คนบ้านเมืองเรายังติดปัญหาเรื่องของการไม่มีความรู้ ได้วุฒิการศึกษาง่ายไปเกินความรู้ที่มี โดยเฉพาะที่สำคัญคือการไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้เรื่องกระบวนการยุติธรรม ทั้งที่มันเป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิต แต่ปากไวมือไว มีวาทะด่าเก่งวิจารณ์เก่งในโซเชียล
เวลามีข่าวอาชญากรรมขึ้นมาไม่ต้องโทษใคร ก็ขนาดตัวเองยังไม่รู้กฎหมาย แล้วคนก่ออาชญากรรมจะไปรู้กฎหมายได้ยังไง? มันจะรู้ได้ยังไงว่าต้องเจอกับอะไรบ้าง เขาก็คงนึกว่าไม่มีอะไรมาก เห็นในโซเชียลชอบบอกว่ากฎหมายทำอะไรไม่ได้ แค่แกล้งบ้าก็ได้แล้วมั้ง ! (OMG)
เวลานี้บุคลากรในกระทรวงยุติธรรมเข้าสู่ยุคของการเริ่มพัฒนาความรู้ในเรื่องอาชญาวิทยา รวมถึงการพัฒนาระบบราชทัณฑ์ แต่ชาวบ้านประชาชนทั้งหลายไม่ค่อยได้รับรู้ตามไปด้วย
. . .
ทีนี้มาเรื่องราชทัณฑ์ ว่ากันเรื่องผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีก่อน
เนื่องด้วยผู้ต้องขังระหว่างฯ ยังถือเป็นผู้บริสุทธิ์ ในปัจจุบันมีการแยกคุมขัง “นักโทษระหว่างฯ” กับ “นักโทษเด็ดขาด” ในเรือนจำที่มีความสามารถทำได้ ในขณะที่มีเรือนจำอีกจำนวนมากสถานที่ยังไม่พร้อมทำตามระเบียบ ส่วนสีของเสื้อผ้าก็มีความแตกต่างกันเพื่อให้ผู้คุมทำงานได้ง่ายขึ้น
ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการตัดผมผู้ต้องขัง พ.ศ. 2565
ในส่วนของผู้ต้องขังระหว่างฯ บอกว่า
“
คนต้องขังชาย คนฝากชาย และนักโทษเด็ดขาดชายที่เหลือโทษจำคุกต่อไปไม่เกิน 30 วัน ให้ไว้ทรงผมสั้น ด้านหน้าและกลางศีรษะยาวไม่เกิน 5 เซนติเมตร ชายผมรอบศีรษะสั้น ไล่ระดับไม่เกินตัวรองที่ตัดผมเบอร์ 2”
“
คนต้องขังและคนฝากหญิง ให้ไว้ผมยาวเลยบ่าได้ แต่ให้รวบผมหรือผูกผมให้เรียบร้อย”
นอกจากนี้ยังมีระเบียบรองรับผู้ต้องขังข้ามเพศ และผู้ต้องขังศาสนาสิกข์ด้วย (ชายห้ามตัดผม)
. . .
มาที่เรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ต้องขัง
ผมเคยโพสต์แสดงมุมมองไปบ้างแล้ว ราชทัณฑ์กำลังปรับปรุงในเรื่องการพัฒนาพฤตินิสัยของนักโทษ มีการให้โอกาสและสิทธิประโยชน์หลายอย่าง แต่ยังติดปัญหาในเรื่องของความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำ และการให้โอกาสนักโทษผิดกลุ่ม
ก่อนว่าไปตรงนั้นพื้นฐานที่สังคมควรเข้าใจคือ การลงโทษผู้กระทำผิดไม่ใช่การชี้นิ้วด่า การกระทืบหรือเปิดหน้าประจาน แบบนั้นไม่มีผลอะไรได้แค่สะใจผู้กระทำ แต่การลงโทษที่หนักหน่วงคือ “การจำกัดอิสรภาพ” นี่แหละคือสิ่งที่ทรมานสุดของมนุษย์ ไม่ต้องอะไรมากดูตัวอย่างแค่ช่วงล็อคดาวน์โดวิด ใครติดโควิดต้องถูกกักตัวอยู่บ้าน โรงแรม หรือสถานที่กักตัว ขนาดมีมือถือเครื่องมือสื่อสารมีสื่อบันเทิงครบ แค่ 14 วันยังเครียดเลย ในอเมริกาถึงกับออกมาประท้วงเพราะทนความเครียดไม่ได้
เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจว่า ความทุกข์ในการถูกปิดกั้นเสรีภาพนั่นคือการลงโทษตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามในแง่ของการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ
การทรมานในคุกนานๆไม่ได้ช่วยพัฒนาให้คนเป็นเป็นคนดี แต่การใช้จิตวิทยาบำบัดสามารถปรับความคิดนักโทษได้ นี่ก็คือหลักอาชญาวิทยาอีกข้อนึง
ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 62, 63 มา ได้มีอภัยโทษหลายลูก ปีละ 2 ครั้งซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ โดยอ้างว่าเป็นการระบายนักโทษช่วงโควิด ซึ่งผลที่ออกมาไม่จริงเลย มันจริงตรงที่มีการระบายนักโทษจำนวนมาก อันนี้จริง แต่เรื่องโควิดไม่ได้ผล เพราะในปี 64 มีนักโทษเสียชีวิตจากโควิดจำนวนมาก และปรากฏว่านักโทษแบบไหนที่ถูกระบายออกไป? พักโทษพิเศษชุดแรกตกเป็นของนักข่าวดัง ส่วนอภัยโทษในช่วงนั้นหลายลูกก็ได้ประโยชน์แก่นักการเมืองที่มีโทษ 40 กว่าปี ซึ่งติดจริงไม่ถึง 10 ปี (ปัจจุบันมีคนถูกปล่อยตัวแล้วปลายปี 67)
กับอีกกลุ่มนึงที่ได้ทุกสิทธิประโยชน์คือ นักโทษคดียาเสพติดลูกรักราชทัณฑ์ ถูกระบายออกเป็นได้แค่ยอดตัวเลขเอาไว้โชว์ แต่แล้วก็วนเวียนกลับเข้าไปติดคุกเหมือนเดิมภายในเวลาไม่นาน เจ้าหน้าที่ได้เงินเดือนไม่ทันถึงรอบสองรอบก็กลับไปเจอกันอีกแล้ว
สรุปว่าสิทธิประโยชน์ช่วงปี 63-67 ทั้งอภัยโทษและการพักโทษ เผอิญประโยชน์ไปตกแก่คนดังและนักการเมือง นอกนั้นส่วนมากก็คือนักโทษคดียาเสพติดที่ทยอยเวียนกลับไปติดคุกเป็นวัฏจักรของพวกเขา
อย่างที่เคยบอกว่ามันมีกฎกระทรวงปี 63 ที่ไปปิดกั้นโอกาสนักโทษคดีผิดต่อชีวิตและความผิดเกี่ยวกับเพศ ที่ออกมาผิดพลาดอย่างมาก โดยไปจำกัดการเลื่อนชั้นและการได้รับสิทธิประโยชน์ แม้แต่นักโทษคดีผิดต่อชีวิตและเกี่ยวกับเพศด้วยกัน ก็ไม่เท่าเทียมและไร้มาตรฐาน
ว่าง่ายๆเช่น มาตรา 276 วรรคแรก พวกทำร้ายข่มขืนทั่วไปไม่ถูกลดชั้นล็อคชั้น มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ต่างๆ รวมถึงได้รับอภัยโทษอย่างรวดเร็ว แต่คนที่ซื้อบริการทางเพศกับผู้เยาว์อายุ 16-17 (สมมุติ) ไม่ได้เป็นพวกโหดร้ายเหมือนคดีแรก แต่ต้องถูกเหมาไปตามมาตรา 277 (พรากฯ) ซึ่งโดนล็อคชั้น ถูกปิดกั้นสิทธิ์ทุกประการ ถ้าเป็นอย่างที่ผ่านมาช่วงปี 63-67 กรณีตัวอย่างนี้นักโทษข่มขืนถูกปล่อยตัวก่อน ขณะที่นักโทษซื้อโสเภณีเด็กยังไม่ไปไหน นี่คือยกให้เห็นภาพ
หรือตัวอย่างของคดีผิดต่อชีวิต สมมุติพวกแก๊งซ่าแก๊งนักเลงยกพวกตีกัน หรือไปหาเรื่องใครก็แล้วเกิดฆ่ากันขึ้นมา มาตรา 290, 299 พวกนี้ไม่โดนลดชั้นล็อคชั้น และได้รับสิทธิประโยชน์ทุกประการ ต่างกับกรณีการฆ่า มาตรา 288 ที่บางคดีอาจเบากว่า เช่นมีเหตุบันดาลโทสะฆ่าคนที่ละเมิดบุพการีละเมิดครอบครัว หรือคู่รักมีชู้ กำหนดโทษตัวเลขมักจะน้อยกว่า แต่ติดคุกจริงนานกว่าแก๊งนักเลงยกพวกฆ่ากัน ที่ได้รับอภัยโทษหลายลูกในช่วงที่ผ่านมา
จริงๆกฎกระทรวงที่เป็นจุดอ่อนนี้กำลังจะถูกแก้ไข แต่ก็ชะงักไปและเป็นช่วงเปลี่ยนอธิบดีกรมฯ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาราชทัณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคืบหน้าพัฒนาในด้านอื่นนอกจากยุ่งอยู่กับเรื่องการรอรับการมาของนักการเมืองชั้น 14 และลำดับต่อไปก็ของน้องสาวเรื่อง “สถานคุมขังนอกเรือนจำ”
นอกจากนี้ก็คือสิ่งที่เคยกล่าวไปแล้ว การออฟชั้นหรือล็อคชั้นมันก็ไปปิดกั้นโอกาสในเรื่องการทำงานสาธารณะนอกเรือนจำ การทำงานโรงงาน การฝึกวิชาชีพเรือนจำชั่วคราว ที่มักจะเอื้อให้แต่กลุ่มยาเสพติด แล้วก็มักจะไปมีปัญหาการทำผิดวินัยนอกเรือนจำ การลักลอบนำสิ่งต้องห้ามเข้าเรือนจำ ((อย่างที่เคยบอกว่าเรื่องชั้นของนักโทษ มันสวนทางกับพฤติกรรมจริง))
วิธีแก้คือต้องรื้อใหม่ ไม่ใช่ว่าเอียงไปทางนักโทษกลุ่มใดหรือคดีใด แต่ทุกคดีต้องเริ่มที่ชั้นเดียวกัน เท่าเทียมกัน และการปรับชั้นต้องมาจากกระบวนการทดสอบจริง จากบุคลากรที่เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยาและผู้มีคุณวุฒิในการประเมินตัดสิน ไม่ใช่แค่ให้ไปทำท่าออกกำลังกาย ท่องจำบทสวด ท่องจำระเบียบเรือนจำ อันนั้นไม่เกี่ยวกับสันดานและพฤติกรรมเลย
นักโทษคนใดมีความผิดหนักเบาแค่ไหน ศาลตัดสินกำหนดโทษเป็นจำนวนตัวเลขไว้แล้ว ราชทัณฑ์ไม่ต้องมีหน้าที่เพิ่มโทษโดยการลดชั้นจากมาตรา การมาคิดเอาว่ามาตรานั้นต้องลดโทษ มาตรานี้ต้องจำกัดสิทธิ์ ถือเป็นการหยิบเอามาตรากฎหมายมาใช้ตัดสินนอกเหนืออำนาจศาล ตรงนี้กระทรวงยุติธรรมต้องแก้ไข
*สังคมก็ไม่ได้สนใจหรือจดจำนายสมคิด พุ่มพวงด้วย ถูกลืมไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้นกระทรวงยุติธรรมก็ควรหมดเวลาขัน หมดเวลาตีปีกกระโตกกระตาก ควรหันมาทบทวนกฎกระทรวง การให้สิทธิประโยชน์และการพัฒนาผู้ต้องขังใหม่*
((ถ้าคิดว่าศาลตัดสินไม่เพียงพอ ทำไมไม่ไปเอาสื่อช่อง8 อัมรินทร์ ไทยรัฐ ช่อง3 มาร่วมตัดสินด้วยเล่า?))
. . .
ว่าด้วยสถานคุมขังนอกเรือนจำ (พรบ.ปี 2560 และหนังสือกรมฯปี 2566)
นับเป็นนโยบายที่ดี ระเบียบดี มีประโยชน์
แต่ทำไว้รองรับใคร?
อย่างที่ผมเคยโพสต์ไปว่า นักโทษมีหลายประเภท ไม่เท่าเทียมกันหรอก ขึ้นอยู่กับกำหนดโทษ คดี และพฤติกรรมในสังคมก่อนต้องคดี รวมถึงพฤติกรรมในเรือนจำ ฉะนั้นไม่ใช่ว่าทุกคนควรถูกคุมขังในเรือนจำ ในต่างประเทศก็มีกฎหมายลงโทษระดับเบาคือถูกจำกัดบริเวณในบ้านหรือสถานที่ที่กำหนด แต่คำสั่งนี้มาจากศาลนะ เมืองไทยไม่มีกฎหมายนี้ แต่ราชทัณฑ์เป็นผู้รับผิดชอบออกระเบียบเอง แยกประเภทผู้ต้องขัง คัดเลือกคนเอง ตรงนี้มันเลยมีช่องที่จะทำให้เกิดการเอื้อประโยชน์ให้นักการเมือง และสุ่มนักโทษผู้โชคดีจำนวนนึงมาได้ประโยชน์ไปด้วยแก้เขิน เหมือนที่ผ่านมา ((พักโทษนักข่าวดัง นักการเมือง แล้วก็สุ่มหยิบนักโทษอื่นๆติดมาด้วยว่า ทำเป็นว่าใครๆก็มีสิทธิ์))
ทางที่ดีถ้าจะให้โปร่งใสเรื่องการคุมขังนอกเรือนจำคือ กล้าไหม? ชะลอไว้ก่อนอย่าพึ่งออกคำสั่งนี้ จนกว่านักการเมืองน้องสาวชั้น 14 จะกลับมา เมื่อกลับมาแล้วก็ถูกดำเนินตามกระบวนการยุติธรรมไปก่อน แล้วค่อยออกคำสั่งบังคับใช้ภายหลัง เพื่อเป็นการยืนยันว่าทำเพื่อการพัฒนาผู้ต้องขังพัฒนาระบบราชทัณฑ์จริงๆ
. . .
โพสต์เกี่ยวกับราชทัณฑ์ก่อนหน้านี้
การคุมตัวผู้ต้องหา
https://ppantip.com/topic/43031233?sc=NlA9DJl
เรื่องชั้น 14 การรักษาตัวนอกเรือนจำ การพักโทษ
https://ppantip.com/topic/43121340?sc=cNFcYC8
บุคคลภายนอกเข้าออกเรือนจำ การควบคุมผู้ต้องขังออกนอกเรือนจำ
https://ppantip.com/topic/43048063?sc=WYN3Jb4
แนวคิดสถานคุมขังนอกเรือนจำในประเทศอื่น
https://ppantip.com/topic/43197887?sc=XyS891p
การคุมขังนอกเรือนจำ / สิทธิประโยชน์ / ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาฯ
เวลามีข่าวอาชญากรรมขึ้นมาไม่ต้องโทษใคร ก็ขนาดตัวเองยังไม่รู้กฎหมาย แล้วคนก่ออาชญากรรมจะไปรู้กฎหมายได้ยังไง? มันจะรู้ได้ยังไงว่าต้องเจอกับอะไรบ้าง เขาก็คงนึกว่าไม่มีอะไรมาก เห็นในโซเชียลชอบบอกว่ากฎหมายทำอะไรไม่ได้ แค่แกล้งบ้าก็ได้แล้วมั้ง ! (OMG)
เวลานี้บุคลากรในกระทรวงยุติธรรมเข้าสู่ยุคของการเริ่มพัฒนาความรู้ในเรื่องอาชญาวิทยา รวมถึงการพัฒนาระบบราชทัณฑ์ แต่ชาวบ้านประชาชนทั้งหลายไม่ค่อยได้รับรู้ตามไปด้วย
. . .
ทีนี้มาเรื่องราชทัณฑ์ ว่ากันเรื่องผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีก่อน
เนื่องด้วยผู้ต้องขังระหว่างฯ ยังถือเป็นผู้บริสุทธิ์ ในปัจจุบันมีการแยกคุมขัง “นักโทษระหว่างฯ” กับ “นักโทษเด็ดขาด” ในเรือนจำที่มีความสามารถทำได้ ในขณะที่มีเรือนจำอีกจำนวนมากสถานที่ยังไม่พร้อมทำตามระเบียบ ส่วนสีของเสื้อผ้าก็มีความแตกต่างกันเพื่อให้ผู้คุมทำงานได้ง่ายขึ้น
ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการตัดผมผู้ต้องขัง พ.ศ. 2565
ในส่วนของผู้ต้องขังระหว่างฯ บอกว่า
“คนต้องขังชาย คนฝากชาย และนักโทษเด็ดขาดชายที่เหลือโทษจำคุกต่อไปไม่เกิน 30 วัน ให้ไว้ทรงผมสั้น ด้านหน้าและกลางศีรษะยาวไม่เกิน 5 เซนติเมตร ชายผมรอบศีรษะสั้น ไล่ระดับไม่เกินตัวรองที่ตัดผมเบอร์ 2”
“คนต้องขังและคนฝากหญิง ให้ไว้ผมยาวเลยบ่าได้ แต่ให้รวบผมหรือผูกผมให้เรียบร้อย”
นอกจากนี้ยังมีระเบียบรองรับผู้ต้องขังข้ามเพศ และผู้ต้องขังศาสนาสิกข์ด้วย (ชายห้ามตัดผม)
. . .
มาที่เรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ต้องขัง
ผมเคยโพสต์แสดงมุมมองไปบ้างแล้ว ราชทัณฑ์กำลังปรับปรุงในเรื่องการพัฒนาพฤตินิสัยของนักโทษ มีการให้โอกาสและสิทธิประโยชน์หลายอย่าง แต่ยังติดปัญหาในเรื่องของความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำ และการให้โอกาสนักโทษผิดกลุ่ม
ก่อนว่าไปตรงนั้นพื้นฐานที่สังคมควรเข้าใจคือ การลงโทษผู้กระทำผิดไม่ใช่การชี้นิ้วด่า การกระทืบหรือเปิดหน้าประจาน แบบนั้นไม่มีผลอะไรได้แค่สะใจผู้กระทำ แต่การลงโทษที่หนักหน่วงคือ “การจำกัดอิสรภาพ” นี่แหละคือสิ่งที่ทรมานสุดของมนุษย์ ไม่ต้องอะไรมากดูตัวอย่างแค่ช่วงล็อคดาวน์โดวิด ใครติดโควิดต้องถูกกักตัวอยู่บ้าน โรงแรม หรือสถานที่กักตัว ขนาดมีมือถือเครื่องมือสื่อสารมีสื่อบันเทิงครบ แค่ 14 วันยังเครียดเลย ในอเมริกาถึงกับออกมาประท้วงเพราะทนความเครียดไม่ได้
เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจว่า ความทุกข์ในการถูกปิดกั้นเสรีภาพนั่นคือการลงโทษตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามในแง่ของการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ การทรมานในคุกนานๆไม่ได้ช่วยพัฒนาให้คนเป็นเป็นคนดี แต่การใช้จิตวิทยาบำบัดสามารถปรับความคิดนักโทษได้ นี่ก็คือหลักอาชญาวิทยาอีกข้อนึง
ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 62, 63 มา ได้มีอภัยโทษหลายลูก ปีละ 2 ครั้งซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ โดยอ้างว่าเป็นการระบายนักโทษช่วงโควิด ซึ่งผลที่ออกมาไม่จริงเลย มันจริงตรงที่มีการระบายนักโทษจำนวนมาก อันนี้จริง แต่เรื่องโควิดไม่ได้ผล เพราะในปี 64 มีนักโทษเสียชีวิตจากโควิดจำนวนมาก และปรากฏว่านักโทษแบบไหนที่ถูกระบายออกไป? พักโทษพิเศษชุดแรกตกเป็นของนักข่าวดัง ส่วนอภัยโทษในช่วงนั้นหลายลูกก็ได้ประโยชน์แก่นักการเมืองที่มีโทษ 40 กว่าปี ซึ่งติดจริงไม่ถึง 10 ปี (ปัจจุบันมีคนถูกปล่อยตัวแล้วปลายปี 67)
กับอีกกลุ่มนึงที่ได้ทุกสิทธิประโยชน์คือ นักโทษคดียาเสพติดลูกรักราชทัณฑ์ ถูกระบายออกเป็นได้แค่ยอดตัวเลขเอาไว้โชว์ แต่แล้วก็วนเวียนกลับเข้าไปติดคุกเหมือนเดิมภายในเวลาไม่นาน เจ้าหน้าที่ได้เงินเดือนไม่ทันถึงรอบสองรอบก็กลับไปเจอกันอีกแล้ว
สรุปว่าสิทธิประโยชน์ช่วงปี 63-67 ทั้งอภัยโทษและการพักโทษ เผอิญประโยชน์ไปตกแก่คนดังและนักการเมือง นอกนั้นส่วนมากก็คือนักโทษคดียาเสพติดที่ทยอยเวียนกลับไปติดคุกเป็นวัฏจักรของพวกเขา
อย่างที่เคยบอกว่ามันมีกฎกระทรวงปี 63 ที่ไปปิดกั้นโอกาสนักโทษคดีผิดต่อชีวิตและความผิดเกี่ยวกับเพศ ที่ออกมาผิดพลาดอย่างมาก โดยไปจำกัดการเลื่อนชั้นและการได้รับสิทธิประโยชน์ แม้แต่นักโทษคดีผิดต่อชีวิตและเกี่ยวกับเพศด้วยกัน ก็ไม่เท่าเทียมและไร้มาตรฐาน
ว่าง่ายๆเช่น มาตรา 276 วรรคแรก พวกทำร้ายข่มขืนทั่วไปไม่ถูกลดชั้นล็อคชั้น มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ต่างๆ รวมถึงได้รับอภัยโทษอย่างรวดเร็ว แต่คนที่ซื้อบริการทางเพศกับผู้เยาว์อายุ 16-17 (สมมุติ) ไม่ได้เป็นพวกโหดร้ายเหมือนคดีแรก แต่ต้องถูกเหมาไปตามมาตรา 277 (พรากฯ) ซึ่งโดนล็อคชั้น ถูกปิดกั้นสิทธิ์ทุกประการ ถ้าเป็นอย่างที่ผ่านมาช่วงปี 63-67 กรณีตัวอย่างนี้นักโทษข่มขืนถูกปล่อยตัวก่อน ขณะที่นักโทษซื้อโสเภณีเด็กยังไม่ไปไหน นี่คือยกให้เห็นภาพ
หรือตัวอย่างของคดีผิดต่อชีวิต สมมุติพวกแก๊งซ่าแก๊งนักเลงยกพวกตีกัน หรือไปหาเรื่องใครก็แล้วเกิดฆ่ากันขึ้นมา มาตรา 290, 299 พวกนี้ไม่โดนลดชั้นล็อคชั้น และได้รับสิทธิประโยชน์ทุกประการ ต่างกับกรณีการฆ่า มาตรา 288 ที่บางคดีอาจเบากว่า เช่นมีเหตุบันดาลโทสะฆ่าคนที่ละเมิดบุพการีละเมิดครอบครัว หรือคู่รักมีชู้ กำหนดโทษตัวเลขมักจะน้อยกว่า แต่ติดคุกจริงนานกว่าแก๊งนักเลงยกพวกฆ่ากัน ที่ได้รับอภัยโทษหลายลูกในช่วงที่ผ่านมา
จริงๆกฎกระทรวงที่เป็นจุดอ่อนนี้กำลังจะถูกแก้ไข แต่ก็ชะงักไปและเป็นช่วงเปลี่ยนอธิบดีกรมฯ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาราชทัณฑ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคืบหน้าพัฒนาในด้านอื่นนอกจากยุ่งอยู่กับเรื่องการรอรับการมาของนักการเมืองชั้น 14 และลำดับต่อไปก็ของน้องสาวเรื่อง “สถานคุมขังนอกเรือนจำ”
นอกจากนี้ก็คือสิ่งที่เคยกล่าวไปแล้ว การออฟชั้นหรือล็อคชั้นมันก็ไปปิดกั้นโอกาสในเรื่องการทำงานสาธารณะนอกเรือนจำ การทำงานโรงงาน การฝึกวิชาชีพเรือนจำชั่วคราว ที่มักจะเอื้อให้แต่กลุ่มยาเสพติด แล้วก็มักจะไปมีปัญหาการทำผิดวินัยนอกเรือนจำ การลักลอบนำสิ่งต้องห้ามเข้าเรือนจำ ((อย่างที่เคยบอกว่าเรื่องชั้นของนักโทษ มันสวนทางกับพฤติกรรมจริง))
วิธีแก้คือต้องรื้อใหม่ ไม่ใช่ว่าเอียงไปทางนักโทษกลุ่มใดหรือคดีใด แต่ทุกคดีต้องเริ่มที่ชั้นเดียวกัน เท่าเทียมกัน และการปรับชั้นต้องมาจากกระบวนการทดสอบจริง จากบุคลากรที่เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยาและผู้มีคุณวุฒิในการประเมินตัดสิน ไม่ใช่แค่ให้ไปทำท่าออกกำลังกาย ท่องจำบทสวด ท่องจำระเบียบเรือนจำ อันนั้นไม่เกี่ยวกับสันดานและพฤติกรรมเลย
นักโทษคนใดมีความผิดหนักเบาแค่ไหน ศาลตัดสินกำหนดโทษเป็นจำนวนตัวเลขไว้แล้ว ราชทัณฑ์ไม่ต้องมีหน้าที่เพิ่มโทษโดยการลดชั้นจากมาตรา การมาคิดเอาว่ามาตรานั้นต้องลดโทษ มาตรานี้ต้องจำกัดสิทธิ์ ถือเป็นการหยิบเอามาตรากฎหมายมาใช้ตัดสินนอกเหนืออำนาจศาล ตรงนี้กระทรวงยุติธรรมต้องแก้ไข
*สังคมก็ไม่ได้สนใจหรือจดจำนายสมคิด พุ่มพวงด้วย ถูกลืมไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้นกระทรวงยุติธรรมก็ควรหมดเวลาขัน หมดเวลาตีปีกกระโตกกระตาก ควรหันมาทบทวนกฎกระทรวง การให้สิทธิประโยชน์และการพัฒนาผู้ต้องขังใหม่*
((ถ้าคิดว่าศาลตัดสินไม่เพียงพอ ทำไมไม่ไปเอาสื่อช่อง8 อัมรินทร์ ไทยรัฐ ช่อง3 มาร่วมตัดสินด้วยเล่า?))
. . .
ว่าด้วยสถานคุมขังนอกเรือนจำ (พรบ.ปี 2560 และหนังสือกรมฯปี 2566)
นับเป็นนโยบายที่ดี ระเบียบดี มีประโยชน์
แต่ทำไว้รองรับใคร?
อย่างที่ผมเคยโพสต์ไปว่า นักโทษมีหลายประเภท ไม่เท่าเทียมกันหรอก ขึ้นอยู่กับกำหนดโทษ คดี และพฤติกรรมในสังคมก่อนต้องคดี รวมถึงพฤติกรรมในเรือนจำ ฉะนั้นไม่ใช่ว่าทุกคนควรถูกคุมขังในเรือนจำ ในต่างประเทศก็มีกฎหมายลงโทษระดับเบาคือถูกจำกัดบริเวณในบ้านหรือสถานที่ที่กำหนด แต่คำสั่งนี้มาจากศาลนะ เมืองไทยไม่มีกฎหมายนี้ แต่ราชทัณฑ์เป็นผู้รับผิดชอบออกระเบียบเอง แยกประเภทผู้ต้องขัง คัดเลือกคนเอง ตรงนี้มันเลยมีช่องที่จะทำให้เกิดการเอื้อประโยชน์ให้นักการเมือง และสุ่มนักโทษผู้โชคดีจำนวนนึงมาได้ประโยชน์ไปด้วยแก้เขิน เหมือนที่ผ่านมา ((พักโทษนักข่าวดัง นักการเมือง แล้วก็สุ่มหยิบนักโทษอื่นๆติดมาด้วยว่า ทำเป็นว่าใครๆก็มีสิทธิ์))
ทางที่ดีถ้าจะให้โปร่งใสเรื่องการคุมขังนอกเรือนจำคือ กล้าไหม? ชะลอไว้ก่อนอย่าพึ่งออกคำสั่งนี้ จนกว่านักการเมืองน้องสาวชั้น 14 จะกลับมา เมื่อกลับมาแล้วก็ถูกดำเนินตามกระบวนการยุติธรรมไปก่อน แล้วค่อยออกคำสั่งบังคับใช้ภายหลัง เพื่อเป็นการยืนยันว่าทำเพื่อการพัฒนาผู้ต้องขังพัฒนาระบบราชทัณฑ์จริงๆ
. . .
โพสต์เกี่ยวกับราชทัณฑ์ก่อนหน้านี้
การคุมตัวผู้ต้องหา
https://ppantip.com/topic/43031233?sc=NlA9DJl
เรื่องชั้น 14 การรักษาตัวนอกเรือนจำ การพักโทษ
https://ppantip.com/topic/43121340?sc=cNFcYC8
บุคคลภายนอกเข้าออกเรือนจำ การควบคุมผู้ต้องขังออกนอกเรือนจำ
https://ppantip.com/topic/43048063?sc=WYN3Jb4
แนวคิดสถานคุมขังนอกเรือนจำในประเทศอื่น
https://ppantip.com/topic/43197887?sc=XyS891p