การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาทส่วนกลางชนิดปฐมภูมิคือ การฉายแสงร่วมกับการให้สเตียรอยด์ ผู้ป่วยมีการพยากรณ์โรคไม่ดี ร้อยละ 50 มีการรอดชีวิต 2-3 เดือนถ้าไม่ได้รักษาและ 6-8 เดือน ถ้าได้รับการรักษา เหตุผลเนื่องจากผู้ป่วยส่วนมากในกลุ่มนี้มีภูมิคุ้มกันหรือจำนวน CD4 ที่ต่ำมาก
มะเร็งปากมดลูก
มีการรายงานมะเร็งปากมดลูกในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพศหญิงมากกว่าที่คาดไว้ ในช่วงแรกผู้ป่วยทั้งหมดเสียชีวิตที่ค่าเฉลี่ย 10 เดือน ด้วยเหตุผลนี้จึงเพิ่ม cervical dysplasia ชนิดรุนแรงปานกลาง (moderate) และรุนแรงมาก (severe) เป็นภาวะที่บ่งชี้ว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีอาการ (category B) และมะเร็งปากมดลูกชนิดลุกลามเป็นภาวะที่บ่งชี้ว่าเป็นเอดส์ (category C)
ปัจจุบันเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างการติดเชื้อ human papilloma virus และมะเร็งหลายชนิดของระบบสืบพันธุ์ซึ่งรวมไปถึง ปากมดลูก ทวารหนัก ช่องคลอด อวัยวะเพศชาย และผิวหนังรอบๆ ทวารหนัก ดังนั้นผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพศหญิงทุกรายควรได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวีและตรวจซ้ำอย่างน้อยปีละครั้ง
การรักษามะเร็งปากมดลูกในผู้ติดเชื้อเอชไอวีของหลายสถาบันเหมือนกับในผู้ที่ไม่ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมักจะมีอาการแสดงที่รุนแรง ตอบสนองต่อการรักษาด้อยกว่าและมีอัตราการรอดชีวิตน้อยกว่า
โรคมะเร็งที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ (Non-AIDS-related malignancies)
โรค Hodgkin's
ผู้ป่วยเอดส์มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้มากกว่าประชากรทั่วไป 3-16 เท่า และมักพบใน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดมากกว่าที่เป็นชายรักร่วมเพศ พยาธิวิทยาที่พบในโรค Hodgkin's มีความแตกต่างกันระหว่างผู้ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ เอชไอวีในประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่เป็น mixed cellularity subtype เมื่อเทียบกับ nodular sclerosis ที่พบในผู้ที่ไม่ติดเชื้อ การมีเซลล์ fibrohistiocytic stromal ในเนื้อเยื่อเ ป็นลักษณะเฉพาะที่พบในผู้ติดเชื้อเอชไอวี.
อาการแสดงทางคลินิกและการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความแตกต่างจากผู้ที่ไม่ติดเชื้อ กล่าวคือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมักจะมาด้วยอาการของ B และร้อยละ 75-90 จะมีการกระจายของโรคนอกจากที่ต่อมน้ำเหลือง และพบพยาธิสภาพที่ไขกระดูกร้อยละ 40-50
ในช่วงยุคก่อนที่จะมียาต้านไวรัสชนิด HAART การใช้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกันที่ใช้รักษาในผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีสามารถทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็น มะเร็งชนิดนี้หายได้มากน้อยแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาของการมีชีวิตสั้น (ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเสียชีวิตที่ 12-18 เดือน) สาเหตุการเสียชีวิตคือ การติดเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นในระหว่างที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำจากยาเคมีบำบัด
มะเร็งของอวัยวะสืบพันธ์และก้น (anogenital malignancy)
มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นของทั้ง squamous intraepithelial lesions และมะเร็งทวารหนักในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นชายรักร่วมเพศ
มะเร็งปอด
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดมากกว่าประชากรทั่วไปประมาณ 4-14 เท่า พบชนิด adenocarcinoma บ่อยที่สุด และอุบัติการณ์ของมะเร็งหลอดลม (bronchogenic carcinoma) อาจจะเพิ่มขึ้นด้วย มะเร็งปอดนี้พบได้ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกกลุ่มแม้ว่าจะพบมากที่สุดในกลุ่มผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด พยาธิกำเนิดที่แท้จริงยังไม่ทราบอาจจะอธิบายได้จากการที่ติดเชื้อเอชไอวี ทำให้มีภูมิต้าน ทานต่ำลงและเกิดการกระตุ้นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดมะเร็ง อย่างไรก็ตาม มะเร็งปอดนี้สามารถพบได้ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีจำนวน CD4 สูงด้วย
ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดในผู้ติดเชื้อเอชไอวีคือ การสูบบุหรี่ อาการและอาการแสดงเหมือน กับผู้ป่วยกลุ่มอื่น แต่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นมักจะมีอาการของโรคมะเร็งรุนแรงแล้ว เมื่อได้รับการวินิจฉัย การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดนั้นพิจารณาเป็นกรณีเนื่องจากมีการรอดชีวิตต่ำ
มะเร็งเต้านม
มี 2 ประเด็นสำคัญของมะเร็งเต้านมคือ ปัญหาทางเศรษฐฐานะและสังคมทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพศหญิงไม่ได้รับการคัดกรองโรคด้วย mammography ที่เพียงพอ ภาวะภูมิคุ้มกันที่ต่ำไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นการเจริญของมะเร็งเต้านม
มะเร็งผิวหนัง
พบอุบัติการณ์ของมะเร็งผิวหนังชนิด basal cell carcinoma เพิ่มมากขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ส่วนมะเร็งผิวหนังอื่นที่อาจจะพบได้คือ squamous cell carcinoma และ melanoma ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งผิวหนัง 2 ชนิดหลังนี้ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเหมือนกับในผู้ที่ไม่ติดเชื้อ
มะเร็งที่ศีรษะและคอ
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพศชายส่วนใหญ่ที่เป็น squamous cell carcinoma บริเวณศีรษะและคอมักจะเป็นชายรักร่วมเพศ อุบัติการณ์อาจจะเพิ่มขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ติดเชื้อและมักจะแสดงอาการที่อายุน้อยกว่า การรักษานั้นมักจะพบภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยและผลการรักษาไม่ดีเมื่อเทียบกับ ผู้ที่ไม่ติดเชื้อ
มะเร็งอัณฑะ (testicular neoplasms)
อุบัติการณ์ของมะเร็งอัณฑะชนิด germ cell และ seminomas เพิ่มขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ติดเชื้อ การรักษาโดยทั่วไปเหมือนผู้ที่ไม่ติดเชื้อ ส่วนใหญ่มีการตอบสนองต่อการรักษาดีและสามารถหายขาด (cure) แม้ว่าอัตราการรอดชีวิตในระยะยาวขึ้นกับการติดเชื้อเอชไอวีเอง จากการรายงานผู้ป่วย 26 ราย มีชีวิตรอดที่ 3 ปีเท่ากับร้อยละ 65 และมีอัตราการรอดชีวิตที่ปลอดจากโรค (disease free survival) ร้อยละ 65 เช่นกัน
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (colorectal cancer)
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักอาจจะเพิ่มขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าและรุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป พบว่ามีขนาดของพยาธิสภาพใหญ่และรุนแรงกว่า
Multiple myeloma
พบความผิดปกติของ plasma cell โดยเฉพาะ paraproteinemia เพิ่มขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวี อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 33 ปี ซึ่งน้อยกว่าประชากรทั่วไป ภาวะ paraproteinemia อาจพบเพียงชั่วคราวหรือถาวรแต่การพบภาวะนี้อย่างถาวรไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติของ plasma cell หรือมะเร็งของ B-cell นอกจากนี้ยังมีรายงานภาวะอื่นเช่น reactive plasmacytosis, gammopathies
สรุป
โรคมะเร็งสามารถพบได้ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ ชนิดของมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ติดเชื้อเอชไอวีในต่างประเทศคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins และ Kaposi's sarcoma ส่วนที่พบบ่อยในผู้ป่วยไทยคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins และมะเร็งปากมดลูก อย่างไรก็ตามความชุกของโรคมะเร็ง ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีไทยต่ำ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยและแพทย์ผู้ดูแลรักษาไม่นึกถึงหรือไม่ให้ความสนใจ การรักษาทั้งการติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสชนิด HAART และ/หรือการรักษาโรคมะเร็ง รวมไปถึงพิจารณาการคัดกรองโรคมะเร็งบางชนิดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง อาจจะป้องกันการเกิดมะเร็ง ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ที่มา : หมอชาวบ้าน
Report : LIV APCO
โรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ Malignancies in HIV/AIDS Patients (ตอนที่ 2)
มะเร็งปากมดลูก
มีการรายงานมะเร็งปากมดลูกในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพศหญิงมากกว่าที่คาดไว้ ในช่วงแรกผู้ป่วยทั้งหมดเสียชีวิตที่ค่าเฉลี่ย 10 เดือน ด้วยเหตุผลนี้จึงเพิ่ม cervical dysplasia ชนิดรุนแรงปานกลาง (moderate) และรุนแรงมาก (severe) เป็นภาวะที่บ่งชี้ว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีอาการ (category B) และมะเร็งปากมดลูกชนิดลุกลามเป็นภาวะที่บ่งชี้ว่าเป็นเอดส์ (category C)
ปัจจุบันเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างการติดเชื้อ human papilloma virus และมะเร็งหลายชนิดของระบบสืบพันธุ์ซึ่งรวมไปถึง ปากมดลูก ทวารหนัก ช่องคลอด อวัยวะเพศชาย และผิวหนังรอบๆ ทวารหนัก ดังนั้นผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพศหญิงทุกรายควรได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวีและตรวจซ้ำอย่างน้อยปีละครั้ง
การรักษามะเร็งปากมดลูกในผู้ติดเชื้อเอชไอวีของหลายสถาบันเหมือนกับในผู้ที่ไม่ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมักจะมีอาการแสดงที่รุนแรง ตอบสนองต่อการรักษาด้อยกว่าและมีอัตราการรอดชีวิตน้อยกว่า
โรคมะเร็งที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ (Non-AIDS-related malignancies)
โรค Hodgkin's
ผู้ป่วยเอดส์มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้มากกว่าประชากรทั่วไป 3-16 เท่า และมักพบใน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดมากกว่าที่เป็นชายรักร่วมเพศ พยาธิวิทยาที่พบในโรค Hodgkin's มีความแตกต่างกันระหว่างผู้ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ เอชไอวีในประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่เป็น mixed cellularity subtype เมื่อเทียบกับ nodular sclerosis ที่พบในผู้ที่ไม่ติดเชื้อ การมีเซลล์ fibrohistiocytic stromal ในเนื้อเยื่อเ ป็นลักษณะเฉพาะที่พบในผู้ติดเชื้อเอชไอวี.
อาการแสดงทางคลินิกและการตอบสนองต่อการรักษาในผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความแตกต่างจากผู้ที่ไม่ติดเชื้อ กล่าวคือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมักจะมาด้วยอาการของ B และร้อยละ 75-90 จะมีการกระจายของโรคนอกจากที่ต่อมน้ำเหลือง และพบพยาธิสภาพที่ไขกระดูกร้อยละ 40-50
ในช่วงยุคก่อนที่จะมียาต้านไวรัสชนิด HAART การใช้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกันที่ใช้รักษาในผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีสามารถทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็น มะเร็งชนิดนี้หายได้มากน้อยแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาของการมีชีวิตสั้น (ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเสียชีวิตที่ 12-18 เดือน) สาเหตุการเสียชีวิตคือ การติดเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นในระหว่างที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำจากยาเคมีบำบัด
มะเร็งของอวัยวะสืบพันธ์และก้น (anogenital malignancy)
มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นของทั้ง squamous intraepithelial lesions และมะเร็งทวารหนักในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นชายรักร่วมเพศ
มะเร็งปอด
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดมากกว่าประชากรทั่วไปประมาณ 4-14 เท่า พบชนิด adenocarcinoma บ่อยที่สุด และอุบัติการณ์ของมะเร็งหลอดลม (bronchogenic carcinoma) อาจจะเพิ่มขึ้นด้วย มะเร็งปอดนี้พบได้ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกกลุ่มแม้ว่าจะพบมากที่สุดในกลุ่มผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด พยาธิกำเนิดที่แท้จริงยังไม่ทราบอาจจะอธิบายได้จากการที่ติดเชื้อเอชไอวี ทำให้มีภูมิต้าน ทานต่ำลงและเกิดการกระตุ้นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดมะเร็ง อย่างไรก็ตาม มะเร็งปอดนี้สามารถพบได้ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีจำนวน CD4 สูงด้วย
ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดในผู้ติดเชื้อเอชไอวีคือ การสูบบุหรี่ อาการและอาการแสดงเหมือน กับผู้ป่วยกลุ่มอื่น แต่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีนั้นมักจะมีอาการของโรคมะเร็งรุนแรงแล้ว เมื่อได้รับการวินิจฉัย การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดนั้นพิจารณาเป็นกรณีเนื่องจากมีการรอดชีวิตต่ำ
มะเร็งเต้านม
มี 2 ประเด็นสำคัญของมะเร็งเต้านมคือ ปัญหาทางเศรษฐฐานะและสังคมทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพศหญิงไม่ได้รับการคัดกรองโรคด้วย mammography ที่เพียงพอ ภาวะภูมิคุ้มกันที่ต่ำไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นการเจริญของมะเร็งเต้านม
มะเร็งผิวหนัง
พบอุบัติการณ์ของมะเร็งผิวหนังชนิด basal cell carcinoma เพิ่มมากขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ส่วนมะเร็งผิวหนังอื่นที่อาจจะพบได้คือ squamous cell carcinoma และ melanoma ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งผิวหนัง 2 ชนิดหลังนี้ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเหมือนกับในผู้ที่ไม่ติดเชื้อ
มะเร็งที่ศีรษะและคอ
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพศชายส่วนใหญ่ที่เป็น squamous cell carcinoma บริเวณศีรษะและคอมักจะเป็นชายรักร่วมเพศ อุบัติการณ์อาจจะเพิ่มขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ติดเชื้อและมักจะแสดงอาการที่อายุน้อยกว่า การรักษานั้นมักจะพบภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยและผลการรักษาไม่ดีเมื่อเทียบกับ ผู้ที่ไม่ติดเชื้อ
มะเร็งอัณฑะ (testicular neoplasms)
อุบัติการณ์ของมะเร็งอัณฑะชนิด germ cell และ seminomas เพิ่มขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ติดเชื้อ การรักษาโดยทั่วไปเหมือนผู้ที่ไม่ติดเชื้อ ส่วนใหญ่มีการตอบสนองต่อการรักษาดีและสามารถหายขาด (cure) แม้ว่าอัตราการรอดชีวิตในระยะยาวขึ้นกับการติดเชื้อเอชไอวีเอง จากการรายงานผู้ป่วย 26 ราย มีชีวิตรอดที่ 3 ปีเท่ากับร้อยละ 65 และมีอัตราการรอดชีวิตที่ปลอดจากโรค (disease free survival) ร้อยละ 65 เช่นกัน
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (colorectal cancer)
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักอาจจะเพิ่มขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าและรุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป พบว่ามีขนาดของพยาธิสภาพใหญ่และรุนแรงกว่า
Multiple myeloma
พบความผิดปกติของ plasma cell โดยเฉพาะ paraproteinemia เพิ่มขึ้นในผู้ติดเชื้อเอชไอวี อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 33 ปี ซึ่งน้อยกว่าประชากรทั่วไป ภาวะ paraproteinemia อาจพบเพียงชั่วคราวหรือถาวรแต่การพบภาวะนี้อย่างถาวรไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติของ plasma cell หรือมะเร็งของ B-cell นอกจากนี้ยังมีรายงานภาวะอื่นเช่น reactive plasmacytosis, gammopathies
สรุป
โรคมะเร็งสามารถพบได้ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ ชนิดของมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ติดเชื้อเอชไอวีในต่างประเทศคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins และ Kaposi's sarcoma ส่วนที่พบบ่อยในผู้ป่วยไทยคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins และมะเร็งปากมดลูก อย่างไรก็ตามความชุกของโรคมะเร็ง ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีไทยต่ำ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยและแพทย์ผู้ดูแลรักษาไม่นึกถึงหรือไม่ให้ความสนใจ การรักษาทั้งการติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสชนิด HAART และ/หรือการรักษาโรคมะเร็ง รวมไปถึงพิจารณาการคัดกรองโรคมะเร็งบางชนิดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง อาจจะป้องกันการเกิดมะเร็ง ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ที่มา : หมอชาวบ้าน
Report : LIV APCO