คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ตรงแยกประตูน้ำ สะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก อายุ 50 ปีละ ทุบสร้างใหม่ก็ดีนะ
ที่รื้อสร้างใหม่ น่าจะขุดพื้นที่สร้างสถานีละครับ
ซึ่งแยกลำสาลี อุโมงค์มันเบี่ยงเสาเข็มได้ และมีพื้นที่ว่างพอเปิดหน้าดินลงไปทำสถานีใต้ดินได้
แต่เส้นเพชรบุรี เวนคืนพื้นที่ยาก รื้อสะพานสร้างใหม่ ง่ายกว่า
ที่รื้อสร้างใหม่ น่าจะขุดพื้นที่สร้างสถานีละครับ
ซึ่งแยกลำสาลี อุโมงค์มันเบี่ยงเสาเข็มได้ และมีพื้นที่ว่างพอเปิดหน้าดินลงไปทำสถานีใต้ดินได้
แต่เส้นเพชรบุรี เวนคืนพื้นที่ยาก รื้อสะพานสร้างใหม่ ง่ายกว่า
สมาชิกหมายเลข 6225949 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 927560 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 6700307 ถูกใจ, เดินไม่ดูตาม้าตาเรือ ถูกใจ, LR3 ถูกใจ, auemsomboon1 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 5462720 ถูกใจ, หอมแผ่นดิน ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 7517486 ถูกใจ, Sak Wan Nueng ถูกใจรวมถึงอีก 9 คน ร่วมแสดงความรู้สึก
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เพิ่งเกิดซิเรา สมัยมีรถไฟฟ้าสายแรก ปัจจุบันเรียกสายสีเขียว ต้องทุบสะพานข้ามแยกสะพานควาย
ตอนนั้น คนก็บ่นแบบคุณนี่แหละ ตอนนี้ก็อยู่กันได้ รถก็ติดเหมือนเดิม รถไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้รถติดน้อยลง แค่ช่วยให้คนมีทางเลือกมากขึ้น แค่นั้น
ตอนนั้น คนก็บ่นแบบคุณนี่แหละ ตอนนี้ก็อยู่กันได้ รถก็ติดเหมือนเดิม รถไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้รถติดน้อยลง แค่ช่วยให้คนมีทางเลือกมากขึ้น แค่นั้น
Captianjearb611 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 7388849 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 7982603 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 3464816 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 6700307 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 7975743 ถูกใจ, MyPoint ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 4068533 ถูกใจ, Tanikumac ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 2139795 ถูกใจรวมถึงอีก 6 คน ร่วมแสดงความรู้สึก
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
จะสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ทำไมต้องรื้อสะพานข้ามแยกประตูน้ำกับราชเทวีด้วยครับ
กทม. หวั่น รฟม.รื้อ 3 สะพานข้ามแยก สร้าง "รถไฟฟ้าสายสีส้ม" ส่อรถติดหนัก
นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผอ.สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการส่งมอบและรับมอบถนนของกรุงเทพมหานคร ร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสำนักงานเขต 7 แห่ง เมื่อวันที่ 7 ต.ค.67 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ที่ประชุมได้หารือเรื่อง การส่งมอบและรับมอบพื้นที่สำหรับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
นายธวัชชัย กล่าวต่อว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบส่งมอบถนนตลอดความกว้างเขตทางตามแนวถนนที่รถไฟฟ้าสายสีส้มผ่าน เพื่อให้ รฟม.ก่อสร้างและส่งมอบคืน เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ คาดว่าจะมีการลงนาม MOU ระหว่าง กทม.กับผู้ว่าการ รฟม.ในสัปดาห์นี้ ขณะเดียวกันภายหลังส่งมอบพื้นที่แล้ว ผู้รับเหมาก่อสร้างจะเข้าสำรวจสิ่งก่อสร้างทั้งบนดิน และใต้ดินตลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ทั้งนี้จะขุดเจาะสำรวจในช่วงกลางคืน และคืนผิวจราจรให้รถสัญจรได้ในช่วงกลางวัน ก่อนจะเริ่มปิดการจราจรเพื่อเริ่มก่อสร้างจริงปี 2568 โดย ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี
ส่วนสิ่งที่ กทม.กังวลมากที่สุดคือ จะมีการรื้อสะพานข้ามแยก 3 แห่ง ได้แก่ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ แยกราชเทวี และแยกถนนสุทธาวาส ตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ เพื่อก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งรถไฟฟ้าใต้ดิน ภายหลังแล้วเสร็จจะก่อสร้างคืนให้ตามเดิม ซึ่งระหว่างนี้ส่งผลกระทบต่อการจราจรมาก
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ เป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์ ลอดใต้ดินไปตามแนวทางรถไฟไปยัง รพ.ศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาขนานไปกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
นอกจากนี้แนวเส้นทางยังลอดใต้สนามหลวง-อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย- ถนนหลานหลวง-แยกยมราช-ถนนเพชรบุรี-แยกประตูน้ำ-ถนนราชปรารภ-สามเหลี่ยมดินแดง-ถนนดินแดง-ถนนวิภาวดีรังสิต-กทม. 2- ชุมชนประชาสงเคราะห์-สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ เชื่อมต่อ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันออก ช่วงศูนย์ วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี
Cr.ฐานเศรษฐกิจ
โหเล่นทุบสะพานข้ามแยก 3 แห่งแถม 2 แห่งยังเป็นแยกกลางเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องรถติดอีก ไม่อยากจะคิดเลยว่าปีหน้าคนกรุงเทพจะเจอรถติดแบบนรกแค่ไหน
ผมเองก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องวิศวกรรมอะไรเลย ก็เลยอยากจะถามทุกท่านครับว่าทำไมต้องทุบสะพานด้วยครับ เพราะตอนที่สร้างฝั่งตะวันออกผมก็เห็นว่าไม่ได้ทุบสะพานข้ามแยกลำสาลีด้วยซ้ำ หรือว่าตอม่อสะพานมันฝังลึกซะจนขุดดินเจาะอุโมงค์ไม่ได้