางมหาวิทยาลัยใช้ชื่ออาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาดึงนักศึกษาเข้าเรียน แต่เวลาสอนจริงกลับไม่มีอาจารย์คนดังกล่าวมาสอน ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ที่ผ่านมา สมศ.ได้รับร้องเรียนจากนักศึกษาจำนวนมาก ซึ่งสถาบันการศึกษาต้องรับผิดชอบ และขจัดปัญหานี้ให้หมดไปโดยเร็ว อย่างไรก็ตามฝากถึงนักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครองว่า การเลือกเข้าเรียนต่อในสถาบันการศึกษาแห่งใดนั้น ต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันให้ถี่ถ้วนก่อน เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อทางการศึกษาที่ด้อยคุณภาพ โดยต้องดูหลักสูตรว่าผ่านการรับรองหรือไม่ ผลการประเมินสถานศึกษา ทั้งภายในและภายนอกเป็นอย่างไร รายชื่ออาจารย์ผู้สอนมีอยู่จริงหรือไม่ เพราะอาจารย์บางคนเสียชีวิตไปแล้ว แต่ชื่อยังอยู่ นอกจากนี้ควรดูสัดส่วนระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา เนื่องจากมหาวิทยาลัยบางแห่งอาจารย์ 1 คน ดูแลนักศึกษา 100 คน ที่สำคัญต้องดูว่าศิษย์เก่าที่จบการศึกษาไปแล้วเข้าสู่วิชาชีพมากน้อยเพียง ใด ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณภาพของสถาบันการศึกษานั้นๆ ได้เป็นอย่างดี
“สมศ.ยังเป็นหน่วยงานสำคัญที่จะช่วยตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคได้ หากเสนอให้ยุบสมศ.แล้วจะแก้คุณภาพการศึกษาได้อย่างไร เพราะสมศ.เป็นเสมือนเครื่องเอกซ์เรย์ในโรงพยาบาล เมื่อได้ผลการตรวจก็ต้องส่งให้หมอ เหมือนกับที่สมศ.ต้องส่งผลให้โรงเรียน เพื่อพัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพ ดังนั้น หากยุบ สมศ. สถานศึกษาก็จะสบาย แต่ประเทศชาติคงไม่ดีแน่ ”ศ.ดร.ชาญณรงค์กล่าว” (จากข้อมูล "ชาญณรงค์" ยันสมศ.ยุบไม่ได้ | เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/education/255411)

แต่การบริหารงานที่อาจเรียกว่าล้มเหลวก็ว่าได้ จนทำให้ผลการประเมินขององค์กรไม่ผ่านเกณฑ์ รวมเกิดทัศนคติแง่ลบ มากมายจนมีผู้ออกมาล่าลายชื่อ และ มีผู้ร่วมลงชื่อเป็นหลักพัน หลักหมื่นคนในสื่อ Social อาทิ facebook  ppantip.com หรือ eduzone ที่อาจหาความจริงได้บ้างหรือไม่ได้บ้างนั้น รวมถึงนักวิชาการ และ มหาวิทยาลัยทั้งภาคเอกชนและภาครัฐหลายแห่ง ที่ได้พบเห็น หรือ เป็นผู้ปฎิบัติงานเอง ออกมาต่อต้านให้ยุบ สมศ.นั้น อาจมีประเด็นร่วมที่จักต้องนำมาพิจารณาเพื่อหาแนวทางด้านวิชาการที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจากผู้บริหารองค์กรแต่ในอดีตที่ก่อตั้ง และ พัฒนาองค์กรนี้เป็นเส้นทางที่ถูกต้องอยู่แล้ว ว่าการศึกษาต้องมีการเปรียบเทียบ ตรวจสอบและควบคุม เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพ หากแต่ประเด็นเล็กๆ ที่ถูกมองข้ามไป อาจเป็นแรงกระเพื่อมสำคัญ จนถูกมองข้ามไป ว่า การแก้ไขปัญหา ควรแก้ที่ต้นเหตุ และ อะไรเป็นต้นเหตุของปัญหาเหล่านั้นบ้าง ยกตัวอย่างเช่น

1.การบริหารและการปฏิบัติงานภายในขององค์กรวัดคุณภาพ อาจขาดคุณภาพ หรือ ความน่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิงหรือไม่?

2.อะไรคือผู้ประเมิน? อะไรคือคุณภาพของผู้ประเมิน? คุณภาพชีวิตที่หายไป หรือ กระทั่งไม่มี? คุณภาพความรู้สึก คุณภาพความรู้จริง  หรือ คุณภาพของประสบการณ์ที่ผู้ประเมินพึงมี? ความหลากหลายในอาชีพและทัศนคติ? ความเชื่อถือและศรัทธาในตัวผู้ประเมินฯลฯ

3.ประเมินอะไร ในความเป็นจริง ความพร้อมของสถานศึกษา ตัวบ่งชี้ตัวเดียววัดความแตกต่างของบริบทและสถานที่ที่มีความแตกต่างกัน การประเมินวิริยะฐานะ หรือ การประเมินคุณภาพ หรือ การคัดสำเนาเอกสารที่ถูกทำแล้ว นำมาจัดเรียงใหม่เป็นรูปเล่ม หรือ การทำตามกฎหมายที่ตั้งขึ้นมา

4. สุดท้าย ผู้บริหารสูงสุดมีความเสียสละ ที่จะสละในตำแหน่งมากน้อยแค่ไหน?

การบริหารและการปฏิบัติงานภายในขององค์กรวัดคุณภาพ อาจขาดคุณภาพ และ ความน่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิงก็เป็นได้ เช่น การทำ 7 W 1 H ก่อนการทำ SWOT ไม่ได้มีมิติแห่งความหลากหลายของการคิดและสำนึกความเป็นจริงในการสร้างฐานข้อมูลที่สอดคล้องกับบริบทจริง และ แนวทางที่น่าจะเป็นทางออกที่ดีได้หากสามารถนำมาใช้  การเข้าออกของบุคลากรภายใน ความมีอำนาจอีโก้สูงในการปฎิบัติงานบนฐานการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน ยากต่อการเข้าถึงข้อมูลอาจเป็นปัจจัยหลักของการสื่อสารที่ไร้คุณภาพขาดกัลยานิมิตรในการสื่อสาร หรือส่งผ่านต่อถึงความรู้สึกและทัศนคติที่ติดลบต่อองค์กร  การปฎิบัติงานตั้งแต่ระดับบริหาร สู่ระดับการปฏิบัติงานได้ใช้ระบบใดในการจัดการ HR. ของบุคคลที่ต้องเป็นสื่อกลางในการส่งข่าวสาร รับข้อมูลและแจกแจงข้อมูล และ ข้อมูลที่ถูกต้องส่งผ่านถือมือผู้รับสารมากน้อยเพียงใด เช่น  มีการประเมินสถานศึกษา กศน. 1 แห่งในธันวาคมปี 2557 แต่ปัจจุบัน กรกฎาคม 2558 นับรวมเกือบ 7 เดือน ที่ผลประเมินไม่สามารถแจ้งกลับต่อสถานศึกษาได้ อันเนื่องมาจาก นักวิชาการที่ควบคุมดูแลไปต่างประเทศ ลาคลอด ลาออก งานที่ส่งมาไร้คุณภาพ นักวิชาการ 1 คน แจ้งว่า ตนเองต้องทำเองถึง 200 กว่าโรงเพียงคนเดียว  เป็นต้น จึงเป็นคำถามว่า ผลการประเมินจะนำไปใช้เมื่อใด หรือ บางเรื่องอาจเป็นเรื่องราวเล็กน้อย แต่ การจัดการและการบริหาร ต้องเป็นสิ่งที่ควบคู่กัน เพราะคำว่าคุณภาพ ไม่ได้มีนิยามเพียงแค่การบริหารจัดการภายใน แต่ องค์การที่ทำงานประสานกับหน่วยงานภายนอก ต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลที่เป็นสารสนเทศและมีกรอบการทำงานอย่างชัดเจน เพราะทัศนคติที่ดีเกิดจากความเชื่อมั่นของการปฎิบัติงาน

อะไรคือผู้ประเมิน? อะไรคือคุณภาพของผู้ประเมิน? คุณภาพชีวิต? คุณภาพความรู้สึก คุณภาพความรู้จริง  หรือ คุณภาพของประสบการณ์? จนมีคำถามว่าในปัจจุบันองค์กรมีการกำกับและติดตามผู้ประเมินภายนอกอย่างไร? คุณภาพชีวิตที่ดีย่อมพึงประสงค์ส่งต่อถึงความรู้สึกต่อการทำงานใช่หรือไม่  การพัฒนาองค์ความรู้ที่เกิดจากการลงทุนสามารถส่งต่อ KNOWHOW ที่มีคุณภาพขององค์กรในการพัฒนาศักยภาพบุคคลและบุคลากร ใน 1 ปี องค์กรได้พัฒนาศักยภาพของผู้ประเมินกี่ครั้ง ที่ไหน อย่างไร และ มากน้อยแค่ไหน? หลากหลายการปฏิบัติงานจึงเกิดการไม่เชื่อมั่นในผู้ประเมินภายนอก ที่เข้าประเมินสถานศึกษา  ผู้ประเมินเพียงน้อยนิดกลับกลายเป็นรอยด่างดำในการลดความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ  ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้ในแหล่งโซเชียล ที่ไม่สามารถแจ้งกลับได้ว่ามีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด แต่เมื่อได้อ่าน ก็เกิดความเชื่อและทัศนคติที่แต่ละคนมีความแตกต่างกัน (มาถึงตอนนี้ต้องฝากถามคุณนาวิน และ คุณจำรูญว่า  อัตราการรับเข้าและออกของประชากรที่รับเข้าทำงานแต่ละรุ่น มีสัดส่วนเป็นอย่างไรในปัจจุบัน ซึ่งน่าจะแทนคำตอบการบริหารจัดการ HR.ที่ผิดพลาดได้บ้าง) ส่วนนี้คือส่วนที่น้ำท่วมปาก ที่ผู้ประเมินส่วนใหญ่ ทำอะไรไม่ได้.....

ประเมินอะไร ในความเป็นจริง ความพร้อมของสถานศึกษา ตัวบ่งชี้ตัวเดียววัดความแตกต่างของบริบทและสถานที่ที่มีความแตกต่างกัน การประเมินวิริยะฐานะ หรือ การประเมินคุณภาพ หรือ การคัดสำเนาเอกสารที่ถูกทำแล้ว นำมาจัดเรียงใหม่เป็นรูปเล่ม หรือ การทำตามกฎหมายที่ตั้งขึ้นมา ในส่วนนี้เราได้นำข้อมูลสถานศึกษาที่ทำการดีเบส ออกมาวิเคราะห์และวิจัยหาแนวทางพัฒนาจากข้อร้องขอเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด หรือ ยังยืนยันในหลักการคิดที่ทางองค์กรคิดและบัญญัติไว้จากกลุ่มบุคคลที่ปรึกษาเพียงกลุ่มก้อนเดียวที่องค์กรศรัทธา ตลอดจนการออกรับฟังข้อมูลของสถานศึกษาและการเสวนาต่างๆ ที่องค์กรจัดออกไปนั้น เกิดการตัดสินใจในความคิด และ ผู้มีส่วนร่วมมารับฟังเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้รับฟังปัญหาและนำกลับมาพัฒนาแก้ไข ปรับปรุงให้สอดคล้องใช่หรือไม่?
รูปแบบต่างๆ ที่องค์กรได้สร้างขึ้นมา เป็นบรรทัดฐานที่ดีในการจัดทำและปฏิบัติ การศึกษาดูงานต่างประเทศที่องค์กรได้นำพาพนักงานและนักวิชาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้าศึกษาในทุกๆ ปี คือ มาตรฐานสำคัญที่ถูกต้องและปฏิบัติ และเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพียงแค่ เราจะทำอย่างไร? ให้ทัศนคติและความเชื่อมั่นนั้นกลับมาเป็น องค์กรคุณภาพ ประเมินคุณภาพ ที่ส่งต่อคุณภาพทั้งตัวองค์กรเองและหน่วยงานที่ถูกประเมินเพื่อการรับรองคุณภาพเท่านั้นเอง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ต้องไปศึกษางานถึงต่างประเทศ เช่น นำเอาแนวทางการจัดทำ Certification Body ของ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ(องค์การมหาชน) ในการจัดทำ UOC. EOC. ของแต่ละสาขาวิชาชีพ มาประยุกต์เป็นแนวทางการจัดทำตัวชี้วัดของการศึกษา ในแต่ละสาขาวิชา แต่ละบริบทของมหาวิทยาลัย ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องยากของนักวิชาการ การศึกษาของไทย

สุดท้าย ความเสียสละและไม่ยึดติดกับตำแหน่งที่จะสละในตำแหน่งมากน้อยแค่ไหน? เหมือนประเทศญี่ปุ่น ประเทศลัตเวีย ประเทศอิตาลี  ประเทศเลบานอน รวมถึง ลาว และ จีน ที่มีผู้นำยอมเสียสละลาออก เพื่อให้มีคนที่เหมาะสม(กว่า) เข้ามาทำงานแทนตน

วันนี้ผมเห็นด้วยว่าที่ท่านบอกไว้ ว่า สมศ.มีความจำเป็นต่อสถานศึกษา งานด้านการศึกษา และ องค์กรแห่งการศึกษา  .....แต่เมื่อยุบไม่ได้ เราสามารถเปลี่ยนบอร์ดบริหาร หรือ ผู้ที่สามารถบริหาร สมศ.ได้ ใช่หรือไม่? เท่านั้นเอง
ไม่เชื่อ...ท่าน และ ผู้บริหารภายในทุกท่าน ก็ทดลองให้ผู้อื่นที่เขามีคุณสมบัติและความสามารถเหมาะสม มาปฏิบัติงาน สิ่งที่เป็นปัญหา อาจเป็นสิ่งที่ดีขึ้นและเห็นช่องทางขึ้น หากไม่ยึดติดกับตำแหน่ง เพราะท่านก็ยังเป็นที่ปรึกษาได้ในฐานะผู้มีประสบการณ์ และ บอร์ดบริหารที่เปลี่ยนแปลง ก็ใช่ว่าจะถูกให้ออกจากระบบการศึกษาไปเสียเมื่อใหร่? การลาออกทั้งคณะเปลี่ยนแปลง อาจเป็นแนวทางที่น่าสนใจ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่