อานิสงส์ของบุญ ที่ได้จากการให้ทาน กับผู้มีศีลธรรม

กระทู้สนทนา
ผู้ขอบ่อยๆ  ย่อมเป็นที่รังเกียจของผู้อื่นฉันใด  ผู้ให้ก็ย่อมเป็นที่รักของผู้อื่นฉันนั้น

คำว่า  ทาน  ที่แปลว่า  การให้  นั้น  จัดเป็นบุญเป็นกุศล  เป็นความดีอย่างหนึ่ง  หมายถึง เจตนาที่
เป็นเหตุให้เกิดการให้ก็ได้   หมายถึงวัตถุ  คือสิ่งของที่ให้ก็ได้  ทานจึงมีความหมายที่เป็นทั้งนามธรรมและรูป
ธรรม   ถ้าหมายถึงเจตนาที่ให้ก็เป็นนามธรรม  ถ้าหมายถึงวัตถุที่ให้ก็เป็นรูปธรรม

เจตนาที่เป็นเหตุให้เกิดการให้ทานนั้น  แบ่งตามกาลเวลาได้ ๓ กาล  คือ  
-ปุพเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นก่อน  คือเมื่อนึกจะให้  ก็แสวงหาตระเตรียมสิ่งที่จะให้นั้นให้พร้อม  
-มุญจเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะกำลังให้ของเหล่านั้น  
-อปรเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากได้ให้เรียบร้อยแล้ว  แล้วเกิดความปีติยินดีในการให้ของตน

บุคคลใดที่ทำบุญหรือให้ทานด้วยจิตใจที่โสมนัสยินดี  ทั้งประกอบด้วยปัญญา  เชื่อกรรมและผลของ
กรรมครบทั้ง  ๓  กาลแล้ว  บุญของผู้นั้นย่อมมีผลมาก

เจตนาทั้ง  ๓  กาลนี้  เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องดับไปเช่นเดียวกับสังขารธรรมอื่นๆ  และเมื่อดับไป
แล้วสามารถจะส่งผลนำเกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์และเทวดาได้

ใน  กินททสูตร สัง. สคาถ. ข้อ ๑๓๘  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

    การให้ข้าวและน้ำ  ชื่อว่า  ให้กำลัง
    การให้ผ้า  เครื่องนุ่งห่ม  ชื่อว่า  ให้ผิวพรรณ
    การให้ยานพาหนะ  ชื่อว่า  ให้ความสุขทั้งกายและใจ
    การให้ประทีบดวงไฟ  ชื่อว่าให้ดวงตา
    การให้ที่อยู่อาศัย  ชื่อว่า  ให้ทุกอย่าง  คือให้กำลัง  ให้ผิวพรรณ  ให้ความสุข  และให้ดวงตา

    แต่การพร่ำสอนธรรม  คือการให้ธรรมะ  ชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย  เพราะบุคคลจะพ้นจากความตาย
ไม่ต้องเกิดอีกได้  ก็เพราะอาศัยการได้สดับตรับฟังธรรม  ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

    การให้ธรรมะชนะการให้ (สิ่งอื่น) ทั้งปวง  

ขอกล่าวถึง  ทาน  ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า  ทานของสัตบุรุษ  ตามที่แสดง
ไว้ใน  อสัปปุริสสูตร  และ  สัปปุริสสูตร  อังคุตตรนิกาย  ปัญจกนิบาต  ดังต่อไปนี้

ทานของสัตบุรุษ มี ๕ อย่าง

๑.  ให้ทานโดยเคารพ  [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

    ๒.  ให้ทานโดยยำเกรง  [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

    ๓.  ให้ด้วยมือของตน  [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

    ๔.  ให้โดยไม่ทิ้งขว้าง  ข้อนี้หมายถึงไม่ทิ้งขว้างการให้  คือให้อยู่โดยสม่ำเสมอ  ให้อยู่เป็นประจำ

    ๕.  เห็นผลในอนาคตจึงให้  [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ  ถ้าไม่มีเหตุ  ผลก็เกิดไม่ได้ทั้งเหตุก็สมควรแก่ผลด้วย  คือเหตุดี  ผลต้องดี  
เหตุชั่วผลต้องชั่ว  ไม่ใช่เหตุดีแล้วผลชั่ว  หรือเหตุชั่วแล้วผลดี   ถ้าเป็นอย่างนั้นเหตุก็ไม่สมควรแก่ผล   สัตบุรุษ
ท่านทำเหตุ  คือทานของท่านดีผลที่ได้รับก็ต้องดีเป็นธรรมดา

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา  คือทานไว้  ๔  อย่าง  คือ

    ๑.  ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายกคือผู้ให้  แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคคาหกคือผู้รับ  
กล่าวคือผู้ให้เป็นผู้มีศีลงาม  มีธรรมงาม  ได้ของมาโดยชอบธรรม  เป็นผู้เชื่อกรรมและผลของกรรม  แต่
ผู้รับเป็นผู้ทุศีล  มีธรรมลามก

    ๒.  ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคคาหก  แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก  กล่าวคือผู้รับ
เป็นผู้มีศีลงาม  มีธรรมงาม  แต่ผู้ให้เป็นผู้ทุศีล  มีธรรมลามก  ได้ของมาโดยไม่ชอบธรรม  เป็นผู้ไม่เชื่อ
กรรมและผลของกรรม

    ๓.  ทักษิณาบางอย่าง  ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและปฏิคคาหก  คือทั้งผู้ให้และผู้รับ
เป็นผู้ทุศีล  มีธรรมลามก

    ๔.  ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและปฏิคคาหก  คือทั้งผู้ให้และผู้รับเป็นผู้มี
ศีลงาม  มีธรรมงามทานที่บริสุทธิ์ทั้งสองฝ่ายอย่างนี้ย่อมมีผลไพบูลย์

    อนึ่ง  พระบรมศาสดาตรัสว่า ถ้าทายกคือผู้ให้เป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ได้ของมา
โดยชอบธรรม  มีศรัทธาเชื่อกรรมและผลของกรรม  และปฏิคคาหกคือผู้รับ  เป็นผู้มีศีลงาม  
มีธรรมงาม  ปราศจากราคะแล้วทานของผู้นั้นเลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่