[Loser Voice] เมาแล้วขับ-อุบัติเหตุ : ถามสังคมไทย..จะเอาแค่สะใจหรืออยากแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน?
.
.
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook Page : TonyMao_NK51
.
ช่วงนี้ “ทอล์คออฟเดอะทาวน์” เรื่องราวที่ถูกพูดถึงกันมากที่สุดคงหนีไม่พ้นโศกนาฎกรรมของชาวจักรยาน ที่ถูกคนเมาขับรถยนต์ชนจนตายไป 3 เจ็บสาหัสอีก 2 แถวๆ เชียงใหม่ จากนั้นได้ขยายไปเป็นประเด็นยิบย่อยมากมาย ไล่ตั้งแต่ “ท่านผู้นำ” สั่งการให้ตรวจสอบด้วยว่าคนที่เมาแล้วขับนี่ไปกินมาจากร้านที่เปิดเกินเวลาหรือเปล่า? ขณะที่กระแสบนโลกออนไลน์ที่ประณามผู้ก่อเหตุ พลเมืองเน็ตจำนวนไม่น้อยอยากให้เปลี่ยนโทษเมาแล้วขับหากไปชนคนเจ็บ-ตายจากประมาทเป็นเจตนา หรือลามไปยันอยากให้มีศาลเตี้ยลงโทษครอบครัวผู้ก่อเหตุฐานไม่อบรมลูกหลานให้ดี ไปยันอยากให้เลิกขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปเลยก็มี
.
จากเรื่องนี้สิ่งที่ผมอยากพูดถึงมีหลายเรื่องเลยครับ เรื่องแรก..อยากให้บรรดา “คนดีหน้าจอ” ที่เฮโลไปตามเพจดังบางเพจที่เสนอเรื่องครอบครัวผู้ก่อเหตุต้องร่วมรับผิดชอบ ( โดยอ้างประเทศหนึ่งในเอเชียที่เป็นดินแดนในอุดมคติของชนชั้นกลางผู้ดีทั้งหลาย ) ช่วยตั้งสติกันสักนิด อย่าลืมนะครับว่าสังคมมนุษย์เราผ่านยุค “ประหาร 7 ชั่วโค-ตร 9 ชั่วคน” มาแล้ว ในอดีตเราอาจเคยสนับสนุนแนวคิดนี้ เพราะเชื่อว่าทายาทหรือผู้เกี่ยวข้อง หากไม่จัดการให้หมดอาจจะกลับมาล้างแค้นในกรณีที่เป็นความผิดฐานกบฏ หรือเชื่อว่าครอบครัวก็ดี มิตรสหายก็ดีควรต้องเตือนกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ( อันนี้ใครเคยผ่านการฝึกทหาร ตำรวจ รด. หรือแม้แต่ผ่านประเพณีรับน้องคงเข้าใจดี ) แต่ปัจจุบันเราไม่ใช้หลักนี้แล้ว สังคมโลกไม่มีใครยอมรับแน่นอน เพราะทุกวันนี้เราใช้หลัก “ผู้ใดทำผิด ก็รับกรรมเฉพาะผู้นั้น” คนอื่นๆ ย่อมไม่เกี่ยวข้อง ไม่ต้องมารับผิดด้วยแม้จะเป็นคนใกล้ชิดแค่ไหนก็ตาม
.
พ่อเป็นโจรใช่ว่าลูกต้องเป็นโจร แม่เป็นนักบุญใช่ว่าลูกต้องเป็นนักบุญเสมอไป!!!
.
เรื่องที่สอง..สืบเนื่องจากเรื่องแรก ว่าด้วยประเทศในอุดมคติที่บรรดานักศีลธรรมอุดมคตินิยมสุดขั้วฝันอยากจะเอาระบบเขามาใช้ โดยเฉพาะการประณามครอบครัวผู้ก่อเหตุร้าย ตรงนี้ผมขออ้างสเตตัสเฟซบุ๊คของคุณธีรภัทร เจริญสุข ( Theerapat Charoensuk ) นักเขียนอิสระ ( ที่เราอาจเห็นชื่อของเขาได้มากที่สุดในมติชน แต่ก็มีปรากฏในเว็บไซต์อื่นบ้างประปราย ) ที่กล่าวว่า เพื่อนของเขาที่เป็นพลเมืองของประเทศนั้น ยืนยันว่าแม้ค่านิยมดังกล่าวอาจมีในประเทศของเขาจริง แต่ไม่ใช่ค่านิยมที่พึงปรารถนาอีกแล้วในยุคนี้ ที่ผ่านมาก็มีความพยายามจากปัญญาชนในประเทศนั้นเพื่อ “ลด-ละ-เลิก” ค่านิยมที่ว่านี้อยู่ เพราะถือว่าไม่เป็นธรรม นอกจากนี้การใช้วิธีแบบกฎหมู่เอาสะใจ ประเภทไปก่อกวนบ้าน-รังควาญครอบครัวผู้กระทำผิด ยังถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายอีกด้วย ยังไม่นับเรื่องของการ “บีบให้จนตรอก” ไม่เหลือทางให้เดิน ทำให้ผู้ถูกบีบที่อาจกระทำผิดในระดับที่ไม่มาก กลายเป็นคนร้ายที่ก่อคดีใหญ่เพราะถูกกดดันก็มี ( ท่านที่สนใจไปอ่านเอาในเฟซบุ๊คของเขาเองนะครับ เจ้าของเฟซแกมีอ้างอิงบทความที่เกี่ยวข้องด้วย )
.
ขนาดประเทศต้นเรื่องยังพยายามที่จะเลิก..แต่คนบ้านเรากลับยังเทิดทูนบูชาวิถีของประเทศนั้นแบบไม่แยกแยะ-ไม่ลืมหูลืมตา คิดว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกหมด-ดีหมดทุกเรื่อง!!!
.
เรื่องที่สาม..บางคนก็ไปโทษศาล ไปโทษกฎหมายว่าคนขับรถชนคนตายไม่เคยติดคุกเลย ทั้งๆ ที่การขับรถชนคนเจ็บ-ตาย โดยทั่วไปจะอิงกับความผิดฐานประมาท มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับตั้งแต่ 2 หมื่น-2แสนบาท ตามความเสียหายที่เกิด ( ดูกฎหมายเอาเองครับตามนี้-พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 42 , พรบ.จราจรทางบก ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2550 มาตรา 11 , ป.อาญา มาตรา 291 และ 300 ) แต่เพราะความผิดประเภทนี้ มีช่องอยู่ว่าหากจำเลยแสดงออกว่ารู้สึกสำนึกผิดจริง และชดใช้ให้ฝ่ายผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจแล้ว ศาลย่อมหาเหตุบรรเทาโทษได้ ( ลดโทษให้ต่ำๆ ไว้ แล้วสั่งรอลงอาญาเอา ตาม ป.อาญา มาตรา 54 และ 56 ) ตรงนี้แหละครับที่กลายมาเป็นประโยคจิกกัดของคนที่ไม่รู้ทั้งหลายว่าคนรวย-คนดังขับรถชนคนตายไม่ติดคุก เพราะเขายอมชดใช้ค่าเสียหายตามสมควรไปแล้ว เกิดการไกล่เกลี่ยไปแล้ว ขณะที่คนกลางๆ ลงมาที่มีรถขับ ก็เข้าคุกไปเพราะไม่สามารถชดใช้ค่าเสียหายตรงนี้ได้
.
ก็แล้วจะให้ทำยังไงครับ? ในเมื่อ “ญาติผู้เสียหาย” เขาไม่ติดใจแล้ว คนอื่นๆ ที่เป็น “คนนอก” จะทำอะไรได้!!!
.
เรื่องที่สี่..สำหรับคนที่เสนอให้เปลี่ยนโทษเมาแล้วขับ หากไปชนคนเจ็บ-ตาย เป็นพยายามฆ่า-ฆ่าคนตายโดยเจตนา ( ซึ่งผมก็ยอมรับว่าเคยคิดแบบนี้เหมือนกัน ) ต้องตอบให้ได้ก่อนว่า..แล้วการขับรถแบบอื่นๆ ที่อาจทำให้คนเจ็บ-ตายได้เหมือนกัน ทั้งง่วงแล้วขับ ( อันนี้เยอะพอๆ กับเมาแล้วขับ ) , ขับเร็ว ( ไม่จำเป็นต้องเกิน 90 กม./ชม. ตามที่กฎหมายกำหนด แค่ 40-50 กม./ชม. ถ้าชนจังๆ ก็ทำคนสาหัสหรือตายได้เหมือนกัน ) , ขับไปในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย ( คนหรือรถเล็กอาจออกมาจากจุดที่ไม่คาดคิด ก็มีโอกาสชนได้ ) เหล่านี้ที่ผลลัพธ์เดียวกันคือมีคนเจ็บ-ตาย ดังนั้นการจะตีความพฤติกรรมเมาแล้วขับอย่างเดียว มันจะดูแปลกๆ ในทางหลักการหรือไม่? หรือจะตีความพฤติกรรมตามตัวอย่างนี้เป็นเจตนาทั้งหมดไปด้วย มันจะดูรุนแรงเกินสมควรไปหรือเปล่า?
.
เชื่อเถอะว่าถ้าออกกฎหมายมาโดยมีจุดที่ทำให้รู้สึกคาใจ แม้จะเป็นจุดเล็กๆ ก็จะมีคนตั้งแง่คัดค้านแน่นอน!!!
.
ทีนี้จะทำยังไง? เรื่องแรก..กลับไปดูที่ต้นเหตุครับ “ถ้าไม่เมาแล้วขับ จะไปชนใครเจ็บ-ตายไหม?” ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำ คือเอาจริงเอาจังกับข้อหานี้ให้มากๆ บางคนบอกโทษเบาไป เพราะเมาแล้วขับ ตราบใดที่ยังไม่ได้ขับไปชนใคร โทษก็แค่จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คนเลยไม่กลัวกัน ตรงนี้ผมอยากบอกว่า “ก็ลองศาลไม่ลดโทษจำคุกเหลือแค่รอลงอาญา คนมันจะกลัวกันไหม?” เชื่อเถอะถ้าไม่ใช่คนที่เข้าๆ ออกๆ คุกเป็นว่าเล่นแบบพวกอาชญากรมืออาชีพ การต้องติดคุก ( หรือแม้แต่กักขังในห้องขังสถานีตำรวจ ) แม้จะติดแค่ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน คนทั่วๆ ไปไม่มีใครอยากเข้าไปอยู่หรอกครับ ถูกจำกัดเสรีภาพ ข้าวปลาอาหารก็ไม่ดีเหมือนอยู่ข้างนอก ถ้ามีงานทำก็ต้องออกจากงานอีกต่างหาก เสียรายได้เสียโอกาส ซึ่งศาลใช้ดุลยพินิจตรงนี้ได้อยู่แล้ว ลดโทษได้ แต่ไม่ต้องรอการลงโทษ
.
ทำอย่างจริงจังมันตลอดทั้งปี ไม่ใช่แค่ช่วงปีใหม่-สงกรานต์ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติแถลงข่าวทุกเดือนเลยก็ได้ ว่าเดือนนี้จับคนเป่าแล้วมีแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดได้กี่คน ส่งฟ้องศาลกี่คดี ติดคุกแล้วกี่ราย เชื่อเถอะเดี๋ยวคนก็จะเกรงกลัวไปเอง สำคัญคือต้องเน้นที่โทษจำคุก ต้องให้ติดคุกจริงๆ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว คนมักจะกลัวโทษจำคุกมากกว่าปรับครับ ไม่มีใครอยากถูกจำกัดอิสรภาพหรอก ยิ่งพวกที่ไม่เคยลำบากมาก่อนยิ่งกลัว
.
ถ้าใครบอกติดคุก 1 เดือนเบาไป ลองเข้าไปติดดูสิครับ ไม่ต้องเรือนจำก็ได้นะ เอาแค่ห้องขัง สน. ก็พอ ขนาดคนโดนจับฐานเล่นการพนัน ยังไม่มีใครอยากนอนแม้แต่คืนเดียว มีแต่วิ่งหาเงินประกันตัว หาเงินมาเสียค่าปรับกันให้วุ่น!!!
.
เรื่องที่สอง..อันนี้เป็นมาตรการระยะยาว ด้วยความที่สถานบันเทิงไม่ได้มีแต่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่จะใช้วิธี “เมาไม่ขับกลับแท็กซี่” ได้ เพราะตาม ตจว. ไม่มีแท็กซี่ ( หรือถึงมีแต่ก็จะใช้ระบบเหมาไม่ใช่กดมิเตอร์ ) ดังนั้นเป็นไปได้หรือไม่? ที่จะกำหนดในกฎหมาย ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบันเทิงที่จำหน่ายเครื่องดื่มมึนเมา ต้องมีสถานที่เป็น “จุดพัก” ให้บรรดานักดื่มได้พัก จะเป็นที่จอดรถก็ได้แต่ต้องปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ไม่ก็ปลูกเป็นห้องไปเลย ข้างๆ สถานบันเทิงนั่นแหละ ต้องเป็นจุดที่เดินเท้าไปได้ ไม่ต้องแตะพวงมาลัยรถเด็ดขาด จะใช้หลัก “ดื่มอย่างรับผิดชอบ” ก็ได้ โดยให้กฎหมายระบุว่าอนุญาตให้ร้านเหล่านี้สามารถเก็บค่าที่พักกรณีเมาล่วงหน้าได้ ถ้าไม่ใช้ก็มาเอาเงินคืนตอนเคลียร์บิล ( แต่กลับไปถ้าเจอด่าน ถูกจับติดคุกทันทีไม่รอลงอาญาไม่รู้ด้วยนะ )
.
ที่เหลือก็ไปเอาจริงเอาจังกับกฎหมายที่มีอยู่นั่นแหละ จำพวกเปิดเกินเวลา , ขายเครื่องดื่มมึนเมานอกเวลาขาย , ขายให้อายุต่ำกว่า 20 เพราะที่ผ่านมาพวกนี้ก็ไม่ค่อยจะเอาจริงเอาจังเท่าไร อย่าว่าแต่โชห่-ยเลย ร้านสะดวกซื้อดังๆ ยังไม่ขอดูบัตรประชาชนเวลาไปซื้อ ทั้งๆ ที่การไปดื่มในผับในบาร์ การ์ดยังต้องตรวจบัตรก่อนเข้าด้วยซ้ำ
.
รวมถึงความท้าทายสำคัญ คือจะคิดตัวชี้วัดกรณี “เมาจนครองสติไม่ได้” กับกรณี “ง่วงจนเสี่ยงหลับในที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์” ได้อย่างไร? ซึ่งเรื่องนี้ตำรวจเองก็เหนื่อย เมาแล้วขับยังจับเป่าแอลกอฮอล์ที่ด่านได้ แต่เมาแล้วไม่ขับ แต่เดินไปซื้อเหล้าต่อที่ร้านในสภาพเมาแอ๋นั่นแหละ พนักงานก็ไม่รู้จะทำยังไง? เพราะคนเมาเขาก็คงบอกว่าฉันไม่เมา หรือจะเอาเครื่องเป่าแอลกอฮอล์ไปประจำที่ร้านก็คงไม่ดีอีก เพราะพนักงานร้านสะดวกซื้อไม่ได้ฝึกการจับกุม-ควบคุมตัวคนร้ายมาแบบตำรวจ ไปเซ้าซี้คนเมามากๆ จะเจ็บตัวเปล่าๆ ยิ่งเป็นพนักงานผู้หญิงด้วยยิ่งอันตราย หรือเรื่องง่วงนี่ยิ่งน่าห่วงหนักขึ้นไปอีก เพราะยังไม่มีเครื่องมือใดที่สามารถวัดได้ว่าสภาพร่างกายอยู่ในอาการง่วงหรือไม่? มากน้อยแค่ไหน? และพร้อมจะขับรถจริงๆ หรือเปล่า? ( ยุคสมัยนี้ตัวชี้วัดเชิงตัวเลขสำคัญครับ คนหัวหมอมันเยอะ )
.
ถ้าจะระบายอารมณ์เอาสะใจ..สู้เรียกร้องให้ภาครัฐแก้ปัญหาแบบที่ผมลองคิดนี้จะดีกว่าไหม? ไม่งั้นวันต่อๆ ไป เดี๋ยวก็จะมีเรื่องมาให้โวยวายอีก เสียสุขภาพจิตเปล่าๆ และสังคมยังไม่ได้อะไรด้วยนอกจากบรรยากาศที่ไม่น่าฟังน่าดู
.
เนื้อที่วันนี้หมดแล้วครับ..พบกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดีครับ!!!
.
……………………………
[Loser Voice] เมาแล้วขับ-อุบัติเหตุ : ถามสังคมไทย..จะเอาแค่สะใจหรืออยากแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน?
.
.
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook Page : TonyMao_NK51
.
ช่วงนี้ “ทอล์คออฟเดอะทาวน์” เรื่องราวที่ถูกพูดถึงกันมากที่สุดคงหนีไม่พ้นโศกนาฎกรรมของชาวจักรยาน ที่ถูกคนเมาขับรถยนต์ชนจนตายไป 3 เจ็บสาหัสอีก 2 แถวๆ เชียงใหม่ จากนั้นได้ขยายไปเป็นประเด็นยิบย่อยมากมาย ไล่ตั้งแต่ “ท่านผู้นำ” สั่งการให้ตรวจสอบด้วยว่าคนที่เมาแล้วขับนี่ไปกินมาจากร้านที่เปิดเกินเวลาหรือเปล่า? ขณะที่กระแสบนโลกออนไลน์ที่ประณามผู้ก่อเหตุ พลเมืองเน็ตจำนวนไม่น้อยอยากให้เปลี่ยนโทษเมาแล้วขับหากไปชนคนเจ็บ-ตายจากประมาทเป็นเจตนา หรือลามไปยันอยากให้มีศาลเตี้ยลงโทษครอบครัวผู้ก่อเหตุฐานไม่อบรมลูกหลานให้ดี ไปยันอยากให้เลิกขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปเลยก็มี
.
จากเรื่องนี้สิ่งที่ผมอยากพูดถึงมีหลายเรื่องเลยครับ เรื่องแรก..อยากให้บรรดา “คนดีหน้าจอ” ที่เฮโลไปตามเพจดังบางเพจที่เสนอเรื่องครอบครัวผู้ก่อเหตุต้องร่วมรับผิดชอบ ( โดยอ้างประเทศหนึ่งในเอเชียที่เป็นดินแดนในอุดมคติของชนชั้นกลางผู้ดีทั้งหลาย ) ช่วยตั้งสติกันสักนิด อย่าลืมนะครับว่าสังคมมนุษย์เราผ่านยุค “ประหาร 7 ชั่วโค-ตร 9 ชั่วคน” มาแล้ว ในอดีตเราอาจเคยสนับสนุนแนวคิดนี้ เพราะเชื่อว่าทายาทหรือผู้เกี่ยวข้อง หากไม่จัดการให้หมดอาจจะกลับมาล้างแค้นในกรณีที่เป็นความผิดฐานกบฏ หรือเชื่อว่าครอบครัวก็ดี มิตรสหายก็ดีควรต้องเตือนกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ( อันนี้ใครเคยผ่านการฝึกทหาร ตำรวจ รด. หรือแม้แต่ผ่านประเพณีรับน้องคงเข้าใจดี ) แต่ปัจจุบันเราไม่ใช้หลักนี้แล้ว สังคมโลกไม่มีใครยอมรับแน่นอน เพราะทุกวันนี้เราใช้หลัก “ผู้ใดทำผิด ก็รับกรรมเฉพาะผู้นั้น” คนอื่นๆ ย่อมไม่เกี่ยวข้อง ไม่ต้องมารับผิดด้วยแม้จะเป็นคนใกล้ชิดแค่ไหนก็ตาม
.
พ่อเป็นโจรใช่ว่าลูกต้องเป็นโจร แม่เป็นนักบุญใช่ว่าลูกต้องเป็นนักบุญเสมอไป!!!
.
เรื่องที่สอง..สืบเนื่องจากเรื่องแรก ว่าด้วยประเทศในอุดมคติที่บรรดานักศีลธรรมอุดมคตินิยมสุดขั้วฝันอยากจะเอาระบบเขามาใช้ โดยเฉพาะการประณามครอบครัวผู้ก่อเหตุร้าย ตรงนี้ผมขออ้างสเตตัสเฟซบุ๊คของคุณธีรภัทร เจริญสุข ( Theerapat Charoensuk ) นักเขียนอิสระ ( ที่เราอาจเห็นชื่อของเขาได้มากที่สุดในมติชน แต่ก็มีปรากฏในเว็บไซต์อื่นบ้างประปราย ) ที่กล่าวว่า เพื่อนของเขาที่เป็นพลเมืองของประเทศนั้น ยืนยันว่าแม้ค่านิยมดังกล่าวอาจมีในประเทศของเขาจริง แต่ไม่ใช่ค่านิยมที่พึงปรารถนาอีกแล้วในยุคนี้ ที่ผ่านมาก็มีความพยายามจากปัญญาชนในประเทศนั้นเพื่อ “ลด-ละ-เลิก” ค่านิยมที่ว่านี้อยู่ เพราะถือว่าไม่เป็นธรรม นอกจากนี้การใช้วิธีแบบกฎหมู่เอาสะใจ ประเภทไปก่อกวนบ้าน-รังควาญครอบครัวผู้กระทำผิด ยังถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายอีกด้วย ยังไม่นับเรื่องของการ “บีบให้จนตรอก” ไม่เหลือทางให้เดิน ทำให้ผู้ถูกบีบที่อาจกระทำผิดในระดับที่ไม่มาก กลายเป็นคนร้ายที่ก่อคดีใหญ่เพราะถูกกดดันก็มี ( ท่านที่สนใจไปอ่านเอาในเฟซบุ๊คของเขาเองนะครับ เจ้าของเฟซแกมีอ้างอิงบทความที่เกี่ยวข้องด้วย )
.
ขนาดประเทศต้นเรื่องยังพยายามที่จะเลิก..แต่คนบ้านเรากลับยังเทิดทูนบูชาวิถีของประเทศนั้นแบบไม่แยกแยะ-ไม่ลืมหูลืมตา คิดว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกหมด-ดีหมดทุกเรื่อง!!!
.
เรื่องที่สาม..บางคนก็ไปโทษศาล ไปโทษกฎหมายว่าคนขับรถชนคนตายไม่เคยติดคุกเลย ทั้งๆ ที่การขับรถชนคนเจ็บ-ตาย โดยทั่วไปจะอิงกับความผิดฐานประมาท มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับตั้งแต่ 2 หมื่น-2แสนบาท ตามความเสียหายที่เกิด ( ดูกฎหมายเอาเองครับตามนี้-พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 42 , พรบ.จราจรทางบก ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2550 มาตรา 11 , ป.อาญา มาตรา 291 และ 300 ) แต่เพราะความผิดประเภทนี้ มีช่องอยู่ว่าหากจำเลยแสดงออกว่ารู้สึกสำนึกผิดจริง และชดใช้ให้ฝ่ายผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจแล้ว ศาลย่อมหาเหตุบรรเทาโทษได้ ( ลดโทษให้ต่ำๆ ไว้ แล้วสั่งรอลงอาญาเอา ตาม ป.อาญา มาตรา 54 และ 56 ) ตรงนี้แหละครับที่กลายมาเป็นประโยคจิกกัดของคนที่ไม่รู้ทั้งหลายว่าคนรวย-คนดังขับรถชนคนตายไม่ติดคุก เพราะเขายอมชดใช้ค่าเสียหายตามสมควรไปแล้ว เกิดการไกล่เกลี่ยไปแล้ว ขณะที่คนกลางๆ ลงมาที่มีรถขับ ก็เข้าคุกไปเพราะไม่สามารถชดใช้ค่าเสียหายตรงนี้ได้
.
ก็แล้วจะให้ทำยังไงครับ? ในเมื่อ “ญาติผู้เสียหาย” เขาไม่ติดใจแล้ว คนอื่นๆ ที่เป็น “คนนอก” จะทำอะไรได้!!!
.
เรื่องที่สี่..สำหรับคนที่เสนอให้เปลี่ยนโทษเมาแล้วขับ หากไปชนคนเจ็บ-ตาย เป็นพยายามฆ่า-ฆ่าคนตายโดยเจตนา ( ซึ่งผมก็ยอมรับว่าเคยคิดแบบนี้เหมือนกัน ) ต้องตอบให้ได้ก่อนว่า..แล้วการขับรถแบบอื่นๆ ที่อาจทำให้คนเจ็บ-ตายได้เหมือนกัน ทั้งง่วงแล้วขับ ( อันนี้เยอะพอๆ กับเมาแล้วขับ ) , ขับเร็ว ( ไม่จำเป็นต้องเกิน 90 กม./ชม. ตามที่กฎหมายกำหนด แค่ 40-50 กม./ชม. ถ้าชนจังๆ ก็ทำคนสาหัสหรือตายได้เหมือนกัน ) , ขับไปในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย ( คนหรือรถเล็กอาจออกมาจากจุดที่ไม่คาดคิด ก็มีโอกาสชนได้ ) เหล่านี้ที่ผลลัพธ์เดียวกันคือมีคนเจ็บ-ตาย ดังนั้นการจะตีความพฤติกรรมเมาแล้วขับอย่างเดียว มันจะดูแปลกๆ ในทางหลักการหรือไม่? หรือจะตีความพฤติกรรมตามตัวอย่างนี้เป็นเจตนาทั้งหมดไปด้วย มันจะดูรุนแรงเกินสมควรไปหรือเปล่า?
.
เชื่อเถอะว่าถ้าออกกฎหมายมาโดยมีจุดที่ทำให้รู้สึกคาใจ แม้จะเป็นจุดเล็กๆ ก็จะมีคนตั้งแง่คัดค้านแน่นอน!!!
.
ทีนี้จะทำยังไง? เรื่องแรก..กลับไปดูที่ต้นเหตุครับ “ถ้าไม่เมาแล้วขับ จะไปชนใครเจ็บ-ตายไหม?” ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำ คือเอาจริงเอาจังกับข้อหานี้ให้มากๆ บางคนบอกโทษเบาไป เพราะเมาแล้วขับ ตราบใดที่ยังไม่ได้ขับไปชนใคร โทษก็แค่จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คนเลยไม่กลัวกัน ตรงนี้ผมอยากบอกว่า “ก็ลองศาลไม่ลดโทษจำคุกเหลือแค่รอลงอาญา คนมันจะกลัวกันไหม?” เชื่อเถอะถ้าไม่ใช่คนที่เข้าๆ ออกๆ คุกเป็นว่าเล่นแบบพวกอาชญากรมืออาชีพ การต้องติดคุก ( หรือแม้แต่กักขังในห้องขังสถานีตำรวจ ) แม้จะติดแค่ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน คนทั่วๆ ไปไม่มีใครอยากเข้าไปอยู่หรอกครับ ถูกจำกัดเสรีภาพ ข้าวปลาอาหารก็ไม่ดีเหมือนอยู่ข้างนอก ถ้ามีงานทำก็ต้องออกจากงานอีกต่างหาก เสียรายได้เสียโอกาส ซึ่งศาลใช้ดุลยพินิจตรงนี้ได้อยู่แล้ว ลดโทษได้ แต่ไม่ต้องรอการลงโทษ
.
ทำอย่างจริงจังมันตลอดทั้งปี ไม่ใช่แค่ช่วงปีใหม่-สงกรานต์ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติแถลงข่าวทุกเดือนเลยก็ได้ ว่าเดือนนี้จับคนเป่าแล้วมีแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดได้กี่คน ส่งฟ้องศาลกี่คดี ติดคุกแล้วกี่ราย เชื่อเถอะเดี๋ยวคนก็จะเกรงกลัวไปเอง สำคัญคือต้องเน้นที่โทษจำคุก ต้องให้ติดคุกจริงๆ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว คนมักจะกลัวโทษจำคุกมากกว่าปรับครับ ไม่มีใครอยากถูกจำกัดอิสรภาพหรอก ยิ่งพวกที่ไม่เคยลำบากมาก่อนยิ่งกลัว
.
ถ้าใครบอกติดคุก 1 เดือนเบาไป ลองเข้าไปติดดูสิครับ ไม่ต้องเรือนจำก็ได้นะ เอาแค่ห้องขัง สน. ก็พอ ขนาดคนโดนจับฐานเล่นการพนัน ยังไม่มีใครอยากนอนแม้แต่คืนเดียว มีแต่วิ่งหาเงินประกันตัว หาเงินมาเสียค่าปรับกันให้วุ่น!!!
.
เรื่องที่สอง..อันนี้เป็นมาตรการระยะยาว ด้วยความที่สถานบันเทิงไม่ได้มีแต่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่จะใช้วิธี “เมาไม่ขับกลับแท็กซี่” ได้ เพราะตาม ตจว. ไม่มีแท็กซี่ ( หรือถึงมีแต่ก็จะใช้ระบบเหมาไม่ใช่กดมิเตอร์ ) ดังนั้นเป็นไปได้หรือไม่? ที่จะกำหนดในกฎหมาย ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบันเทิงที่จำหน่ายเครื่องดื่มมึนเมา ต้องมีสถานที่เป็น “จุดพัก” ให้บรรดานักดื่มได้พัก จะเป็นที่จอดรถก็ได้แต่ต้องปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ไม่ก็ปลูกเป็นห้องไปเลย ข้างๆ สถานบันเทิงนั่นแหละ ต้องเป็นจุดที่เดินเท้าไปได้ ไม่ต้องแตะพวงมาลัยรถเด็ดขาด จะใช้หลัก “ดื่มอย่างรับผิดชอบ” ก็ได้ โดยให้กฎหมายระบุว่าอนุญาตให้ร้านเหล่านี้สามารถเก็บค่าที่พักกรณีเมาล่วงหน้าได้ ถ้าไม่ใช้ก็มาเอาเงินคืนตอนเคลียร์บิล ( แต่กลับไปถ้าเจอด่าน ถูกจับติดคุกทันทีไม่รอลงอาญาไม่รู้ด้วยนะ )
.
ที่เหลือก็ไปเอาจริงเอาจังกับกฎหมายที่มีอยู่นั่นแหละ จำพวกเปิดเกินเวลา , ขายเครื่องดื่มมึนเมานอกเวลาขาย , ขายให้อายุต่ำกว่า 20 เพราะที่ผ่านมาพวกนี้ก็ไม่ค่อยจะเอาจริงเอาจังเท่าไร อย่าว่าแต่โชห่-ยเลย ร้านสะดวกซื้อดังๆ ยังไม่ขอดูบัตรประชาชนเวลาไปซื้อ ทั้งๆ ที่การไปดื่มในผับในบาร์ การ์ดยังต้องตรวจบัตรก่อนเข้าด้วยซ้ำ
.
รวมถึงความท้าทายสำคัญ คือจะคิดตัวชี้วัดกรณี “เมาจนครองสติไม่ได้” กับกรณี “ง่วงจนเสี่ยงหลับในที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์” ได้อย่างไร? ซึ่งเรื่องนี้ตำรวจเองก็เหนื่อย เมาแล้วขับยังจับเป่าแอลกอฮอล์ที่ด่านได้ แต่เมาแล้วไม่ขับ แต่เดินไปซื้อเหล้าต่อที่ร้านในสภาพเมาแอ๋นั่นแหละ พนักงานก็ไม่รู้จะทำยังไง? เพราะคนเมาเขาก็คงบอกว่าฉันไม่เมา หรือจะเอาเครื่องเป่าแอลกอฮอล์ไปประจำที่ร้านก็คงไม่ดีอีก เพราะพนักงานร้านสะดวกซื้อไม่ได้ฝึกการจับกุม-ควบคุมตัวคนร้ายมาแบบตำรวจ ไปเซ้าซี้คนเมามากๆ จะเจ็บตัวเปล่าๆ ยิ่งเป็นพนักงานผู้หญิงด้วยยิ่งอันตราย หรือเรื่องง่วงนี่ยิ่งน่าห่วงหนักขึ้นไปอีก เพราะยังไม่มีเครื่องมือใดที่สามารถวัดได้ว่าสภาพร่างกายอยู่ในอาการง่วงหรือไม่? มากน้อยแค่ไหน? และพร้อมจะขับรถจริงๆ หรือเปล่า? ( ยุคสมัยนี้ตัวชี้วัดเชิงตัวเลขสำคัญครับ คนหัวหมอมันเยอะ )
.
ถ้าจะระบายอารมณ์เอาสะใจ..สู้เรียกร้องให้ภาครัฐแก้ปัญหาแบบที่ผมลองคิดนี้จะดีกว่าไหม? ไม่งั้นวันต่อๆ ไป เดี๋ยวก็จะมีเรื่องมาให้โวยวายอีก เสียสุขภาพจิตเปล่าๆ และสังคมยังไม่ได้อะไรด้วยนอกจากบรรยากาศที่ไม่น่าฟังน่าดู
.
เนื้อที่วันนี้หมดแล้วครับ..พบกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดีครับ!!!
.
……………………………