ปัจจุบันการสร้างอาคารใหม่ ๆ ของไทยได้นำแนวคิดด้านการประหยัดพลังงาน โดยการทำให้การใช้พลังงานสุทธิเท่ากับศูนย์ (Net Zero Energy Building: NZEB) เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอาคารและที่อยู่อาศัยมากขึ้น ซึ่งแนวคิดในการพัฒนาอาคารในแบบ Net Zero Energy Building เป็นแนวคิดในการพัฒนาอาคารที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ที่จะลดก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกลงให้ได้ 45% ในปี พ.ศ. 2573 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2593 ซึ่งเป็นข้อตกลงล่าสุดในการประชุมที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปลายปี พ.ศ. 2565
ในขณะที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้มีการประกาศแผนการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20% ถึง 25% ภายในปี พ.ศ. 2573 ทำให้ทุกภาคส่วนในประเทศไทยได้มีการประกาศแผนการลดก๊าซเรือนกระจกไว้ในแผนธุรกิจและแผนการบริหารจัดการองค์กร รวมทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ผลิตทั้งขยะและก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบกับสภาพแวดล้อม ที่จำเป็นต้องมีการปรับกระบวนการทำงาน การพัฒนาโครงการ ภายใต้แนวคิดยั่งยืน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้การพัฒนาอาคารในแบบ Net Zero Energy Building เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันและในอนาคต
ล่าสุด กระทรวงพลังงาน โดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือ พพ. ได้เปิดใช้ อาคารต้นแบบสาธิตการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ “Net Zero Energy Building” หรือ อาคาร 70 ปี พพ. ที่มีการออกแบบภายใต้หลักการการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นอาคารใหม่บนพื้นที่ของ พพ. ณ บริเวรใกล้สะพานกษัตริย์ศึก (ยศเส) ถนนพระราม 1 โดยมีการออกแบบตาม “มาตรฐานการออกแบบอาคารภาครัฐ” ซึ่งเป็นอาคารตัวอย่างการออกแบบที่ใช้พลังงานต่ำมาก หรืออาคารพลังงานเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building : NZEB) ออกแบบตามมาตรฐานอาคารเขียวภาครัฐ G–GOODs ของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2562 และเป็นโครงการที่เข้ารับการประเมินการรับรองมาตรฐานอาคารเขียวไทย (TREES-NC) ให้การรับรองโดยสถาบันอาคารเขียวไทย โดยเป้าหมายของโครงการต้องการทำคะแนนให้ได้ถึงระดับ Platinum
ทั้งนี้ อาคาร 70 ปี แห่งนี้ เป็นอาคารสำนักงานสูง 6 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 2,650 ตารางเมตร โดยมีการออกแบบ ตามแนวคิด “ลดพลังงาน เสริมคุณภาพชีวิต” ซึ่งมีแนวคิดการออกแบบที่สำคัญ ได้แก่
“Passive Design” ซึ่งเป็นการออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยเริ่มจากการวางผังอาคารอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงรังสีอาทิตย์ตกกระทบทิศทางลม เพื่อลดผลกระทบจากความร้อนของรังสีดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน ซึ่งจะช่วยลดภาระการใช้ระบบปรับอากาศภายในอาคาร และแสงธรรมชาติสามารถส่องเข้าภายในตัวอาคารได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ยังได้มีการออกแบบระบบเปลือกอาคาร โดยเลือกใช้ฉนวนประสิทธิภาพสูงในผนังและหลังคาการใช้กระจก Low-E ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดปริมาณความร้อนผ่านเข้าสู่อาคารควบคู่กับวงกบหน้าต่างที่มีคุณสมบัติกันน้ำ กันเสียง และลดการรั่วซึมของอากาศ
“Active Design” ที่มีการออกแบบโครงสร้างอาคารให้มีความยั่งยืนด้านการใช้พลังงาน ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์ทันสมัยเข้ามาช่วยควบคุมการใช้พลังงาน เช่น เซนเซอร์ควบคุมระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง การใช้แอร์ประหยัดพลังงาน โดยอาคารแห่งนี้ได้ติดตั้งอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อลดการใช้พลังงานในอาคาร เช่น การออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โดยใช้หลอด LED ประสิทธิภาพสูง ติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับความเข้มแสงและจำนวนผู้ใช้อาคาร เพื่อควบคุมการเปิด-ปิด หลอดไฟอยู่ริมหน้าต่างอัตโนมัติเมื่อแสงธรรมชาติเพียงพอ และปรับปริมาณแสงสว่างให้เพียงพอต่อการใช้งาน อีกทั้ง ใช้ระบบปรับอากาศ ประเภท Variable Refrigerant Flow ที่ทำงานร่วมกับเครื่องตรวจจับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 Sensor เพื่อเติมอาการบริสุทธิ์ในปริมาณที่เหมาะสม และยังมีเซ็นเซอร์ตรวจจับฝุ่น PM 2.5 ที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร เพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคารได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการใช้ Sub Meter เพื่อให้สามารถตรวจสอบการใช้พลังงานในอาคารได้จากการใช้มิเตอร์ย่อยที่เป็นดิจิตัล สามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ และติดตั้งพลังงานหมุนเวียน ทั้งแผงโซล่าร์เซลส์บนหลังคากว่า 100 กิโลวัตต์ โดยพลังงานที่อาคารจะผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ประมาณ 142,437 kWh/yr (91.1% ของความต้องการ) และแบตเตอรี่ลิเธี่ยมเพื่อกักเก็บพลังงานสำหรับใช้ในอาคาร ขนาด 120 Ah 12V จำนวน 12 ชุด
อาคารต้นแบบสาธิตการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ยังคำนึงถึงการออกแบบให้มีความสะดวกสบายต่อการทำงาน เช่น การออกแบบแสงสว่าง เพื่อให้เกิดความรู้สึกสบายในการใช้สายตา คุณภาพเสียงภายในอาคารใช้วัสดุลดเสียงสะท้อนในพื้นที่ทำงาน และมีห้องเฉพาะสำหรับการโทรศัพท์เพื่อไม่ให้รบกวนผู้อื่น จัดผังที่นั่งการทำงาน เพื่อไม่ให้อุณหภูมิร้อนหรือหนาวจนเกินไป เกิดความรู้สึกอยู่สบายอันเป็นปัจจัยสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมทั้งจัดภูมิทัศน์ธรรมชาติโดยจัดพื้นที่สีเขียวรอบอาคารให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับผู้ใช้งานอาคาร อาคารแห่งนี้ สีทาผนังภายนอกใช้สีที่ได้ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง เบอร์ 5 มีค่าการสะท้อนความร้อนแสงอาทิตย์ 80% ขึ้นไป และปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายต่ำ (Low VOCs) เป็นต้น
กระทรวงพลังงาน เชื่อมั่นว่า อาคารต้นแบบสาธิตการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ “Net Zero Energy Building” หรือ อาคาร 70 ปี พพ. แห่งนี้ จะเป็นอาคารต้นแบบ ให้กับอาคารอื่นทั่วทั้งประเทศต่อการออกแบบก่อสร้างอาคารให้การใช้พลังงานเกิดประโยชน์สูงสุด ลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือ พพ. จะเป็นศูนย์กลางในการกระจายความรู้ออกไปในวงกว้าง ทั้งนี้ พพ. คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2579 ประเทศไทยจะมีอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์มากถึง 3,658 อาคาร แม้ต้นทุนในการพัฒนาอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์จะสูงกว่าอาคารทั่วไป แต่ก็มีความคุ้มค่าในระยะยาว อย่างไรก็ตามไม่เพียงอาคารใหม่ที่สามารถพัฒนาเพื่อเป็นอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์ อาคารเก่าที่เปิดใช้งานไปแล้ว ก็ยังสามารถปรับปรุงเพื่อเป็นอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์ได้เช่นเดียวกัน
อาคารต้นแบบสาธิตการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) ใหญ่ที่สุดในไทย
ปัจจุบันการสร้างอาคารใหม่ ๆ ของไทยได้นำแนวคิดด้านการประหยัดพลังงาน โดยการทำให้การใช้พลังงานสุทธิเท่ากับศูนย์ (Net Zero Energy Building: NZEB) เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอาคารและที่อยู่อาศัยมากขึ้น ซึ่งแนวคิดในการพัฒนาอาคารในแบบ Net Zero Energy Building เป็นแนวคิดในการพัฒนาอาคารที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ที่จะลดก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกลงให้ได้ 45% ในปี พ.ศ. 2573 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2593 ซึ่งเป็นข้อตกลงล่าสุดในการประชุมที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปลายปี พ.ศ. 2565
ในขณะที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้มีการประกาศแผนการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20% ถึง 25% ภายในปี พ.ศ. 2573 ทำให้ทุกภาคส่วนในประเทศไทยได้มีการประกาศแผนการลดก๊าซเรือนกระจกไว้ในแผนธุรกิจและแผนการบริหารจัดการองค์กร รวมทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ผลิตทั้งขยะและก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบกับสภาพแวดล้อม ที่จำเป็นต้องมีการปรับกระบวนการทำงาน การพัฒนาโครงการ ภายใต้แนวคิดยั่งยืน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้การพัฒนาอาคารในแบบ Net Zero Energy Building เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันและในอนาคต
ล่าสุด กระทรวงพลังงาน โดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือ พพ. ได้เปิดใช้ อาคารต้นแบบสาธิตการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ “Net Zero Energy Building” หรือ อาคาร 70 ปี พพ. ที่มีการออกแบบภายใต้หลักการการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นอาคารใหม่บนพื้นที่ของ พพ. ณ บริเวรใกล้สะพานกษัตริย์ศึก (ยศเส) ถนนพระราม 1 โดยมีการออกแบบตาม “มาตรฐานการออกแบบอาคารภาครัฐ” ซึ่งเป็นอาคารตัวอย่างการออกแบบที่ใช้พลังงานต่ำมาก หรืออาคารพลังงานเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building : NZEB) ออกแบบตามมาตรฐานอาคารเขียวภาครัฐ G–GOODs ของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2562 และเป็นโครงการที่เข้ารับการประเมินการรับรองมาตรฐานอาคารเขียวไทย (TREES-NC) ให้การรับรองโดยสถาบันอาคารเขียวไทย โดยเป้าหมายของโครงการต้องการทำคะแนนให้ได้ถึงระดับ Platinum
ทั้งนี้ อาคาร 70 ปี แห่งนี้ เป็นอาคารสำนักงานสูง 6 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 2,650 ตารางเมตร โดยมีการออกแบบ ตามแนวคิด “ลดพลังงาน เสริมคุณภาพชีวิต” ซึ่งมีแนวคิดการออกแบบที่สำคัญ ได้แก่
“Passive Design” ซึ่งเป็นการออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยเริ่มจากการวางผังอาคารอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงรังสีอาทิตย์ตกกระทบทิศทางลม เพื่อลดผลกระทบจากความร้อนของรังสีดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน ซึ่งจะช่วยลดภาระการใช้ระบบปรับอากาศภายในอาคาร และแสงธรรมชาติสามารถส่องเข้าภายในตัวอาคารได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ ยังได้มีการออกแบบระบบเปลือกอาคาร โดยเลือกใช้ฉนวนประสิทธิภาพสูงในผนังและหลังคาการใช้กระจก Low-E ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดปริมาณความร้อนผ่านเข้าสู่อาคารควบคู่กับวงกบหน้าต่างที่มีคุณสมบัติกันน้ำ กันเสียง และลดการรั่วซึมของอากาศ
“Active Design” ที่มีการออกแบบโครงสร้างอาคารให้มีความยั่งยืนด้านการใช้พลังงาน ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์ทันสมัยเข้ามาช่วยควบคุมการใช้พลังงาน เช่น เซนเซอร์ควบคุมระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง การใช้แอร์ประหยัดพลังงาน โดยอาคารแห่งนี้ได้ติดตั้งอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อลดการใช้พลังงานในอาคาร เช่น การออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โดยใช้หลอด LED ประสิทธิภาพสูง ติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับความเข้มแสงและจำนวนผู้ใช้อาคาร เพื่อควบคุมการเปิด-ปิด หลอดไฟอยู่ริมหน้าต่างอัตโนมัติเมื่อแสงธรรมชาติเพียงพอ และปรับปริมาณแสงสว่างให้เพียงพอต่อการใช้งาน อีกทั้ง ใช้ระบบปรับอากาศ ประเภท Variable Refrigerant Flow ที่ทำงานร่วมกับเครื่องตรวจจับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 Sensor เพื่อเติมอาการบริสุทธิ์ในปริมาณที่เหมาะสม และยังมีเซ็นเซอร์ตรวจจับฝุ่น PM 2.5 ที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร เพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคารได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการใช้ Sub Meter เพื่อให้สามารถตรวจสอบการใช้พลังงานในอาคารได้จากการใช้มิเตอร์ย่อยที่เป็นดิจิตัล สามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ และติดตั้งพลังงานหมุนเวียน ทั้งแผงโซล่าร์เซลส์บนหลังคากว่า 100 กิโลวัตต์ โดยพลังงานที่อาคารจะผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ประมาณ 142,437 kWh/yr (91.1% ของความต้องการ) และแบตเตอรี่ลิเธี่ยมเพื่อกักเก็บพลังงานสำหรับใช้ในอาคาร ขนาด 120 Ah 12V จำนวน 12 ชุด
อาคารต้นแบบสาธิตการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ยังคำนึงถึงการออกแบบให้มีความสะดวกสบายต่อการทำงาน เช่น การออกแบบแสงสว่าง เพื่อให้เกิดความรู้สึกสบายในการใช้สายตา คุณภาพเสียงภายในอาคารใช้วัสดุลดเสียงสะท้อนในพื้นที่ทำงาน และมีห้องเฉพาะสำหรับการโทรศัพท์เพื่อไม่ให้รบกวนผู้อื่น จัดผังที่นั่งการทำงาน เพื่อไม่ให้อุณหภูมิร้อนหรือหนาวจนเกินไป เกิดความรู้สึกอยู่สบายอันเป็นปัจจัยสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมทั้งจัดภูมิทัศน์ธรรมชาติโดยจัดพื้นที่สีเขียวรอบอาคารให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับผู้ใช้งานอาคาร อาคารแห่งนี้ สีทาผนังภายนอกใช้สีที่ได้ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง เบอร์ 5 มีค่าการสะท้อนความร้อนแสงอาทิตย์ 80% ขึ้นไป และปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายต่ำ (Low VOCs) เป็นต้น
กระทรวงพลังงาน เชื่อมั่นว่า อาคารต้นแบบสาธิตการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ “Net Zero Energy Building” หรือ อาคาร 70 ปี พพ. แห่งนี้ จะเป็นอาคารต้นแบบ ให้กับอาคารอื่นทั่วทั้งประเทศต่อการออกแบบก่อสร้างอาคารให้การใช้พลังงานเกิดประโยชน์สูงสุด ลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือ พพ. จะเป็นศูนย์กลางในการกระจายความรู้ออกไปในวงกว้าง ทั้งนี้ พพ. คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2579 ประเทศไทยจะมีอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์มากถึง 3,658 อาคาร แม้ต้นทุนในการพัฒนาอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์จะสูงกว่าอาคารทั่วไป แต่ก็มีความคุ้มค่าในระยะยาว อย่างไรก็ตามไม่เพียงอาคารใหม่ที่สามารถพัฒนาเพื่อเป็นอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์ อาคารเก่าที่เปิดใช้งานไปแล้ว ก็ยังสามารถปรับปรุงเพื่อเป็นอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์ได้เช่นเดียวกัน