บุญ
ความหมายตามพจนานุกรม พุทธศาสน์ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
กล่าวว่า บุญ คือเครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข,
ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ, กุศลธรรม
บารมี คือ คุณความดี ที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง
วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนา มีอยู่ ๓ ขั้นตอน
คือ การให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา
ที่นิยมเรียกกันว่า "ทาน ศีล ภาวนา" ซึ่งการให้ทาน หรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่
ตํ่าที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าถือศีลไปได้,
การถือศีลนั้น แม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญ
มากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบารมีที่สูงที่สุด
ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้ เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่น
การทำบุญตักบาตร ทอดกฐิน ผ้าป่า สละทรัพย์ สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ
ส่วนการถือศีล แม้จะได้บุญมากกว่า
การทำทาน ก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมีอย่างไร
จึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุด
..............................................................
"เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์"
การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่น
ความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตนอันเป็นกิเลสหยาบ คือ "โลภกิเลส"
และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วยเมตตาธรรมของตน
อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตาพรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร
๔ ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์
แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น ถ้าจะบริสุทธิ์จริง จะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ
(๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน
ก่อนที่จะให้ทานก็มีจิตโสมนัส ร่าเริง เบิกบาน
ยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น ให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สินของตน
(๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน
ระยะที่กำลังลงมือทำทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังเป็นผู้ให้ผู้อื่น
(๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว
ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี
เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานนั้นๆ
เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดี
ในทานที่ทำนั้นก็สำคัญและเนื่องมาจากเมตตาจิตที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่น
ให้พ้นจากความทุกข์และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตนนับว่าเป็น
เจตนาที่บริสุทธิ์ในเบื้องต้นแต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมา
แล้วนี้จะทำให้ยิ่งๆบริสุทธิ์มากขึ้นไปอีกหากผู้ให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยวิปัสสนาปัญญา
กล่าวคือ ไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทาน พร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา
โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งปวงที่ชาวโลก
นิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้น
แท้ที่จริงแล้ว ก็เป็นแต่เพียงวัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใด
โดยเฉพาะเป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น
และได้ผ่านการเป็นเจ้าของของผู้อื่นมาแล้วหลายชั่วคนซึ่งแต่ก่อนนั้นต่างก็ได้ล้มหายตายจากไปทั้งสิ้น
ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ได้ยึดถือเพียงชั่วคราว
แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่นๆ ต่อๆ ไปเช่นนี้
แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้จึงนับว่าเป็นเพียงสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น
ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลง
นับว่าเป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน
จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นของเราได้ถาวรตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว
ก็ตั้งอยู่ในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัว
ไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเอง
ก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้
เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็เฒ่าแก่และตายไปในที่สุด
เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง
เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้ว
ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาด้วยแล้ว เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง
ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมาก หากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของบริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ ๑ ด้วย
ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ
เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้แต่ก็มีข้ออันควรระวังอยู่ ก็คือ การทำทานนั้น
อย่าได้เบียดเบียนตนเอง...เช่นมีน้อยแต่ฝืนทำให้มากๆจนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้
เมื่อได้ทำไปแลั้วตนเองและสามีภริยารวมทั้งบุตรต้องลำบากขาดแคลน
เพราะไม่มีจะกินจะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง เจตนานั้นย่อมไม่
บริสุทธิ์ ทานที่ได้ทำไปแล้วนั้น แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย
" วิธีสร้างบุญบารมี " พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ - การให้ทาน
ความหมายตามพจนานุกรม พุทธศาสน์ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
กล่าวว่า บุญ คือเครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข,
ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ, กุศลธรรม
บารมี คือ คุณความดี ที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง
วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนา มีอยู่ ๓ ขั้นตอน
คือ การให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา
ที่นิยมเรียกกันว่า "ทาน ศีล ภาวนา" ซึ่งการให้ทาน หรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่
ตํ่าที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าถือศีลไปได้,
การถือศีลนั้น แม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญ
มากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบารมีที่สูงที่สุด
ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้ เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่น
การทำบุญตักบาตร ทอดกฐิน ผ้าป่า สละทรัพย์ สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ
ส่วนการถือศีล แม้จะได้บุญมากกว่า
การทำทาน ก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมีอย่างไร
จึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุด
..............................................................
"เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์"
การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่น
ความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตนอันเป็นกิเลสหยาบ คือ "โลภกิเลส"
และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วยเมตตาธรรมของตน
อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตาพรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร
๔ ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์
แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น ถ้าจะบริสุทธิ์จริง จะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ
(๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน
ก่อนที่จะให้ทานก็มีจิตโสมนัส ร่าเริง เบิกบาน
ยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น ให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สินของตน
(๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน
ระยะที่กำลังลงมือทำทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังเป็นผู้ให้ผู้อื่น
(๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว
ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี
เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานนั้นๆ
เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดี
ในทานที่ทำนั้นก็สำคัญและเนื่องมาจากเมตตาจิตที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่น
ให้พ้นจากความทุกข์และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตนนับว่าเป็น
เจตนาที่บริสุทธิ์ในเบื้องต้นแต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมา
แล้วนี้จะทำให้ยิ่งๆบริสุทธิ์มากขึ้นไปอีกหากผู้ให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยวิปัสสนาปัญญา
กล่าวคือ ไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทาน พร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา
โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งปวงที่ชาวโลก
นิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้น
แท้ที่จริงแล้ว ก็เป็นแต่เพียงวัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใด
โดยเฉพาะเป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น
และได้ผ่านการเป็นเจ้าของของผู้อื่นมาแล้วหลายชั่วคนซึ่งแต่ก่อนนั้นต่างก็ได้ล้มหายตายจากไปทั้งสิ้น
ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ได้ยึดถือเพียงชั่วคราว
แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่นๆ ต่อๆ ไปเช่นนี้
แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้จึงนับว่าเป็นเพียงสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น
ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลง
นับว่าเป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน
จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นของเราได้ถาวรตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว
ก็ตั้งอยู่ในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัว
ไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเอง
ก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้
เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็เฒ่าแก่และตายไปในที่สุด
เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง
เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้ว
ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาด้วยแล้ว เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง
ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมาก หากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของบริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ ๑ ด้วย
ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ
เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้แต่ก็มีข้ออันควรระวังอยู่ ก็คือ การทำทานนั้น
อย่าได้เบียดเบียนตนเอง...เช่นมีน้อยแต่ฝืนทำให้มากๆจนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้
เมื่อได้ทำไปแลั้วตนเองและสามีภริยารวมทั้งบุตรต้องลำบากขาดแคลน
เพราะไม่มีจะกินจะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง เจตนานั้นย่อมไม่
บริสุทธิ์ ทานที่ได้ทำไปแล้วนั้น แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย