วิกฤตหนี้เสียธนาคารอิสลาม ระเบิดเวลาลูกใหญ่
หนี้เสียในธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือไอแบงก์ คือ ระเบิดเวลาลูกใหญ่ (อีกลูก) ที่รัฐบาล คสช.ต้องเร่งเข้าไปเก็บกู้โดยเร็วที่สุด
1)นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะกำกับดูแลไอแบงก์ เปิดเผยว่าจะเชิญนายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานคณะกรรมการไอแบงก์มาหารือเพื่อหามาตรการเร่งด่วนในการฟื้นฟูฐานะธนาคาร เนื่องจากตอนนี้ธนาคารประสบปัญหาลูกหนี้ตกชั้นเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(หนี้เสีย) อย่างรวดเร็ว โดยยอดหนี้เสียล่าสุดสูงถึง 57,000 ล้านบาท!
สูงกว่า 50% ของสินเชื่อคงค้างของธนาคาร!
2) ลองลำดับดูการเติบโตของหนี้เสียในไอแบงก์ จะพบว่า
ช่วงเดือนพ.ย.2555 หนี้เสียประมาณ 24,000 ล้านบาท
ช่วงเดือนเม.ย.2556หนี้เสียเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 38,000 ล้านบาท
กระทั่งว่า เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2556 พนักงานธนาคารนับร้อยคนได้รวมตัว แต่งชุดดำ ประท้วงการบริหารของธนาคารในยุคของนายธานินทร์ อังสุวรังษี โดยระบุว่าเป็นยุคที่ธนาคารตกต่ำอย่างที่สุดเกิดผลขาดทุนสะสมจำนวนมาก หนี้เสียมโหฬาร
พนักงานยื่นหนังสือเรียกร้องให้แก้ไข 9 ประเด็น อาทิ 1.เร่งลดผลกระทบและการตกชั้นเป็นหนี้เสียของลูกค้า ด้วยการสั่งการให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องยกเลิกกระบวนการอนุมัติและเบิกจ่ายสินเชื่อที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับธนาคาร 2.สั่งการให้ยกเลิกการรวบอำนาจการอนุมัติตามลำดับชั้นโดยกรรมการผู้จัดการธนาคาร ซึ่งทำให้การอนุมัติดำเนินการต่างๆ ล่าช้าไม่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดความเสียหาย3. สั่งการให้ยกเลิกการว่าจ้างคณะที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการทุกราย เนื่องจากค่าใช้จ่ายรวมมากกว่า 1 ล้านบาทต่อเดือนฯลฯ
ช่วงเดือน ส.ค.2557 หนี้เสียประมาณ 42,000 ล้านบาท
เมื่อถึงสิ้นปี 2557 หนี้เสียก็ขยับขึ้นไปปริ่มๆ 50,000 ล้านบาทแล้ว!
กระทั่งล่าสุด มีข่าวว่าขยับขึ้นไปถึง 57,000 ล้านบาทแล้ว!
จะเห็นว่า หนี้เสียเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด
สะท้อนว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นหนักหน่วง เรื้อรัง ลงลึก ยากแก่การเยียวยา
แม้รัฐบาลปัจจุบัน เมื่อเข้ามารับทำหน้าที่ จะพยายามเร่งให้มีการดำเนินการปฏิรูปและฟื้นฟูกิจการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางที่เป็นมติของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ หรือซูเปอร์บอร์ดแต่สถานการณ์ปัจจุบันก็ยังน่าวิตก
หากยังมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีกจนทะลุขึ้นไปถึง 60-80% ของสินเชื่อรวมจะเป็นระดับที่ยากเกินเยียวยา
3)หนี้เสียเกือบทั้งหมดนั้น มิใช่ลูกค้าที่เป็นมุสลิม
ทั้งๆ ที่ เจตนารมณ์ของการตั้งธนาคารอิสลาม คือ การสนับสนุนธุรกรรมตามหลักศาสนาอิสลาม
4)ปัญหาใหญ่ในธนาคารอิสลาม ก็ไม่พ้นวังวนของการเมืองสามานย์ ที่เข้าไปก้าวก่าย แทรกแซง
สะท้อนผ่านภาพของความขัดแย้งในยุคที่ผ่านมา
การแก้ปัญหาในยุครัฐบาลที่แล้ว ไม่ปรากฏความก้าวหน้า ซ้ำยังดูเหมือนว่ามีการล้วงลูกที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาด้วยซ้ำ
เห็นได้จากการลาออกของนายธงรบ ด่านอำไพ ซึ่งเข้ามารักษาการผู้จัดการต่อจากนายธานินทร์ แต่ก็อยู่ได้เพียง 3 เดือน ต้องลาออกไปในเดือนต.ค.2556 ระบุว่า มีปัญหาภายในธนาคาร โดยเฉพาะการถูกแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการบริหารในการอนุมัติสินเชื่อต่างๆ โดยนักการเมืองในรัฐบาลยุคนั้น
มีบุคคลภายนอกเข้ามาเป็น ที่ปรึกษาควบคุมการวิเคราะห์และอนุมัติสินเชื่อโดยเฉพาะ
เมื่อมีการสอบสวนผู้บริหารเดิม แทนที่รัฐมนตรีจะเร่งเอาผิด กลับให้ชะลอการสอบสวน
นายธงรบยังเปิดเผยด้วยว่า รัฐมนตรีสั่งด้วยวาจาว่าไม่ต้องทำให้ธนาคารนี้เป็นธนาคารอิสลาม ไม่ต้องปรึกษาที่ปรึกษาด้านศาสนาทุกเรื่องก็ได้ หากปรึกษาแล้วมีปัญหา ก็ให้ทำผิดหลักศาสนาได้
ปัญหาของธนาคารอิสลามในยุครัฐบาลที่แล้ว จึงทรุดหนักลงเรื่อยๆ
เหมือนคนป่วยที่ถูกโรคแทรกซ้อน
นายธงรบ ด่านอำไพ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุเนื้อหาตอบโต้การบริหารของฝ่ายการเมืองในขณะนั้นด้วย ระบุว่า
“…ปริมาณหนี้เสียเพิ่ม เกิดจากหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นจากกรรมการผู้จัดการ นายธานินทร์ อังสุวรังษี คนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกิติรัตน์ ณ ระนอง ส่งมาบริหารงานเป็นกรรมการผู้จัดการ ทำให้หนี้เสียเพิ่มจาก 24,000 ล้านบาทในเดือนธันวาคม ปี 2555 มาเป็น 42,000 พันล้านบาทในเดือนมิถุนายน 2556 ตรงนี้ทำไมไม่พูดถึง กำกับดูแลอย่างไร ถึงปล่อยให้หนี้เพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าตัว และต่อมานายธานินทร์ อังสุวรังษี ถูกพนักงานธนาคารเข้าชื่อร่วมกันมากกว่า 1,400 คนขับไล่ออกไป แต่รัฐมนตรีไม่เอาผิด และยังมีคำสั่งไม่ให้ผม ซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการบริหาร ไม่ให้สอบสวนลงโทษอีกด้วย เป็นการช่วยเหลือ ปกปิด ความผิดให้กัน แล้วกลับมาให้ข่าว ว่าไอแบงก์แก้หนี้เสียได้น้อย ผมไม่มีผลงาน ซึ่งไม่ตรงกับความจริง เป็นการโกหกประชาชนครับ ไม่มีคุณธรรม ไม่มีจริยธรรม ...ขอให้หยุดการโกหกประชาชนและใส่ร้ายผม ผมยอมลาออกให้ตามที่ขอร้องแล้ว ยังมาใส่ร้ายเอาดีให้ตัวเองอีก ขอให้ตั้งใจทำงานเพื่อประเทศชาติจริงๆ ด้วยความซื่อตรงดีกว่าครับ อย่าสร้างภาพ ไม่งั้นผมจะไม่เกรงใจนะครับ หรือจะให้ผมออกมาเปิดโปง ความจริงทั้งหมด ...ครับ”
จนถึงวันนี้ ยังไม่มีการสอบสวนให้ข้อเท็จจริงปรากฏเป็นที่ยุติ และดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
5)ธนาคารอิสลามจึงเสมือนคนป่วยที่ถูกโรคแทรกซ้อน แล้วยังถูกเมินเฉยจากหมอ ทำให้ไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยาอย่างจริงจัง ทันท่วงที
เมื่อรัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามารับทำหน้าที่ อาการก็หนักหน่วง ร้ายแรง พะงาบๆ
เนื้อร้ายกัดกินภายใน เข้ากระดูก จะต้องผ่าตัดใหญ่สถานเดียว
รมช.วิสุทธิ์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา ผู้บริหารไอแบงก์พยายามแก้ไขใน 4 เรื่อง
ลำดับแรก การแก้ไขหนี้เสียของธนาคารให้ลดลง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จะต้องหารือกันว่าสาเหตุเกิดจากอะไรและจะปรับวิธีการใหม่อย่างไรเพื่อช่วยให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวลุล่วงโดยเร็ว
เรื่องที่สอง จะต้องเร่งลดรายจ่ายของธนาคาร เช่น การปิดสาขาที่ไม่จำเป็นและไม่คุ้มทุน
เรื่องที่สาม คือ การเร่งหารายได้เพิ่มให้กับธนาคาร
และเรื่องที่สี่ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีของธนาคาร
จะเห็นว่า การดำเนินการที่ผ่านมา ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้เสียได้
6)สิ่งที่รัฐบาลปัจจุบัน ควรจะต้องเร่งทำ นอกจากกู้วิกฤติหนี้เสียแล้ว จะต้องดำเนินการเอาผิดกับนักการเมืองและผู้เกี่ยวข้องที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงหมักหมมไว้อย่างมโหฬารนี้ด้วย
หากขั้นตอนปกติ กลไกปกติ ยังล่าช้า นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. ก็น่าจะพิจารณาใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อสะสางปัญหาที่จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเงินอย่างร้ายแรงนี้โดยด่วนที่สุด
นอกจากจะเป็นการคืนความเป็นธรรมแก่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยแล้ว ยังช่วยระงับยับยั้งความเสียหายบานปลายไปได้อีกทางหนึ่งด้วย
น่าจะต้องสอบสวนเสียด้วยว่า...
มีผู้บริหารยุคไหนไปจัดประชุมธนาคารอิสลามที่สถานสปาจริงหรือเปล่า?
บางยุค มีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องมีการสั่งให้สินเชื่อ โดยก้าวก่ายการทำหน้าที่ของผู้บริหารธนาคารตามปกติ ระบุว่าการอนุมัติสินเชื่อจะต้องผ่านการพิจารณาของที่ปรึกษาคนหนึ่ง ใช่หรือไม่?
มีการตกแต่งงบการเงินและรายงานเท็จเกี่ยวกับสถานะของธนาคาร รวมทั้งซุกยอดหนี้เสียในยุคไหนหรือไม่? เพียงเพื่อปกปิดปัญหาในยุคตนเอง ทำให้ปัญหาหนี้เสียบานปลายเอาในยุคต่อมา ซึ่งการกระทำเช่นนั้น น่าจะผิดกฎหมายธนาคารอิสลาม และกฎหมายอาญา 157 ด้วย
ในยุคก่อนหน้านี้ เคยมีการเรียกรับสินบนจากการปล่อยสินเชื่อหรือไม่ แล้วกรณีที่มีบริษัทเอกชนได้ฟ้องร้องผู้บริหารบางคนว่ามีการเรียกรับสินบน เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ในยุคก่อนหน้านี้ ผู้บริหารได้มีการสมยอมกับนักการเมือง ให้ระงับการสอบข้อเท็จจริงหรือไม่? กระทั่งทำให้ปัญหาถูกหมักหมม ซุกขยะไว้ใต้พรม กัดลึก ไม่ได้รับการแก้ไขทันท่วงที กระทั่งยากแก่การเยียวยาในวันนี้
http://www.naewna.com/politic/columnist/18018
ข่าวร้ายค่อยๆทยอยออกมา ขาลงได้รึยัง
หนี้เสียในธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือไอแบงก์ คือ ระเบิดเวลาลูกใหญ่ (อีกลูก) ที่รัฐบาล คสช.ต้องเร่งเข้าไปเก็บกู้โดยเร็วที่สุด
1)นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะกำกับดูแลไอแบงก์ เปิดเผยว่าจะเชิญนายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานคณะกรรมการไอแบงก์มาหารือเพื่อหามาตรการเร่งด่วนในการฟื้นฟูฐานะธนาคาร เนื่องจากตอนนี้ธนาคารประสบปัญหาลูกหนี้ตกชั้นเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(หนี้เสีย) อย่างรวดเร็ว โดยยอดหนี้เสียล่าสุดสูงถึง 57,000 ล้านบาท!
สูงกว่า 50% ของสินเชื่อคงค้างของธนาคาร!
2) ลองลำดับดูการเติบโตของหนี้เสียในไอแบงก์ จะพบว่า
ช่วงเดือนพ.ย.2555 หนี้เสียประมาณ 24,000 ล้านบาท
ช่วงเดือนเม.ย.2556หนี้เสียเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 38,000 ล้านบาท
กระทั่งว่า เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2556 พนักงานธนาคารนับร้อยคนได้รวมตัว แต่งชุดดำ ประท้วงการบริหารของธนาคารในยุคของนายธานินทร์ อังสุวรังษี โดยระบุว่าเป็นยุคที่ธนาคารตกต่ำอย่างที่สุดเกิดผลขาดทุนสะสมจำนวนมาก หนี้เสียมโหฬาร
พนักงานยื่นหนังสือเรียกร้องให้แก้ไข 9 ประเด็น อาทิ 1.เร่งลดผลกระทบและการตกชั้นเป็นหนี้เสียของลูกค้า ด้วยการสั่งการให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องยกเลิกกระบวนการอนุมัติและเบิกจ่ายสินเชื่อที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับธนาคาร 2.สั่งการให้ยกเลิกการรวบอำนาจการอนุมัติตามลำดับชั้นโดยกรรมการผู้จัดการธนาคาร ซึ่งทำให้การอนุมัติดำเนินการต่างๆ ล่าช้าไม่มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดความเสียหาย3. สั่งการให้ยกเลิกการว่าจ้างคณะที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการทุกราย เนื่องจากค่าใช้จ่ายรวมมากกว่า 1 ล้านบาทต่อเดือนฯลฯ
ช่วงเดือน ส.ค.2557 หนี้เสียประมาณ 42,000 ล้านบาท
เมื่อถึงสิ้นปี 2557 หนี้เสียก็ขยับขึ้นไปปริ่มๆ 50,000 ล้านบาทแล้ว!
กระทั่งล่าสุด มีข่าวว่าขยับขึ้นไปถึง 57,000 ล้านบาทแล้ว!
จะเห็นว่า หนี้เสียเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด
สะท้อนว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นหนักหน่วง เรื้อรัง ลงลึก ยากแก่การเยียวยา
แม้รัฐบาลปัจจุบัน เมื่อเข้ามารับทำหน้าที่ จะพยายามเร่งให้มีการดำเนินการปฏิรูปและฟื้นฟูกิจการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางที่เป็นมติของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ หรือซูเปอร์บอร์ดแต่สถานการณ์ปัจจุบันก็ยังน่าวิตก
หากยังมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีกจนทะลุขึ้นไปถึง 60-80% ของสินเชื่อรวมจะเป็นระดับที่ยากเกินเยียวยา
3)หนี้เสียเกือบทั้งหมดนั้น มิใช่ลูกค้าที่เป็นมุสลิม
ทั้งๆ ที่ เจตนารมณ์ของการตั้งธนาคารอิสลาม คือ การสนับสนุนธุรกรรมตามหลักศาสนาอิสลาม
4)ปัญหาใหญ่ในธนาคารอิสลาม ก็ไม่พ้นวังวนของการเมืองสามานย์ ที่เข้าไปก้าวก่าย แทรกแซง
สะท้อนผ่านภาพของความขัดแย้งในยุคที่ผ่านมา
การแก้ปัญหาในยุครัฐบาลที่แล้ว ไม่ปรากฏความก้าวหน้า ซ้ำยังดูเหมือนว่ามีการล้วงลูกที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาด้วยซ้ำ
เห็นได้จากการลาออกของนายธงรบ ด่านอำไพ ซึ่งเข้ามารักษาการผู้จัดการต่อจากนายธานินทร์ แต่ก็อยู่ได้เพียง 3 เดือน ต้องลาออกไปในเดือนต.ค.2556 ระบุว่า มีปัญหาภายในธนาคาร โดยเฉพาะการถูกแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการบริหารในการอนุมัติสินเชื่อต่างๆ โดยนักการเมืองในรัฐบาลยุคนั้น
มีบุคคลภายนอกเข้ามาเป็น ที่ปรึกษาควบคุมการวิเคราะห์และอนุมัติสินเชื่อโดยเฉพาะ
เมื่อมีการสอบสวนผู้บริหารเดิม แทนที่รัฐมนตรีจะเร่งเอาผิด กลับให้ชะลอการสอบสวน
นายธงรบยังเปิดเผยด้วยว่า รัฐมนตรีสั่งด้วยวาจาว่าไม่ต้องทำให้ธนาคารนี้เป็นธนาคารอิสลาม ไม่ต้องปรึกษาที่ปรึกษาด้านศาสนาทุกเรื่องก็ได้ หากปรึกษาแล้วมีปัญหา ก็ให้ทำผิดหลักศาสนาได้
ปัญหาของธนาคารอิสลามในยุครัฐบาลที่แล้ว จึงทรุดหนักลงเรื่อยๆ
เหมือนคนป่วยที่ถูกโรคแทรกซ้อน
นายธงรบ ด่านอำไพ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุเนื้อหาตอบโต้การบริหารของฝ่ายการเมืองในขณะนั้นด้วย ระบุว่า
“…ปริมาณหนี้เสียเพิ่ม เกิดจากหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นจากกรรมการผู้จัดการ นายธานินทร์ อังสุวรังษี คนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกิติรัตน์ ณ ระนอง ส่งมาบริหารงานเป็นกรรมการผู้จัดการ ทำให้หนี้เสียเพิ่มจาก 24,000 ล้านบาทในเดือนธันวาคม ปี 2555 มาเป็น 42,000 พันล้านบาทในเดือนมิถุนายน 2556 ตรงนี้ทำไมไม่พูดถึง กำกับดูแลอย่างไร ถึงปล่อยให้หนี้เพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าตัว และต่อมานายธานินทร์ อังสุวรังษี ถูกพนักงานธนาคารเข้าชื่อร่วมกันมากกว่า 1,400 คนขับไล่ออกไป แต่รัฐมนตรีไม่เอาผิด และยังมีคำสั่งไม่ให้ผม ซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการบริหาร ไม่ให้สอบสวนลงโทษอีกด้วย เป็นการช่วยเหลือ ปกปิด ความผิดให้กัน แล้วกลับมาให้ข่าว ว่าไอแบงก์แก้หนี้เสียได้น้อย ผมไม่มีผลงาน ซึ่งไม่ตรงกับความจริง เป็นการโกหกประชาชนครับ ไม่มีคุณธรรม ไม่มีจริยธรรม ...ขอให้หยุดการโกหกประชาชนและใส่ร้ายผม ผมยอมลาออกให้ตามที่ขอร้องแล้ว ยังมาใส่ร้ายเอาดีให้ตัวเองอีก ขอให้ตั้งใจทำงานเพื่อประเทศชาติจริงๆ ด้วยความซื่อตรงดีกว่าครับ อย่าสร้างภาพ ไม่งั้นผมจะไม่เกรงใจนะครับ หรือจะให้ผมออกมาเปิดโปง ความจริงทั้งหมด ...ครับ”
จนถึงวันนี้ ยังไม่มีการสอบสวนให้ข้อเท็จจริงปรากฏเป็นที่ยุติ และดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
5)ธนาคารอิสลามจึงเสมือนคนป่วยที่ถูกโรคแทรกซ้อน แล้วยังถูกเมินเฉยจากหมอ ทำให้ไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยาอย่างจริงจัง ทันท่วงที
เมื่อรัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามารับทำหน้าที่ อาการก็หนักหน่วง ร้ายแรง พะงาบๆ
เนื้อร้ายกัดกินภายใน เข้ากระดูก จะต้องผ่าตัดใหญ่สถานเดียว
รมช.วิสุทธิ์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา ผู้บริหารไอแบงก์พยายามแก้ไขใน 4 เรื่อง
ลำดับแรก การแก้ไขหนี้เสียของธนาคารให้ลดลง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จะต้องหารือกันว่าสาเหตุเกิดจากอะไรและจะปรับวิธีการใหม่อย่างไรเพื่อช่วยให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวลุล่วงโดยเร็ว
เรื่องที่สอง จะต้องเร่งลดรายจ่ายของธนาคาร เช่น การปิดสาขาที่ไม่จำเป็นและไม่คุ้มทุน
เรื่องที่สาม คือ การเร่งหารายได้เพิ่มให้กับธนาคาร
และเรื่องที่สี่ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีของธนาคาร
จะเห็นว่า การดำเนินการที่ผ่านมา ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้เสียได้
6)สิ่งที่รัฐบาลปัจจุบัน ควรจะต้องเร่งทำ นอกจากกู้วิกฤติหนี้เสียแล้ว จะต้องดำเนินการเอาผิดกับนักการเมืองและผู้เกี่ยวข้องที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงหมักหมมไว้อย่างมโหฬารนี้ด้วย
หากขั้นตอนปกติ กลไกปกติ ยังล่าช้า นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. ก็น่าจะพิจารณาใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อสะสางปัญหาที่จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเงินอย่างร้ายแรงนี้โดยด่วนที่สุด
นอกจากจะเป็นการคืนความเป็นธรรมแก่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยแล้ว ยังช่วยระงับยับยั้งความเสียหายบานปลายไปได้อีกทางหนึ่งด้วย
น่าจะต้องสอบสวนเสียด้วยว่า...
มีผู้บริหารยุคไหนไปจัดประชุมธนาคารอิสลามที่สถานสปาจริงหรือเปล่า?
บางยุค มีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องมีการสั่งให้สินเชื่อ โดยก้าวก่ายการทำหน้าที่ของผู้บริหารธนาคารตามปกติ ระบุว่าการอนุมัติสินเชื่อจะต้องผ่านการพิจารณาของที่ปรึกษาคนหนึ่ง ใช่หรือไม่?
มีการตกแต่งงบการเงินและรายงานเท็จเกี่ยวกับสถานะของธนาคาร รวมทั้งซุกยอดหนี้เสียในยุคไหนหรือไม่? เพียงเพื่อปกปิดปัญหาในยุคตนเอง ทำให้ปัญหาหนี้เสียบานปลายเอาในยุคต่อมา ซึ่งการกระทำเช่นนั้น น่าจะผิดกฎหมายธนาคารอิสลาม และกฎหมายอาญา 157 ด้วย
ในยุคก่อนหน้านี้ เคยมีการเรียกรับสินบนจากการปล่อยสินเชื่อหรือไม่ แล้วกรณีที่มีบริษัทเอกชนได้ฟ้องร้องผู้บริหารบางคนว่ามีการเรียกรับสินบน เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ในยุคก่อนหน้านี้ ผู้บริหารได้มีการสมยอมกับนักการเมือง ให้ระงับการสอบข้อเท็จจริงหรือไม่? กระทั่งทำให้ปัญหาถูกหมักหมม ซุกขยะไว้ใต้พรม กัดลึก ไม่ได้รับการแก้ไขทันท่วงที กระทั่งยากแก่การเยียวยาในวันนี้
http://www.naewna.com/politic/columnist/18018