ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็
ธรรมาธิปไตยเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต
ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะเราออกบวชเป็นบรรพชิต
ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มีเช่นนั้น
......ก็แต่ว่า
เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ท่วมทับแล้ว
ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนสพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ มีอยู่แล
......ก็และการที่เราได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
จะพึงเป็นผู้เกียจคร้านมัวเมาประมาทอย่างนี้ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย ดังนี้
เธอย่อมสำเหนียกว่า
ก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่หลงลืม
กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้
เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่าธรรมาธิปไตย
-------------------------------
เนื้อหาบางส่วนจาก
อธิปไตยสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๘๒๗ - ๓๘๙๙. หน้าที่ ๑๖๕ - ๑๖๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=3827&Z=3899&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=479
เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ
ก็ธรรมาธิปไตยเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต
ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะเราออกบวชเป็นบรรพชิต
ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มีเช่นนั้น
......ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ท่วมทับแล้ว
ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนสพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ มีอยู่แล
......ก็และการที่เราได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
จะพึงเป็นผู้เกียจคร้านมัวเมาประมาทอย่างนี้ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย ดังนี้
เธอย่อมสำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่หลงลืม
กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้
เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่าธรรมาธิปไตย
-------------------------------
เนื้อหาบางส่วนจาก
อธิปไตยสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๘๒๗ - ๓๘๙๙. หน้าที่ ๑๖๕ - ๑๖๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=3827&Z=3899&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=479