อธิปไตย 3
อธิปไตยหรือความเป็นใหญ่ โดยนัยแห่งคำสอนในศาสนาพุทธมีอยู่ 3 ประการคือ
1. โลกาธิปไตย หมายถึง การถือกระแสโลกเป็นใหญ่ และโลกในที่นี้หมายถึงคน จะเห็นได้ในคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสว่า โลกคือหมู่สัตว์ ดังนั้นโลกาธิปไตยตามความหมายนี้เทียบได้กับคำว่า ประชาธิปไตยที่ถือคนส่วนใหญ่เป็นหลัก
2. อัตตาธิปไตย หมายถึง การถือตัวเองเป็นใหญ่ โดยไม่นำพาว่าคนอื่นจะเห็นเป็นอย่างไร จึงน่าจะเทียบได้กับคำว่า เผด็จการ
3. ธรรมาธิปไตย หมายถึง ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ อันถือได้ว่าเป็นหัวใจที่ปรากฏอยู่ได้ทั้งในโลกาธิปไตย และอัตตาธิปไตย เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำกับให้ผู้กระทำไม่ว่าจะถือโลกเป็นใหญ่ตามข้อ 1 หรือถือตัวเองเป็นใหญ่ตามข้อ 2 ดำรงอยู่ได้โดยที่ผู้คนในสังคมยอมรับ ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีธรรมาธิปไตยกำกับไม่ว่าจะเป็นโลกาธิปไตย หรืออัตตาธิปไตย ที่มีอำนาจล้นฟ้าแค่ไหนถึงจุดหนึ่งแล้วก็ต้องมีอันพังทลายลง เพราะผู้คนในสังคมมองเห็นภัย และลุกขึ้นมาต่อต้านพร้อมกัน
พบว่าโดยมากมักจะอธิบายไปในความหมายนี้ จะไม่ตรงกับความหมายที่พระศาสดาตรัสแสดง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.dhammasatta.org/index.php?mo=3&art=454513
http://www.xn--12c9b1aha5ai6e7a.com/2013/07/athippatai-3.html
http://www.br.ac.th/elearning/social/jitraporn/Buddhism%20%20M6/Unit5_2_1_7.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2
[๔๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ อัตตาธิปไตย ๑ โลกาธิปไตย ๑ ธรรมาธิปไตย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อัตตาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่ง เสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มี เช่นนั้น ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉน ความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ
ก็การที่เราจะพึงแสวงหากามที่ละ ได้แล้วออกบวชเป็นบรรพชิตนั้น เป็นความเลวทรามอย่างยิ่ง ข้อนั้นไม่เป็นการ สมควรแก่เราเลย
เธอย่อมสำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่ปรารภแล้ว จักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจะไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่ เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำตนเองแลให้เป็นใหญ่ แล้วละ อกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอัตตาธิปไตย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โลกาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่ง ความมีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ
ก็การที่เราออก บวชเป็นบรรพชิตเช่นนี้ พึงตรึกกามวิตกก็ดี พึงตรึกพยาบาทวิตกก็ดี พึงตรึก วิหิงสาวิตกก็ดี
ก็โลกสันนิวาสนี้ใหญ่โต ในโลกสันนิวาสอันใหญ่โต ย่อมจะมี สมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของคนอื่นได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมมองเห็นได้แม้แต่ไกล แม้ใกล้ๆ เราก็มองท่านไม่เห็น และท่านย่อมรู้ชัด ซึ่งจิตด้วยจิต สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ก็พึงรู้เราดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดูกุลบุตรนี้ซี เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เกลื่อนกล่นไปด้วย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ ถึงเทวดาที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของคนอื่นได้ก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แต่ไกล แม้ใกล้ๆ เราก็มองท่านไม่เห็น และท่าน ย่อมรู้ชัดซึ่งจิตด้วยจิต เทวดาเหล่านั้นก็พึงรู้เราดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ดูกุลบุตรนี้ซี เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เกลื่อน กล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่
(รู้ว่าเราถูกมองอยู่...)
เธอย่อมสำเหนียกว่า ความเพียรที่เรา ปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับ แล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำโลก ให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มี โทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโลกาธิปไตย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะเราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ มีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคล พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน จะพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนสพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ มีอยู่แล ก็และการที่เราได้ออก บวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว จะพึงเป็นผู้เกียจ คร้านมัวเมาประมาทอย่างนี้ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย
ดังนี้ เธอย่อม สำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้ว จักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมี อารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญ กุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่าธรรมาธิปไตย
http://www.84000.org/tipitaka/read/?20/479/186
คุณชาตที่เกิดโดยทำตนให้เป็นใหญ่ ชื่อว่าอัตตาธิปไตย.
คุณชาตที่เกิดโดยทำชาวโลกให้เป็นใหญ่ ชื่อว่าโลกาธิปไตย.
คุณชาตที่เกิดโดยทำโลกุตรธรรม ๙ ให้เป็นใหญ่ ชื่อว่าธัมมาธิปไตย.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=479
ข้อสังเกตุ. อธิปไตยทั้ง ๓ พระศาสดาให้ถือปฏิบัติ
อธิปไตย ๓ ที่น่าจะอธิบายผิดไปจากความหมายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อธิปไตยหรือความเป็นใหญ่ โดยนัยแห่งคำสอนในศาสนาพุทธมีอยู่ 3 ประการคือ
1. โลกาธิปไตย หมายถึง การถือกระแสโลกเป็นใหญ่ และโลกในที่นี้หมายถึงคน จะเห็นได้ในคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสว่า โลกคือหมู่สัตว์ ดังนั้นโลกาธิปไตยตามความหมายนี้เทียบได้กับคำว่า ประชาธิปไตยที่ถือคนส่วนใหญ่เป็นหลัก
2. อัตตาธิปไตย หมายถึง การถือตัวเองเป็นใหญ่ โดยไม่นำพาว่าคนอื่นจะเห็นเป็นอย่างไร จึงน่าจะเทียบได้กับคำว่า เผด็จการ
3. ธรรมาธิปไตย หมายถึง ถือความถูกต้องเป็นใหญ่ อันถือได้ว่าเป็นหัวใจที่ปรากฏอยู่ได้ทั้งในโลกาธิปไตย และอัตตาธิปไตย เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการกำกับให้ผู้กระทำไม่ว่าจะถือโลกเป็นใหญ่ตามข้อ 1 หรือถือตัวเองเป็นใหญ่ตามข้อ 2 ดำรงอยู่ได้โดยที่ผู้คนในสังคมยอมรับ ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีธรรมาธิปไตยกำกับไม่ว่าจะเป็นโลกาธิปไตย หรืออัตตาธิปไตย ที่มีอำนาจล้นฟ้าแค่ไหนถึงจุดหนึ่งแล้วก็ต้องมีอันพังทลายลง เพราะผู้คนในสังคมมองเห็นภัย และลุกขึ้นมาต่อต้านพร้อมกัน
พบว่าโดยมากมักจะอธิบายไปในความหมายนี้ จะไม่ตรงกับความหมายที่พระศาสดาตรัสแสดง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[๔๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ อัตตาธิปไตย ๑ โลกาธิปไตย ๑ ธรรมาธิปไตย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อัตตาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่ง เสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มี เช่นนั้น ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉน ความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ
ก็การที่เราจะพึงแสวงหากามที่ละ ได้แล้วออกบวชเป็นบรรพชิตนั้น เป็นความเลวทรามอย่างยิ่ง ข้อนั้นไม่เป็นการ สมควรแก่เราเลย เธอย่อมสำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่ปรารภแล้ว จักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจะไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่ เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำตนเองแลให้เป็นใหญ่ แล้วละ อกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอัตตาธิปไตย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โลกาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่ง ความมีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ
ก็การที่เราออก บวชเป็นบรรพชิตเช่นนี้ พึงตรึกกามวิตกก็ดี พึงตรึกพยาบาทวิตกก็ดี พึงตรึก วิหิงสาวิตกก็ดี ก็โลกสันนิวาสนี้ใหญ่โต ในโลกสันนิวาสอันใหญ่โต ย่อมจะมี สมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของคนอื่นได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมมองเห็นได้แม้แต่ไกล แม้ใกล้ๆ เราก็มองท่านไม่เห็น และท่านย่อมรู้ชัด ซึ่งจิตด้วยจิต สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ก็พึงรู้เราดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดูกุลบุตรนี้ซี เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เกลื่อนกล่นไปด้วย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ ถึงเทวดาที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของคนอื่นได้ก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แต่ไกล แม้ใกล้ๆ เราก็มองท่านไม่เห็น และท่าน ย่อมรู้ชัดซึ่งจิตด้วยจิต เทวดาเหล่านั้นก็พึงรู้เราดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ดูกุลบุตรนี้ซี เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เกลื่อน กล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่
(รู้ว่าเราถูกมองอยู่...)
เธอย่อมสำเหนียกว่า ความเพียรที่เรา ปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับ แล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำโลก ให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มี โทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโลกาธิปไตย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะเราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ มีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคล พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน จะพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนสพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ มีอยู่แล ก็และการที่เราได้ออก บวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว จะพึงเป็นผู้เกียจ คร้านมัวเมาประมาทอย่างนี้ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย
ดังนี้ เธอย่อม สำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้ว จักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมี อารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญ กุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่าธรรมาธิปไตย
http://www.84000.org/tipitaka/read/?20/479/186
คุณชาตที่เกิดโดยทำตนให้เป็นใหญ่ ชื่อว่าอัตตาธิปไตย.
คุณชาตที่เกิดโดยทำชาวโลกให้เป็นใหญ่ ชื่อว่าโลกาธิปไตย.
คุณชาตที่เกิดโดยทำโลกุตรธรรม ๙ ให้เป็นใหญ่ ชื่อว่าธัมมาธิปไตย.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=479
ข้อสังเกตุ. อธิปไตยทั้ง ๓ พระศาสดาให้ถือปฏิบัติ