สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
คนทำชาติเจ๊ง เป็นแสนๆล้าน ได้รับคำชม ..... แม่พระประเสริฐแท้
คนมาทีหลัง หาเงินกู้มาใช้หนี้ อีคนก่อนทำเจ๊ง ..... โดนว่า ห่วย บริหารไม่เป็น
เอาเงินภาษีมาอุ้ม ธรุกิจที่ไปไม่รอด ...... โดนด่า ว่าไปอุ้มทำไม ปล่อยให้เจ๊งๆไปเหอะ เสียดายภาษี
พอจะเอาไปขายตัดขาดทุน ..... โดนว่า ขายสมบัติกิน
ตรรกเขาแหละ
คนมาทีหลัง หาเงินกู้มาใช้หนี้ อีคนก่อนทำเจ๊ง ..... โดนว่า ห่วย บริหารไม่เป็น
เอาเงินภาษีมาอุ้ม ธรุกิจที่ไปไม่รอด ...... โดนด่า ว่าไปอุ้มทำไม ปล่อยให้เจ๊งๆไปเหอะ เสียดายภาษี
พอจะเอาไปขายตัดขาดทุน ..... โดนว่า ขายสมบัติกิน
ตรรกเขาแหละ
เข้ามากดปุ่ม ถูกใจ, ฤดี ฤดี ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 1266372 ถูกใจ, ฮก ฮก ถูกใจ, นักฆ่านิรนาม ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 2141067 ถูกใจ, กางร่มตอนแดดออก ถูกใจ, Kadomatsu ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 1452663 ถูกใจ, dji_2000 ถูกใจรวมถึงอีก 5 คน ร่วมแสดงความรู้สึก
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
พาดหัวข่าว: จ่อขายสมบัติชาติ "ธนาคารอิสลาม ประเทศไทย"
8 มิ.ย.58 นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์) เปิดเผยว่า ธนาคารอยู่ระหว่างเจรจา กับสถาบันการเงินอิสลามรายใหญ่จากต่างประเทศ ทั้งในแถบตะวันออกกลาง และในเอเชีย เพื่อเข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมทุนถือหุ้นในไอแบงก์ และมาบริหารจัดการฐานะทางการเงินให้ธนาคาร รวมถึงเปลี่ยนบทบาทสามารถเชื่อมโยงการเงินการลงทุนได้ทั่วโลก โดยคาดว่า สรุปอย่างชัดเจนภายใน 6 เดือนนี้
สำหรับสัดส่วนการถือครองหุ้นของพันธมิตรต่างชาตินั้น จะเข้ามาถือหุ้นมากกว่าที่รัฐถืออยู่ในปัจจุบัน แต่รัฐต้องมีสัดส่วนอยู่บ้างพอสมควร โดยไม่จำเป็นต้องถือหุ้นใหญ่ และไม่จำเป็นต้องเป็นรัฐวิสาหกิจ หากพันธมิตรเอกชนจากต่างชาติเข้าถือหุ้นจะสามารถผลักดันให้ไอแบงก์เชื่อมโยงธุรกิจระหว่างประเทศได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2559
"เหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยอยู่ธนาคารนครหลวงไทย ที่ใช้เวลาหาพันธมิตรอยู่ร่วม 9 เดือน ทำให้มีประสบการณ์และปรับนำมาใช้กับไอแบงก์ ซึ่งมั่นใจไอแบงก์มีความเป็นไปได้ที่จะหาพันธมิตรที่เชี่ยวชาญและมีระบบอิสลามิค แบงก์ ,อิสลามิค ไฟแนนซ์ และอิสลามิค ฟันด์ ซึ่งคงใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ไม่เกิน 9 เดือนจากนี้ โดยจะมีกรอบสัญญาในการใส่เงินทุนและบริหารจัดการไม่เกิน 10 ปี" นายชัยวัฒน์ กล่าว
นอกจากนี้ ธนาคารยังอยู่ระหว่างดำเนินตามแผนฟื้นฟูที่ได้รับการอนุมัติจากซูเปอร์บอร์ด ให้ดำเนินการแยกหนี้ดีและดีไม่ดี ออกจากกัน โดยธนาคารจะจ้างที่ปรึกษาทางการเงินเข้ามาดำเนินการ ในส่วนหนี้ที่ดีก็ต้องต่อยอดดำเนินการต่อ ขณะที่หนี้ไม่ดี ก็บริหารให้ถูกต้อง ซึ่งจะนำออกมาขายหรือไม่นั้นต้องดูก้อนลูกหนี้ว่าเป็นอย่างไร หากเป็นลูกหนี้ที่ทำให้ธนาคารเสียหายก็ไม่ควรขาย เพราะจะทำให้ผู้กระทำความผิดหลุดลอยไป ทางไอแบงก์จะดำเนินการเอาผิดต่อไป
ขณะที่ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ของไอแบงก์ในปัจจุบันมีอยู่ 5.7 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นกว่า 50% ของสินเชื่อคงค้างที่กว่า 1 แสนล้านบาท มีการตั้งสำรองสูงถึง 3.2 หมื่นล้านบาท โดยหลังจากไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ พบว่าเอ็นพีแอลได้หยุดไหล และลูกหนี้มีอาการดีขึ้น จากการเรียกลูกหนี้เข้าเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างทั้งหมด คาดว่าหากใช้ระยะเวลาการปรับสถานะลูกหนี้เป็นหนี้ดีตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จะทำให้หนี้ลดลงไป 1.08 หมื่นล้านบาท และยังมั่นใจ สิ้นปี 2558 นี้ หนี้เอ็นพีแอลจะลดลง 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้เงินสำรองกลับมาประมาณ 1 หมื่นล้านบาท
http://www.naewna.com/business/162070