[Loser Voice] สงกรานต์แบบ “หลุดโลก” สนุกและปลอดภัยได้ ถ้าภาครัฐใช้ “กฏหมาย” และ “ดุลพินิจ” ให้เป็น
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook Page : TonyMao_NK51
ขณะที่ผมกำลังเขียนคอลัมน์ฉบับนี้ เชื่อว่าบรรดาคนทำงานทั้งหลายก็คงรู้สึก
“ชิลๆ เปื่อยๆ” กันแล้ว ตามวิถีการทำงานแบบไทยๆ ที่วันทำงานวันสุดท้ายก่อนจะได้หยุดกันยาวๆ เกือบทุกองค์กรไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ก็จะต้องจัดปาร์ตี้เล็กๆ ฉลองอุ่นเครื่องกันก่อน ชนิดที่วันนี้ใครยังคร่ำเคร่งกับการทำงาน คงจะกลายเป็นคนแปลกไปเลยทีเดียว ( ยกเว้นหน่วยงานที่รูปแบบงานไม่สามารถหยุดในช่วงนี้ได้นะครับ อันนั้นผมไม่ว่ากัน )
เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ทีไร ประเด็นที่ต้องเรียกว่าเป็น
“ดรามา” ก็จะกลับมาเสมอ คือเรื่องของสารพัดข้อห้าม ที่ก็จะซ้ำๆ เดิมๆ กันทุกปี ไล่ตั้งแต่ห้ามดื่มห้ามขายเหล้าเบียร์ในพื้นที่เล่นน้ำบ้าง , ดื่มไม่ขับบ้าง , ลวนลามบ้าง ไล่ยาวไปยันเรื่องของการเปิดเครื่องเสียงและการเต้นด้วยท่าทางยั่วยุแบบหลุดโลกลืมตาย การเล่นแป้งดินสอพอง หรือการใช้ยานพาหนะบรรทุกถังน้ำตระเวนเล่นไปตามท้องถนน ไม่ว่าสายหลักหรือสายรอง ฯลฯ
ที่บอกว่าดรามา เพราะสังคมไทยจะแตกออกเป็น 2 ฝายทันที ฝ่ายหนึ่งบอกว่าดีแล้ว และสนับสนุนให้รัฐบาลเอาจริงเอาจังเสียที พวกที่เล่นสงกรานต์แบบนี้เป็นพวก
“ทำลายวัฒนธรรม” ก่อความเดือดร้อนให้สังคม บางคนถึงขนาดพาดพิงไปว่าเมื่อไรจะกลับไปหยุดงานแค่วันเดียว บางคนบอกว่าจะพาบุตรหลานหนีไปต่างประเทศ เพราะกลัวซึมซับบรรยากาศชั้นต่ำพวกนี้ เพราะหยุดยาวมากคนก็ฉลองมาก แล้วก็เจ็บมากตายมาก และหลายคนก็ขอหยุดยาวต่ออีก ทำให้นิสัยคนไทยเสพติดความเกียจคร้าน ไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ฯลฯ บลาบลาบลา
กับอีกฝ่ายหนึ่งที่บอกว่าการห้ามแบบนี้ต่างหากที่จะทำให้
“หมดสนุก” บางคน ( เช่นผม ) อ้างถึงข้อเขียนของนักประวัติศาสตร์ หรือภาพถ่ายเก่าๆ ว่าการละเล่นแบบนี้มันมีมานานแล้ว แถมเป็นรากเหง้าของเทศกาลอีกต่างหาก นัยว่าเป็นการอนุญาตให้ละเมิดกฎระเบียบได้บ้างตราบใดที่ไม่รุนแรง ( คล้ายกับ April Fool Day ของฝรั่ง ที่ 1 เมษา ของทุกปี ใครๆ ก็โกหกกันได้ ขอแค่ไม่ใช่โกหกเรื่องคอขาดบาดตาย ) หรือแม้แต่อ้างนโยบายของรัฐเอง ที่เป็นผู้โปรโมตการละเล่นแบบนี้ ( ดูเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษของ ททท. เถอะครับ ภาพงานสงกรานต์ที่เผยแพร่สู่ชาวโลก ก็คือการสาดน้ำประแป้งแบบหลุดโลกลืมโลกนี่แหละ จนต่างชาติเอาไปโปรโมตต่อ ) จนกระจายไปทั้งแผ่นดิน เป็นต้น
ผมนี่เป็นคนเก่าคนแก่ที่มีดรามากับเทศกาลสงกรานต์ เริ่มเขียนประชดประชันบรรดา
“ผู้ดี-ผู้ทรงศีล-คนใฝ่ธรรม” มาตั้งแต่ปี 2548 ถึงวันนี้ก็ครบ 1 ทศวรรษพอดี โดยอธิบายว่า การนำยานพาหนะบรรทุกถังน้ำตระเวนเล่นไปตามท้องถนน เกิดขึ้นเพราะการคมนาคมทางถนนดีขึ้น พร้อมๆ กับยานพาหนะราคาถูกลงจนผู้คนเข้าถึงได้ง่าย จากเดิมในอดีตที่เล่นกันแต่ในหมู่บ้าน เพราะการเดินทางทำได้ยาก การออกจากบ้านเกิดไปที่อื่นถือเป็นเรื่องใหญ่มากของชีวิต ไม่เหมือนสมัยนี้ที่ไหนจะเดินทางสะดวก แถมการสื่อสารยังรวดเร็ว เห็นทั้งเสียงทั้งภาพ การอยู่คนละจังหวัด ( หรือแม้แต่คนละประเทศ ) เลยไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาตื่นเต้นอะไร แน่นอนว่าทำให้คนจากต่างท้องที่มารวมกันได้ด้วย ขณะที่การใช้ดินสอพองมาปะแป้ง ก็เป็นของคู่กัน ดังคำกล่าวว่า
“สาดน้ำ ( หรือรดน้ำ ) ปะแป้ง” เป็นต้น ฉะนั้นการห้ามใช้ยานพาหนะตระเวนสาดน้ำก็ดี การปะแป้งด้วยดินสอพองก็ดี ห้ามเครื่องเสียงก็ดี จึงเป็นการทำลายบรรยากาศไปโดยปริยาย
ที่เป็นตลกร้ายอย่างหนึ่ง หากยังจำกันได้ เมื่อปี 2556 ตอนที่ตำรวจออกกฎเหล็ก 11 ข้อในวันสงกรานต์ ( ซึ่งก็มีหลายเรื่องข้างต้นมาด้วย ) ทั้งที่คนไทยส่วนใหญ่แตกออกเป็น 2 ขั้ว
“เหลือง-แดง” ชัดเจนตามรสนิยมทางการเมือง แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว คนไทยทั้งเหลืองทั้งแดงต่างวิพากษ์วิจารณ์ โวยวายด่าทอ จนตำรวจต้องยอมถอย หันไปเน้นเฉพาะเรื่องใหญ่ๆ อย่างเมาแล้วก่อเรื่องก่อราวเท่านั้น ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้มีไม่บ่อยครับ ( หลังจากวันนั้น ผมก็เพิ่งเห็นปรากฏการณ์แบบเดียวกันเกิดขึ้น ตอนที่คุณสมหมาย ภาษี ขุนคลังคนปัจจุบัน จะเก็บภาษีบ้าน เมื่อไม่กี่เดือนก่อนนี่แหละ ที่คนไทยทุกสีสามัคคีกัน กดดันจนรัฐบาลต้องสั่งถอย )
แสดงให้เห็นว่าเรื่องบางเรื่องมันก็ “ไม่ถูกจริต” ของคนไทยจริงๆ ไม่เช่นนั้นสังคมที่อะไรๆ ก็แบ่งสีแบ่งข้าง คงไม่ “พักรบชั่วคราว” หันมาถล่มภาครัฐกันได้ขนาดนี้!!!
อย่างไรก็ตาม แม้ผมจะชื่นชอบการเล่นสาดน้ำปะแป้ง ภายใต้คอนเซปต์
“เครื่องเสียง โคโยตี้ ดนตรีแดนซ์ แป้ง และรถบรรทุกถังน้ำ” แต่บางเรื่องก็อยากให้เข้มงวดเช่นกัน ที่ผมเขียนเรียกร้องมาทุกปี ทั้ง
“เมาแล้วก่อเรื่อง” ทั้งหลาย และการฉวยโอกาสปะแป้งแบบลวนลาม
“ล้วง ลูบ คลำ” เอาจริงๆ พวกนี้มีกฎหมายระบุหมดแหละครับ แต่ปัญหาคือผู้บังคับใช้กฏหมาย ยังไม่ได้ใช้
“ดุลพินิจ” อย่างเหมาะสมเพียงพอ ทั้งที่สามารถทำได้
เช่นตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278-279 ว่าด้วยการลวนลาม ผู้ที่ฝ่าฝืนนี่โทษค่อนข้างหนักนะครับ
“จำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” , หรือกรณีเมาแล้วขับ ถ้าไปดู
พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2) และ
พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. 2550 ฉบับที่ 7 มาตรา 11 โทษค่อนข้างหนักเหมือนกัน
“จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่” และถ้ายิ่งทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ไม่ว่าบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โทษจะยิ่งสูงขึ้นไปอีกเป็นเงาตามตัว อย่างถ้าชนคนตาย “จำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่” ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น
ทีนี้การใช้ดุลพินิจ ทำได้อย่างไร?
ประมวลกฎหมายอาญา มีหลายมาตราที่ว่าด้วยดุลพินิจในการลงโทษ เช่น
มาตรา 54 ให้อำนาจศาลที่จะ
“ไม่เพิ่มหรือลดโทษก็ได้” ,
มาตรา 56 ในกรณีการทำผิดที่กฏหมายให้ลงโทษจำคุกได้ไม่เกิน 3 ปี แม้ด้านหนึ่งศาลมีอำนาจนำปัจจัยต่างๆ เช่น เป็นความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ ผู้กระทำผิดไม่เคยถูกจำคุกมาก่อน วัย การศึกษา ฯลฯ มาเป็นเหตุให้สั่งงดเว้นโทษจำคุก ( รอลงอาญา ) ผู้ต้องหาได้ตามสมควร แต่อีกด้านหนึ่ง กรณีนี้กฎหมายแค่เขียนว่า
“ตามสมควร” ไม่ได้ระบุว่า
“ต้องงดโทษจำคุกในทุกกรณี” ดังนั้นท้ายที่สุดถึงจะเหลือโทษจำคุกแค่ 3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง 1 ปีบ้าง ศาลก็ยังมีอำนาจสั่งจำคุกได้โดยไม่ต้องรอลงอาญา
ซึ่งผมเชื่อว่าการเขียนคำพิพากษาให้ออกมาแนวทางนี้ คงมิใช่เรื่องยากเกินไป และประชาชนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเสื้อสีใด ก็คงไม่ตำหนิศาลว่าลงโทษรุนแรงแน่ๆ เพราะหากไปหยั่งเสียงความเห็นของประชาชน สิ่งที่เห็นตรงกันอย่างไม่มีดรามา คือเรื่องดื่มแล้วขับ , ขายเหล้าให้เด็กต่ำกว่า 20 แล้วก็เรื่องลวนลามนี่แหละครับ ที่ทุกฝ่ายอยากให้เข้มงวดกันจริงๆ จังๆ แทบไม่ปรากฏเสียงต่อต้านเลย
ลองจับจริง ลงโทษจริง ติดคุกจริง พร้อมกับให้สื่อมวลชนมาทำข่าวกันเยอะๆ บ่อยๆ สิครับ ไม่กี่ปีพฤติกรรมข้างต้นนี้ก็จะลดลงไปเอง ก็เหมือนพฤติกรรมที่ผมเคยได้ยินในยุคหนึ่ง เช่น ใช้เม็ดแมงลักผสมน้ำ , ใช้น้ำแข็งขว้างปา , ใช้ท่อพีวีซีแรงดันสูง เป็นต้น 2 กรณีแรกทุกวันนี้ไม่มีข่าวให้เห็นแล้ว ส่วนกรณีที่ 3 ก็หายไปมากหากเทียบกับเมื่อ 10 กว่าปีก่อน เพราะกวดขันกันจริงจัง ( ผมจำได้ว่าตอนนั้นเคยถูกตำรวจยึดท่อพีวีซีฉีดน้ำเหมือนกัน อุตส่าห์เหน็บเอวเลียนแบบพวกนักดาบเดินไปเดินมา เต๊ะท่าซะเท่เชียวครับ เอิกๆ ) และไม่มีใครต่อต้าน ดังนั้นกรณีข้างต้นนี้ใช้ไปเถอะครับ
“หลักนิติศาสตร์” ไม่ต้องปรานีมากนัก ก็คงไม่มีใครต่อต้าน ตรงกันข้ามจะมีแต่เสียงชื่นชมด้วยซ้ำ ( อย่างพวกลวนลาม บางทีคนแถวนั้นแหละ
“ศาลเตี้ย” สักคนละตุ้บสองตุ้บ ก่อนจับส่งตำรวจเสียด้วยซ้ำไป )
ส่วนเรื่องที่เหลือ ประเภทขับรถไปเล่นน้ำไปแต่ไม่ขับซิ่งน่าหวาดเสียว ไม่ได้ไปทำใครเจ็บ-ตาย การเปิดเครื่องเสียงในเวลาที่ไม่ดึกดื่นเกินไป หรือการเล่นแป้ง การเต้นแบบโคโยตี้สไตล์ หรือเล่นกันแค่ในถนนสายรองต่างๆ ที่ไม่ใช่เส้นทางหลัก ตรงนี้หันมาใช้
“หลักรัฐศาสตร์” บ้างก็ได้ครับ ให้ผู้คนได้ผ่อนคลายกันบ้าง ตามเจตนารมณ์ของคนคิดเทศกาล ที่ต้องการเปิดโอกาสให้ปัจเจกชนได้ละเมิดกฏระเบียบและจารีตประเพณีเล็กๆ น้อยๆ หลังจากที่ต้องเคร่งเครียดกับกรอบต่างๆ มาตลอดทั้งปี
อย่าลืมว่าธรรมชาติของคนไทย มีนิสัยชอบความสนุกสนานรื่นเริง การเฉลิมฉลองแบบสุดเหวี่ยง ไม่ใช่คนเคร่งครัดจริงจังเหมือนบางประเทศ ก็เหมือนกับการแต่งตัวนี่แหละครับ เสื้อผ้าแบบเดียวกัน ไซส์เดียวกัน และคนใส่รูปร่างเหมือนกัน บางคนแต่งแล้วสบายตัวอุ่นใจ แต่บางคนแต่งแล้วอึดอัดไม่มั่นใจ สาเหตุที่แตกต่างกันเช่นนี้ เพราะภูมิหลังของผู้ใส่ไม่เหมือนกัน เช่น ผมไม่ชอบใส่
“เสื้อสูท-กางเกงสแล็ค-รองเท้าหนังคัตชู” ใส่แล้วอึดอัด รู้สึกกระวนกระวายใจ แต่ชอบใส่
“เสื้อยืด-เสื้อเชิ้ตคลุมทับ-กางเกงยีนส์ขายาวและรองเท้าผ้าใบ” ใส่แล้วสบายตัว รู้สึกมั่นใจ ในทางตรงกันข้าม บางคนแต่งแบบที่ผมชอบ อาจจะรู้สึกไม่มั่นใจก็ได้ เพราะใส่สูทแล้วดูภูมิฐาน มีระดับกว่า น่าเชื่อถือและดูเป็นผู้ใหญ่กว่า แต่ถึงกระนั้น ผมคงไม่ใส่กางเกงขาดๆ รองเท้าขาดๆ หรือปล่อยชายเสื้อออกนอกกางเกง เวลาไปติดต่อราชการแน่นอน นี่คือจุดร่วมว่าถึงไม่สวมสูทผูกไทด์ แต่ความสุภาพที่เป็นจุดร่วมกันก็ยังมีอยู่
มาตรการต่างๆ ก็เหมือนกันครับ แม้จะเอาแบบอย่างจากประเทศอื่นๆ ที่เห็นว่าดีมาได้ แต่จะเอามาใช้ทั้งหมดก็คงไม่ได้อีก เพราะบริบทสังคมต่างกัน หลายๆ เรื่องเราเห็นแล้ว เอาของญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา ฯลฯ มาใช้ ผลคือเละทั้งสิ้น เพราะนิสัยคนไทยต่างจากนิสัยคนประเทศเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง การนำมาใช้จึงต้องปรับให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงของบ้านเราด้วย
อ้า!..เนื้อที่หมดแล้วครับ พบกันใหม่โอกาสหน้า เดินทางปลอดภัย ดื่มอย่าขับ เล่นน้ำอย่างสุภาพ อย่าลวนลามกัน และขอให้ทุกท่านมีความสุข สนุกสุดเหวี่ยงตลอดเทศกาลนะครับ สวัสดีครับ
......................................
ปล.ฝากสปอตโฆษณาโปรโมตสงกรานต์ตาม Concept
“เครื่องเสียง โคโยตี้ ดนตรีแดนซ์ แป้ง และรถบรรทุกถังน้ำ” ประจำปี 2015 ( ตัวที่ 2 ) ด้วยครับ
[Loser Voice] สงกรานต์แบบ “หลุดโลก” สนุกและปลอดภัยได้ ถ้าภาครัฐใช้ “กฏหมาย” และ “ดุลพินิจ” ให้เป็น
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook Page : TonyMao_NK51
ขณะที่ผมกำลังเขียนคอลัมน์ฉบับนี้ เชื่อว่าบรรดาคนทำงานทั้งหลายก็คงรู้สึก “ชิลๆ เปื่อยๆ” กันแล้ว ตามวิถีการทำงานแบบไทยๆ ที่วันทำงานวันสุดท้ายก่อนจะได้หยุดกันยาวๆ เกือบทุกองค์กรไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ก็จะต้องจัดปาร์ตี้เล็กๆ ฉลองอุ่นเครื่องกันก่อน ชนิดที่วันนี้ใครยังคร่ำเคร่งกับการทำงาน คงจะกลายเป็นคนแปลกไปเลยทีเดียว ( ยกเว้นหน่วยงานที่รูปแบบงานไม่สามารถหยุดในช่วงนี้ได้นะครับ อันนั้นผมไม่ว่ากัน )
เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ทีไร ประเด็นที่ต้องเรียกว่าเป็น “ดรามา” ก็จะกลับมาเสมอ คือเรื่องของสารพัดข้อห้าม ที่ก็จะซ้ำๆ เดิมๆ กันทุกปี ไล่ตั้งแต่ห้ามดื่มห้ามขายเหล้าเบียร์ในพื้นที่เล่นน้ำบ้าง , ดื่มไม่ขับบ้าง , ลวนลามบ้าง ไล่ยาวไปยันเรื่องของการเปิดเครื่องเสียงและการเต้นด้วยท่าทางยั่วยุแบบหลุดโลกลืมตาย การเล่นแป้งดินสอพอง หรือการใช้ยานพาหนะบรรทุกถังน้ำตระเวนเล่นไปตามท้องถนน ไม่ว่าสายหลักหรือสายรอง ฯลฯ
ที่บอกว่าดรามา เพราะสังคมไทยจะแตกออกเป็น 2 ฝายทันที ฝ่ายหนึ่งบอกว่าดีแล้ว และสนับสนุนให้รัฐบาลเอาจริงเอาจังเสียที พวกที่เล่นสงกรานต์แบบนี้เป็นพวก “ทำลายวัฒนธรรม” ก่อความเดือดร้อนให้สังคม บางคนถึงขนาดพาดพิงไปว่าเมื่อไรจะกลับไปหยุดงานแค่วันเดียว บางคนบอกว่าจะพาบุตรหลานหนีไปต่างประเทศ เพราะกลัวซึมซับบรรยากาศชั้นต่ำพวกนี้ เพราะหยุดยาวมากคนก็ฉลองมาก แล้วก็เจ็บมากตายมาก และหลายคนก็ขอหยุดยาวต่ออีก ทำให้นิสัยคนไทยเสพติดความเกียจคร้าน ไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ฯลฯ บลาบลาบลา
กับอีกฝ่ายหนึ่งที่บอกว่าการห้ามแบบนี้ต่างหากที่จะทำให้ “หมดสนุก” บางคน ( เช่นผม ) อ้างถึงข้อเขียนของนักประวัติศาสตร์ หรือภาพถ่ายเก่าๆ ว่าการละเล่นแบบนี้มันมีมานานแล้ว แถมเป็นรากเหง้าของเทศกาลอีกต่างหาก นัยว่าเป็นการอนุญาตให้ละเมิดกฎระเบียบได้บ้างตราบใดที่ไม่รุนแรง ( คล้ายกับ April Fool Day ของฝรั่ง ที่ 1 เมษา ของทุกปี ใครๆ ก็โกหกกันได้ ขอแค่ไม่ใช่โกหกเรื่องคอขาดบาดตาย ) หรือแม้แต่อ้างนโยบายของรัฐเอง ที่เป็นผู้โปรโมตการละเล่นแบบนี้ ( ดูเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษของ ททท. เถอะครับ ภาพงานสงกรานต์ที่เผยแพร่สู่ชาวโลก ก็คือการสาดน้ำประแป้งแบบหลุดโลกลืมโลกนี่แหละ จนต่างชาติเอาไปโปรโมตต่อ ) จนกระจายไปทั้งแผ่นดิน เป็นต้น
ผมนี่เป็นคนเก่าคนแก่ที่มีดรามากับเทศกาลสงกรานต์ เริ่มเขียนประชดประชันบรรดา “ผู้ดี-ผู้ทรงศีล-คนใฝ่ธรรม” มาตั้งแต่ปี 2548 ถึงวันนี้ก็ครบ 1 ทศวรรษพอดี โดยอธิบายว่า การนำยานพาหนะบรรทุกถังน้ำตระเวนเล่นไปตามท้องถนน เกิดขึ้นเพราะการคมนาคมทางถนนดีขึ้น พร้อมๆ กับยานพาหนะราคาถูกลงจนผู้คนเข้าถึงได้ง่าย จากเดิมในอดีตที่เล่นกันแต่ในหมู่บ้าน เพราะการเดินทางทำได้ยาก การออกจากบ้านเกิดไปที่อื่นถือเป็นเรื่องใหญ่มากของชีวิต ไม่เหมือนสมัยนี้ที่ไหนจะเดินทางสะดวก แถมการสื่อสารยังรวดเร็ว เห็นทั้งเสียงทั้งภาพ การอยู่คนละจังหวัด ( หรือแม้แต่คนละประเทศ ) เลยไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาตื่นเต้นอะไร แน่นอนว่าทำให้คนจากต่างท้องที่มารวมกันได้ด้วย ขณะที่การใช้ดินสอพองมาปะแป้ง ก็เป็นของคู่กัน ดังคำกล่าวว่า “สาดน้ำ ( หรือรดน้ำ ) ปะแป้ง” เป็นต้น ฉะนั้นการห้ามใช้ยานพาหนะตระเวนสาดน้ำก็ดี การปะแป้งด้วยดินสอพองก็ดี ห้ามเครื่องเสียงก็ดี จึงเป็นการทำลายบรรยากาศไปโดยปริยาย
ที่เป็นตลกร้ายอย่างหนึ่ง หากยังจำกันได้ เมื่อปี 2556 ตอนที่ตำรวจออกกฎเหล็ก 11 ข้อในวันสงกรานต์ ( ซึ่งก็มีหลายเรื่องข้างต้นมาด้วย ) ทั้งที่คนไทยส่วนใหญ่แตกออกเป็น 2 ขั้ว “เหลือง-แดง” ชัดเจนตามรสนิยมทางการเมือง แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว คนไทยทั้งเหลืองทั้งแดงต่างวิพากษ์วิจารณ์ โวยวายด่าทอ จนตำรวจต้องยอมถอย หันไปเน้นเฉพาะเรื่องใหญ่ๆ อย่างเมาแล้วก่อเรื่องก่อราวเท่านั้น ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้มีไม่บ่อยครับ ( หลังจากวันนั้น ผมก็เพิ่งเห็นปรากฏการณ์แบบเดียวกันเกิดขึ้น ตอนที่คุณสมหมาย ภาษี ขุนคลังคนปัจจุบัน จะเก็บภาษีบ้าน เมื่อไม่กี่เดือนก่อนนี่แหละ ที่คนไทยทุกสีสามัคคีกัน กดดันจนรัฐบาลต้องสั่งถอย )
แสดงให้เห็นว่าเรื่องบางเรื่องมันก็ “ไม่ถูกจริต” ของคนไทยจริงๆ ไม่เช่นนั้นสังคมที่อะไรๆ ก็แบ่งสีแบ่งข้าง คงไม่ “พักรบชั่วคราว” หันมาถล่มภาครัฐกันได้ขนาดนี้!!!
อย่างไรก็ตาม แม้ผมจะชื่นชอบการเล่นสาดน้ำปะแป้ง ภายใต้คอนเซปต์ “เครื่องเสียง โคโยตี้ ดนตรีแดนซ์ แป้ง และรถบรรทุกถังน้ำ” แต่บางเรื่องก็อยากให้เข้มงวดเช่นกัน ที่ผมเขียนเรียกร้องมาทุกปี ทั้ง “เมาแล้วก่อเรื่อง” ทั้งหลาย และการฉวยโอกาสปะแป้งแบบลวนลาม “ล้วง ลูบ คลำ” เอาจริงๆ พวกนี้มีกฎหมายระบุหมดแหละครับ แต่ปัญหาคือผู้บังคับใช้กฏหมาย ยังไม่ได้ใช้ “ดุลพินิจ” อย่างเหมาะสมเพียงพอ ทั้งที่สามารถทำได้
เช่นตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278-279 ว่าด้วยการลวนลาม ผู้ที่ฝ่าฝืนนี่โทษค่อนข้างหนักนะครับ “จำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” , หรือกรณีเมาแล้วขับ ถ้าไปดู พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2) และ พรบ.จราจรทางบก พ.ศ. 2550 ฉบับที่ 7 มาตรา 11 โทษค่อนข้างหนักเหมือนกัน “จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่” และถ้ายิ่งทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ไม่ว่าบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โทษจะยิ่งสูงขึ้นไปอีกเป็นเงาตามตัว อย่างถ้าชนคนตาย “จำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่” ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น
ทีนี้การใช้ดุลพินิจ ทำได้อย่างไร? ประมวลกฎหมายอาญา มีหลายมาตราที่ว่าด้วยดุลพินิจในการลงโทษ เช่น มาตรา 54 ให้อำนาจศาลที่จะ “ไม่เพิ่มหรือลดโทษก็ได้” , มาตรา 56 ในกรณีการทำผิดที่กฏหมายให้ลงโทษจำคุกได้ไม่เกิน 3 ปี แม้ด้านหนึ่งศาลมีอำนาจนำปัจจัยต่างๆ เช่น เป็นความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษ ผู้กระทำผิดไม่เคยถูกจำคุกมาก่อน วัย การศึกษา ฯลฯ มาเป็นเหตุให้สั่งงดเว้นโทษจำคุก ( รอลงอาญา ) ผู้ต้องหาได้ตามสมควร แต่อีกด้านหนึ่ง กรณีนี้กฎหมายแค่เขียนว่า “ตามสมควร” ไม่ได้ระบุว่า “ต้องงดโทษจำคุกในทุกกรณี” ดังนั้นท้ายที่สุดถึงจะเหลือโทษจำคุกแค่ 3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง 1 ปีบ้าง ศาลก็ยังมีอำนาจสั่งจำคุกได้โดยไม่ต้องรอลงอาญา
ซึ่งผมเชื่อว่าการเขียนคำพิพากษาให้ออกมาแนวทางนี้ คงมิใช่เรื่องยากเกินไป และประชาชนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเสื้อสีใด ก็คงไม่ตำหนิศาลว่าลงโทษรุนแรงแน่ๆ เพราะหากไปหยั่งเสียงความเห็นของประชาชน สิ่งที่เห็นตรงกันอย่างไม่มีดรามา คือเรื่องดื่มแล้วขับ , ขายเหล้าให้เด็กต่ำกว่า 20 แล้วก็เรื่องลวนลามนี่แหละครับ ที่ทุกฝ่ายอยากให้เข้มงวดกันจริงๆ จังๆ แทบไม่ปรากฏเสียงต่อต้านเลย
ลองจับจริง ลงโทษจริง ติดคุกจริง พร้อมกับให้สื่อมวลชนมาทำข่าวกันเยอะๆ บ่อยๆ สิครับ ไม่กี่ปีพฤติกรรมข้างต้นนี้ก็จะลดลงไปเอง ก็เหมือนพฤติกรรมที่ผมเคยได้ยินในยุคหนึ่ง เช่น ใช้เม็ดแมงลักผสมน้ำ , ใช้น้ำแข็งขว้างปา , ใช้ท่อพีวีซีแรงดันสูง เป็นต้น 2 กรณีแรกทุกวันนี้ไม่มีข่าวให้เห็นแล้ว ส่วนกรณีที่ 3 ก็หายไปมากหากเทียบกับเมื่อ 10 กว่าปีก่อน เพราะกวดขันกันจริงจัง ( ผมจำได้ว่าตอนนั้นเคยถูกตำรวจยึดท่อพีวีซีฉีดน้ำเหมือนกัน อุตส่าห์เหน็บเอวเลียนแบบพวกนักดาบเดินไปเดินมา เต๊ะท่าซะเท่เชียวครับ เอิกๆ ) และไม่มีใครต่อต้าน ดังนั้นกรณีข้างต้นนี้ใช้ไปเถอะครับ “หลักนิติศาสตร์” ไม่ต้องปรานีมากนัก ก็คงไม่มีใครต่อต้าน ตรงกันข้ามจะมีแต่เสียงชื่นชมด้วยซ้ำ ( อย่างพวกลวนลาม บางทีคนแถวนั้นแหละ “ศาลเตี้ย” สักคนละตุ้บสองตุ้บ ก่อนจับส่งตำรวจเสียด้วยซ้ำไป )
ส่วนเรื่องที่เหลือ ประเภทขับรถไปเล่นน้ำไปแต่ไม่ขับซิ่งน่าหวาดเสียว ไม่ได้ไปทำใครเจ็บ-ตาย การเปิดเครื่องเสียงในเวลาที่ไม่ดึกดื่นเกินไป หรือการเล่นแป้ง การเต้นแบบโคโยตี้สไตล์ หรือเล่นกันแค่ในถนนสายรองต่างๆ ที่ไม่ใช่เส้นทางหลัก ตรงนี้หันมาใช้ “หลักรัฐศาสตร์” บ้างก็ได้ครับ ให้ผู้คนได้ผ่อนคลายกันบ้าง ตามเจตนารมณ์ของคนคิดเทศกาล ที่ต้องการเปิดโอกาสให้ปัจเจกชนได้ละเมิดกฏระเบียบและจารีตประเพณีเล็กๆ น้อยๆ หลังจากที่ต้องเคร่งเครียดกับกรอบต่างๆ มาตลอดทั้งปี
อย่าลืมว่าธรรมชาติของคนไทย มีนิสัยชอบความสนุกสนานรื่นเริง การเฉลิมฉลองแบบสุดเหวี่ยง ไม่ใช่คนเคร่งครัดจริงจังเหมือนบางประเทศ ก็เหมือนกับการแต่งตัวนี่แหละครับ เสื้อผ้าแบบเดียวกัน ไซส์เดียวกัน และคนใส่รูปร่างเหมือนกัน บางคนแต่งแล้วสบายตัวอุ่นใจ แต่บางคนแต่งแล้วอึดอัดไม่มั่นใจ สาเหตุที่แตกต่างกันเช่นนี้ เพราะภูมิหลังของผู้ใส่ไม่เหมือนกัน เช่น ผมไม่ชอบใส่ “เสื้อสูท-กางเกงสแล็ค-รองเท้าหนังคัตชู” ใส่แล้วอึดอัด รู้สึกกระวนกระวายใจ แต่ชอบใส่ “เสื้อยืด-เสื้อเชิ้ตคลุมทับ-กางเกงยีนส์ขายาวและรองเท้าผ้าใบ” ใส่แล้วสบายตัว รู้สึกมั่นใจ ในทางตรงกันข้าม บางคนแต่งแบบที่ผมชอบ อาจจะรู้สึกไม่มั่นใจก็ได้ เพราะใส่สูทแล้วดูภูมิฐาน มีระดับกว่า น่าเชื่อถือและดูเป็นผู้ใหญ่กว่า แต่ถึงกระนั้น ผมคงไม่ใส่กางเกงขาดๆ รองเท้าขาดๆ หรือปล่อยชายเสื้อออกนอกกางเกง เวลาไปติดต่อราชการแน่นอน นี่คือจุดร่วมว่าถึงไม่สวมสูทผูกไทด์ แต่ความสุภาพที่เป็นจุดร่วมกันก็ยังมีอยู่
มาตรการต่างๆ ก็เหมือนกันครับ แม้จะเอาแบบอย่างจากประเทศอื่นๆ ที่เห็นว่าดีมาได้ แต่จะเอามาใช้ทั้งหมดก็คงไม่ได้อีก เพราะบริบทสังคมต่างกัน หลายๆ เรื่องเราเห็นแล้ว เอาของญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา ฯลฯ มาใช้ ผลคือเละทั้งสิ้น เพราะนิสัยคนไทยต่างจากนิสัยคนประเทศเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง การนำมาใช้จึงต้องปรับให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงของบ้านเราด้วย
อ้า!..เนื้อที่หมดแล้วครับ พบกันใหม่โอกาสหน้า เดินทางปลอดภัย ดื่มอย่าขับ เล่นน้ำอย่างสุภาพ อย่าลวนลามกัน และขอให้ทุกท่านมีความสุข สนุกสุดเหวี่ยงตลอดเทศกาลนะครับ สวัสดีครับ
......................................
ปล.ฝากสปอตโฆษณาโปรโมตสงกรานต์ตาม Concept “เครื่องเสียง โคโยตี้ ดนตรีแดนซ์ แป้ง และรถบรรทุกถังน้ำ” ประจำปี 2015 ( ตัวที่ 2 ) ด้วยครับ