การรักษาด้วยยาต้านไวรัส โดยการใช้ยาต้านไวรัสอย่างน้อย 3 ชนิดร่วมกันที่เรียกว่า highly active antiretroviral therapy (HAART) นำไปสู่การรักษาการติดเชื้อเอชไอวีในระดับที่ควบคุมจนไม่สามารถตรวจพบไวรัสในกระแสเลือด (undetectable level) ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีภูมิต้านทานดีขึ้นหรือจำนวน CD4 สูงขึ้น อุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสลดลง อัตราตายลดลง และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น. อย่างไรก็ตามเนื่องจากการมีชีวิตยืนยาวขึ้นของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ จึงมีการพบอุบัติการณ์ของภาวะอื่นๆ เพิ่มขึ้นเช่น โรคมะเร็ง กลุ่มอาการที่แสดงความผิดปกติของเมตาบอลิซึม (metabolic syndrome) รวมไปถึงโรคหลอดเลือดหัวใจและความผิดปกติของกระดูก เป็นต้น ในบทความนี้จะทบทวนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่เป็นผู้ใหญ่
โรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ โรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ (AIDS-related malignancies) ซึ่งได้แก่ Kaposi's sarcoma มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins (Non-Hodgkin's lymphoma; NHL) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาทส่วนกลางชนิดปฐมภูมิ (primary central nervous system lymphoma) และมะเร็งปากมดลูก และกลุ่มที่ 2 คือ โรคมะเร็งที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ (Non-AIDS-related malignancies) ซึ่งหมายถึง โรคมะเร็งอื่นๆ (ตารางที่ 1) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งทั้ง 2 กลุ่ม ชนิด อาการและอาการแสดง (spectrum) ของโรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีการเปลี่ยน แปลงตลอดเวลาเนื่องจากมีการใช้ยาต้านไวรัส ดังนั้น การดำเนินโรคและการรักษาโรคมะเร็งโดยเฉพาะโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ จึงต้องมีการคำนึงถึงบทบาทของยาต้านไวรัสด้วย
มีการพบ Kaposi's sarcoma (KS) ตั้งแต่ในช่วงแรกที่มีการรายงานการระบาดของโรคเอดส์เมื่อปี พ.ศ. 2524 และถือว่าเป็นโรคที่บ่งชี้ของการเป็นเอดส์ (AIDS-defining illness) อย่างหนึ่งในเกณฑ์การวินิจฉัยเอดส์ของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (Centers for Disease Control and Prevention; CDC) ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 มีการรายงานการใช้ยาเพื่อป้องกัน Pneumocystis jiroveci pneumonia (PCP) ทำให้พบโรคติดเชื้อฉวยโอกาสนี้ลดลง และพบว่าโรคฉวยโอกาสที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเอดส์ ช่วงนั้นคือ โรคมะเร็ง ซึ่งพบสูงถึงร้อยละ 40 จึงได้มีการเพิ่มมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin's และมะเร็งปากมดลูกชนิดลุกลาม (invasive cervical carcinoma) เป็นภาวะที่บ่งชี้ว่าเป็นเอดส์ด้วยตามนิยามของ CDC.
หลังจากที่มีการใช้ยาต้านไวรัสชนิด HAART เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 อุบัติการณ์ของการเกิดโรคฉวยโอกาสและ Kaposi's sarcoma ลดลงอย่างมาก แต่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin's และโรคมะเร็งอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ไม่ลดลง ในทางตรงข้าม โรคมะเร็งบางชนิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์เพิ่มขึ้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนังและมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) เป็นต้น และยังพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเอดส์ (ร้อยละ 28) ในยุคของการที่มียาต้านไวรัสชนิด HAART
ในประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศยากจนไม่มีการรักษาด้วยยาต้านไวรัสชนิด HAART อย่างแพร่หลาย ดังนั้นข้อมูลของโรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวีจึงอาจจะมีความแตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้ว จากการศึกษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดีความชุกของโรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเท่ากับร้อยละ 3 (42 รายจากผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด 1,416 ราย) ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2546 ซึ่งต่ำกว่าความชุกของประเทศตะวันตก ผู้ติดเชื้อร้อยละ 50 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ยเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งประมาณ 50 ปี ค่ากลาง (median) ของจำนวน CD4 เท่ากับ 235 (8-739) เซลล์/ลบ.มม. ผู้ป่วยร้อยละ 40 ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสขณะที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดคือ มะเร็งต่อม น้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ และมะเร็งเต้านมในกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ ผู้ป่วยร้อยละ 26 เสียชีวิต ชนิดของมะเร็งที่พบในผู้ติดเชื้อเอชไอวีไทย
โรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ (AIDS-related malignancies)
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin's และ Kaposi's sarcoma เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้ติด เชื้อเอชไอวี
Kaposi's sarcoma
Kaposi's sarcoma เป็นมะเร็งของเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) ที่มีความรุนแรงต่ำ (low-grade) มีต้นกำเนิดมาจากหลอดเลือด (vascular) และมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ human herpes virus 8 โดยผู้ที่มีภูมิต้านทานที่แสดงว่าเคยมีการติดเชื้อ human herpes virus 8 มาก่อน จะมีโอกาสการเกิด Kaposi's sarcoma ร้อยละ 50 ในระยะเวลา 10 ปี มะเร็งชนิดนี้มักพบในเพศชาย โดยในช่วงแรกของระบาดของการติดเชื้อเอชไอวี พบ Kaposi's sarcoma สูงถึง ร้อยละ 20-30 ในกลุ่มชายรักร่วมเพศ
อาการแสดงและการดำเนินโรคในผู้ติดเชื้อ เอชไอวีแต่ละรายมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ อาจจะไม่มีอาการ (asymptomatic) หรืออาการรุนแรงจนทำให้ภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตได้ โดยปกติแล้วมักจะพบพยาธิสภาพที่ผิวหนัง แต่อาจจะพบที่บริเวณอื่นได้คือ ช่องปาก ปอดและระบบทางเดินอาหาร การพยากรณ์โรคขึ้นกับการกระจายของมะเร็ง ระบบภูมิคุ้มกัน (จำนวน CD4) และความรุนแรงของอาการตามระบบ กล่าวคือ ถ้าผู้ป่วยมีพยาธิสภาพที่ผิวหนังอย่างเดียว มีจำนวน CD4 มากกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. และไม่มีอาการแสดงของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอื่น ถือได้ว่ามีการพยากรณ์โรคดี
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ทำให้ Kaposi's sarcoma หายขาด จุดมุ่งหมายของการรักษาคือ การรักษาประคับประคอง (palliative) การลดขนาดและยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง ยาต้านไวรัสชนิด HAART เป็นการรักษาแรกที่แนะนำในผู้ป่วยทุกราย เพราะสามารถทำให้ Kaposi's sarcoma ดีขึ้น ถ้าหลังจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัสแล้ว 3-6 เดือน Kaposi's sarcoma เป็นมากขึ้นจึงพิจารณาการรักษาที่จำเพาะอื่น
การรักษาเฉพาะที่ได้แก่ การให้เคมีบำบัดที่ตำแหน่งที่มีพยาธิสภาพ การฉายแสง เลเซอร์ การใช้ความเย็น (cryotherapy) และการทาด้วย 9-cis- retinoic acid การรักษาด้วย liposomal anthracyclines ถือเป็นยาแรก (first-line agent) ที่แนะนำ ส่วน paclitaxel แนะนำให้เป็นยาสูตรที่ 2 (second-line)
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins
โดยทั่วไปแล้วผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins 60-200 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins ที่เป็นตามระบบ (Systemic Non-Hodgkins lymphoma) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาทส่วนกลางชนิดปฐมภูมิ
อุบัติการณ์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins ที่เป็นตามระบบเพิ่มขึ้นผกผันกับระดับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย ร้อยละ 70-90 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins เป็น intermediate หรือ high-grade และเกือบทั้ง หมดเป็น diffuse large B cell (immunoblastic variant) หรือ Burkitt's-like lymphoma ผู้ติดเชื้อ เอชไอวีมักจะมาด้วยอาการของ B (systemic B symptoms) ซึ่งได้แก่ไข้ น้ำหนักลด เหงื่อออกตอนกลางคืน ประมาณ 2 ใน 3 จะมีพยาธิสภาพที่นอกต่อมน้ำเหลืองเช่น ระบบทางเดินอาหาร ไขกระดูก ตับและปอด ผู้ป่วยร้อยละ 3-20 จะมี lymphomatous meningitis ร่วมด้วยและอาจจะไม่มีอาการ ดังนั้นจึงแนะนำให้เจาะหลังผู้ป่วยกลุ่มนี้ทุกราย อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างยุคก่อนและหลังการใช้ยาต้านไวรัสชนิด HAART
การตัดชิ้นเนื้อ (tissue biopsy) เพื่อตรวจทางพยาธิวิทยามีความจำเป็นในการวินิจฉัย แต่ในบางกรณีอาจจะวินิจฉัยได้จาก fine needle aspiration และการส่งตรวจทางเซลล์วิทยา (cytology) หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการยืนยันการวินิจฉัยแล้ว จะต้องมีการประเมินการกระจายของโรคและระยะ (staging) โดยการเจาะหลังเพื่อส่งน้ำไขสันหลังตรวจทางเซลล์วิทยา การเจาะไขกระดูก และการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ของช่องอก ช่องท้อง/อุ้งเชิงกราน และสมอง
การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins ที่เป็นตามระบบในผู้ติดเชื้อเอชไอวียังไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคมะเร็งนี้ควรให้ร่วมกับยาต้านไวรัสและยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆ
Report : LIV Capsule
โรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ Malignancies in HIV/AIDS Patients (ตอนที่ 1)
โรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ โรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ (AIDS-related malignancies) ซึ่งได้แก่ Kaposi's sarcoma มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins (Non-Hodgkin's lymphoma; NHL) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาทส่วนกลางชนิดปฐมภูมิ (primary central nervous system lymphoma) และมะเร็งปากมดลูก และกลุ่มที่ 2 คือ โรคมะเร็งที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ (Non-AIDS-related malignancies) ซึ่งหมายถึง โรคมะเร็งอื่นๆ (ตารางที่ 1) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งทั้ง 2 กลุ่ม ชนิด อาการและอาการแสดง (spectrum) ของโรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีการเปลี่ยน แปลงตลอดเวลาเนื่องจากมีการใช้ยาต้านไวรัส ดังนั้น การดำเนินโรคและการรักษาโรคมะเร็งโดยเฉพาะโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ จึงต้องมีการคำนึงถึงบทบาทของยาต้านไวรัสด้วย
มีการพบ Kaposi's sarcoma (KS) ตั้งแต่ในช่วงแรกที่มีการรายงานการระบาดของโรคเอดส์เมื่อปี พ.ศ. 2524 และถือว่าเป็นโรคที่บ่งชี้ของการเป็นเอดส์ (AIDS-defining illness) อย่างหนึ่งในเกณฑ์การวินิจฉัยเอดส์ของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (Centers for Disease Control and Prevention; CDC) ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 มีการรายงานการใช้ยาเพื่อป้องกัน Pneumocystis jiroveci pneumonia (PCP) ทำให้พบโรคติดเชื้อฉวยโอกาสนี้ลดลง และพบว่าโรคฉวยโอกาสที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเอดส์ ช่วงนั้นคือ โรคมะเร็ง ซึ่งพบสูงถึงร้อยละ 40 จึงได้มีการเพิ่มมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin's และมะเร็งปากมดลูกชนิดลุกลาม (invasive cervical carcinoma) เป็นภาวะที่บ่งชี้ว่าเป็นเอดส์ด้วยตามนิยามของ CDC.
หลังจากที่มีการใช้ยาต้านไวรัสชนิด HAART เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 อุบัติการณ์ของการเกิดโรคฉวยโอกาสและ Kaposi's sarcoma ลดลงอย่างมาก แต่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin's และโรคมะเร็งอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ไม่ลดลง ในทางตรงข้าม โรคมะเร็งบางชนิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์เพิ่มขึ้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนังและมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) เป็นต้น และยังพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเอดส์ (ร้อยละ 28) ในยุคของการที่มียาต้านไวรัสชนิด HAART
ในประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศยากจนไม่มีการรักษาด้วยยาต้านไวรัสชนิด HAART อย่างแพร่หลาย ดังนั้นข้อมูลของโรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวีจึงอาจจะมีความแตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้ว จากการศึกษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดีความชุกของโรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเท่ากับร้อยละ 3 (42 รายจากผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด 1,416 ราย) ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2546 ซึ่งต่ำกว่าความชุกของประเทศตะวันตก ผู้ติดเชื้อร้อยละ 50 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ยเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งประมาณ 50 ปี ค่ากลาง (median) ของจำนวน CD4 เท่ากับ 235 (8-739) เซลล์/ลบ.มม. ผู้ป่วยร้อยละ 40 ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสขณะที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดคือ มะเร็งต่อม น้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ และมะเร็งเต้านมในกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ ผู้ป่วยร้อยละ 26 เสียชีวิต ชนิดของมะเร็งที่พบในผู้ติดเชื้อเอชไอวีไทย
โรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ (AIDS-related malignancies)
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin's และ Kaposi's sarcoma เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้ติด เชื้อเอชไอวี
Kaposi's sarcoma
Kaposi's sarcoma เป็นมะเร็งของเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) ที่มีความรุนแรงต่ำ (low-grade) มีต้นกำเนิดมาจากหลอดเลือด (vascular) และมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ human herpes virus 8 โดยผู้ที่มีภูมิต้านทานที่แสดงว่าเคยมีการติดเชื้อ human herpes virus 8 มาก่อน จะมีโอกาสการเกิด Kaposi's sarcoma ร้อยละ 50 ในระยะเวลา 10 ปี มะเร็งชนิดนี้มักพบในเพศชาย โดยในช่วงแรกของระบาดของการติดเชื้อเอชไอวี พบ Kaposi's sarcoma สูงถึง ร้อยละ 20-30 ในกลุ่มชายรักร่วมเพศ
อาการแสดงและการดำเนินโรคในผู้ติดเชื้อ เอชไอวีแต่ละรายมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ อาจจะไม่มีอาการ (asymptomatic) หรืออาการรุนแรงจนทำให้ภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตได้ โดยปกติแล้วมักจะพบพยาธิสภาพที่ผิวหนัง แต่อาจจะพบที่บริเวณอื่นได้คือ ช่องปาก ปอดและระบบทางเดินอาหาร การพยากรณ์โรคขึ้นกับการกระจายของมะเร็ง ระบบภูมิคุ้มกัน (จำนวน CD4) และความรุนแรงของอาการตามระบบ กล่าวคือ ถ้าผู้ป่วยมีพยาธิสภาพที่ผิวหนังอย่างเดียว มีจำนวน CD4 มากกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. และไม่มีอาการแสดงของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอื่น ถือได้ว่ามีการพยากรณ์โรคดี
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ทำให้ Kaposi's sarcoma หายขาด จุดมุ่งหมายของการรักษาคือ การรักษาประคับประคอง (palliative) การลดขนาดและยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง ยาต้านไวรัสชนิด HAART เป็นการรักษาแรกที่แนะนำในผู้ป่วยทุกราย เพราะสามารถทำให้ Kaposi's sarcoma ดีขึ้น ถ้าหลังจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัสแล้ว 3-6 เดือน Kaposi's sarcoma เป็นมากขึ้นจึงพิจารณาการรักษาที่จำเพาะอื่น
การรักษาเฉพาะที่ได้แก่ การให้เคมีบำบัดที่ตำแหน่งที่มีพยาธิสภาพ การฉายแสง เลเซอร์ การใช้ความเย็น (cryotherapy) และการทาด้วย 9-cis- retinoic acid การรักษาด้วย liposomal anthracyclines ถือเป็นยาแรก (first-line agent) ที่แนะนำ ส่วน paclitaxel แนะนำให้เป็นยาสูตรที่ 2 (second-line)
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins
โดยทั่วไปแล้วผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins 60-200 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins ที่เป็นตามระบบ (Systemic Non-Hodgkins lymphoma) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาทส่วนกลางชนิดปฐมภูมิ
อุบัติการณ์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins ที่เป็นตามระบบเพิ่มขึ้นผกผันกับระดับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย ร้อยละ 70-90 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins เป็น intermediate หรือ high-grade และเกือบทั้ง หมดเป็น diffuse large B cell (immunoblastic variant) หรือ Burkitt's-like lymphoma ผู้ติดเชื้อ เอชไอวีมักจะมาด้วยอาการของ B (systemic B symptoms) ซึ่งได้แก่ไข้ น้ำหนักลด เหงื่อออกตอนกลางคืน ประมาณ 2 ใน 3 จะมีพยาธิสภาพที่นอกต่อมน้ำเหลืองเช่น ระบบทางเดินอาหาร ไขกระดูก ตับและปอด ผู้ป่วยร้อยละ 3-20 จะมี lymphomatous meningitis ร่วมด้วยและอาจจะไม่มีอาการ ดังนั้นจึงแนะนำให้เจาะหลังผู้ป่วยกลุ่มนี้ทุกราย อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างยุคก่อนและหลังการใช้ยาต้านไวรัสชนิด HAART
การตัดชิ้นเนื้อ (tissue biopsy) เพื่อตรวจทางพยาธิวิทยามีความจำเป็นในการวินิจฉัย แต่ในบางกรณีอาจจะวินิจฉัยได้จาก fine needle aspiration และการส่งตรวจทางเซลล์วิทยา (cytology) หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการยืนยันการวินิจฉัยแล้ว จะต้องมีการประเมินการกระจายของโรคและระยะ (staging) โดยการเจาะหลังเพื่อส่งน้ำไขสันหลังตรวจทางเซลล์วิทยา การเจาะไขกระดูก และการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ของช่องอก ช่องท้อง/อุ้งเชิงกราน และสมอง
การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins ที่เป็นตามระบบในผู้ติดเชื้อเอชไอวียังไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคมะเร็งนี้ควรให้ร่วมกับยาต้านไวรัสและยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆ
Report : LIV Capsule