สุจินต์เข้าใจเรื่อง “ทาน” แค่ไหน ?

กระทู้คำถาม : สุจินต์เข้าใจเรื่อง “ทาน” แค่ไหน ?

วัตถุประสงค์ ทำความเข้าใจเรื่องทาน ความสำคัญเรื่องทาน

ความสำคัญเรื่องทาน อ่านจากพระสูตรและอรรถกถา

อุทายีสูตร : ว่าด้วยพระอุทายี
             ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายีมีคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมนั่งแสดงธรรมอยู่
จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า 
             “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอุทายีมีคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมนั่งแสดงธรรมอยู่”              
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า 
อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นมิใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่นพึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น  ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า
                          ๑. เราจักแสดงธรรมไปตามลำดับ 
                          ๒. เราจักแสดงอ้างเหตุ
                          ๓. เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู
                          ๔. เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม
                          ๕. เราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น
             อานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่คนอื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตนแล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=7431&w=%CD%D8%B7%D2%C2
 
               ๑แสดงธรรมไปตามลำดับ หมายถึงแสดงธรรมให้มีลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ เช่น แสดงเรื่องทานเป็นลำดับที่ ๑ แสดงเรื่องศีลเป็นลำดับที่ ๒ แสดงเรื่องสวรรค์เป็นลำดับที่ ๓ 
              อีกนัยหนึ่ง หมายถึงแสดงธรรมให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระตามที่ตั้งสุตตบท หรือคาถาบทไว้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๕๙/๖๐)
***
สุจินต์พูดเกี่ยวกับวัดอย่างไร พูดกดหรือยกย่องคนที่มีความประสงค์ไปทำบุญให้ทานที่วัดอย่างไร อ่านจากคลิปที่แกะตัวอักษรมานี้

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=KpxYtVxDvxQ

              ผู้รวบรวมได้ฟังคลิปยูทู้ป มีผู้บรรยายคือ สุจินต์ บริหารวนเขตต์ 
              มีความเห็นว่า สุจินต์กล่าวไม่ตรงตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีในพระไตรปิฎก
              กล่าวคือ สุจินต์ มักจะพูดในลักษณะยกตนเองว่าเป็นผู้มีความรู้ในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคแสดงไว้ในพระไตรปิฎกอย่างละเอียดลึกซึ้งในทุกคำพูดของพระพุทธเจ้า เมื่อใดที่มีการสนทนาสอบถามผู้ที่เข้าร่วมฟังการบรรยายที่ทีมงานของคุณสุจินต์จัดให้มีขึ้น สุจินต์มักใช้วิธีตั้งคำถามคล้ายกับไล่ต้อนสอบถาม ให้คู่สนทนาตอบคำถามตามที่ตนต้องการ  เช่น ถามว่า ไปวัด ไปทำอะไร ไปทำไม ไปแล้วได้บุญไหม การได้บุญจำเป็นต้องไปให้ทานกับพระภิกษุที่วัดแห่งใดแห่งหนึ่งไหม 
ถ้าผู้ถามตอบไม่ตรงตามที่ตนต้องการก็มักจะใช้วิธีพูดกด ว่า ต้องเป็นคนที่รู้ธรรมจริง ธรรมของพระผู้มีพระภาคละเอียดลึกซึ้ง ต้องเป็นคนตรง 
เช่น “...ก็รู้สึกว่าที่ทุกคน เป็นคนที่จริงใจ และก็ตรง อันนี้สำคัญที่สุดนะคะ เพราะเหตุว่าถ้าเราไม่ตรง ต่อความถูกต้อง เราก็ผิดโดยที่เราไม่รู้ตัว แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าถูกหรือผิด  เราเอาตัวของเราตัดสินได้ไหม หรือเอาใครก็ได้ตัดสินได้ไหม...” 
              ประเด็นการยกคำพูดคำว่าต้องเป็นคนตรงนี้ ผู้เขียนเห็นด้วย นั่นคือ ต้องซื่อตรงต่อพระธรรมวินัย ซื่อตรงต่อตนเอง และ ซื่อตรงต่อผู้อื่น มีคำถามว่า แล้วสุจินต์เป็นคนที่ตรงต่อพระธรรมวินัยจริงหรือไม่?  
              ในกรณีการอธิบายเผยแพร่คำสอนในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับกันเป็นสากลว่า พระไตรปิฎกคือที่รวบรวมพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคและพระอรหันตสาวกได้แสดงไว้ คือเป็นเสมือนหนึ่งตัวแทนของพระพุทธเจ้า ดังนั้นคุณสุจินต์ หรือ ใคร ๆ ก็ตาม ที่อ้างอิงคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็ต้องซื่อตรงต่อธรรมวินัยที่มีในพระไตรปิฎก อันประกอบด้วยพุทธพจน์ รวมถึงคำสอนของพระอรหันตสาวก ซึ่งไม่ขัดแย้งกันกับคำสอนของพระพุทธเจ้า
คำสอนในพระไตรปิฎก แยกออกเป็นหมวดหมู่ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก รวบรวมคำสอนไว้จำนวนมาก มีผู้ชำนาญการในพระไตรปิฎกแยกออกเป็น หมวดหมู่วินัย  หมวดหมู่ธรรมและอภิธรรม  หรือบางท่านสรุปลงให้สั้นเข้าก็คือ ทาน ศีล ภาวนา  หรือบางท่านก็จัดเป็น ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ 

             ในที่นี้ ผู้เขียน จะขอกล่าวถึงเรื่องของการให้ทาน
             การให้ทานนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างไร คุณสุจินต์ พูดไว้อย่างไร  สุจินต์พูดได้ตรงกับที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้หรือไม่ ถ้าสุจินต์พูดไม่ตรงคือขัดแย้งกับพระพุทธเจ้า สุจินต์เป็นคนที่ซื่อตรงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ผู้ที่ศึกษาควรเชื่อถือใคร ผู้ที่เดินตามสุจินต์ควรทำอย่างไร?
ตัวอย่างพระตถาคตแสดงธรรมเรื่องการให้ทานไม่จำเป็นต้องเป็นพระภิกษุเป็นนักบวชนอกศาสนาก็ไม่ควรตระหนี่ทาน คือ

อุปาลิวาทสูตร : ว่าด้วยวาทะของคหบดีชื่ออุบาลี
               พระผู้มีพระภาคตรัสว่า 
               “คหบดี ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำของพวกนิครนถ์มานานแล้ว ท่านควรเข้าใจว่า ควรให้บิณฑบาตแก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปหาต่อไปเถิด”
อุบาลีคหบดีกราบทูลว่า 
             “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ด้วยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า  
             “ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำของพวกนิครนถ์มานานแล้ว ท่านควรเข้าใจว่า ควรให้บิณฑบาตแก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปหาต่อไปเถิด” 
นี้ ข้าพระองค์ยิ่งมีใจยินดีชื่นชมต่อพระผู้มีพระภาคมากยิ่งขึ้น 

ที่มา : https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=6
***
ภาพจากคลิปต่อไปนี้ เป็นการสนทนาถามตอบระหว่างสุจินต์กับสตรี
https://www.youtube.com/watch?v=ILL7xpoWE0s

 
             ผู้อ่าน ฟังสุจินต์พูดอย่างนี้ ตีความหมายว่าอย่างไร ขัดแย้งกับคำสอนของพระตถาคตหรือไม่ 
ขอให้ผู้อ่านศึกษาเปรียบเทียบจากพระพุทธพจน์ต่อไปนี้

             วัจฉโคตตสูตร : พระตถาคตไม่หวงกั้นการให้ทาน การให้ทานกับสัตว์เล็กสัตว์น้อยก็เป็นทางมาแห่งบุญ
             วัจฉโคตตสูตร : ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าวัจฉโคตร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า วัจฉะ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ฯลฯ 
ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่พูดตามที่เราพูด และชนเหล่านั้นชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่ดี ไม่เป็นจริง 
วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง 
เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง วัตถุ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ
             ๑. ทำอันตรายแก่บุญของทายก(ผู้ให้)
             ๒. ทำอันตรายแก่ลาภของปฏิคาหก(ผู้รับ)
             ๓. ในเบื้องต้น ตัวเขาเองย่อมถูกกำจัดและถูกทำลาย
             วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง 
เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง แต่เราเองกล่าวอย่างนี้ว่า 
“ผู้ใดเทน้ำล้างภาชนะหรือน้ำล้างขันลงที่หมู่สัตว์ ซึ่งอาศัยอยู่ที่บ่อน้ำครำหรือที่บ่อโสโครก ด้วยตั้งใจว่า หมู่สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงเลี้ยงชีพด้วยน้ำล้างภาชนะเป็นต้นนั้น เรากล่าวกรรมที่มีการเทน้ำล้างภาชนะเป็นต้นเหตุว่าเป็นที่มาแห่งบุญ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงในหมู่มนุษย์”
ศึกษาเพิ่มเติมที่พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร. เล่ม : ๒๐ ข้อ ๕๘ หน้า : ๒๒๑ – ๒๒๔
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=102
 
              ตัวอย่างในครั้งพุทธกาลมีพระภิกษุผู้ก่ออธิกรณ์ ผู้ก่อความบาดหมาง ซึ่งเป็นกลุ่มพระภิกษุที่ทำผิดสิกขาบท ประพฤติไม่ตรงต่อพระธรรมวินัย พระตถาคตท่านทรงแนะนำอนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขาว่าควรให้ทานในภิกษุกลุ่มนี้หรือไม่ หวงกั้นหรือไม่ 

อนาถบิณฑิกเศรษฐี (และ นางวิสาขา) สอบถามพระพุทธเจ้าเรื่องการถวายทาน
             “พระพุทธเจ้าข้า ทราบว่า พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลังเดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี ข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อภิกษุเหล่านั้น อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
 
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า 
             “คหบดี ท่านจงถวายทานในภิกษุทั้งสองฝ่าย ครั้นแล้วจงฟังธรรมในภิกษุทั้งสองฝ่าย 
แล้วจงพอใจความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ และความเชื่อถือของพวกภิกษุฝ่ายธรรมวาทีเท่านั้น

CR: https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?E=&B=5&A=9789&w=%CD%B9%D2%B6%BA%D4&option=2

               ทักขิณาวิภังคสูตร : ว่าด้วยการจำแนกทักษิณาทาน

               อานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าโคตรภูภิกษุ มีผ้ากาสาวะพันคอเป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม
               ชนทั้งหลายจักถวายทานเจาะจงพระสงฆ์ได้ในภิกษุผู้ทุศีลเหล่านั้น
               แม้ในเวลานั้น เราก็ยังกล่าวทักษิณาที่ถวายในสงฆ์ว่า มีอานิสงส์นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ 
               แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถวายในสงฆ์โดยปริยายไร ๆ เลย
***
             “อานนท์ ในทักษิณาปาฏิปุคคลิก ๑๔ ประการนั้น 
              บุคคลให้ทานในสัตว์ ดิรัจฉานแล้ว พึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑๐๐ อัตภาพ 
              ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีลแล้วพึงหวังทักษิณาอันมีอานิสงส์ ๑,๐๐๐ อัตภาพ
               ...
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=12459&w=%E2%A4%B5%C3%C0%D9
****

วิเคราะห์ และสรุป

            สุจินต์ ถามว่า มีวัดไว้ทำไม ? ทำบุญให้ทานมีแต่ที่วัดหรือ ไปวัดแล้วได้บุญนั้นเป็นความคิดที่ถูกหรือ?

            ผู้รวบรวมเข้าใจว่า การที่สุจินต์ถามเช่นนี้ก็เพื่อให้ผู้ฟัง คู่สนทนาคิดวิเคราะห์ แสดงเหตุผล  

            แต่การถามเช่นนี้คล้ายกับเป็นการทำให้เกิดความสับสนไขว้เขวของคู่สนทนา การพูดของสุจินต์กำกวมทำให้ผู้ฟังไขว้เขว เข้าข่ายเป็นการด้อยค่าการไปทำบุญให้ทานที่วัดด้วยคำต่อท้ายที่ว่า คิดว่าการเดินเข้าไปวัด (ไปให้ทานที่วัด) เป็นบุญนั้นถูกหรือ ?  

            เรื่องการให้ทานกับพระภิกษุที่วัด ควรอธิบายให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจตามแนวคำสอนของพระตถาคต ว่า 
วัด เป็นสถานที่อยู่อาศัยสำหรับพระภิกษุ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เรียนรู้พระธรรมวินัยรักษาสิกขาบท และบางพวกก็ย่อหย่อนไม่รักษาสิกขาบท ไม่เรียนรู้พระธรรมวินัย วัดเป็นที่อยู่อาศัยของทั้งพระภิกษุผู้มีศีลและผู้ทุศีล ซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล 
การให้ทานกับภิกษุผู้มีศีลและทุศีลต่างก็เป็นทางมาแห่งบุญ แต่พระตถาคตแสดงไว้ว่ามีอานิสงส์แตกต่างกัน

            สุจินต์เข้าใจเรื่องการให้ทานดังตัวอย่างคำพูดที่ทำเป็นภาพอักษรจากคลิป (ข้างบน) อย่างนี้ ชื่อว่า แสดงธรรมไปตามลำดับดั่งที่พระตถาคตได้แสดงไว้หรือไม่
            ความเห็นสุจินต์นี้จะเป็นเหตุปัจจัยให้ผู้เดินตามได้เรียนรู้ทาน ศีล ภาวนา ไปตามลำดับที่ถูกต้องหรือไม่
             
            ผู้รวบรวม ไม่มีวัตถุประสงค์ให้พระภิกษุทุศีล นะครับ

            ขอให้ผู้ที่เข้ามาเขียน นำเสนอให้เป็นไปตามหลักอิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย
            คลิปยูทู้ปเรื่องอื่น ๆ ที่สุจินต์พูด แสดง ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องของทาน ของดไว้ก่อนนะครับ
            ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
๑๐. เรื่องอสทิสทาน [๑๔๖]               
ข้อความเบื้องต้น       

อ่านเนื้อหาใน ==>  [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามถึง ๓ ครั้งแล้ว ทรงให้ถวายแก่สงฆ์ ทรงมุ่งหมายอะไร. ตรัสอย่างนั้น เพื่อชนรุ่นหลังและเพื่อทรงให้เกิดความยำเกรงในสงฆ์ด้วย.
               นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำริอย่างนี้ว่า เราไม่ดำรงอยู่นาน แต่ศาสนาของเราจักตั้งอยู่ในพระภิกษุสงฆ์ ชนรุ่นหลังจงยังความยำเกรงในสงฆ์ให้เกิดขึ้น ดังนี้ จึงทรงห้ามถึง ๓ ครั้งแล้ว ทรงให้ถวายสงฆ์. ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดาจึงทรงให้ถวายผ้าใหม่คู่หนึ่งแม้ที่พระนางจะถวายแด่พระองค์ให้แก่สงฆ์ ทักขิไณยบุคคลชื่อว่าสงฆ์ เพราะฉะนั้น ชนรุ่นหลังยังความยำเกรงให้เกิดขึ้นในสงฆ์ จักสำคัญปัจจัยสี่เป็นสิ่งพึงถวาย สงฆ์เมื่อไม่ลำบากด้วยปัจจัยสี่ จักเรียนพระพุทธวจนะทำสมณธรรม เมื่อเป็นอย่างนั้น ศาสนาของเราจักตั้งอยู่ถึง ๕,๐๐๐ ปี ดังนี้.


------------------------------

ถ้าสาธุชนเห็นตามคลิปต้นกระทู้ ไม่เข้าวัด ไม่บำรุงสงฆ์ เห็นทีพระศาสนาจะอยู่ไม่ถึง 5000 ปี ดังพุทธประสงค์ทีเดียวเชียว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่