เตรียมรับมือจราจร หลังรื้อสะพานแยกเกษตร-รัชโยธินสร้างรถไฟฟ้าสีเขียวเหนือ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
3 เมษายน 2558 07:25 น. (แก้ไขล่าสุด 3 เมษายน 2558 10:37 น.)
รฟม.เซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสีเขียวเหนือทั้ง 4 สัญญา วงเงิน 2.87 หมื่นล้าน วันนี้ พร้อมเร่งทำแผนก่อสร้างเสนอ กทม. และกรมทางหลวง เพื่อวางแผนจราจรระหว่างก่อสร้าง เหตุต้องรื้อสะพานข้ามแยกเกษตรและรัชโยธิน คน กทม.ทำใจเตรียมรับมือจราจร
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (3 เม.ย.) รฟม.จะลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วงเงิน 28,786,000,000 บาท โดยมี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. เป็นประธาน ทั้งนี้ ในส่วนของการเตรียมความพร้อมด้านการก่อสร้างนั้น ผู้รับเหมาได้เข้าสำรวจพื้นที่สำหรับก่อสร้างเพื่อเตรียมจัดทำแผนการก่อสร้างควบคู่กันไปด้วย เพื่อเสนอแผนการก่อสร้างเบื้องต้นให้ รฟม.พิจารณา จากนั้นจะเสนอแผนไปยังกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อขออนุมัติเข้าใช้พื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กทม. รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวจากหมอชิต-สะพานใหม่ จะก่อสร้างไปตามแนวเกาะกลางถนนพหลโยธิน และช่วงจากสะพานใหม่-คูคต จะก่อสร้างบนถนนลำลูกกา ของกรมทางหลวง (ทล.) จึงต้องขออนุมัติเข้าใช้พื้นที่ดังกล่าวก่อน
“ผู้รับเหมาจะต้องทำแผนก่อสร้างล่วงหน้าเพื่อเสนอต่อกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ทราบว่าแผนการก่อสร้างจะต้องทำอะไรบ้าง จะเริ่มจุดไหนก่อนหลัง สะพานข้ามคลอง สะพานข้ามแยกที่จำเป็นจะต้องรื้อถอนจุดใดบ้าง เมื่อรื้อถอนไปแล้วจะนำไปเก็บที่ไหน รวมถึงแผนจัดการจราจรระหว่างก่อสร้าง เมื่อหน่วยงานเจ้าของพื้นที่เห็นชอบ รฟม.จึงจะอนุญาตให้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ ซึ่งการเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ช้าหรือเร็วนั้นจะขึ้นอยู่กับแผนก่อสร้างด้วย” นายพีระยุทธกล่าว
สำหรับพื้นที่ก่อสร้างสัญญาที่ 1 หมอชิต-สะพานใหม่ ตามแผนงานมีความจำเป็นต้องรื้อสะพานรถยนต์ข้ามแยกรัชโยธินเพื่อก่อสร้างเป็นอุโมงค์ทางลอดแนวถนนรัชดาภิเษก และสะพานรถยนต์ข้ามแยกเกษตรจะต้องรื้อออกเช่นกันเพื่อหลบแนวเสาตอม่อรถไฟฟ้า หลังก่อสร้างแล้วเสร็จจะสร้างสะพานใหม่ทดแทน ซึ่งผู้รับเหมาเตรียมเสนอแผนการรื้อย้ายสะพานรถยนต์ข้ามแยกเกษตรก่อนเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านการจราจร อีกทั้งเป็นการแจ้งเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนได้ทราบถึงสภาพการจราจรที่จะเกิดขึ้นระหว่างก่อสร้างเพื่อหาทางหลีกเลี่ยง จากนั้นจึงจะเริ่มรื้อย้ายสะพานรถยนต์ข้ามแยกรัชโยธิน ซึ่งถือว่าเป็นสะพานสำคัญถนนรัชดาภิเษกข้ามไปยังฝั่งธน อีกทั้งเชื่อมต่อกับถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งปริมาณรถมากและการจราจรติดขัดเป็นประจำ ระหว่างรื้อย้ายและก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดทดแทน คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการจราจรอย่างมาก จึงต้องวางแผนการก่อสร้างให้รอบคอบและรัดกุมมากที่สุด
โดยรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ แบ่งเป็น 4 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่) บริษัทอินตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) วงเงิน 15,269,000,000 บาท สัญญาที่ 2 (ช่วงสะพานใหม่-คูคต) กลุ่ม UN-SH-CH Joint Venture (บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ SINOHYDRO CORPORATION LIMITED และ CHINA HARBOUR ENGINEERING COMPANY LIMITED วงเงิน 6,657,000,000 บาท
สัญญาที่ 3 (งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร) กลุ่ม STEC-AS Joint Venture (บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนจิเนียริ่ง (1964) จำกัด วงเงิน 4,019,000,000 บาท สัญญาที่ 4 (งานจ้างออกแบบควบคู่การก่อสร้างระบบราง กลุ่ม STEC-AS Joint Venture วงเงิน 2,841,000,000 บาท
http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000038507
(( แยกเกษตร-รัชโยธิน )) เตรียมขึ้นแท่น รถติดอันดับ1 ของโลก ???
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
3 เมษายน 2558 07:25 น. (แก้ไขล่าสุด 3 เมษายน 2558 10:37 น.)
รฟม.เซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสีเขียวเหนือทั้ง 4 สัญญา วงเงิน 2.87 หมื่นล้าน วันนี้ พร้อมเร่งทำแผนก่อสร้างเสนอ กทม. และกรมทางหลวง เพื่อวางแผนจราจรระหว่างก่อสร้าง เหตุต้องรื้อสะพานข้ามแยกเกษตรและรัชโยธิน คน กทม.ทำใจเตรียมรับมือจราจร
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (3 เม.ย.) รฟม.จะลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วงเงิน 28,786,000,000 บาท โดยมี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. เป็นประธาน ทั้งนี้ ในส่วนของการเตรียมความพร้อมด้านการก่อสร้างนั้น ผู้รับเหมาได้เข้าสำรวจพื้นที่สำหรับก่อสร้างเพื่อเตรียมจัดทำแผนการก่อสร้างควบคู่กันไปด้วย เพื่อเสนอแผนการก่อสร้างเบื้องต้นให้ รฟม.พิจารณา จากนั้นจะเสนอแผนไปยังกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อขออนุมัติเข้าใช้พื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กทม. รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวจากหมอชิต-สะพานใหม่ จะก่อสร้างไปตามแนวเกาะกลางถนนพหลโยธิน และช่วงจากสะพานใหม่-คูคต จะก่อสร้างบนถนนลำลูกกา ของกรมทางหลวง (ทล.) จึงต้องขออนุมัติเข้าใช้พื้นที่ดังกล่าวก่อน
“ผู้รับเหมาจะต้องทำแผนก่อสร้างล่วงหน้าเพื่อเสนอต่อกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ทราบว่าแผนการก่อสร้างจะต้องทำอะไรบ้าง จะเริ่มจุดไหนก่อนหลัง สะพานข้ามคลอง สะพานข้ามแยกที่จำเป็นจะต้องรื้อถอนจุดใดบ้าง เมื่อรื้อถอนไปแล้วจะนำไปเก็บที่ไหน รวมถึงแผนจัดการจราจรระหว่างก่อสร้าง เมื่อหน่วยงานเจ้าของพื้นที่เห็นชอบ รฟม.จึงจะอนุญาตให้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ ซึ่งการเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ช้าหรือเร็วนั้นจะขึ้นอยู่กับแผนก่อสร้างด้วย” นายพีระยุทธกล่าว
สำหรับพื้นที่ก่อสร้างสัญญาที่ 1 หมอชิต-สะพานใหม่ ตามแผนงานมีความจำเป็นต้องรื้อสะพานรถยนต์ข้ามแยกรัชโยธินเพื่อก่อสร้างเป็นอุโมงค์ทางลอดแนวถนนรัชดาภิเษก และสะพานรถยนต์ข้ามแยกเกษตรจะต้องรื้อออกเช่นกันเพื่อหลบแนวเสาตอม่อรถไฟฟ้า หลังก่อสร้างแล้วเสร็จจะสร้างสะพานใหม่ทดแทน ซึ่งผู้รับเหมาเตรียมเสนอแผนการรื้อย้ายสะพานรถยนต์ข้ามแยกเกษตรก่อนเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านการจราจร อีกทั้งเป็นการแจ้งเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนได้ทราบถึงสภาพการจราจรที่จะเกิดขึ้นระหว่างก่อสร้างเพื่อหาทางหลีกเลี่ยง จากนั้นจึงจะเริ่มรื้อย้ายสะพานรถยนต์ข้ามแยกรัชโยธิน ซึ่งถือว่าเป็นสะพานสำคัญถนนรัชดาภิเษกข้ามไปยังฝั่งธน อีกทั้งเชื่อมต่อกับถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งปริมาณรถมากและการจราจรติดขัดเป็นประจำ ระหว่างรื้อย้ายและก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดทดแทน คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการจราจรอย่างมาก จึงต้องวางแผนการก่อสร้างให้รอบคอบและรัดกุมมากที่สุด
โดยรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ แบ่งเป็น 4 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่) บริษัทอินตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) วงเงิน 15,269,000,000 บาท สัญญาที่ 2 (ช่วงสะพานใหม่-คูคต) กลุ่ม UN-SH-CH Joint Venture (บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ SINOHYDRO CORPORATION LIMITED และ CHINA HARBOUR ENGINEERING COMPANY LIMITED วงเงิน 6,657,000,000 บาท
สัญญาที่ 3 (งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร) กลุ่ม STEC-AS Joint Venture (บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนจิเนียริ่ง (1964) จำกัด วงเงิน 4,019,000,000 บาท สัญญาที่ 4 (งานจ้างออกแบบควบคู่การก่อสร้างระบบราง กลุ่ม STEC-AS Joint Venture วงเงิน 2,841,000,000 บาท
http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000038507